ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ท้าวจตุโลกบาล
   ท้าวจตุโลกบาล  การออกแบบภาพผู้ออกแบบออกแบบเป็นแบบไทยประเพณี  ในลักษณะนั่งอยู่บนลายก้อนเมฆ  สื่อถึงบรรยากาศแห่งสรวงสวรรค์  ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช  คือ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา  เป็นสวรรค์ชั้นแรกและชั้นล่างสุดในฉกามาพจรภูมิ  เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุมหาราชิกา  มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ    จาตุมหาราชิกา แปลว่า ดินแดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่  กล่าวคือสวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ ๔ องค์  ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน ๔ ทิศ  ปกครองอยู่คนละทิศ ๑. ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศอุดร (ทิศเหนือ) ทำหน้าที่ปกครองยักษ์  มีกายสีทองหรือสีเขียว  มือถือกระบองเป็นอาวุธ          ๒. ท้าววิรุฬหก  รักษาโลกด้านทิศทักษิณ (ทิศใต้) ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ชื่อกุมกัณฑ์  มีกายขาบหรือน้ำเงินอมเขียว  มือถือหอกเป็นอาวุธ ๓. ท้าวธตรฐ  รักษาโลกด้านทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์มีกายสีหงดิน  หรือสีน้ำตาลอย่างสีเนื้อมนุษย์  บรรเลงพิณสามสาย ๔. ท้าววิรูปักษ์  รักษาโลกด้านทิศประจิม (ทิศตะวันตก) ทำหน้าที่ปกครองพญานาค  มีกายสีเนื้ออ่อนออกขาว  มีธนูเป็นอาวุธ  

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ ความรู้ด้านการตอกกระดาษ ตอกฉลุหนัง

          ศิลปกรรมด้านการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังมีขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล  ปรากฏทั้งในพิธีมงคล  และพิธีอวมงคล  ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้งานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์จากงานตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังเริ่มจางหายไปตามกาลเวลา  สืบเนื่องจากวัสดุที่ค่อนข้างเก็บรักษายาก  เช่น  งานตอกกระดาษ  คงหลงเหลือไว้ให้ศึกษาเพียงแบบลาย  แต่ผลงานจริงกลับถูกทิ้งลงไปเมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรม  ส่วนงานตอกหนังนั้น  เนื่องจากขนาดที่ค่อนข้างใหญ่  จึงยากต่อการเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมได้  และสืบเนื่องมาจนถึงการถ่ายทอดออกมาเป็นมหรสพการแสดงหนังใหญ่  ยังคงหลงเหลือกลุ่มชนเพียงบางกลุ่มที่ยังอนุรักษ์ภูมิปัญญาซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย           ด้วยความสำคัญซึ่งเล็งเห็นคุณค่าของงานศิลปกรรมทางด้านงานตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังนี้เอง  กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  จัดทำโครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  “ความรู้ทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง”  เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง  เพื่อนำไปขยายผลในการทำงานด้านการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อสังคมไทยต่อไป           อย่างไรก็ตามการทำหนังสือประกอบโครงการการจัดสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “ความรู้ทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง” เล่มนี้  หากมีเนื้อหาบกพร่องประการใด  ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แจงให้ทราบด้วย  เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ความรู้ด้านการสร้างหัวโขน แบบประยุกต์

     โขนเป็นนาฏกรรมที่รวบรวมเอาศิลปะที่สวยงามแขนงหนึ่งครบถ้วนตามขบวน “ระบำ รำ เต้น”เข้าไว้ด้วยกัน โดยเน้นหนักในเรื่อง “เต้น” เป็นเอกลักษณ์ กล่าวกันโดยติดปากว่า “เต้นโขน”การเต้นเป็นลีลาอันสวยงามที่แสดงออกถึงพลังหรือความเข้มแข็ง ประกอบกับการรำอาวุธที่มาแต่โบราณ คือ “กระบี่กระบอง” อันเป็นยุทธศิลปที่เน้นรูปแบบลีลาอันสวยงาม ให้เข้ากับจังหวะของเครื่องดนตรีหรือ “ยุทธดุริยางค์” และยังรวมไว้ด้วยการละเล่นที่จัดขึ้นเป็นพิธีหลวงที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ “ชักนาคดึกดำบรรพ์” อันเป็นตอนหนึ่งของเรื่องกำเนิดรามเกียรติ์ตอนกวนน้ำอมฤตจึงกล่าวไว้ว่า โขน เป็นนาฏกรรมที่รวมเอาศิลปะอันงดงามครบกระบวน “ระบำ รำ เต้น”

ความรู้ทั่วไป

ลวดลายของชาติไทย : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

           คำว่า “ลวดลายของชาติไทย” นี้เมื่อฟังดูผิวเผินแล้วจะเห็นว่ายืดยาวเกินไป  แต่ความจริงเป็นคำที่ถูกต้องที่สุดเพราะจะหาคำอื่นมาแทนไม่ได้  แต่เป็นลักษณะของคนไทยอย่างหนึ่งที่ชอบพูดตัดคำให้สั้น  เพื่อจะได้รวดเร็วขึ้นในเวลาพูด  จึงเรียกใหม่ว่า “ลายไทย” ทำให้คนรุ่นหลังน้อยคนไม่ทราบถึงรูปของคำเดิมเลย  บางคนก็เลยเหมาเอาว่าขึ้นชื่อด้วยการเขียนสลับยอด  หรือลักษณะเปลวไฟแล้วเป็นลายไทยทั้งนั้น   เพราะทั้งนี้ผู้ที่แยกไม่ออกและไม่ทราบว่าคำว่า “ลายไทย” ที่ตัดมาจากคำว่า “ลวดลายของชาติไทย” นั้นโบราณอาจารย์ท่านหมายถึงสิ่งประดิษฐ์ ๒ ชนิดรวมกันอยู่  จึงทำให้คุณค่าของความหมายของคำนี้ลดน้อยลงและเลือนไปในที่สุด

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ออกแบบโดย นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์  จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์             สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน  ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้น  เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           "การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล ๙๐ พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ  ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย" นายเกียรติศักดิ์ กล่าว

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel