ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

พระนารายณ์มหาราช
จิตรกร : นายนพพล งามวงษ์วาน นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2191-2231 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 พระชนมายุ 56 พรรษานิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเกี่ยวกับรูปร่างของสมเด็จพระนารายณ์ไว้อย่างน่าสนใจ คือ "พระองค์ทรงมีรูปร่างสันทัด พระพักตร์ยาว พระฉวีคล้ำ ดวงพระเนตรแจ่มใสเป็นประกาย พระวรกายโดยรวมมีลักษณะท่าทีของผู้ยิ่งใหญ่ สง่างาม พระอัธยาศัยอ่อนโยน" และในบันทึกอีกส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า มีพระปีฬก หรือ ไฝ บริเวณคางข้างซ้ายเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา หรือ ขน สองเส้นห้อยลงมายาวรูปแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ในภาพดังกล่าวนี้ ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมอินโด-เปอเซียเป็นรูปแบบเสื้อที่มีการใข้งานจริงตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สอดคล้องกับรายงานของ อ็องเดร เดส์ล็องส์-บูโร (Andre' Deslandes-Boureau) ผู้แทนราชบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ใน พ.ศ.2223 ได้กล่าวถึงฉลองพระองค์ของพระองค์ไว้ว่า"ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงมาจากเมืองเปอเซียมีดอกสีทองประปราย" อย่างไรก็ตามรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศในสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งสามารถศึกษาได้จากภาพพิมพ์ของออกพระวิสุทสุนทร ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรีวิสารวาจา ที่ทำในฝรั่งเศส โดย โยฮันน์ ไฮเซลมาน (Johan Haizelman) จะพบว่าทั้งสามท่านสวมเสื้ออย่างเทศเหมือนกัน   ยังปรากฏหลักฐานว่าฉลองพระองค์อย่างเทศถูกใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังพบหลักฐานพระรูปของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ขณะปฏิบัติงานเขียนลายเส้น

องค์ความรู้

การหล่อระฆังโบราณ

จากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณถึงสมัยกลาง ยืนยันได้ว่ามนุษย์ รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และการทำแบบหล่อ เพื่อผลิตชิ้นงานหล่อมาใช้งาน ดังเช่น เมื่อประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ได้ผลิตงานหล่อเป็นหัวขวาน ที่ทำจากทองแดงโดยวิธีการหลอมและเทลงในแบบที่ขุดลงในหินทราย และต่อมามีการพัฒนาโดยการทำไส้แบบ และ การทำแบบเป็นสองชั้น การหล่อบรอนซ์นั้นกระทำกันครั้งแรกในเมโสโปเทเมีย ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช และเทคนิคนี้ได้รับการถ่ายทอดมาสู่เอเชียกลาง อินเดีย และจีน มาถึงจีนประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ในประเทศจีนสมัย ยิน ประมาณ 1,500-1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ก็ได้มีการหล่อภาชนะที่มีขนาดใหญ่ๆและคุณภาพดีได้สำเร็จการถ่ายทอดเข้าไปสู่ยุโรปประมาณ 1,500-1,400 ปีก่อนคริสตศักราช โดยผลิตเป็น ดาบ หัวหอก เครื่องประดับ ภาชนะต่างๆและเครื่องตกแต่งที่ใช้ในงานศพเป็นต้น กลุ่มประเทศที่ผลิตงานหล่อในยุคนั้น คือ สเปญ สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรีย นอร์เวย์ เดนมาร์ค สวีเดน อังกฤษ และ ฝรั่งเศส

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เครื่องศิราภรณ์)

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับจัดสรรงบประมาณโครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร (เครื่องศิราภรณ์)  โดยคณะทำงานเลือกการซ่อมเครื่องศิราภรณ์ ที่เป็นของสำนักการสังคีต ดำเนินการซ่อมและรวบรวมข้อมูลนำมาเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่  (เครื่องศิราภรณ์)

ความรู้ทั่วไป

การเขียนภาพคชสีห์ : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

          คำว่า “คชสีห์” นั้นเป็นคำสมาส คือ เอาคำสองคำมาต่อกัน คำว่า “คช” กับคำว่า “สีหะ” อีกคำหนึ่ง ความหมายคำว่า “คช” ก็แปลว่า ช้าง และ “สีหะ” ก็คือ ราชสีห์ นั่นเอง เมื่อนำเอาสมาสกันแล้วการันต์ตัว ห  ในทางการช่างศิลปะไทยเรา หมายถึง การนำเอาสัตว์สองชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว             ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่างโบราณของไทยเราได้ประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ขึ้นมาตามจินตนาการนั้นมีหลายชนิด และบางอย่างก็นำมาปะติดปะต่อเป็นสัตว์ผสมกัน  สังเกตได้ง่าย คือ ถ้าเรากล่าวถึงสัตว์อะไรก่อน  ส่วนมากจะเขียนเป็นหัวของสัตว์นั้น  ส่วนชื่อตามหลังจะกลายเป็นตัวและเท้าตลอด ดังเช่นคำว่า “คชสีห์” นี้  ส่วนที่เป็นหัวก็มีงวง มีงาลักษณะของช้างประดิษฐ์ ตั้งแต่คอลงไปตลอดหางก็เป็นราชสีห์ (ในเอกสารนี้อาจารย์กล่าวถึงการเขียนหน้าหรือศีรษะของคชสีห์ส่วนลำตัวให้ดูประกอบในเรื่องการเขียนราชสีห์)

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือน มิ.ย. - ก.ย. ๕๓

          สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๐  ฉบับที่ ๓  ประจำเดือนมิถุนายน - กันยายน ๒๕๕๓  นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการสร้างบานประตูประดับมุก  หอพระมณเฑียรธรรม  งานประณีตศิลป์แขนงหนึ่งซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์  รวมทั้งโครงการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการสร้างและดูแลบำรุงรักษาอนุสาวรีย์แห่งชาติ  และโครงการฝึกอบรมด้านศิลปกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป เรื่อง "โลหะประณีต"

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel