ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

การบูรณะซ่อมแซม ปิดทองใหม่ เสาหลักเมือง ในรัชกาลที่ ๔
         หลักเมืองกรุงเทพมหานคร ได้สถิตสถาพรมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปีพุทะศักราช ๒๓๙๘ ทรง พระราชดำริว่าเสาหลักเมืองต้นที่สร้างไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นได้ชำรุดไปตามกาลเวลาทั้งตัวศาลก็ไม่สง่างามเท่าที่ควร           ประกอบกลับทรงเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ผูกดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลายที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองให้วัฒนาถาวรยิ่งขึ้น           การสร้างเสาหลักเมืองต้นใหม่ ได้เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ ลักษณะเป็นเสาไม้สักเป็นแกนอยู่ภายใน ประกบด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่นกว้างแผ่นละ ๘ นิ้วยอดเม็ดส่งมัณฑ์ เมื่อสอบวัดดูในปัจจุบัน ตัวเสาสูง ๕.๐๓๕ เมตรหรือ ๒๐๑.๕นิ้ว เส้นผ่า ศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๔๗ เซนติเมตร หรือ ๑๘.๘ นิ้วรำเสาอวบกว่าเสาหลักเมืองต้นเดิม           พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ประกอบพระราชพิธีจารึกดวงชะตาพระนครลงในแผ่นทองคำปรากกฎความตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์หรือขำบุนนาค ว่า “ หลักเมืองชำรุดทำขึ้นใหม่แล้วจะ ได้บันจุดวงพระชาตาเสียใหม่ ณ วันอาทิตย์เดือน ๑ แรม ๙ ค่ำ พระฤกษ์จะได้บรรจุดวงชาตาพระนครลงด้วยแผ่นทองคำหนัก ๑ บาท แผ่กว้าง ๕ นิ้วจารึกในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามกรมสมเด็จพระปรมานุชิต กรมหมื่น บวรรังสี กับพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวม ๕ รูปเมื่อเวลาจารึกได้เจริญพระปริตร ” นอกจากนี้ยังมีเอกสาร 2 ฉบับซึ่งกล่าวถึงวันที่จารึกดวงชะตากรุงเทพมหานครคือ ๑.      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระบรมานุธิตชิโนรส ๒.      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวุเรศวริยาลงกรณ์ ( กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธ์ )             จดหมายพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนคร รัชกาลที่ ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ ในภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่ 5 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า  "กำหนด ณ วันที่ 5  4 ค่ำปีชวดจัตวาศก เพลาเช้า  6  บาทจะได้ลงควงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"       ประกาศการพระราชาพิธีเล่ม 2 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิ์ประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ฉบับพิมพ์พุทธศักราช 2508 เรื่องจดหมายพะราชพิธีบรรจุชาตาพระนครในรัชกาลที่ 4 ซึ่งขาด  จากเอกสารจดหมายฉบับพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนครราชการที่หนึ่งไปพิมพ์กล่าวว่า   "กำหนด ณ วันที่ 4  4 ค่ำปีขวด จัดวาศก เพลาเช้า 6 บาท จะไคลควงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"               อย่างไรก็ตามวัน 5   4 ค่ำและวัน  4   4  ค่ำ ปีชวด จัตวาศก คณะอนุกรรมการจัดทำจดหมายเหตุ ได้ตรวจสอบกับปฏิทินของกรมตำรากระทรวงศึกษาธิการฉบับพิมพ์พุทธศักราช  2468 และปฏิทิน เทียบสุริยคติและจันทรคติฉบับอื่นๆแล้วไม่มีวันดังกล่าวจึงเทียบวันทางสุริยคติไม่ได้ รายละเอียดของพระราชพิธีจารึกควงชาตาพระนครลงในแผ่นทองคำปรากฏในเอกสารจดหมายพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนครดังนี้ "ข้าพระพุทธเจ้าพระยาโหราธิบดี ขุนโชตพรมมา ขุนเทพากร พร้อมกันขอพระราชทานคำนวณ พระฤกษ์ลงด้วยชะตาพระนครและพระราชพิธีบรรจุหลักทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย กำหนด ณ  วัน 5  4ค่ำชวด จัตวาศกเพลาเช้า 6 บาท จะได้ลงดวงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน  ศาสดาราม พระสงฆ์ 5 รูปกรมสมเด็จพระปรมานุชิต กรมหมื่นบวรรังษีเป็นประธาน ให้มี บายศรีตอง 5 ชั้นสำรับ 1เทียนทอง 5 ธูปเงิน เครื่องกระยาบวช แป้งหอม น้ำมันหอม มีเครื่องนมัสการสำรับ 1 ให้ประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสั่ง แล้วเจิมแป้ง ประมาณแผ่นทองหนัก 1 ตำลึงแผ่ 12 นิ้ว สี่เหลี่ยม  มิให้มีแผลสนิทดี ลงสำเร็จแล้ว "      อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกว่าดวงชะตาพระนครนั้นจารึกลงในแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ส่วนจดหมายเหตุของ  พระยาโหราธิบดีในเอกสารจดหมายพระราชพิธีบรรจุชะตา พระนครราชการที่ 1 และที่คัดไป พิมพ์ในประกาศการพระราชพิธีเล่ม 2 นั้น บันทึกว่าจารึกลงในแผ่นทองคำหนัก 1 ตำลึงคณะอนุกรมการจัดทำจดหมายเหตุ ยังสอบไม่พบหลักฐานอื่นอีกนอกจากเอกสาร 2 ฉบับนี้ สำหรับศาลที่ประดิษฐานหลักเมืองตลอดจนศาลพระกาฬไชยศรี ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง และศาลท้าวเจตคุปต์ปรากฏความตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าพระบาทสมเด็จพระ พระปรเมนทรมาหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้ำ ให้ปรับปรุงใหม่ในคราวเดียวกันด้วยเป็นอาคารจัตุรมุขยอดปรางค์ ก่ออิฐปั้นปูนฉาบสีขาวตามแบบอย่างศาลพระกาฬที่พระนครศรีอยุธยา    อนึ่งรายละเอียดลักษณะของศาลหลักเมืองที่ปรากฏในภาพถ่ายคราวงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบ สถาปัตยกรรมไทยจัตุรมุขยอดปรางค์ หลังคาปูนสีขาว หน้าจั่ว ปั้นลม ประดับช่อฟ้าหางหงส์ปูนสีขาวเฉพาะหลังคามุขทิตใต้ ซึ่งเป็นคนหน้า ของศาล หลังกาซ้อน 2 ชั้น หลังคาชั้นบนเหมือนกับหลังคามุขทิศทั้งสาม ส่วนหลังคามุขซ้อนมุงกระเบื้องสีขาว หน้าจั่วประดับช่อฟ้า รวยระกา  หางหงส์  สันหลังคา หลบสันหลังคา และข้างกระเบื้องฉาบปูนสีขาว เครื่องยอดหลังคาย่อมุมไม้ยี่สิบ ทำเป็นชั้นเชิงกลอนเตรียงลดหลั่นกัน  7  ชั้น แต่ละชั้นประดับบันแถลง กระจังหน้าสีขาว ชั้นรัดประคด มีลักษณะเป็นฝักข้าวโพด ส่วนยอดสุดปักนภศูล ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนสีขาวมุขทิศคนเหนือ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกเป็นมุขสั้นติดกับตัวอาคารมีหน้าต่างที่ผนังมุขด้านตะวันออกและด้านตะวันตกด้านละ 1 ช่อง ส่วนมุขทิศ ด้านใต้ต่อเป็นมุขยาวยื่นออกไปเป็นประตูทางเข้าออกของศาล ผนังสองข้างมุข ทิศด้านไต้นี้มีหน้าต่างข้างละ 1 ช่องครั้นสร้างศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย ณ วันอาทิตย์ที่  1  พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เชิญแผ่นทองคำจารึกดวงชะตากรุงเทพมหานคร เข้าบรรจุที่ยอดเสาหลักเมืองและประกอบพิธี บวงสรวงเชิญพระหลักเมืองเข้าประดิษฐานในรูปเทวดาบนยอดหลักเมืองต้นใหม่จากนั้นจึงมี งานฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ส่วน หลักเมืองต้นเดิมนั้นโปรดให้เชิญขึ้นจากหลุมตั้งทิ้งไว้โดย  ศาลใกล้กับศาลหลักเมืองต้นใหม่ได้เชิญไปไว้ที่อื่น รายละเอียดพระราชพิธีบรรจุดวงชะตาพระนครในยอดเสาหลักเมืองปรากฏในเอกสารในหอสมุดแห่งชาติหลายฉบับประมวลได้ดังนี้            ก่อนวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 อันเป็นกำหนดฤกษ์ 3 วันเริ่มตั้งแต่ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2396 หรือวันแรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศกรัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 เจ้าพนักงานเตรียมการพระราชพิธีศาลหลวงคือที่ตั้งที่ทำการศาลสถิตยุติธรรมในปังจุบัน ตั้งโรง พระราชพิธี และโรงพิธีพราหมณ์ ตั้งศาล 5 ศาล คือศาลท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 ทิศมีศาลพระอินทร์อยู่ท่ามกลาง ปักราชวัติฉัตรธงต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพระราชพิธี โรงพิธีพราหมณ์และศาลหลักเมืองเป็นปริมณฑล  ที่ในโรงพระราชพิธี เชิญ พระไชยพระธรรมมาตั้ง พร้อมเครื่องนมัสการ 1 สำหรับ เทียนชัยฟั่นด้วยขี้ผึ้งหนัก 5 บาทตั้งบาทน้ำ 3 บาท บาตรทราย 1 บาท วงสายสิญจน์รอบที่ศาลเทวดาทั้ง 5 ศาล ตั้งบายศรีตอง 2 สำหรับ ธูปเทียนเงินทอง 2 คู่ พร้อมเครื่องกระยาบวช ตลอดทั้ง 3 วัน ครั้น ณ วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน ถึง วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2396 เจ้าพนักงาน  นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะ 15 รูป พระคู่สวด 20 รูป รวม 35 รูป สวดพระปริตร ทั้ง 3 วัน สำหรับ พระคู่สวดนั้นแบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 5 รูปสวดจตุภาณวาร 3 รูปสวดนครฐานปริตร 2 รูปและใน เวลาเย็น โหรบูชาเทวดาที่ศาลทั้ง 5 ศาลตลอดทั้ง 3 วันเช้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแบกฆ้องชัย แตร สังข์ ตามกำหนด ครั้นวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 ตรงกับวันแรม 9 ต่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศก รัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 ที่ศาลหลวงชาวพนักงานสนมพลเรือนตั้งแต่ที่ประทับจัด พานแก้วโถมณฑป พร้อมหมากเสวยไว้พร้อมที่ ศาลเทวดาทั้ง 5 ศาลตั้งบายศรีหัวหมูพร้อม ธูปเทียนและเครื่องสังเวยสำหรับผลไม้บูชาเทวดาที่ศาลหลักเมืองชาวพระคลังสุภารัตน์และชาวพระคลังมหาสมบัติจัดอาสนะสงฆ์ กระโถน ขันน้ำไปตั้งแต่ง สังฆการีรับ เภสัช 4 พานจากชาววิเสท ไปตั้งถวายพระสงฆ์ชาวพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน 3 สำรับ เทียนทอง 3 เล่ม เทียนเงิน 3 เล่มสำหรับผลไม้บูชาฤกษ์ ชาวพนักงานประโคมเตรียมประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสังข์ ตามกำหนด       อนึ่งสำหรับเวลาฤกษ์บรรจุแผ่นทองคำจารึกดวงชะตากรุงเทพมหานครในยอดหลักเมืองและติด เทวรูปพรหลักเมือง มีเอกสารโบราณหลายฉบับบันทึกไว้ต่างกันดังนี้จดหมายพระราชพิธีบรรจุชะตาพระนครราชการที่ 1 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ในภาคผนวกที่ 2  เอกสารฉบับที่ 5 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า"ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันที่ 1  6  ค่ำ เพลาเช้า 2 โมง 8 บาท เป็นวันพระฤกษ์" ประกาศเทวดาจุลศักราช 1215 พุทธศักราช 2396 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ในภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่ 6 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า "พระเลิกเดิมเพลา 7 ทุ่ม 3 บาทเลื่อนมาเป็นเวลาเช้า 3  โมงได้บรรจุพระสุพรรณบัตร" หมายรับสั่งรัชกาลที่ 4 ปีฉลู เบญศกจุลศักราช 1215 พุทธศักราช 2396 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ใน ภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่  7 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า   "พระฤกษ์ซึ่งจะได้บรรจุหลักพระนครณ วันแรม 9 ค่ำ เดือน 6 เพลาย่ำรุ่งแล้ว 2 โมงกับ 8 บาท"          ครั้นเวลาฤกษ์โหนบูชาฤกษ์แล้วพระยาโหราธิบดีเชิญดวงชะตาพระนครเข้าบรรจุในยอดหลัก   เมืองแล้วติดรูปเทวดาพระหลักเมือง พี่ใต้เม็ดยอดเสาหลักเมืองขณะนั้นชาวพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสังข์ ทหารยิงปืนใหญ่ พระมหาฤกษ์ พระมหาชัยมหาจักร มหาปราบ ทั้ง 4 ทิศพระสงฆ์สวดชยันโต พระยาโหราธิบดีประน้ำโปรยทราย ผูกผ้าสีชมพูที่หลักเมืองแล้วเวียนเทียน เจิมแป้งหอมน้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้ต่อมาเวลา 7 ทุ่ม 3 บาทพระยาโหราธิบดีอ่านประกาศเชิญเทวดาเข้าประดิษฐานในเทวโลกบนยอดหลักเมืองมีความดังนี้  "ถ้าแต่ท้าวเทวานุราช สุรารักษ์อันควรจะเสด็จสถิตย์อธิวาศนานุรักษ์ บนยอดหลักสำหรับพระมหานครข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญเทพยมหิทธิมเหศรผู้ทรงสิทธิศักดิ์จงเข้าสิงสู่สำนักในเทวรูปซึ่งประดิษฐาน บนยอดบรมมหานครโตรัน อันบรรจุใส่สุพรรณบัฏจารึกดวงพระชันษากรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรอยุธยา บรมราชธานีนี้จงช่วยคุ้มครองป้องกันสรรไพรีราชดัสก  อย่าให้บีฑาถึงพระมหานครราชธานีแลบุรีรอบขอบเขตขัณฑสีมามณฑล ทั่วสกลราชอาณาประวัติ แล้วจงอภิบาลรักษาสมเด็จพระบรมกษัตริย์อันเสด็จเถลิงถวัลยราช  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหากุฎสมมุติเทพยพงย์ทั้งเอกองค์อรรควรราชอนุชา และพระบรมขัตติขวงศาเสวกามาตย์ราชอันเตบุเรบริจาริก อีกทั้งสมณพราหมณ์ประชาราษฎร ทั่วนิกรสัตว์จัตบททวิบาทในพระราชอาณาจักรให้ปราศจากสรรปรปักษ์ปัจจามิตรภัยพาลจงเกษมสุขสำราญนิรันตรายบำราศ ทุกสิ่งสภาโรคาพยาธิอุปัทวันตรธาน อย่าให้มีโรคภัยพิบัติอุปัทวบีฑาคณานอกรราชบรรพสัชสิ้นทั้งปวง ให้พระมหานครหลวงแลเมืองขึ้นออกทุกเขตรขันทปรจันตชนบทสีมา ดุจคำประกาศอันข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอาราธนากถาดั่งนี้เทอญ"  หลังจากนั้นพระยาโหราธิบดีสวมเม็ดส่งมัณฑ์ที่ยอดหลักแล้วตรึงเหล็ก เป็นเสร็จการ   อนึ่งในวันเดียวกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เททองหล่อพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล  สำหรับเชิญนำกระบวนเสด็จออกนอกพระนครอย่างที่สมเด็จพระบูรพามหากษัตริย์ทรงปฏิบัติกันสืบมา พิธีเททองนั้นกระทำที่หน้าหอพระศาสตราคม กำหนดเวลาพระฤกษ์พร้อมกันกับพระฤกษ์บรรจุดวงชะตาพระนครในหลักเมือง  ครั้นรุ่งขึ้นวันจันทร์ที่สองพฤษภาคมพุทธศักราช 2396 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศกรัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 ที่ศาลหลักเมืองเวลาเช้ามีพิธีเวียนเทียนสมโภชหลัก เมืองโดยนายอำเภอได้ป่าวประกาศให้ราษฎรมาร่วมในพิธีสมโภชและคอยรับแว่นเวียนเทียนพันจันทนุมาศเกณฑ์ปี่พาทย์เชลยศักดิ์ 4 วง หมื่นเทวาทิศจัดฆ้องชัย มาคอยประโคมขณะเวียนเทียนนอกจากนี้กรมวังได้จัดเพลงและกรมเมืองจัดละครแสดงสมโภชหลักเมืองด้วย

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้การสร้างลวดลายในงานโลหะ

ยังไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือมนุษย์ยุคหินในสมัยก่อน พบ โลหะได้อย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์อาจค้นพบโลหะโดยการสังเกตจากธรรมชาติรอบกายด้วย ความบังเอิญ จากการที่มนุษย์ได้ออกไปล่าสัตว์ และพักแรม กลางป่า มนุษย์ในยุคหินใช้เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ และเครื่องประดับที่ทำด้วยหิน ดินเผา กระดูก ไม้ เปลือกหอย เขาสัตว์ วัสดุธรรมชาติต่างๆ มาเป็น เวลานานนับหมื่นปีก่อนที่จะรู้จักโลหะ โลหะชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักเป็นโลหะที่พบได้ในสภาพเป็น โลหะตามธรรมชาติ (native metal) ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ชนิด ที่สาคัญได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง ฯลฯ การที่ชุมชน ใดจะใช้โลหะชนิดใดขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณนั้น ทองแดงเป็นโลหะที่พบมากและพบ บ่อยในชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งทั่วโลก เนื่องจากทองแดงเกิดขึ้นตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในแทบทุกภูมิภาค ในขณะที่ทองคำและเงิน เกิดขึ้นอย่างจำกัดในบางภูมิภาคเท่านั้น

นิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์”

นิทรรศการพิเศษ "สืบ สร้าง สาน ศาตร์ศิลป์"  เนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากรระหว่างวันที่ ๒๗  มีนาคม  ถึงวันที่  ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"กรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่"  มีภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยศึกษาศาสตร์งานศิลป์ ผ่านศิลปกรรมชั้นครูที่ยังคงเหลือให้เห็นตามโบราณสถานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ด้วยการฟื้นฟูศาสตร์ความรู้วิชาช่างศิลปกรรม  สืบสานด้วยการสร้างสรรค์งานช่างศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ส่งต่อด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์วิชางานช่าง ให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์งานนำไปสู่การพัฒนาทักษะเชิงช่างของไทยให้คงอยู่สืบไป เช่นนี้เป็นการ สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์ ผ่านศิลปินศิลปากร- - - - สื่อวีดิทัศน์ประกอบนิทรรศการ - - - -  - - - - รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ - - - -    ตอน “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์”  ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๖ 

ความรู้ทั่วไป

การจัดสร้างตาลปัตร (ตอนที่ ๑)

เนื่องในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔  ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ในการนี้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร จำนวน ๑๐ เล่ม โดยมีกลุ่มจิตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร  และบันทึกข้อมูลจัดทำสื่อสำหรับเผยแพร่โดย ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368