ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustratorใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร  โดยสำนักช่างสิบหมู่  ดำเนินออกแบบ  จัดทำหุ่นต้นแบบ กระทรวงมหาดไทย  จัดหาโรงงานในการผลิตชิ้นงาน  โรงงานรัตนโกสินทร์  จ.ราชบุรี  ดำเนินการผลิต  และสำนักช่างสิบหมู่กำกับควบคุมการผลิต  เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงามสมพระเกียรติ ผลงานศิลปกรรมออกแบบโดย สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก       พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญสูงสุดสำหรับผู้ที่จะขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ  เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลบางประการมาจากรูปแบบพิธีกรรมในคัมภีร์สันสกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พิธีราชสูยะ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระราชาธิบดีที่ได้แผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือบรรดาพระราชาทั้งปวง อย่างไรก็ตาม เมื่อคติความเชื่อดังกล่าวเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการผสมผสานคติความเชื่อและพิธีกรรมทั้งของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมผ่านกระบวนการทำให้เป็นท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการพระราชพิธีเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง      นักวิชาการสันนิษฐานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยน่าจะรับรูปแบบพิธีกรรมจากอินเดียผ่านจากพวก มอญ ชวา และเขมร จากหลักฐานต่าง ๆ กล่าวได้ว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้มีพัฒนาการอย่างน้อยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งปรากฏเด่นชัดในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเตรียมพระราชพิธี        มีการทำพิธีตักน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก การจารึกพระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร การเตรียมตั้งแต่งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธีการเตรียมน้ำสรงพระมุรธาภิเษก และน้ำอภิเษก      การสรงพระมุรธาภิเษกและทรงรับน้ำอภิเษกนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  น้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกตามคติพราหมณ์จะต้องใช้น้ำจากแม่น้ำสำคัญ ๕ สายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู เรียกว่า “ปัญจมหานที” ด้วยเชื่อว่าแม่น้ำเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเขาไกรลาสอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้ใช้น้ำปัญจมหานทีหรือไม่ พบแต่เพียงการใช้น้ำจากสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ในแขวงเมืองสุพรรณบุรีเป็นสำคัญ       ครั้นถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กำหนดให้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ แห่งทั่วทุกจังหวัด  และตั้งพิธีเสกน้ำในพระอารามจังหวัดนั้น ๆ ก่อนเชิญมาทำพิธีเสกรวมอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการปิดทองทึบ

งานลงรักปิดทอง คาดว่าคงจะมีการสร้างงานประเภทนี้มานานมากแล้ว ดังที่มีคำกล่าว แต่โบราณมาว่าพระพุทธองค์ และพระอรหันต์บางองค์มีผิวพระวรกายดั่งทองทา แต่ด้วยทองคำเป็นโลหะธาตุไม่ใช่น้ำหรือของเหลวจะได้นำมาทาอะไรให้เป็นสีทองได้ และการรู้จักใช้ทองคำก็มีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ว่านางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสใส่ภาชนะถาดทองคำแด่พระพุทธองค์ส่วนงานช่างปิดทองนั้น คงจะมีการพยายามหาวิธีการทางช่างที่จะใช้ทองอย่างประหยัดบนพื้นที่กว้าง จึงได้คิดหาวิธีนำทองคำมาตีแผ่เป็นแผ่นบางแล้วหุ้มวัตถุที่ต้องการให้ดูเป็นทองทั้งหมด ซึ่งก็ยังต้องใช้ทองจำนวนมากอยู่จึงคิดค้นหาวิธีต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะประหยัดทองให้ได้มากที่สุด จึงได้เกิดการตีทองให้บางยิ่งขึ้น จนเป็นทองคำเปลว แล้วหาวิธีการปิดทับผิววัสดุที่ต้องการให้เป็นทองนั้นด้วยสารเหนียว เช่น ยางไม้ประเภทต่าง ๆ และยางที่ดีที่สุด ก็ได้แก่ ยางของต้นรักใหญ่ หรือรักน้ำเกลี้ยง เมื่อได้ยางรักจากต้นแล้วต้องนำมากรองให้รักสะอาดปราศจากผงฝุ่น ยางของรักมีสีน้ำตาลดำ และสีดำสนิท นำมาทาพื้นวัสดุที่จะปิดทองเมื่อมีความเหนียวพอเหมาะ จึงใช้ทองคำเปลวปิดลงไปให้ทั่ว จึงดูแล้วรู้สึกหรือเห็นวัสดุนั้นเป็นสีทองสุกปลั่งเหมือนดั่งว่าเป็นทองคำทั้งชิ้นงาน งานช่างปิดทองจึงเป็นงานที่คู่กับงานชา่ งรักมาโดยตลอด..

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - งานลายฉลุประคบสี

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป    

ความรู้ทั่วไป

เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

เครื่องไทยธรรม หมายถึงสิ่งของที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๕๖๒  ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนดูหนังสือเทศน์ และเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคน เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก จัดสร้างขึ้นใหม่โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบด้วย บาตรประดับมุก   และหีบประดับมุก  บาตรประดับมุกทรงมะนาวแป้น ฝาบาตรประดับมุก พื้นฝาบนของบาตรประดับมุกทึบเต็มพื้นที่(ปูพื้นอย่างโมเสค) ด้านบนเป็นรูปเหลี่ยมเพชรบนพื้นมุกฝาบาตรประดับด้วยลายโลหะสลักดุนฉลุทองแดงชุบทองเป็นลายพระจุฬมงกุฎมหาวชิราวุธประดิษฐานบนพานปากกระจับ ๒ ชั้น ประกอบด้านซ้ายและขวาด้วยฉัตรบริวารพื้นสลักโลหะลายเบา เขียนทองลายพันธุ์พฤกษา ล้อมรอบด้วยสร้อยห้อยดวงมหาจักรี  ขอบชายด้านข้างประดับมุกเป็นกรอบเส้นลวดวิ่งล่างและบน ในกรอบเป็นลายจัตุรัสสลับเสี้ยวจัตุรัสโดยรอบ  ขอบชายระบายฝาบาตร ประดับด้วยโลหะสลักดุนฉลุทองแดงชุบทองลายอัฐมงคลโดยรอบ เชิงบาตรประดับมุก ถวายพร้อมหีบประดับมุกแบบปูพื้นเต็ม ฝาด้านบนประดับพระปรมาภิไธย ย่อ วปร. และข้อความพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒  เป็นหีบใบใหญ่ภายในบรรจุหีบใบเล็กสามใบ

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel