ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้การสร้างลวดลายในงานโลหะ

ยังไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือมนุษย์ยุคหินในสมัยก่อน พบ โลหะได้อย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์อาจค้นพบโลหะโดยการสังเกตจากธรรมชาติรอบกายด้วย ความบังเอิญ จากการที่มนุษย์ได้ออกไปล่าสัตว์ และพักแรม กลางป่า มนุษย์ในยุคหินใช้เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ และเครื่องประดับที่ทำด้วยหิน ดินเผา กระดูก ไม้ เปลือกหอย เขาสัตว์ วัสดุธรรมชาติต่างๆ มาเป็น เวลานานนับหมื่นปีก่อนที่จะรู้จักโลหะ โลหะชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักเป็นโลหะที่พบได้ในสภาพเป็น โลหะตามธรรมชาติ (native metal) ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ชนิด ที่สาคัญได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง ฯลฯ การที่ชุมชน ใดจะใช้โลหะชนิดใดขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณนั้น ทองแดงเป็นโลหะที่พบมากและพบ บ่อยในชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งทั่วโลก เนื่องจากทองแดงเกิดขึ้นตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในแทบทุกภูมิภาค ในขณะที่ทองคำและเงิน เกิดขึ้นอย่างจำกัดในบางภูมิภาคเท่านั้น

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - งานปั้นประดิษฐ์

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป    

ความรู้ทั่วไป

เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

เครื่องไทยธรรม หมายถึงสิ่งของที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๕๖๒  ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนดูหนังสือเทศน์ และเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคน เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก จัดสร้างขึ้นใหม่โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบด้วย บาตรประดับมุก   และหีบประดับมุก  บาตรประดับมุกทรงมะนาวแป้น ฝาบาตรประดับมุก พื้นฝาบนของบาตรประดับมุกทึบเต็มพื้นที่(ปูพื้นอย่างโมเสค) ด้านบนเป็นรูปเหลี่ยมเพชรบนพื้นมุกฝาบาตรประดับด้วยลายโลหะสลักดุนฉลุทองแดงชุบทองเป็นลายพระจุฬมงกุฎมหาวชิราวุธประดิษฐานบนพานปากกระจับ ๒ ชั้น ประกอบด้านซ้ายและขวาด้วยฉัตรบริวารพื้นสลักโลหะลายเบา เขียนทองลายพันธุ์พฤกษา ล้อมรอบด้วยสร้อยห้อยดวงมหาจักรี  ขอบชายด้านข้างประดับมุกเป็นกรอบเส้นลวดวิ่งล่างและบน ในกรอบเป็นลายจัตุรัสสลับเสี้ยวจัตุรัสโดยรอบ  ขอบชายระบายฝาบาตร ประดับด้วยโลหะสลักดุนฉลุทองแดงชุบทองลายอัฐมงคลโดยรอบ เชิงบาตรประดับมุก ถวายพร้อมหีบประดับมุกแบบปูพื้นเต็ม ฝาด้านบนประดับพระปรมาภิไธย ย่อ วปร. และข้อความพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒  เป็นหีบใบใหญ่ภายในบรรจุหีบใบเล็กสามใบ

บัวในศิลปะไทย : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

คำว่า “ บัว ” หมายถึง พืชที่เกิดในน้ำจืด สามารถจัดประเภทบัวได้ ๒ ประเภท คือ ปทุมชาติ และอุบลชาติ“ปทุมชาติ” คือ บัวสำหรับกินฝักและเง่า (หัวบัว) เป็นอาหาร ได้แก่ บัวหลวงและบัวสัตตบงกช  สีของดอกบัวทั้งสองชนิดนี้มีทั้งสีขาวและสีแดง รูปทรงของดอกบัวทั้งสองก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ดอกบัวหลวงรูปทรงของดอกตูมจะมีความกว้าง ๑ ส่วน สูง ๒ ส่วน และประดิษฐ์เป็นลายบัวได้มากชนิด กับเป็นบ่อเกิดของลายกระหนกครึ่งซีก (ที่เรียกว่ากระหนกสามตัว) ส่วนบัวสัตตบงกชนั้นทรงของดอกบัวตูมจะมีลักษณะป้อมเตี้ยกว่าบัวหลวง  ใช้ประดิษฐ์เป็นลายบัวกระหนก พุ่มตัวเทศและบัวปากฐาน  บัวทั้งสองชนิดนี้มีก้านเป็นหนามเล็ก ๆ พอระคายมือเล็กน้อยเมือเวลาจับต้อง  ดอกและใบชูขึ้นเหนือน้ำตลอดตั้งแต่ดอกตูบจนดอกบานและดอกโรยกลายเป็นฝัก (ภายในเป็นเมล็ดบัว)  สำหรับฝักบัวนั้นใช้รับประทานได้ทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแก่  นอกจากทรงของดอกบัวนำไปประดิษฐ์เป็นลายบัวได้หลายแบบแล้วก็ตาม แม้แต่เกสรของดอกบัวยังนำไปประดิษฐ์เป็นลายได้เช่นกัน“อุบลชาติ” คือ บัวสำหรับกินสาย (โดยนำเอาก้านของดอกมารับประทาน) ได้แก่ บัวสัตตบุษย์ บ้างก็เรียกชื่อว่า บัวเผื่อน บัวผัน ดอกมีสี ขาว แดง แต่ถ้าเป็นพันธ์ขนาดเล็กมักมีหลายสี เช่น ชมพู ขาบ เหลือง ม่วง เป็นต้น  มักเลี้ยงเป็นบัวประดับเพื่อความสวยงาม เพราะก้านของดอกเล็กมาก ดอกและใบมักอยู่เหนือน้ำแค่ปริ่ม ๆ น้ำเท่านั้น  ทรงของบัวสัตตบุษย์หรือบัวกินสายนี้มีลักษณะเป็นดอกผอม ๆ ยาว ๆ ใช้ประดิษฐ์เป็นลักษณะของบัวปลายเสาและลายกรวยเชิง

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368