ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

องค์ความรู้

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - งานลายฉลุประคบสี

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป    

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ประจำปี ๒๕๕๖

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book รายงานสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น" โดย วิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น Mr.KIYOSHI MIYAGI ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๖"ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น"           สำนักช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมศิลปากรที่มีหน้าที่ในการผดุงรักษา ฟื้นฟู สืบทอดศิลปะวิทยาการทางด้านช่างฝีมือ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์งานด้านช่างศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรมของชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ประกอบด้วยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มจิตรกรรม กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา และศูนย์ศิลปะและการช่างไทย            สำนักช่างสิบหมู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านช่าง ศิลปกรรมระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรแก่บุคลากรภายใน หน่วยงานให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ เทคนิค วิธีการ เปรียบเทียบ นำไปสู่การสร้างสรรค์และการเผยแพร่ด้านศิลปกรรมกับศิลปินต่างประเทศ หน่วยงานได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในนานา ประเทศและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านศิลปกรรม กระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ            สืบเนื่องจากการที่สำนักช่าง สิบหมู่ได้ดำเนินโครงการศึกษาดูงานด้านเครื่องรัก ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๖ มิถุนายน – ๓ กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๕๕๕  ณ  โอกินาวา  นารา และทาคามัตสึ โดยได้มีการศึกษาดูงาน ณ สตูดิโอของศิลปินแห่งชาติด้านเทคนิคเครื่องมุก อาจารย์คิตะมูระศิลปินด้านเครื่องมุกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดโอกินาวา  อาจารย์มาเอดะและอาจารย์มิยากิได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเครื่องรัก และได้ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง  จากการศึกษาดูงานครั้งนี้คณะเดินทางได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากศิลปินญี่ปุ่นในการแสดง สาธิต อธิบายขั้นตอนเทคนิคในการทำงานอย่างไม่ปิดบังและยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคนิคในการทำงานต่าง ๆ แก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่  โดยเฉพาะอาจารย์มิยากิที่เชี่ยวชาญงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องรักทุกชนิดและปฏิบัติงานเองในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การต้มหอยมุกซึ่งทำให้ได้มุกที่มีความบางมากสามารถนำมาใช้งานได้ง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่างไทยไม่มีความรู้และไม่เคยปฏิบัติมาก่อน สำนักช่างสิบหมู่จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อแลกเปลี่ยนด้านศิลปกรรมด้านเครื่องรัก ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๖  โดยเชิญวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดความรู้เทคนิค วิธีการ แนวคิด รูปแบบงานศิลปกรรมด้านเครื่องรักแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ โดยเรียนรู้จากการฝึกอบรมและร่วมปฏิบัติงานกับวิทยากรในการสร้างสรรค์ผลงาน และจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่สำเร็จจากการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะชนต่อไป            เอกสาร “รายงานสรุปการฝึกอบรม : ขั้นตอนการสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น” ฉบับนี้  เป็นรายงานสรุปผลการฝึกอบรมอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ : ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น  ระหว่างวันที่ ๓ – ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  โดยวิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น  Mr.KIYOSHI  MIYAGI  ซึ่งรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเอกสารรายงานโดย  นางสาวชุตินันท์  กฤชนาวิน  นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ  สังกัด ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต  

ความรู้ทั่วไป

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน เม.ย. - ก.ย. ๕๔

          สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒  ประจำเดือนเมษายน - เดือนกันยายน ๒๕๕๔  นำเสนอเรื่องราวความรู้กระบวนการสร้างวัสดุสำคัญของงานช่างไทย  "จากทองคำสู่ทองคำเปลว"  นอกจากนั้นยังประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมบุคคลทั่วไป เรื่อง "การระบายสีน้ำและการใช้เทคนิคพิเศษ"  และเนื้อหาภาคต่อของเอกสารประกอบการเสวนา  วันอนุรักษ์มรดกไทย  เรื่อง "งานช่างหลวง"

การเขียนภาพครุฑ : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

"ครุฑ" หรือ "พญาครุฑ"  เป็นนามเรียกสัตว์ประดิษฐ์อีกภาพหนึ่งของศิลปะไทยว่า มีกายเป็นคน ส่วนหัวและท่อนล่างเป็นนก ซึ่งตรงกับต่างชาติหลายชาติที่ว่ากายเป็นคน แต่ละชาติก็มีความคิดแตกต่างกันไปตามจินตนาการของช่าง สำหรับของไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในเรื่องเทวกำเนิด  พวกเทพต่าง ๆ ในเทวกำเนิดนี้ว่า  ครุฑเป็นลูกของพระกัศยปเทพบิดรกับนางวินตา ถือกำเนิดมีส่วนศีรษะเป็นนก ร่างกายท่อนบนเป็นคน มีปีก เล็บ ปากเหมือนนกอินทรี แขนขาเป็นคน หน้าขาว ปีกแดง ตัวเป็นสีทอง  มีวิมานอันสวยงามเรียกว่าฉิมพลี  เป็นสหายกับพระนารายณ์ ในภาพศิลปะไทยของเราท่อนล่างเป็นนกทั้งหมด เป็นพาหนะทรงของพระนารายณ์  เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์หลายตอน

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel