ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

พระนารายณ์มหาราช
จิตรกร : นายนพพล งามวงษ์วาน นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2191-2231 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 พระชนมายุ 56 พรรษานิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเกี่ยวกับรูปร่างของสมเด็จพระนารายณ์ไว้อย่างน่าสนใจ คือ "พระองค์ทรงมีรูปร่างสันทัด พระพักตร์ยาว พระฉวีคล้ำ ดวงพระเนตรแจ่มใสเป็นประกาย พระวรกายโดยรวมมีลักษณะท่าทีของผู้ยิ่งใหญ่ สง่างาม พระอัธยาศัยอ่อนโยน" และในบันทึกอีกส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า มีพระปีฬก หรือ ไฝ บริเวณคางข้างซ้ายเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา หรือ ขน สองเส้นห้อยลงมายาวรูปแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ในภาพดังกล่าวนี้ ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมอินโด-เปอเซียเป็นรูปแบบเสื้อที่มีการใข้งานจริงตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สอดคล้องกับรายงานของ อ็องเดร เดส์ล็องส์-บูโร (Andre' Deslandes-Boureau) ผู้แทนราชบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ใน พ.ศ.2223 ได้กล่าวถึงฉลองพระองค์ของพระองค์ไว้ว่า"ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงมาจากเมืองเปอเซียมีดอกสีทองประปราย" อย่างไรก็ตามรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศในสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งสามารถศึกษาได้จากภาพพิมพ์ของออกพระวิสุทสุนทร ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรีวิสารวาจา ที่ทำในฝรั่งเศส โดย โยฮันน์ ไฮเซลมาน (Johan Haizelman) จะพบว่าทั้งสามท่านสวมเสื้ออย่างเทศเหมือนกัน   ยังปรากฏหลักฐานว่าฉลองพระองค์อย่างเทศถูกใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังพบหลักฐานพระรูปของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ขณะปฏิบัติงานเขียนลายเส้น

องค์ความรู้

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทย

1.การเตรียมพื้นงานจิตรกรรมไทย2.การเตรียมสีฝุ่นสำหรับเขียนภาพจิตรกรรมไทย3.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : เจว็ด4.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : พระบฎ5.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : สมุดข่อย6.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : เฟรม7.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : ตาลปัตร

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการปิดทองทึบ

งานลงรักปิดทอง คาดว่าคงจะมีการสร้างงานประเภทนี้มานานมากแล้ว ดังที่มีคำกล่าว แต่โบราณมาว่าพระพุทธองค์ และพระอรหันต์บางองค์มีผิวพระวรกายดั่งทองทา แต่ด้วยทองคำเป็นโลหะธาตุไม่ใช่น้ำหรือของเหลวจะได้นำมาทาอะไรให้เป็นสีทองได้ และการรู้จักใช้ทองคำก็มีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ว่านางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสใส่ภาชนะถาดทองคำแด่พระพุทธองค์ส่วนงานช่างปิดทองนั้น คงจะมีการพยายามหาวิธีการทางช่างที่จะใช้ทองอย่างประหยัดบนพื้นที่กว้าง จึงได้คิดหาวิธีนำทองคำมาตีแผ่เป็นแผ่นบางแล้วหุ้มวัตถุที่ต้องการให้ดูเป็นทองทั้งหมด ซึ่งก็ยังต้องใช้ทองจำนวนมากอยู่จึงคิดค้นหาวิธีต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะประหยัดทองให้ได้มากที่สุด จึงได้เกิดการตีทองให้บางยิ่งขึ้น จนเป็นทองคำเปลว แล้วหาวิธีการปิดทับผิววัสดุที่ต้องการให้เป็นทองนั้นด้วยสารเหนียว เช่น ยางไม้ประเภทต่าง ๆ และยางที่ดีที่สุด ก็ได้แก่ ยางของต้นรักใหญ่ หรือรักน้ำเกลี้ยง เมื่อได้ยางรักจากต้นแล้วต้องนำมากรองให้รักสะอาดปราศจากผงฝุ่น ยางของรักมีสีน้ำตาลดำ และสีดำสนิท นำมาทาพื้นวัสดุที่จะปิดทองเมื่อมีความเหนียวพอเหมาะ จึงใช้ทองคำเปลวปิดลงไปให้ทั่ว จึงดูแล้วรู้สึกหรือเห็นวัสดุนั้นเป็นสีทองสุกปลั่งเหมือนดั่งว่าเป็นทองคำทั้งชิ้นงาน งานช่างปิดทองจึงเป็นงานที่คู่กับงานชา่ งรักมาโดยตลอด..

ความรู้ทั่วไป

เส้นฮ่อ : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

เส้นฮ่อ ตามแนวทางสันนิษฐานน่าจะมาจากลายสะบัดพลิ้วของริ้วผ้า ซึ่งเป็นลายของจีนฮ่อแต่โบราณ  ไทยเราอาจได้รับอิทธิพลมาแล้วภายหลังนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมตามแนวทางศิลปะไทยของเราเอง   แต่ก็ยังคงสภาพการสะบัดอันเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวของเส้นอยู่  เท่าที่เห็นปรากฏอยู่เกี่ยวกับศิลปะไทยมีอยู่หลายอย่าง เช่น ทางจิตรกรรม ประติมากรรม ลายรดน้ำและแกะสลักไม้ เป็นต้น

กระจัง: องค์ความรู้จากครูช่าง อมร ศรีพจนารถ

     คำว่า "กระจัง" นี้ถ้าเป็นคำในลักษณะรูปของคำประพันธ์ ส่วนมากมักจะมี "ร" กล้ำด้วย เป็น"กระจัง" แต่ลากศัพท์ทางศิลปกรรมช่างของไทย เดิมเป็นคำซึ่งมาจากคำว่า "กะจังหวะ" หมายถึงการกะให้มีขนาดเท่าๆกัน เพื่อความงดงาม เพื่อที่จะให้รัดกุมในเวลาที่พูดกล้ำกับชื่อของมัน ดังนั้นจึงตัดคำว่า "หวะ" ออกเสีย ความหมายเป็นการประดิษฐ์อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้ควบไปกับลวดลาย ซึ่งเป็นกระหนกและลวดลายซึ่งเป็นลาย โดยมีขนาดต่างๆกัน 3 ขนาด เป็นสามชนิด เราเรียกเพิ่มคำว่า "ตัว" นำหน้าเป็น "ตัวกระจัง" แต่ละชนิดก็มีชื่อต่างๆกัน คือ     1. กระจังตาอ้อย ขนาดเล็กสุด     2. กระจังใบเทศ ขนาดกลาง     3. กระจังปฏิญาณ ขนาดใหญ่

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368