ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ปิดทองนพศูล บนเทวาลัย พระศิวลึง ณ เทวสถาน สำหรับพระนคร( โบสถ์พรามหณ์ )
         เนื่องด้วย ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เทวสถาน สำหรับพระนคร ( โบสถ์พราหมณ์ )  ได้พบ กิ่งนพศูล บนเทวาลัย พระศิวลึง หักตกลงมาด้านล่าง จึงได้ขอความอนุเคราะห์มาทาง สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรดำเนินการซ่อมแซม เชื่อมทองเหลือง และ ปิดทองใหม่ทั้งองค์ ณ เทวสถาน สำหรับพระนคร ( โบสถ์พราหมณ์ )  นภศูล หรือ นพศูล กับความกังขา นภศูล สมัยอยุธยา นภศูลปรางค์ทั่วๆ ไป และนภศูลปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์  เครื่องประดับส่วนยอดของสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งพบเห็นกันอยู่ทั่วไปทั้งที่ส่วนยอดของปรางค์ ตามวัดในพุทธศาสนา หรือส่วนยอดของอาคารปราสาท มหาปราสาทที่มีเครื่องยอดทรงปรางค์ เครื่องประดับนี้ พจนานุกรมฉบับต่างๆ รวมทั้งข้อเขียน บทความ หนังสือ ตำราเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย จะเรียกกันทั้งนภศูลและนพศูล และยังให้ความหมายของกิ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบว่าเป็นนภศูลและนพศูลด้วย ซึ่งชื่อที่เรียกต่างๆ นี้ จะแยกแยะว่าควรจะเรียกว่าอย่างใดในภายหลัง             เครื่องประดับนี้จะมีรูปร่างและรูปแบบแตกต่างกัน ส่วนยอดของปราสาทหรือปรางค์ขอมนั้นทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและทั้งที่อยู่ในประเทศเขมรปัจจุบัน จะไม่ปรากฏเครื่องประดับยอดปรางค์นี้อยู่ที่ส่วนยอดเลย นอกจากผู้เขียนพบจอมโมฬีหรือบัวกลุ่ม ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนยอดบนสุด มีรูสำหรับเสียบเครื่องประดับ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร จอมโมฬีนี้พังทลายหล่นลงมาอยู่บนพื้นดินในจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่ลายหน้าบันสลักด้วยหินที่มุขของปราสาทด้านทิศตะวันตก  ของปราสาทประธาน ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ก็มีรูปแบบเป็นตรีศูล หรือศาสตราของพระอิศวรเท่านั้น             สำหรับประเทศไทย ยังมีเครื่องประดับยอดปรางค์ทั้งที่อยู่บนยอดของปรางค์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับองค์ปรางค์ที่รอการบูรณะหรือตั้งแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ของทางราชการ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเครื่องประดับยอดปรางค์ของปรางค์ไทย ที่ยังเรียกชื่อและให้นิยามความหมายที่ยังสับสนกันอยู่เท่านั้น            โดยจะรวบรวมความหมายต่างๆ จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ และพจนานุกรม ฉบับมติชน พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๔๗ มาเทียบเคียงเพื่อความกระจ่างต่อไป (ดูตาราง)           สำหรับเครื่องประดับยอดปรางค์ของประเทศไทย จะเป็นเครื่องโลหะปลายแหลมต่อด้วยแกนกลางเป็นลำยาว เสียบอยู่ที่ยอดปรางค์ต่อจากจอมโมฬีหรือบัวกลุ่ม ตลอดลำที่ยอดเป็นศูล คือหลาว รวมเรียกว่าลำภุขัน ลำ หรือด้ามของอาวุธ มีปลายลำเป็นหลาวมิใช่หอก พอสรุปได้ว่าสิ่งประดับยอดปรางค์ คือแกนกลาง เป็นลำของอาวุธ คือลำภุขัน มีกิ่งจำนวน ๓ ชั้น แต่ละชั้นมีสาขาออกไป ๔ ทิศ ๓ ชั้นรวมเป็น ๑๒ สาขา รวมหลาวซึ่งเป็นแกนกลางอีก ๑ รวมเป็น ๑๓ และโดยเฉพาะจะชี้ขึ้นไปบนฟ้า คือนภ หรือนภา เครื่องประดับยอดปรางค์จึงสมควรเรียกว่านภศูลเท่านั้น ส่วนคำว่านพศูล มีผู้อธิบายว่ามีกิ่งจำนวน ๒ ชั้น รวม ๘ กิ่ง และเมื่อรวมกับหลาวอีก ๑ ก็จะเป็น ๙ ตรงกับคำว่านพ แต่เท่าที่พบปรางค์ต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยจะพบว่ามีกิ่งจำนวน ๓ ชั้น ๑๒ กิ่งเท่านั้น ไม่พบว่ามีกิ่งหรือสาขาจำนวน ๒ ชั้น ๘ กิ่ง ฝักเพกา-ฝักลิ้นฟ้า เพกา น. ชื่อไม้ต้นชนิด Oroxylumindicum (L.) Kurz ในวงศ์ Bignoniaceaeฝักแบนยาวใหญ่มาก ฝักอ่อนทำให้สุกแล้วกินได้ เมล็ดใช้ทำยาได้ ช่างไทยเอาคำว่าฝักเพกามาเป็นชื่อกิ่งชนิดหนึ่งของนภศูล         จากพจนานุกรมทั้ง ๒ เล่ม อธิบายยอดกลางว่าเป็นหอก ก็ขัดกับคำอธิบายว่าศูล ที่หมายถึงหลาว ส่วนคำว่า แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน และสลัดได ที่นิยามความหมายทั้งหมดว่า เครื่องประดับยอดปรางค์นั้นไม่น่าจะถูกต้อง ความหมายของคำดังกล่าวทั้งหมด ต้องหมายถึงรูปแบบของกิ่งหรือสาขาของแต่ละสมัยของสถาปัตยกรรม หรือของแต่ละพื้นถิ่น             ความหมายของทุกคำที่นิยามไว้ว่ามีกิ่งเป็นรูปดาบนั้นถูกต้องเฉพาะกิ่งของนภศูลสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น เช่น นภศูลที่ยอดปรางค์ของวัดอรุณราชวราราม นภศูลของเครื่องยอดของปราสาททรงปรางค์ของปราสาทพระเทพบิดร หรือพุทธปรางค์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง นภศูลของปรางค์  วัดราชบูรณะและนภศูลของศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร                นภศูลโดยทั่วไปโดยเฉพาะปรางค์สมัยอยุธยา กิ่งจะไม่เป็นรูปดาบ แต่จะเป็นรูปฝักเพกา อันเป็นฝักของต้นไม้ ฝักมีขนาดใหญ่ ฝักอ่อนกินได้ ผู้เขียนพบที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ชาวอีสานจะเรียกต้นเพกานี้ว่าลิ้นฟ้า คงเห็นว่าฝักแบนใหญ่ ปลายฝักคล้ายลิ้น ต้นมีความสูงเสียดฟ้า ส่วนคำว่าลำภุขัน หมายถึงอาวุธชนิดหนึ่ง มีด้ามเป็นลำยาว ปลายสุดเป็นหลาว มิได้หมายถึงนภศูลทั้งอัน ส่วนกิ่งที่เป็นรูปฝักเพกา เป็นลักษณะกิ่งของนภศูลสมัยอยุธยา เช่น นภศูลของปรางค์วัดพระราม ปรางค์วัดกษัตราธิราช ปรางค์วัดศาลาปูน และปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยานภศูล ชนิดแง่งขิง, สลัดได ปรางค์วัดมหาธาตุ สุพรรณบุรี นภศูลที่มีกิ่งเป็นแง่งขิง หรือสลัดไดที่มีรูปแบบคล้ายกันนั้น พบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี                 ผู้เขียนพบขณะที่ทางวัดนำลงมาตั้งใกล้ๆ กับองค์ปรางค์ รอที่จะนำขึ้นไปติดตั้งเมื่อบูรณะเสร็จ ปัจจุบันนำขึ้นไปติดตั้งเหนือจอมโมฬีแล้ว นภศูลปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์               สรุปได้ว่า เครื่องประดับยอดปรางค์ในประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรเรียกว่านภศูลอย่างเดียว และควรมีคำนิยามดังนี้                    นภศูล น. เครื่องประดับยอดปรางค์ยอดพุ่งตรงขึ้นไปบนท้องฟ้ายอดกลางเป็นหลาวมีกิ่ง๓ชั้นแตกสาขาออกไป๔ทิศมีรูปแบบต่างๆเช่นฝักเพกาแง่งขิงสลัดไดและดาบ ที่มา         ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ สิงหาคม 2555 ผู้เขียน     รศ. สมใจ นิ่มเล็ก, ราชบัณฑิต   เผยแพร่   วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2560

องค์ความรู้

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (งานปิดทอง งานประดับกระจก)กรณีศึกษาพระแท่นบรรทม

เอกสารฉบับบนี้นำเสนอรายละเอียดการบูรณะซ่อมแซมพระแท่นบรรทม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ในลักษณะการบูรณะซ่อมแซม. เพื่อการศึกษา เพื่อการอนุรักษ์และจัดแสดงแบบสำนักช่างสิบหมู่ ด้วยหลักฐานที่ปรากฎตามข้อเท็จจริงและสมมุติฐานโดยคำนึงถึงรูปแบบเดิมของพระแท่นบรรทมที่มีลักษณะงานช่างโบราณลงรักปิดทองประดับกระจก ทาชาดรวมถึงงานช่างสนะไทยเป็นงานที่เกี่ยวกับงานผ้าอาภรณ์ภัณฑ์ในการจัดทำผ้าดาดหลังคาและผ้าขลิบลายทองของพระแท่นบรรทมอันเป็นรูปแบบงานประณีตศิลป์ไทยที่ถ่ายทอดฝีมือและศิลปะเชิงช่างแบบโบราณจากอดีตจนถึงปัจจุบันให้กลับคืนสภาพอดีตดั่งแรกสร้าง            เพื่อเป็นการสืบทอดองค์ความรู้งานครูช่าง พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ให้เกิดความเชี่ยวชาญทางด้านการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอย่างถูกต้องเหมาะสม  และสอดคล้องกับภารกิจหลักขององค์กร โดยสำนักช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงรักษาสืบทอด และเผยแพร่ความรู้อันเนื่องด้วยมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ และสะดวกในการสืบค้นข้อมูลต่อไปในอนาคต สำนักช่างสิบหมู่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารองค์ความรู้การบูรณะซ่อมแซมพระแท่นบรรทม รัชกาลที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม  ฉบับนี้จะเป็นแนวทางการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในลักษณะการซ่อมงานอนุรักษ์แบบสำนักช่างสิบหมู่และเป็นประโยชน์ทางการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจได้ไม่มากก็น้อย หากเอกสารองค์ความรู้การบูรณะซ่อมแซมพระแท่นบรรทมฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใดสำนักช่างสิบหมู่  ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะและจะนำมาปรับปรุงเอกสารให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการปิดทองทึบ

งานลงรักปิดทอง คาดว่าคงจะมีการสร้างงานประเภทนี้มานานมากแล้ว ดังที่มีคำกล่าว แต่โบราณมาว่าพระพุทธองค์ และพระอรหันต์บางองค์มีผิวพระวรกายดั่งทองทา แต่ด้วยทองคำเป็นโลหะธาตุไม่ใช่น้ำหรือของเหลวจะได้นำมาทาอะไรให้เป็นสีทองได้ และการรู้จักใช้ทองคำก็มีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ว่านางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสใส่ภาชนะถาดทองคำแด่พระพุทธองค์ส่วนงานช่างปิดทองนั้น คงจะมีการพยายามหาวิธีการทางช่างที่จะใช้ทองอย่างประหยัดบนพื้นที่กว้าง จึงได้คิดหาวิธีนำทองคำมาตีแผ่เป็นแผ่นบางแล้วหุ้มวัตถุที่ต้องการให้ดูเป็นทองทั้งหมด ซึ่งก็ยังต้องใช้ทองจำนวนมากอยู่จึงคิดค้นหาวิธีต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะประหยัดทองให้ได้มากที่สุด จึงได้เกิดการตีทองให้บางยิ่งขึ้น จนเป็นทองคำเปลว แล้วหาวิธีการปิดทับผิววัสดุที่ต้องการให้เป็นทองนั้นด้วยสารเหนียว เช่น ยางไม้ประเภทต่าง ๆ และยางที่ดีที่สุด ก็ได้แก่ ยางของต้นรักใหญ่ หรือรักน้ำเกลี้ยง เมื่อได้ยางรักจากต้นแล้วต้องนำมากรองให้รักสะอาดปราศจากผงฝุ่น ยางของรักมีสีน้ำตาลดำ และสีดำสนิท นำมาทาพื้นวัสดุที่จะปิดทองเมื่อมีความเหนียวพอเหมาะ จึงใช้ทองคำเปลวปิดลงไปให้ทั่ว จึงดูแล้วรู้สึกหรือเห็นวัสดุนั้นเป็นสีทองสุกปลั่งเหมือนดั่งว่าเป็นทองคำทั้งชิ้นงาน งานช่างปิดทองจึงเป็นงานที่คู่กับงานชา่ งรักมาโดยตลอด..

ความรู้ทั่วไป

มณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง เสฐียรโกเศศ

มณฑปกับบุษบก ลักษณะรูปหลังคาเป็นอย่างเดียวกัน ต่างแต่ขนาดใหญ่กับเล็ก แถมประสาทเข้าด้วยถ้ามีมุขก็เรียก “ปราสาท” จะเห็นได้จากหลังคาปราสาทว่าเป็นเรือนชั้น ถ้าดูปราสาทพม่าหรือถะของจีนแล้วจะเห็นได้ชัดเจนเพราะเขาไขชั้นสูงมีบัญชรด้วยแต่ของเราย่นชั้นหลังคาลงมาซ้อนกันจนทำให้ฝาหายไป เรือนยอดขนาดใหญ่ที่คนเข้าได้หลายคนเรียกว่า "มณฑป"  เรือนยอดแบบนี้ถ้าประกอบมุข (หลังคาซ้อนหลายชั้น) เขาเรียกว่า “ปราสาท” ถ้ามีแต่ยอดขนาดเล็กคนเข้าได้คนเดียวหรือเข้าไม่ได้เลยเรียก “บุษบก”  

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel