ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ ๓ เล่ม
ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ  ๓ เล่ม   ครั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรให้ช่วยดำเนินการลงรักปิดทองสมุดไทยที่ปกด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของเล่มทั้ง ๔ ด้าน ตลอดจนการจัดทำปกติดตราพระครุฑพ่าห์ จำนวน ๓ เล่ม เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย     - หนังสือรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมด ๓ เล่ม ปกด้านหน้า - ด้านหลัง  - ตราพระครุฑพ่าห์ มีทั้งหมดจำนวน ๓ ตรา ชนิดทองคำจำนวน ๑ ตรา และชนิดเงินกะไหล่ทองจำนวน ๒ ตรา ทั้ง ๓ ตรา จัดทำโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์                   รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครอง และรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้                 ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๖๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม กุกกุฏสมพัตสร จิตรมาส ชุณหปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล เมษายนมาส ฉัฏฐสุรทิน ครุวาร โดยกาลบริเฉท            สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลว่า นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้ดำรงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือ ราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีผู้ไม่นำพาหรือไม่นับถือยำเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอำนาจ หรือขาดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจำต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้ความสำคัญแก่รูปแบบ และวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๑)          นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ                             จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๓)                   ครุฑ ถือกันว่าเป็นสัตว์สำคัญ มีฤทธานุภาพมาก เพราะตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อทรงปราบทุกข์เข็น ครุฑซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ จึงได้รับการยกย่องนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น แกะสลักตามจินตนาการของช่าง ดังจะพบภาพครุฑประดับตามวัดวาอาราม สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง ฯลฯ รวมทั้งธงที่สำคัญ เช่น ธงมหาไชยธวัช ธงมหาราช อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ หนังสือสำคัญของทางราชการ ดวงตราพระราชลัญจกร ล้วนแต่ทำเป็นตรารูปครุฑติดไว้ เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพนั่นเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๓๙)                ครุฑพ่าห์ เครื่องหมายรูปครุฑมีลักษณะเป็นรูปครุฑตัวเดียว มือกางอยู่ในท่ารำแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร เป็นแบบที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นตราประทับกำกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือสำคัญทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังใช้กับสิ่งอื่น เช่น ธงพระครุฑพ่าห์ คือธงที่มีรูปครุฑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๔๐)  

องค์ความรู้

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ประจำปี ๒๕๕๖

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book รายงานสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น" โดย วิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น Mr.KIYOSHI MIYAGI ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๖"ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น"           สำนักช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมศิลปากรที่มีหน้าที่ในการผดุงรักษา ฟื้นฟู สืบทอดศิลปะวิทยาการทางด้านช่างฝีมือ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์งานด้านช่างศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรมของชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ประกอบด้วยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มจิตรกรรม กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา และศูนย์ศิลปะและการช่างไทย            สำนักช่างสิบหมู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านช่าง ศิลปกรรมระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรแก่บุคลากรภายใน หน่วยงานให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ เทคนิค วิธีการ เปรียบเทียบ นำไปสู่การสร้างสรรค์และการเผยแพร่ด้านศิลปกรรมกับศิลปินต่างประเทศ หน่วยงานได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในนานา ประเทศและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านศิลปกรรม กระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ            สืบเนื่องจากการที่สำนักช่าง สิบหมู่ได้ดำเนินโครงการศึกษาดูงานด้านเครื่องรัก ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๖ มิถุนายน – ๓ กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๕๕๕  ณ  โอกินาวา  นารา และทาคามัตสึ โดยได้มีการศึกษาดูงาน ณ สตูดิโอของศิลปินแห่งชาติด้านเทคนิคเครื่องมุก อาจารย์คิตะมูระศิลปินด้านเครื่องมุกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดโอกินาวา  อาจารย์มาเอดะและอาจารย์มิยากิได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเครื่องรัก และได้ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง  จากการศึกษาดูงานครั้งนี้คณะเดินทางได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากศิลปินญี่ปุ่นในการแสดง สาธิต อธิบายขั้นตอนเทคนิคในการทำงานอย่างไม่ปิดบังและยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคนิคในการทำงานต่าง ๆ แก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่  โดยเฉพาะอาจารย์มิยากิที่เชี่ยวชาญงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องรักทุกชนิดและปฏิบัติงานเองในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การต้มหอยมุกซึ่งทำให้ได้มุกที่มีความบางมากสามารถนำมาใช้งานได้ง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่างไทยไม่มีความรู้และไม่เคยปฏิบัติมาก่อน สำนักช่างสิบหมู่จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อแลกเปลี่ยนด้านศิลปกรรมด้านเครื่องรัก ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๖  โดยเชิญวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดความรู้เทคนิค วิธีการ แนวคิด รูปแบบงานศิลปกรรมด้านเครื่องรักแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ โดยเรียนรู้จากการฝึกอบรมและร่วมปฏิบัติงานกับวิทยากรในการสร้างสรรค์ผลงาน และจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่สำเร็จจากการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะชนต่อไป            เอกสาร “รายงานสรุปการฝึกอบรม : ขั้นตอนการสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น” ฉบับนี้  เป็นรายงานสรุปผลการฝึกอบรมอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ : ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น  ระหว่างวันที่ ๓ – ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  โดยวิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น  Mr.KIYOSHI  MIYAGI  ซึ่งรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเอกสารรายงานโดย  นางสาวชุตินันท์  กฤชนาวิน  นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ  สังกัด ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต  

ความรู้ทั่วไป

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือน มิ.ย. - ก.ย. ๕๓

          สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๐  ฉบับที่ ๓  ประจำเดือนมิถุนายน - กันยายน ๒๕๕๓  นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการสร้างบานประตูประดับมุก  หอพระมณเฑียรธรรม  งานประณีตศิลป์แขนงหนึ่งซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์  รวมทั้งโครงการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการสร้างและดูแลบำรุงรักษาอนุสาวรีย์แห่งชาติ  และโครงการฝึกอบรมด้านศิลปกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป เรื่อง "โลหะประณีต"

การเขียนภาพคชสีห์ : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

          คำว่า “คชสีห์” นั้นเป็นคำสมาส คือ เอาคำสองคำมาต่อกัน คำว่า “คช” กับคำว่า “สีหะ” อีกคำหนึ่ง ความหมายคำว่า “คช” ก็แปลว่า ช้าง และ “สีหะ” ก็คือ ราชสีห์ นั่นเอง เมื่อนำเอาสมาสกันแล้วการันต์ตัว ห  ในทางการช่างศิลปะไทยเรา หมายถึง การนำเอาสัตว์สองชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว             ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่างโบราณของไทยเราได้ประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ขึ้นมาตามจินตนาการนั้นมีหลายชนิด และบางอย่างก็นำมาปะติดปะต่อเป็นสัตว์ผสมกัน  สังเกตได้ง่าย คือ ถ้าเรากล่าวถึงสัตว์อะไรก่อน  ส่วนมากจะเขียนเป็นหัวของสัตว์นั้น  ส่วนชื่อตามหลังจะกลายเป็นตัวและเท้าตลอด ดังเช่นคำว่า “คชสีห์” นี้  ส่วนที่เป็นหัวก็มีงวง มีงาลักษณะของช้างประดิษฐ์ ตั้งแต่คอลงไปตลอดหางก็เป็นราชสีห์ (ในเอกสารนี้อาจารย์กล่าวถึงการเขียนหน้าหรือศีรษะของคชสีห์ส่วนลำตัวให้ดูประกอบในเรื่องการเขียนราชสีห์)

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel