ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ออกแบบสัตว์หิมพานต์ ต้นแบบประติมากรรมนูนสูง “พญามุจลินท์นาคราช”
   พญามุจลินท์นาคราช  เป็นพญานาค ๗ เศียร  ที่ขดจำแลงกายมาบังฝนให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ในคราวเสวยวิมุติสุขใต้ต้นมุจลินท์  พญานาคนั้นได้สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนับถือกันมากในแถบภาคอีสาน  ที่เป็นแหล่งรวมความสมบูรณ์ของแม่น้ำลำธารพืชพรรณอาหาร  ที่ให้ทั้งสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ได้พึ่งพาพักพิงและอาศัยกันอย่างอบอุ่น  เปรียบเสมือนได้ว่าเป็นหนึ่งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์  ทั้งความเป็นอยู่ที่พอพียง  เพราะทุกสิ่งย่อมจะต้องพึ่งพาอาศัยกันจึงจะเกิดความร่มเย็นเป็นสุข  ดังเช่นหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙

องค์ความรู้

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ด้านการแกะสลักแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับจัดสรรงบประมาณโครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ด้านการแกะสลักแบบสำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร   โดยคณะทำงานเลือกดำเนินการแกะสลักลวดลายประกอบบุษบกเกรินจำลอง รวบรวข้อมูลการจัดสร้างศิลปกรรมดังกล่าวมาเรียบเรียงเป็นเอกสารองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ด้านการแกะสลักแบบสำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม เรื่อง การจัดสร้างหุ่นหลวง

หุ่นหลวง เป็นงานศิลปะที่รวบรวมฝีมือและงานประณีตศิลป์หลายประเภทเข้าไว้ด้วยกันแสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนช่างคิดช่างประดิษฐ์ และแสดงออกซึ่งความสามารถในด้านศิลปะของคนในชาติ ความงดงามเหล่านั้นปรากฏให้เห็นอยู่บนรูปร่าง หน้าตาเครื่องแต่งกายและการประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับบนตัวหุ่น อันเป็นเอกลักษณ์ในด้านงานศิลปกรรมของไทย  เนื่องจากปัจจุบันหาผู้ที่สืบทอดหรือจัดสร้างหุ่นหลวงได้ยากมากขึ้น  สำนักช่างสิบหมู่ ได้ตระหนักเห็นความสำคัญในการศึกษารูปแบบตลอดจนวิธีการจัดสร้างหุ่นหลวง เพื่อเก็บรวมรวมไว้เป็นเอกสารองค์ความรู้ จึงมีการจัดโครงการศึกษา  รวบรวม ข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม เรื่อง การสร้างหุ่นหลวง ขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๙  โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานในส่วนกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบการจัดสร้างชิ้นงานประกอบการจัดทำองค์ความรู้ในครั้งนี้  เป็นการสร้างหุ่นหลวง(ตัวพระ) เพื่อศึกษาโครงสร้างภายในตัวหุ่น กลไกการเชิดหุ่นให้มีท่าทางต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับต่าง ๆ โดยจัดทำเป็นเอกสารประกอบการโครงการศึกษารวบรวมเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม เรื่อง การสร้างหุ่นหลวงในครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป

ความรู้ทั่วไป

มณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง เสฐียรโกเศศ

มณฑปกับบุษบก ลักษณะรูปหลังคาเป็นอย่างเดียวกัน ต่างแต่ขนาดใหญ่กับเล็ก แถมประสาทเข้าด้วยถ้ามีมุขก็เรียก “ปราสาท” จะเห็นได้จากหลังคาปราสาทว่าเป็นเรือนชั้น ถ้าดูปราสาทพม่าหรือถะของจีนแล้วจะเห็นได้ชัดเจนเพราะเขาไขชั้นสูงมีบัญชรด้วยแต่ของเราย่นชั้นหลังคาลงมาซ้อนกันจนทำให้ฝาหายไป เรือนยอดขนาดใหญ่ที่คนเข้าได้หลายคนเรียกว่า "มณฑป"  เรือนยอดแบบนี้ถ้าประกอบมุข (หลังคาซ้อนหลายชั้น) เขาเรียกว่า “ปราสาท” ถ้ามีแต่ยอดขนาดเล็กคนเข้าได้คนเดียวหรือเข้าไม่ได้เลยเรียก “บุษบก”  

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ออกแบบโดย นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์  จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์             สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน  ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้น  เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           "การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล ๙๐ พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ  ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย" นายเกียรติศักดิ์ กล่าว

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel