ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustratorใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร  โดยสำนักช่างสิบหมู่  ดำเนินออกแบบ  จัดทำหุ่นต้นแบบ กระทรวงมหาดไทย  จัดหาโรงงานในการผลิตชิ้นงาน  โรงงานรัตนโกสินทร์  จ.ราชบุรี  ดำเนินการผลิต  และสำนักช่างสิบหมู่กำกับควบคุมการผลิต  เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงามสมพระเกียรติ ผลงานศิลปกรรมออกแบบโดย สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก       พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญสูงสุดสำหรับผู้ที่จะขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ  เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลบางประการมาจากรูปแบบพิธีกรรมในคัมภีร์สันสกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พิธีราชสูยะ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระราชาธิบดีที่ได้แผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือบรรดาพระราชาทั้งปวง อย่างไรก็ตาม เมื่อคติความเชื่อดังกล่าวเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการผสมผสานคติความเชื่อและพิธีกรรมทั้งของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมผ่านกระบวนการทำให้เป็นท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการพระราชพิธีเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง      นักวิชาการสันนิษฐานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยน่าจะรับรูปแบบพิธีกรรมจากอินเดียผ่านจากพวก มอญ ชวา และเขมร จากหลักฐานต่าง ๆ กล่าวได้ว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้มีพัฒนาการอย่างน้อยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งปรากฏเด่นชัดในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเตรียมพระราชพิธี        มีการทำพิธีตักน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก การจารึกพระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร การเตรียมตั้งแต่งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธีการเตรียมน้ำสรงพระมุรธาภิเษก และน้ำอภิเษก      การสรงพระมุรธาภิเษกและทรงรับน้ำอภิเษกนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  น้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกตามคติพราหมณ์จะต้องใช้น้ำจากแม่น้ำสำคัญ ๕ สายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู เรียกว่า “ปัญจมหานที” ด้วยเชื่อว่าแม่น้ำเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเขาไกรลาสอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้ใช้น้ำปัญจมหานทีหรือไม่ พบแต่เพียงการใช้น้ำจากสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ในแขวงเมืองสุพรรณบุรีเป็นสำคัญ       ครั้นถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กำหนดให้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ แห่งทั่วทุกจังหวัด  และตั้งพิธีเสกน้ำในพระอารามจังหวัดนั้น ๆ ก่อนเชิญมาทำพิธีเสกรวมอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

องค์ความรู้

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ประจำปี ๒๕๕๖

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book รายงานสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น" โดย วิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น Mr.KIYOSHI MIYAGI ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๖"ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น"           สำนักช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมศิลปากรที่มีหน้าที่ในการผดุงรักษา ฟื้นฟู สืบทอดศิลปะวิทยาการทางด้านช่างฝีมือ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์งานด้านช่างศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรมของชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ประกอบด้วยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มจิตรกรรม กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา และศูนย์ศิลปะและการช่างไทย            สำนักช่างสิบหมู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านช่าง ศิลปกรรมระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรแก่บุคลากรภายใน หน่วยงานให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ เทคนิค วิธีการ เปรียบเทียบ นำไปสู่การสร้างสรรค์และการเผยแพร่ด้านศิลปกรรมกับศิลปินต่างประเทศ หน่วยงานได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในนานา ประเทศและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านศิลปกรรม กระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ            สืบเนื่องจากการที่สำนักช่าง สิบหมู่ได้ดำเนินโครงการศึกษาดูงานด้านเครื่องรัก ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๖ มิถุนายน – ๓ กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๕๕๕  ณ  โอกินาวา  นารา และทาคามัตสึ โดยได้มีการศึกษาดูงาน ณ สตูดิโอของศิลปินแห่งชาติด้านเทคนิคเครื่องมุก อาจารย์คิตะมูระศิลปินด้านเครื่องมุกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดโอกินาวา  อาจารย์มาเอดะและอาจารย์มิยากิได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเครื่องรัก และได้ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง  จากการศึกษาดูงานครั้งนี้คณะเดินทางได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากศิลปินญี่ปุ่นในการแสดง สาธิต อธิบายขั้นตอนเทคนิคในการทำงานอย่างไม่ปิดบังและยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคนิคในการทำงานต่าง ๆ แก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่  โดยเฉพาะอาจารย์มิยากิที่เชี่ยวชาญงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องรักทุกชนิดและปฏิบัติงานเองในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การต้มหอยมุกซึ่งทำให้ได้มุกที่มีความบางมากสามารถนำมาใช้งานได้ง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่างไทยไม่มีความรู้และไม่เคยปฏิบัติมาก่อน สำนักช่างสิบหมู่จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อแลกเปลี่ยนด้านศิลปกรรมด้านเครื่องรัก ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๖  โดยเชิญวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดความรู้เทคนิค วิธีการ แนวคิด รูปแบบงานศิลปกรรมด้านเครื่องรักแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ โดยเรียนรู้จากการฝึกอบรมและร่วมปฏิบัติงานกับวิทยากรในการสร้างสรรค์ผลงาน และจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่สำเร็จจากการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะชนต่อไป            เอกสาร “รายงานสรุปการฝึกอบรม : ขั้นตอนการสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น” ฉบับนี้  เป็นรายงานสรุปผลการฝึกอบรมอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ : ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น  ระหว่างวันที่ ๓ – ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  โดยวิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น  Mr.KIYOSHI  MIYAGI  ซึ่งรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเอกสารรายงานโดย  นางสาวชุตินันท์  กฤชนาวิน  นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ  สังกัด ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต  

ความรู้ทั่วไป

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน ก.พ. - พ.ค. ๕๓

          สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๐  ฉบับที่ ๒  ประจำเดือน ก.พ. - พ.ค. ๒๕๕๓  นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการงานช่างพื้นบ้าน  กับการสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทยในวันอนุรักษ์มรดกไทย  รวมทั้งกระบวนการสร้างพระแท่นที่ประทับ (จำลอง) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  และกิจกรรมโครงการเยาวชนสัญจร : ค่ายศิลปวัฒนธรรม  ครั้งที่ ๘  ณ จังหวัดอุบลราชธานี  พร้อมเกร็ดความรู้เรื่องเครื่องไม้ - เครื่องมือ

เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ : การปั้นเซรามิค

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ “เสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านเซรามิค" หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค เป็นการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปกรรมในสถานที่ตั้งให้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่   ครั้งที่ ๑ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๒ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘  พฤาภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การเขียนลายบนงานเซรามิค” QR CODE : ภาพบรรยากาศพิธีเปิดและการฝึกอบรม ครั้งที่ ๒ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๕ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การปั้นเซรามิค"

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel