ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

สื่อประชาสัมพันธ์ : บาตรประดับมุก
สื่อประชาสัมพันธ์ : บาตรประดับมุก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บาตรประดับมุก ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๖๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานยืมจัดแสดง ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)            ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒  กรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่  ดำเนินการจัดสร้างศิลปกรรมที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี ๑ ชุด  คือ  #เครื่องไทยธรรม หมายถึง สิ่งของที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วย บาตรประดับมุก และ หีบประดับมุก (หีบใบใหญ่ภายในบรรจุหีบใบเล็กสามใบ)              โดยเครื่องไทยธรรมชุดนี้ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ในช่วงท้ายของพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์  ทรงหลั่งทักษิโณทก เสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย           บาตรประดับมุก  ประกอบด้วย  บาตร  ฝาบาตร  และเชิงบาตร  บาตรประดับมุกเป็นบาตรทรงมะนาวแป้น  พื้นฝาบาตรประดับมุกทึบเต็มพื้นที่ (ปูพื้นอย่างโมเสก) ประดับเป็นรูปเหลี่ยมเพชร  ฝาบาตรด้านบนประดับด้วยโลหะสลักดุนนูน  ฉลุทองแดงชุบทอง  รูปพระราชลัญจกรประจำรัชกาล  พระจุฬมงกุฎมหาวชิราวุธประดิษฐานบนพานปากกระจับ ๒ ชั้น ประกอบด้านซ้ายและขวาด้วยฉัตรบริวาร  ล้อมด้วยสายสร้อยและดวงตราเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์             รอบฝาบาตรประดับโลหะสลักดุนนูนรูป อัฏฐพิธมงคล หรือ สัญลักษณ์มงคล ๘ ประการ  ได้แก่ ๑.อุณหิสหรือกรอบหน้า ๒.คทาหรือกระบอง ๓.สังข์ ๔.จักร ๕.ธงชัย ๖.อังกุศหรือขอช้าง ๗.โคอุสภ ๘.กุมภ์หรือหม้อน้ำ สัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการนี้เป็นความเชื่อที่คนไทยแต่โบราณได้รับคติมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยสิ่งที่เป็นมงคลทั้งแปดนี้ มีความสัมพันธ์เนื่องในพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์   ผู้ที่สนใจกระบวนการสร้างบาตรประดับมุก  สามารถอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้---------------------------------------https://datasipmu.finearts.go.th/academic/38---------------------------------------

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการปิดทองทึบ

งานลงรักปิดทอง คาดว่าคงจะมีการสร้างงานประเภทนี้มานานมากแล้ว ดังที่มีคำกล่าว แต่โบราณมาว่าพระพุทธองค์ และพระอรหันต์บางองค์มีผิวพระวรกายดั่งทองทา แต่ด้วยทองคำเป็นโลหะธาตุไม่ใช่น้ำหรือของเหลวจะได้นำมาทาอะไรให้เป็นสีทองได้ และการรู้จักใช้ทองคำก็มีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ว่านางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสใส่ภาชนะถาดทองคำแด่พระพุทธองค์ส่วนงานช่างปิดทองนั้น คงจะมีการพยายามหาวิธีการทางช่างที่จะใช้ทองอย่างประหยัดบนพื้นที่กว้าง จึงได้คิดหาวิธีนำทองคำมาตีแผ่เป็นแผ่นบางแล้วหุ้มวัตถุที่ต้องการให้ดูเป็นทองทั้งหมด ซึ่งก็ยังต้องใช้ทองจำนวนมากอยู่จึงคิดค้นหาวิธีต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะประหยัดทองให้ได้มากที่สุด จึงได้เกิดการตีทองให้บางยิ่งขึ้น จนเป็นทองคำเปลว แล้วหาวิธีการปิดทับผิววัสดุที่ต้องการให้เป็นทองนั้นด้วยสารเหนียว เช่น ยางไม้ประเภทต่าง ๆ และยางที่ดีที่สุด ก็ได้แก่ ยางของต้นรักใหญ่ หรือรักน้ำเกลี้ยง เมื่อได้ยางรักจากต้นแล้วต้องนำมากรองให้รักสะอาดปราศจากผงฝุ่น ยางของรักมีสีน้ำตาลดำ และสีดำสนิท นำมาทาพื้นวัสดุที่จะปิดทองเมื่อมีความเหนียวพอเหมาะ จึงใช้ทองคำเปลวปิดลงไปให้ทั่ว จึงดูแล้วรู้สึกหรือเห็นวัสดุนั้นเป็นสีทองสุกปลั่งเหมือนดั่งว่าเป็นทองคำทั้งชิ้นงาน งานช่างปิดทองจึงเป็นงานที่คู่กับงานชา่ งรักมาโดยตลอด..

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการสร้างหัวโขน แบบประยุกต์

     โขนเป็นนาฏกรรมที่รวบรวมเอาศิลปะที่สวยงามแขนงหนึ่งครบถ้วนตามขบวน “ระบำ รำ เต้น”เข้าไว้ด้วยกัน โดยเน้นหนักในเรื่อง “เต้น” เป็นเอกลักษณ์ กล่าวกันโดยติดปากว่า “เต้นโขน”การเต้นเป็นลีลาอันสวยงามที่แสดงออกถึงพลังหรือความเข้มแข็ง ประกอบกับการรำอาวุธที่มาแต่โบราณ คือ “กระบี่กระบอง” อันเป็นยุทธศิลปที่เน้นรูปแบบลีลาอันสวยงาม ให้เข้ากับจังหวะของเครื่องดนตรีหรือ “ยุทธดุริยางค์” และยังรวมไว้ด้วยการละเล่นที่จัดขึ้นเป็นพิธีหลวงที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ “ชักนาคดึกดำบรรพ์” อันเป็นตอนหนึ่งของเรื่องกำเนิดรามเกียรติ์ตอนกวนน้ำอมฤตจึงกล่าวไว้ว่า โขน เป็นนาฏกรรมที่รวมเอาศิลปะอันงดงามครบกระบวน “ระบำ รำ เต้น”

ความรู้ทั่วไป

วิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง อมร ศรีพจนารถ

                 เอกสารว่าด้วยวิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑปนี้เป็นเอกสารประกอบการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์อมร ศรีพจนารถ นายช่างศิลปกรรม ระดับ ๙ ของกรมศิลปากรขณะที่ท่านยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะไทยอยู่ ณ โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพฯ (วิทยาลัยช่างศิลป์ในปัจจุบัน) และเมื่อท่านย้ายมาบรรจุเป็นข้าราชการในกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ได้นำความรู้เรื่องศิลปะไทยหลายสาขาที่ท่านเคยสอนมาเผยแพร่แก่ข้าราชการใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงานในกองหัตถศิลป ซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์งานด้านนี้ให้เกิดความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติจนสามารถเป็นนายช่างด้านศิลปะไทยที่ดีมีความสามารถต่อไป การมีโอกาสได้ศึกษาความรู้จากท่านอาจารย์จึงเห็นว่าเอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท่านเคยแนะนำสั่งสอนไว้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษา                 เอกสารวิธีร่างยอดบุษบกหรือมณฑปได้อธิบายการเขียนไว้เป็นหลักพอประมาณแต่ขนาดและสัดส่วนต่าง ๆ ของยอดบุษบกหรือมณฑปในแต่ละอาคาร สามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับขนาด การใช้สอย และพื้นที่ตั้งของอาคาร ผู้ศึกษาจะต้องฝึกเขียน เพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศึกษารูปแบบอาคารลักษณะนี้เพิ่มขึ้นซึ่งจะได้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างยิ่ง

มณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง เสฐียรโกเศศ

มณฑปกับบุษบก ลักษณะรูปหลังคาเป็นอย่างเดียวกัน ต่างแต่ขนาดใหญ่กับเล็ก แถมประสาทเข้าด้วยถ้ามีมุขก็เรียก “ปราสาท” จะเห็นได้จากหลังคาปราสาทว่าเป็นเรือนชั้น ถ้าดูปราสาทพม่าหรือถะของจีนแล้วจะเห็นได้ชัดเจนเพราะเขาไขชั้นสูงมีบัญชรด้วยแต่ของเราย่นชั้นหลังคาลงมาซ้อนกันจนทำให้ฝาหายไป เรือนยอดขนาดใหญ่ที่คนเข้าได้หลายคนเรียกว่า "มณฑป"  เรือนยอดแบบนี้ถ้าประกอบมุข (หลังคาซ้อนหลายชั้น) เขาเรียกว่า “ปราสาท” ถ้ามีแต่ยอดขนาดเล็กคนเข้าได้คนเดียวหรือเข้าไม่ได้เลยเรียก “บุษบก”  

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368