ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


ความรู้ทั่วไป


ภาพเขียนกระเบื้องลายคราม สื่อสัมพันธ์การผลิตและการค้าเครื่องปั้นดินเผาของไทยและญี่ปุ่น
ภาพเขียนกระเบื้องดินเผาที่แสดงถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมการค้าขายของทั้งสองชาติ การเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กันเป็นเวลากว่า 600 ปีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ภาพกระเบื้องชุดนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชาติในการทำเครื่องปั้นดินเผาในทุกกระบวนการ  ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ  การกรองดิน  การนวดดิน  การขึ้นรูปภาชนะ  การเขียนลาย  การเคลือบ  การบรรจุภาชนะเข้าเตา  และการเผา  ในรูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของทั้งสองชาติ  ลวดลายกระเบื้องที่ออกแบบได้รับการวาดอย่างประณีตบรรจงด้วยสี  ครามหลากหลายเฉดลงบนแผ่นกระเบื้องพอร์ชเลนสีขาว  และเคลือบใสเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส  กระเบื้องทั้ง 48 แผ่น  แต่ละแผ่นมีขนาด 28 x 28 เซนติเมตร  และมีความหนา 12 มิลลิเมตร
การออกแบบลายและเขียนสีใต้เคลือบแจกันคู่ นิทรรศการพิเศษ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"
การออกแบบลายและเขียนสีใต้เคลือบแจกันคู่นิทรรศการพิเศษเรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลวดลายบนแจกันประกอบด้วยส่วนบนหรือคอแจกันผูกกันเป็นลายดอกพุดตานก้านขดถัดลงมาเป็นลายก้านขด มีดอกบัวเป็นตัวออกลาย ผูกเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีส่วนก้าน ใบ และดอกผสมผสานกันโดยใช้ลวดลายที่มีต้นแบบมาจากเครื่องสังคโลก ส่วนกลางของแจกันเขียนลายปลาสลับกับต้นไม้โดยด้านหนึ่งของแจกันเป็นลายปลากา ต้นพุดตานและดอกพุดตานเพื่อสื่อถึงประเทศไทย อีกด้านเขียนลายปลาคาร์ปต้นไม้ดัดแบบญี่ปุ่นและดอกซากุระ สื่อถึงประเทศญี่ปุ่น ด้านล่างมีคลื่นน้ำที่ผสมผสานระหว่างคลื่นแบบงานจิตรกรรมไทยและคลื่นน้ำแบบญี่ปุ่นหมายถึง ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรไมตรีต่อกัน มีการประสานร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เขียนสีใต้เคลือบ โดยใช้สีครามเขียนลวดลายพรรณพฤกษา ต้นไม้และคลื่นน้ำเขียนปลาโดยใช้ตราสัญลักษณ์ของโครงการ เขียนสีต้วปลาให้มีสีสัน ด้วยสีส้มสีแดงและสีเหลืองเพื่อให้โดดเด่นขึ้นมา
การเขียนภาพจิตรกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"
การเขียนภาพจิตรกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"  ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ภาพจิตรกรรมเรือสำเภาแล่นในท้องทะเล  เป็นภาพแสดงท้องทะเลและเรือสำเภาขนส่งสินค้าเดินทางติดต่อค้าขาย มีทั้งเรือสำเภาญี่ปุ่น จีน อยุธยา และยุโรปโดยจัดวาง องค์ประกอบเพื่อสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศการเดินทางติดต่อค้าขาย ด้วยเรือสำเภาระหว่างเมือง ท่าญี่ปุ่น อยุธยาและยุโรปนำไปติดตั้งสร้างบรรยากาศ ประกอบกับการจัดแสดงภายในนิทรรศการ
การออกแบบตราสัญลักษณ์ นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"
ตราสัญลักษณ์นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ปลาคู่ อันหมายความถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์  โดยด้านซ้ายเป็นลายปลากาซึ่งได้ต้นแบบแนวความคิดมาจากเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัยที่นิยมวาดรูปปลาลงบนภาชนะ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองดังคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ด้านขวามือเป็นลายปลาคาร์ป  ซึ่งได้แนวความคิดมาจากสัญลักษณ์  ธงปลาคาร์ปของชาวญี่ปุ่น  โดยระหว่างปลาคู่ประดับด้วยช่อดอกราชพฤกษ์ดอกไม้ประจำชาติไทยและดอกซากุระเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น ถัดลงมาด้านล่างระหว่างหางปลาทั้งสองมีธงชาติของทั้งสองประเทศเชื่อมต่อกัน หมายถึง ทั้งสองประเทศเป็นมิตรไมตรีต่อกัน มีการประสานร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงงานเซรามิก ศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศ
ภัยเงียบของศิลปวัตถุ : บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
     บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  ถือเป็นศิลปวัตถุชิ้นสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งในประเทศไทย  เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง) สั่งทำบานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกอันเป็นศิลปะของประเทศญี่ปุ่น  เพื่อนำมาประดับไว้ภายในพระวิหารหลวง  และได้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า  บานไม้ประดับมุกในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ  เป็นของที่ผลิตขึ้นจากเมืองท่านางาซากิ  ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นเมืองเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่ผลิตงานประดับมุกในลักษณะนี้ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่สร้างพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ          ทางวัดราชประดิษฐฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปวัตถุชิ้นสำคัญนี้  มีความประสงค์ต้องการให้ทางกรมศิลปากรดำเนินการซ่อมแซมบานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกอันเป็นศิลปะของประเทศญี่ปุ่นที่ชำรุดเสียหายทั้งหมด จึงได้จัดตั้งโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ ขึ้น  โดยมีหน่วยงานภายในกรมศิลปากร อาทิเช่น สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักช่างสิบหมู่  สำนักสถาปัตยกรรม  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  ร่วมกันดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔  
ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ออกแบบโดย นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์  จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์             สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน  ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้น  เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           "การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล ๙๐ พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ  ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย" นายเกียรติศักดิ์ กล่าว
การเขียนภาพคชสีห์ : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ
          คำว่า “คชสีห์” นั้นเป็นคำสมาส คือ เอาคำสองคำมาต่อกัน คำว่า “คช” กับคำว่า “สีหะ” อีกคำหนึ่ง ความหมายคำว่า “คช” ก็แปลว่า ช้าง และ “สีหะ” ก็คือ ราชสีห์ นั่นเอง เมื่อนำเอาสมาสกันแล้วการันต์ตัว ห  ในทางการช่างศิลปะไทยเรา หมายถึง การนำเอาสัตว์สองชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว             ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่างโบราณของไทยเราได้ประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ขึ้นมาตามจินตนาการนั้นมีหลายชนิด และบางอย่างก็นำมาปะติดปะต่อเป็นสัตว์ผสมกัน  สังเกตได้ง่าย คือ ถ้าเรากล่าวถึงสัตว์อะไรก่อน  ส่วนมากจะเขียนเป็นหัวของสัตว์นั้น  ส่วนชื่อตามหลังจะกลายเป็นตัวและเท้าตลอด ดังเช่นคำว่า “คชสีห์” นี้  ส่วนที่เป็นหัวก็มีงวง มีงาลักษณะของช้างประดิษฐ์ ตั้งแต่คอลงไปตลอดหางก็เป็นราชสีห์ (ในเอกสารนี้อาจารย์กล่าวถึงการเขียนหน้าหรือศีรษะของคชสีห์ส่วนลำตัวให้ดูประกอบในเรื่องการเขียนราชสีห์)
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ : การปั้นเซรามิค
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ “เสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านเซรามิค" หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค เป็นการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปกรรมในสถานที่ตั้งให้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่   ครั้งที่ ๑ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๒ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘  พฤาภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การเขียนลายบนงานเซรามิค” QR CODE : ภาพบรรยากาศพิธีเปิดและการฝึกอบรม ครั้งที่ ๒ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๕ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การปั้นเซรามิค"
แบบตราสัญลักษณ์กระทรววงการท่องเที่ยวและกีฬา
การออกแบบตราสัญลักษณ์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขั้นตอนการออกแบบ ๑  รับเรื่องขอความอนุเคราะห์ ๒  บุคลากรในสำนักช่างสิบหมู่ออกแบบ เพื่อส่งเข้าร่วมพิจารณาคัดเลือกในแบบประกอบด้วย รูปแบบ  แนวคิด  ความหมาย ๓ ส่งไปยังหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อคัดเลือกแบบ  รวบรวม แบบตราสัญลักษณ์ที่ ดำเนินการออกแบบโดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อส่งเข้าร่วมรับการพิจารณาคัดเลือก ๔  นำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะมาปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต้นเรื่อง  แบบที่ได้รับคัดเลือก ปรับแก้แบบตามมติ ๕  ดำเนินการปรับแก้แบบ ส่งพิจารณา จนเป็นที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามที่หน่วยงานต้นเรื่องพิจารณา ๖ แบบที่ปรับแก้แล้วเสร็จงานแล้วเสร็จ นำไปใช้งาน สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368