ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

องค์ความรู้

การหล่อระฆังโบราณ

จากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณถึงสมัยกลาง ยืนยันได้ว่ามนุษย์ รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และการทำแบบหล่อ เพื่อผลิตชิ้นงานหล่อมาใช้งาน ดังเช่น เมื่อประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ได้ผลิตงานหล่อเป็นหัวขวาน ที่ทำจากทองแดงโดยวิธีการหลอมและเทลงในแบบที่ขุดลงในหินทราย และต่อมามีการพัฒนาโดยการทำไส้แบบ และ การทำแบบเป็นสองชั้น การหล่อบรอนซ์นั้นกระทำกันครั้งแรกในเมโสโปเทเมีย ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช และเทคนิคนี้ได้รับการถ่ายทอดมาสู่เอเชียกลาง อินเดีย และจีน มาถึงจีนประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ในประเทศจีนสมัย ยิน ประมาณ 1,500-1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ก็ได้มีการหล่อภาชนะที่มีขนาดใหญ่ๆและคุณภาพดีได้สำเร็จการถ่ายทอดเข้าไปสู่ยุโรปประมาณ 1,500-1,400 ปีก่อนคริสตศักราช โดยผลิตเป็น ดาบ หัวหอก เครื่องประดับ ภาชนะต่างๆและเครื่องตกแต่งที่ใช้ในงานศพเป็นต้น กลุ่มประเทศที่ผลิตงานหล่อในยุคนั้น คือ สเปญ สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรีย นอร์เวย์ เดนมาร์ค สวีเดน อังกฤษ และ ฝรั่งเศส

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (งานปิดทอง งานประดับกระจก)กรณีศึกษา การบูรณะซ่อมแซมพระราชอาสน์

เนื่องด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม มีความประสงค์จะบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ จำนวน ๓ รายการ ได้แก่ นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชอาสน์ และพระแท่นบรรทม จึงได้ขอความอนุเคราะห์มายังสำนักช่างสิบหมู่ให้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุตามรายการดังกล่าว สำนักช่างสิบหมู่ โดยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย และกลุ่มงานแกะสลักและช่างไม้ประณีต ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ ห้องจัดแสดงอาคารพลับพลาจตุรมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และได้เคลื่อนย้ายพระแท่นพระราชอาสน์ และพระบรรทมมาบูรณะซ่อมแซม ณ อาคารช่างปิดทองประดับกระจก และช่างสนะไทย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ จังหวัดนครปฐม เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยรายงานฉบับนี้จะขอนำเสนอรายละเอียด ส่วนพระแท่นราชอาสน์และขั้นตอนการปฏิบัติงานบูรณะซ่อมแซมจำเพาะ พระราชอาสน์ ในลักษณะการอนุรักษ์แบบอย่างสำนักช่างสิบหมู่ ตามหลักฐานที่ปรากฏตามข้อเท็จจริง และสมมุติฐานโดยคำนึงถึงรูปแบบเดิมของพระราชอาสน์ ซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ศิลป์ไทยที่สืบต่อกันมานับจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการบูรณะซ่อมแซม พระราชอาสน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ฉบับนี้จะเป็นแนวทางการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุในลักษณะการซ่อมบูรณะการซ่อมแซมงานอนุรักษ์แบบอย่างสำนักช่างสิบหมู่ และเป็นประโยชน์ทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสนใจได้ไม่มากก็น้อย 

ความรู้ทั่วไป

ภัยเงียบของศิลปวัตถุ : บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

     บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  ถือเป็นศิลปวัตถุชิ้นสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งในประเทศไทย  เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง) สั่งทำบานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกอันเป็นศิลปะของประเทศญี่ปุ่น  เพื่อนำมาประดับไว้ภายในพระวิหารหลวง  และได้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า  บานไม้ประดับมุกในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ  เป็นของที่ผลิตขึ้นจากเมืองท่านางาซากิ  ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นเมืองเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่ผลิตงานประดับมุกในลักษณะนี้ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่สร้างพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ          ทางวัดราชประดิษฐฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปวัตถุชิ้นสำคัญนี้  มีความประสงค์ต้องการให้ทางกรมศิลปากรดำเนินการซ่อมแซมบานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกอันเป็นศิลปะของประเทศญี่ปุ่นที่ชำรุดเสียหายทั้งหมด จึงได้จัดตั้งโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ ขึ้น  โดยมีหน่วยงานภายในกรมศิลปากร อาทิเช่น สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักช่างสิบหมู่  สำนักสถาปัตยกรรม  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  ร่วมกันดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔  

ภาพเขียนกระเบื้องลายคราม สื่อสัมพันธ์การผลิตและการค้าเครื่องปั้นดินเผาของไทยและญี่ปุ่น

ภาพเขียนกระเบื้องดินเผาที่แสดงถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมการค้าขายของทั้งสองชาติ การเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กันเป็นเวลากว่า 600 ปีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ภาพกระเบื้องชุดนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชาติในการทำเครื่องปั้นดินเผาในทุกกระบวนการ  ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ  การกรองดิน  การนวดดิน  การขึ้นรูปภาชนะ  การเขียนลาย  การเคลือบ  การบรรจุภาชนะเข้าเตา  และการเผา  ในรูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของทั้งสองชาติ  ลวดลายกระเบื้องที่ออกแบบได้รับการวาดอย่างประณีตบรรจงด้วยสี  ครามหลากหลายเฉดลงบนแผ่นกระเบื้องพอร์ชเลนสีขาว  และเคลือบใสเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส  กระเบื้องทั้ง 48 แผ่น  แต่ละแผ่นมีขนาด 28 x 28 เซนติเมตร  และมีความหนา 12 มิลลิเมตร

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
situs bandar toto togel online macau terpercaya situs slot 4d dan bandar togel hadiah 4d 10 juta toto togel situs bandar togel online hadiah 4d 10 juta 2023 Situs Bandar Toto Togel Online Hadiah 4D 10 Juta Daftar Situs Bandar Toto Togel 4D Hadiah 10 Juta Situs Bandar Toto Togel Online Terbesar Terpercaya situs bandar toto togel Situs Bandar Togel Online Hadiah 4D 10 Juta Resmi Bandar Situs Toto Togel Online 4D Terpercaya Resmi Daftar Situs Bandar Toto Togel Terpercaya Hadiah 4D 10 Juta TOTO TOGEL Situs Bandar Togel Terpercaya Hadiah 4D 10 Juta bandar togel hadiah 4d 10 juta situs bandar togel situs bandar toto togel situs toto togel situs togel toto macau 4d jual toto jualtoto ohtogel oh togel supra4d cahayatoto indosattoto situs toto situs toto jualtoto situs toto jualtoto situs toto jualtoto