ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง พระแม่ธรณีบีบมวยผม
              ตามหนังสือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่ ธพส ๐๑/๐๑๕๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔  แจ้งว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการในที่ดินราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ราชการแห่งนี้ว่า “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ” ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประดิษฐานองค์พระพรหมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ มีสภาพชำรุต จึงขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมองค์พระพรหม และอธิบดีกรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่พิจารณาดำเนินการ               โดย สำนักช่างสิบหมู่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากกลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อ และ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย เดินทางไปสำรวจตรวจสอบความชำรุดเสียหายของ องค์พระพรหม ปรากฏว่าองค์พระพรหม ทำจากวัสดุโลหะทองเหลืองปิดทองทั้งองค์ มีรอยแตกร้าว ทองที่ปิดไว้ชีดจางและหลุดลอก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา เห็นควรดำเนินการซ่อมแซมโดยการลอกสีและทองที่ปิดไว้ออก เชื่อมรอยแตกร้าวและแต่งผิวให้กลับสภาพดังเดิม ทำความสะอาดและปิดทองใหม่ทั้งองค์ และได้รับการประสานจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขอให้ดำเนินการปิดทององค์พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ( เพิ่มเติม )
พระนารายณ์มหาราช
จิตรกร : นายนพพล งามวงษ์วาน นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2191-2231 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 พระชนมายุ 56 พรรษานิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเกี่ยวกับรูปร่างของสมเด็จพระนารายณ์ไว้อย่างน่าสนใจ คือ "พระองค์ทรงมีรูปร่างสันทัด พระพักตร์ยาว พระฉวีคล้ำ ดวงพระเนตรแจ่มใสเป็นประกาย พระวรกายโดยรวมมีลักษณะท่าทีของผู้ยิ่งใหญ่ สง่างาม พระอัธยาศัยอ่อนโยน" และในบันทึกอีกส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า มีพระปีฬก หรือ ไฝ บริเวณคางข้างซ้ายเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา หรือ ขน สองเส้นห้อยลงมายาวรูปแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ในภาพดังกล่าวนี้ ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมอินโด-เปอเซียเป็นรูปแบบเสื้อที่มีการใข้งานจริงตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สอดคล้องกับรายงานของ อ็องเดร เดส์ล็องส์-บูโร (Andre' Deslandes-Boureau) ผู้แทนราชบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ใน พ.ศ.2223 ได้กล่าวถึงฉลองพระองค์ของพระองค์ไว้ว่า"ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงมาจากเมืองเปอเซียมีดอกสีทองประปราย" อย่างไรก็ตามรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศในสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งสามารถศึกษาได้จากภาพพิมพ์ของออกพระวิสุทสุนทร ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรีวิสารวาจา ที่ทำในฝรั่งเศส โดย โยฮันน์ ไฮเซลมาน (Johan Haizelman) จะพบว่าทั้งสามท่านสวมเสื้ออย่างเทศเหมือนกัน   ยังปรากฏหลักฐานว่าฉลองพระองค์อย่างเทศถูกใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังพบหลักฐานพระรูปของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ขณะปฏิบัติงานเขียนลายเส้น

องค์ความรู้

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - การฉลุลายซ้อนโฟม

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป      

ความรู้ทั่วไป

สูจิบัตร(ออนไลน์) : ผลงานจัดแสดงในงานนิทรรศการด้านงานเซรามิค (การเขียนสีเซรามิค) KAMATAKI : Ceramic Exhibition 2022

ผลงานจัดแสดงในงานนิทรรศการด้านงานเซรามิค โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ "ด้านเซรามิค” KAMATAKI : Ceramic Exhibition 2022 (ด้านการเขียนเซรามิค)

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน เม.ย. - ก.ย. ๕๔

          สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒  ประจำเดือนเมษายน - เดือนกันยายน ๒๕๕๔  นำเสนอเรื่องราวความรู้กระบวนการสร้างวัสดุสำคัญของงานช่างไทย  "จากทองคำสู่ทองคำเปลว"  นอกจากนั้นยังประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมบุคคลทั่วไป เรื่อง "การระบายสีน้ำและการใช้เทคนิคพิเศษ"  และเนื้อหาภาคต่อของเอกสารประกอบการเสวนา  วันอนุรักษ์มรดกไทย  เรื่อง "งานช่างหลวง"

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel