ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


พานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบหก ลายดอกเข็มสีน้ำเงิน


photo-พานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบหก  ลายดอกเข็มสีน้ำเงิน
-

พานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบหก ลายดอกเข็มสีน้ำเงิน

ขนาด 16 นิ้ว

ประดับกระจกแก้ว ด้วยอีพ็อกซี่ ผสมสีน้ำมัน

ประณีตศิลป์

    เนื่องในโอกาสพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากรประจำปี ๒๕๖๓  ณ วัดพระงาม พระอารามหลวง ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ ทางกลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ ได้จัดสร้าง พานแว่นฟ้า ประดับกระจก ขนาด ๑๖ นิ้ว ลายดอกลอยสีน้ำเงิน เพื่อนำไปถวายพร้อมในพิธีนี้ด้วย  

สำหรับพานแว่นฟ้าชุดนี้จัดสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของเจ้าหน้าที่ภายในกลุ่มประณีตศิลป์ช่วยกันสละทรัพย์ในการจัดสร้าง ประกอบด้วยครอบครัวสายประสิทธิ์ นายเกรียงศักดิ์เนียมสุดและนายยงยุทธวรรณโกวิทย์ เป็นเจ้าภาพสมทบทุนค่าหุ่นพานแว่นฟ้า นางยุนีย์ธีระนันท์ ร่วมกับครอบครัวสัมมาวุฒธิ เป็นเจ้าภาพค่าวัสดุกระจกเพื่อใช้ประดับนางปาริด์ชาติพัฒน์ทอง เป็นเจ้าภาพค่ากาวอีพ็อกซี่กลุ่มช่างโลหะ เป็นเจ้าภาพจัดทำตราสัญลักษณ์ติดใต้ฐานพาน น้อง ๆ กลุ่มช่างปิดทองประดับกระจก ร่วมแรงในการตัดกระจกและประดับพานแว่นฟ้าชุดนี้  ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านด้วย










.








 

02 มีนาคม 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2563

        เริ่มตั้งแต่การจัดทำหุ่นเมื่อได้หุ่นมาแล้วต้องนำมากำจัดขน  หรือเศษไม้เล็กออกให้หมดเสียก่อน  ด้วยวิธีการขัดด้วยกระดาษทรายเบา ๆ  แล้วใช้ไฟร้อนเป่าห่างแบบผ่านเพื่อทำให้หลุด  ถ้าไม่กำจัดขนออกจะเป็นอุปสรรคต่อการติดกระจก เพราะขนเหล่านั้นจะดันกระจกออกมาทำให้งานไม่เรียบ  ขัดกาวที่ปูดโปนออกมาให้หมดถ้าไม้ขัดแต่งเวลาประดับกระจกก็จะเกิดการสะดุดของงานได้  การแต่งเหลี่ยมมุมของหุ่นให้มีค่าเฉลี่ยที่เท่า ๆ กันหรือไม่ก็ให้แตกต่างกันน้อยที่สุด  จะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาที่เราว่างลวดลาย                 
          การเลือกกระจก  เนื่องจากงานที่ทำต้องตัดกระจกขาดที่เป็น มิลลิเมตร  ขึ้นไปถือว่าเป็นขนาดเล็กมากๆจึงต้องใช้กระจกโค้งเพราะกระจกโค้งมีความบางเหมาะสำหรับการนำมาตัดและประดับในชิ้นงานมากกว่ากระจกตรง   แต่ปัญหาของกระจกโค้งก็มีความหนาบางไม่เท่ากัน ก่อนลงมือจะตัดก็ต้องคัดเลือกกระจกให้มีขนาดความหนาบางที่เท่าๆกันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุด  ถ้าไม่คัดเลือกตั้งแต่แรกแล้วเวลาตัดเสร็จแล้วประดับลงไปจะทำให้ชิ้นงานเกิดการสะดุดได้

ปัญหาของงาน คือ ความหนาของกระจกที่ใช้ประดับ ถ้าได้กระจกบางมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีกับการตัดและประดับลงในภาชนะนั้นเพราะกระจกบางจะทำให้ตัดชิ้นงานเล็ก ๆ ขนาด ๒ ถึง ๓ มิลลิเมตรได้ดีเวลาประดับลงไปบนชิ้นงานสามารถควบคุมให้ผิวชิ้นงานให้สม่ำเสมอเรียบร้อยไม่ทำให้เกิดการสะดุจของชิ้นงานอีกด้วย


เป็นงานจัดสร้างขึ้นมาใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่จริงและหาซื้อได้ในท้องตลาดและวัสดุก็ยังมีความแข็งแรงทนทาน   สำหรับภาชนะที่นำไปใช้งานนี้ควรดูแลเอาใจใส่เวลาใช้งานเสร็จแล้วควรจัดเก็บในที่เหมาะสมก็จะอยู่ใช้งานไปได้อีกยาวนาน   ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายก็สามารถซ่อมแซมได้ไม่ยากเพราะวัสดุอุปกรณ์ต่าง  ๆ หาซื้อได้ในท้องตลาดและยังมีราคาที่ไม่แพงมาก


ขั้นตอนการออกแบบ

กำหนดตัวหุ่น

     ๑.   ต้องกำหนดหุ่นให้เหมาะสม กับงานที่จะนำไปใช้  อย่างเช่นงานมุทิตาจิตร ควรจะใช้ตะตุ่ม ขนาด ๕ – ๒๐ นิ้ว ขึ้นไป  หรือในกรณีที่บุคคลที่จะให้มีอาวุโส ตัวอย่างเช่น เป็นครูช่างในการประกอบพิธีกรรม ก็จะต้องจัดของที่สูงกว่าตะลุ่มธรรมดา เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน  และท่านจะสามารถนำไปใช้ในงานพิธีกรรมต่อไป     

๒.  งานเผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชน ต้องพิจารณาในแต่ละงาน เช่น งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมฯ ควรจัดทำเป็นพานแว่นฟ้าถวาย เพื่อให้ทางวัดที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมของพุทธศาสนาต่อไป


ตัวอย่างหุ่นต่างๆ



พานแว่นฟ้า



พานกลม
หุ่นตะลุ่ม
การออกแบบลวดลาย

การพิจารณาในการออกแบบลายประดับกระจก

๑.  ในกรณีที่เป็นงานมุทิตาจิตร  ถ้าสามารถทราบข้อมูลประวัติของบุคคลที่เราจะมอบให้ เช่น วันเดือนปีเกิด  สถานะยศตำแหน่งใด ก็สามารถออกแบบสีกระจกให้ตรงกับวันเดือนปีเกิด หรือให้ใกล้เคียงที่สุดของบุคคลนั้น ๆ

๒.  ในกรณีงานเผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชน  ต้องพิจารณาว่าเป็นงานประเภทไหน เช่นงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมฯ ก็ต้องออกแบบให้สีกลมกลืนกันไม่ใส่กระจกหลากสีมากจนเกินไป

๓.   ในกรณีที่เจ้าของงานระบุ สีของกระจก เมื่อได้แบบลายกระจกที่พิจารณาว่าเหมาะสมแล้ว ควรทดลองประดับลายกระจกเพื่อให้สามารถทราบปัญหาและแก้ไขให้เหมาะสมในการจะนำไปประดับบนชิ้นงานต่อไป 





ทดลองกระดับลวดลายที่ออกแบบลงบนกระดาษเพื่อดูความเหมาะสมของลวดลาย

ขั้นตอนการแต่งหุ่น
วัสดุอุปกรณ์

กระดาษทราย (ชนิดกระดาษทรายธรรมดา หรือกระดาษทรายน้ำ ทั้งชนิดหยาบและละเอียด) ใช้สำหรับขัดแต่งผิงหุ่นชิ้นงานให้เรียบและขัดแต่งให้ได้ขนาดพื้นที่บนหุ่นชิ้นงานในส่วนประดับลายที่เท่ากันให้ใกล้เคียงกัน

 



หัวพ่นไฟฟู่ ใช้สำหรับเผาไล่เสี้ยนไม้ขนาดเล็ก ๆ ที่ติดบนผิวหุ่นชิ้นงาน


สียาพื้นบอสนี่ ใช้สำหรับยาพื้นเพื่อตกแต่งผิวหุ่นที่มีร่องลึกให้เรียบเสมอกัน เมื่อประดับกระจกจะเรียบร้อยสม่ำเสมอกัน




           การแต่งหุ่นเริ่มเมื่อได้หุ่นมาแล้วต้องนำมากำจัดเส้นเสี้ยนไม้หรือเศษไม้เล็กออกให้หมดเสียก่อนด้วยการใช้กระดาษทรายขัดเบา ๆ แล้วใช้หัวพ่นไฟฟู่เป่าไฟร้อนลงบนผิวหุ่นชิ้นงานโดยเป่าให้ห่างแบบผ่านเพื่อทำให้เส้นเสี้ยนไม้หลุด  ถ้าไม่กำจัดเส้นเสี้ยนไม้เหล่านี้ออกจะเป็นอุปสรรค์ต่อการติดกระจก เพราะเส้นเสี้ยนไม้เหล่านั้นจะดันกระจกออกมาทำให้งานไม่เรียบ  และต้องขัดแต่งกาวตัวประสานหุ่นที่ปูดโปนออกมาให้หมดจะได้ไม่เป็นปัญหาในการประดับกระจกเช่นเดียวกัน  การแต่งเหลี่ยมมุมของหุ่นที่มีการประดับลายกระจกที่มีพื้นที่เท่า ๆ กันให้มีค่าเฉลี่ยที่เท่า ๆ กันหรือให้ขนาดแตกต่างกันน้อยที่สุดจะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาที่เราว่างลวดลาย                                      

           จากนั้นตรวจผิวหุ่นว่ามีส่วนไหนที่เป็นร่องเป็นรูหรือผิวลึกไม่เสมอกับผิวข้างเคียง   สามารถนำบอสนี่มายาเสริมเนื้อให้พื้นที่ส่วนนั้นได้  ปล่อยทิ้งให้แห้งสนิทแล้วจึงใช้กระดาษทรายขัดแต่งอีกครั้ง  ด้านในของตัวหุ่นก็เช่นเดียวกันเป็นพื้นที่ ๆ สำคัญเพราะต้องทำพื้นด้านในให้เรียบเนียนเพราะอาจเป็นปัญหาเมื่อ เวลาล้วงชาดได้ผลออกมาไม่สวยงาม

 



ภาพหุ่นพานแว่นฟ้าที่ขัดแต่แล้วก่อนการประดับลายกระจก

ขั้นตอนการตัดกระจก

๑.ทำการคัดเลือกความหนาของกระจก

           เนื่องจากงานประดับลายกระจกในครั้งนี้เป็นงานละเอียดซึ่งต้องตัดกระจกขนาดเล็กมีขนาดเป็น มิลลิเมตร ถือว่าเป็นขนาดเล็กมาก ๆ จึงต้องใช้กระจกโค้งเนื่องจากกระจกโค้งมีความบางเหมาะสำหรับการนำมาตัดและประดับในชิ้นงานที่มีความละเอียดมากกว่ากระจกตรง (กระจกตรงจะหนาตัดกระจกขนาดเล็กยาก)   แต่ปัญหาของกระจกโค้งคือ กระจกที่ผลิตใส่กล่องมาแต่ละแผ่นจะมีความหนาบางไม่เท่ากัน ก่อนลงมือตัดควรคัดเลือกขนาดความหนาของแผ่นกระจกให้เท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ถ้าไม่คัดเลือกตั้งแต่แรกแล้วเวลาตัดเสร็จเมื่อนำมาประดับลงไปบนชิ้นงานจะทำให้เกิดมีระนาบของผิวไม่สม่ำเสมอกันได้

 


ตัวอย่างกระจกโค้ง


ตัวอย่างกระจกตรง

 

2. ขั้นตอนการตัดกระจก

อุปกรณ์

2.1 กระจก

2.2 เพชรใหญ่ตัดกระจก  

             สามารถตัดได้ทั้งกระจกโค้งและกระจกตรงข้อควรระวัง คือ น้ำหนักมือที่ใช้ในการตัดเพราะถ้าต้องใช้น้ำหนักมือในการตัดกระจกมากเกินไปก็จะไม่สามารถตัดโค้งได้เพราะจะทำให้กระแตกได้ และที่สำคัญอย่างมาก คือ อุปกรณ์ตัดกระจกของช่างแต่ละคนไม่สามารถยืมกันใช้ได้ เนื่องจากช่างแต่ละคนเมื่อได้เพชรตัดกระจกมาต้องทดลองตัดจนสามารถหาคมเพชรให้ได้ซึ่งต้องใช้เวลา  เมื่อเจอคมเพชรแล้วก็ต้องจดจำองศาในการตัด น้ำหนักมือและฝึกใช้งานจนชำนาญ  ถ้าหากให้ใครยืมใช้อาจทำให้คมเพชรเปลี่ยนได้  ทำให้เครื่องมือเสียหายได้ โดยการทำตกหล่นจนเพชรชำรุด ดังนั้นช่างแต่ละคนจึงหวงแหนเครื่องมือของตนเป็นอย่างมาก

 



2.3 เพชรเคี้ยวงู เพชรด้ามทองเหลืองติดกากเพชรที่ช่างเรียกว่าเพชรเขี้ยวงู สามารถใช้ตัดได้ทั้งกระจกตรงและกระจกโค้งได้เช่นกัน 



2.4 ปากกา ใช้ในการขีดเส้นบนกระดาษกราฟ


2.5 ไม้โปรแทรกเตอร์  ใช้วางทาบบนกระจกที่จะตัดบนพื้นกระดาษกราฟที่ได้ขีดเส้นขนาดและองศาความเอียงของลายกระจกไว้แล้วใช้เครื่องมือตัดตามแนวที่วาง


2.6 กระดาษกราฟ  ใช้สำหรับกำหนดขนาดและแนวในการตัดกระจกเพื่อใช้งานประดับกระจก



 วิธีการตัดกระจก

              การตัดลายกระจก  จะมีรูปแบบทรงเรขาคณิตลักษณะเหลี่ยมเป็นหลัก ได้แก่ รูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยมหรือรูปเกล็ดเต่า เป็นต้น   ลายกระจกเหล่านี้ช่างกระจกมีวิธีการในการตัดแบ่งกระจกโดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำงาน   ตัวอย่างการตัดกระจกลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (ทรงข้าวหลามตัด) ช่างนำแผ่นกระจกแก้วมาวางลงบนกระดาษแบบที่แบ่งขนาดไว้ (กระดาษกราฟ) แล้ว  วางไม้โปรแทรกเตอร์ทับแผ่นกระจกไปตามแนวที่กำหนดขนาด  ใช้ส่วนคมของเพชรกรีดตามแนวแบ่งตามขนาดความกว้างตัวลาย  ตัดแบ่งให้เป็นเส้นขนานจนเต็มแผ่นกระจก  จากนั้น หมุนแผ่นกระจกมากรีดตามแนวขวาง (เส้นที่กรีดแบ่งนี้เป็นแนว  ๔๕  องศา  หรือ  ๖๐  องศา ตามที่กำหนด) กับเส้นตัดแบ่งครั้งแรก (เป็นแนวหลักในการตัดเส้นต่อ ๆ ไป)  แล้วกรีดกระจกตามแนวองศาดังกล่าว  จากนั้นบิดหักกระจกส่วนที่เกินออกไปตามแนวที่กรีดไว้   นำแผ่นกระจกที่แบ่งแนวขนานมาวางตามแบบกระดาษเพื่อกรีดตัดแนวขวางตัวลาย    ทำการกรีดตัดกระจกเป็นแนวเส้นขนานไปจนเต็มแผ่นแล้วใช้มือบิดหักกระจกตามแนวรอยที่กรีดตัดกระจก  ก็จะได้รูปทรงกระจกตามขนาดและรูปทรงที่ต้องการ  จากนั้นให้แยกลายกระจกออกเป็นชุด ๆ ตามสีและขนาดเพื่อสะดวกในการนำไปติดประดับลวดลาย ตามจำนวนที่เพียงพอในการประดับลวดลายต่อไป




กรีดตัดกระจกเป็นสันแนวดิ่งให้ขนานจังหวะเท่ากันตามแบบเส้นตารางลายด้านล่าง


กรีดตัดกระจกเป็นแนวเฉียง ๔๕ องศา หนึ่งครั้ง เพื่อทอนขนาดกระจกลงเพื่อสามารถกรีดย่อยง่ายขึ้น


บิดกระจกออกตามแนวตัด


บิกระจกออกตามแนวตัด  แยกย่อยเป็นชิ้นเล็ก


ใส่ภาชนะบรรจุแยกสีเพื่อความสะดวกในการใช้งาน


ลักษณะชิ้นกระจกที่แบบแยกสีเพื่อใช้งาน

https://youtu.be/bXvqi-3XobM


ตัดกระจกขนาดต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้

ขั้นตอนการประดับกระจก
อุปกรณ์



เกียงขนาดเล็ก




เกียงปลายตัด




อีพ็อกซี่ A และ B

ปากคีบหรือฟอร์เซป ใช้คีบชี้นกระจกขนาดเล็ก



สีน้ำมันแบบหลอด (สีตามที่ออกแบบไว้)


                      การประดับกระจกเริ่มจากการผสมกาวอีพ็อกซี่ A และ B ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน  ผสมให้พอดีกับพื้นที่ๆ จะประดับมิเช่นนั้นเนื้อกาวอีพ็อกซี่ที่ผสมจะแข็งถ้าประดับกระจกนานเกินเวลาแข็งตัวและเหลือเป็นการสิ้นเปลืองวัสดุ จากนั้นจึงผสมสีน้ำมันลงไป (ควรทำการตวงสัดส่วนของสีและกาวก่อนผสม) เพราะถ้าไม่ตวงก่อนผสมอาจทำให้สีที่ผสมออกมาครั้งถัดไปไม่เท่ากันได้  เมื่อผสมกาวอีพ็อกซี่เสร็จแล้วก็ทากาวอีพ็อกซี่ ลงบนพื้นชิ้นงาน โดยทาให้มีความหนาเท่า ๆ กัน จากนั้นจึงประดับกระจกลงไปตามแบบที่วางไว้

 

 

ภาพการประดับลายกระจก



ประดับกระจกเส้นกรอบเพื่อแบ่งส่วนการวางลวดลายให้ชัดเจน








การประดับลายกระจกที่ส่วนบ่าใต้ขอบบนของพานใหญ่ (ลองพานบน) ในส่วนลายเนื่อง ลายลูกฟักก้ามปู และลายเชิง








การประดับลายกระจกของส่วนตีนพานใหญ่




การประดับลายกระจกของส่วนตีนพานใหญ่



การทาเนื้อกาวอีพ็อกซี่เพื่อเป็นตัวเชื้อมลายกระจกกับชิ้นงานในส่วนบนของตีนพานใหญ่



ประดับลายหลัก สำหรับเป็นหลักก่อนประดับลายให้สมบรูณ์ต่อไป




ภาพประดับลายสมบรูณ์




การทาเนื้อกาวอีพ็อกซี่เพื่อเป็นตัวเชื้อมลายกระจกกับชิ้นงานในส่วนลายกลางของปากพานใหญ่










ภาพประดับลายกลางของปากพานใหญ่สมบรูณ์


ขั้นตอนการลวงชาด



การล้วงชาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายเป็นเสร็จสมบรูณ์



-
จำนวนผู้เข้าชม 958 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel