ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • การลงรักปิดทองใหม่ พระพุทธรูปสําคัญ ๒ องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจําหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) โรงพยาบาลศิริราช พยาบาล

การลงรักปิดทองใหม่ พระพุทธรูปสําคัญ ๒ องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจําหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) โรงพยาบาลศิริราช พยาบาล


photo-การลงรักปิดทองใหม่ พระพุทธรูปสําคัญ ๒  องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจําหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) โรงพยาบาลศิริราช พยาบาล
-

การลงรักปิดทองใหม่ พระพุทธรูปสําคัญ ๒ องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจําหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) โรงพยาบาลศิริราช พยาบาล

-

การลงรักปิดทอง

ประณีตศิลป์

              ด้วยกรมศิลปากรได้รับหนังสือ ขอความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ให้ช่วยซ่อมบูรณะ พระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ ซึ่งมีสภาพชำรุด สมควรได้รับการซ่อมบูรณะโดยช่างผู้มีความชำนาญเฉพาะทางได้แก่

              องค์ที่ ๑ คือพระพุทธเมตตาคุณากร (ปางลีลา) 
              องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจำหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) 

              โดยแจ้งว่า จำเป็นต้องขอความกรุณาจากกรมศิลปากร ซึ่งมีหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญช่างสิบหมู่ที่มีความรู้ความชำนาญด้านงานลงรักปิดทอง มาช่วยซ่อมบูรณะ พระพุทธรูปสำคัญทั้ง ๒ องค์

ประวัติความเป็นมา
               โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนวังหลังแขวงศิริราชแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
               
                พระพุทธเมตตาคุณากร(ปางลีลา) สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ได้จัดสร้างขึ้นไว้ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ ๓ รอบ ทำจากวัสดุสำริด ลงรักปิดทอง สูงพร้อมฐาน ๒๖๐ ซม. ประดิษฐานอยู่ที่หัวถนนจักรพงษ์ใกล้ศาลาท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ตลอดจนผู้ป่วยญาติ รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป ได้สักการบูชาเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปพระพุทธเมตตาคุณากร

                 เป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปปางลีลาหรือปางเสด็จจากดาวดึงส์ วัสดุสำริดขนาดสูง ๑๕.๘๗๕ เมตร ประดิษฐานเป็นประธานในอาณาบริเวณอันกว้างขวางของพุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปที่ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระสรีเดิมกำหนดขนาดความสูงไว้ ที่ ๒๕๐๐ นิ้วแต่เมื่อเห็นว่าจะใหญ่โตเกินไปจึงลดขนาดลงเป็น ๒๕๐๐ กระเบียด สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นวาระพิเศษของพุทธศาสนิกชน ทั่วโลกเพราะถือว่าเป็นช่วงระยะเวลา “กึ่งพุทธกาล”
                  จากความเชื่อที่ว่าพุทธศาสนาจะสื่อไปถึง ๕๐๐๐ ปีในฐานะที่ประเทศไทยเป็นแผ่นดินพุทธศาสนา รัฐบาลจึงมีการจัดสร้างพุทธมณฑลขึ้นในวาระนั้นได้ดำเนินการหล่อแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นช่วงครบรอบ ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์
 

27 พฤศจิกายน 2557 ถึง 30 กรกฎาคม 2558


๑. ความชื้นที่เกิดภายในองค์พระเพราะพระพุทธรูปเมตตาคุณากรตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำภายในโรงพยาบาลศิริราช ด้านในองค์พระกลวงเวลาปฏิบัติงานขัดจะสังเกตเห็นองค์พระโอนไปเอนมาได้และเวลาปฏิบัติงานทำพื้นรัก เมื่อแห้งสนิทดีแล้วจะมีฟองอากาศดันขึ้นมาบางจุด

๒. การปฏิบัติงานกลางแจ้งไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น ลม ฝน แดด ทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด

๓. เวลาปฏิบัติงานพื้นที่คับแคบเนื่องจากเป็นที่ตั้งติดถนนมีการสัญจรของรถและผู้คน

๔. ความชื้นที่เกิดขึ้นทำให้องค์พระแห้งไม่เสมอกันทั้งองค์ต้องนำชเล็คมาทาบริเวณที่ผิวไม่แห้งแล้วค่อยทิ้งให้แห้งสนิทอีกครั้งหนึ่ง

๕. การปฏิบัติงานต้องระวังบุคลากรที่ผ่านไปมาจะเกิดอาการแพ้ยางรักได้ต้องมีการเขียนป้ายแจ้งเตือนให้ระวังเรื่องการแพ้ยางรัก

๖. การปิดทองต้องระวังเพราะอยู่ใกล้ริมแม่น้ำมีลมพัดอยู่ตลอดเวลาต้องคลุมผ้าให้มิดชิดและเปิดให้อากาศได้ระบายช่วงบนศีรษะได้บ้างเพื่อให้ช่างผู้ปฏิบัติงานได้มีอากาศหายใจ

 
๑. ในการทำปฏิบัติงานที่มีความชื้นเกิดขึ้นตลอดเวลาควรแก้ปัญหาเรื่องความชื้นก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานเพื่อให้ผลของงานที่ออกมาสวยงานและคงทนยาวนานที่สุด

๒. ไม่ควรปิดทองพระพุทธรูปหรืองานศิลปกรรมต่างๆกลางแจ้งเพราะจะทำให้งานนั้นไม่คงทนถาวรเท่าที่ควร

๓. ในการทำพื้นลงรักปิดทองด้วยกรรมวิธีแบบโบราณควรใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติไม่ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีสารสังเคราะห์ผสมเพราะอาจทำให้งานศิลปกรรมนั้นๆไม่คงทนถาวร

๔. งานศิลปกรรมที่สำคัญมีอายุเกิน ๑๐๐ ปี ควรซ่อมหรือลงรักปิดทองใหม่ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ เพื่อให้งานศิลปกรรมนั้นๆ ได้สวยงามสมบูรณ์ดังแรกสร้างและยังเป็นการสืบสานการทำพื้นลงรักปิดทองแบบโบราณ ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบต่อกันไป

๕. วัสดุที่นำมาทำสมุกควรนำมาเผาก่อนทุกครั้ง ด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะเวลานำมาผสมกับรักน้ำเกลี้ยงมาทาหรือยาอุดจะได้เกิดความแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น สมุกกะลาเผา ดินเผา อิฐเผา ไม่ควรใช้ดินสอพองที่ยังไม่เผา ถ้าจะใช้ควรนำมาเผาหรือคั่วก่อนจะได้เกิดความแข็งแรงและเกาะผิวได้ดียิ่งขึ้น

๖. เมื่อกรองรักน้ำเกลี้ยงเรียบร้อยแล้วควรนำแผ่นพลาสติกที่ใช้สำหรับห่ออาหารวางปิดผิวหน้าของยางรักโดยให้ขอบของแผ่นพลาสติกเลยขึ้นมาโดยรอบแล้วนำน้ำมาเทใส่บนพลาสติกพอประมาณโดยอย่าให้น้ำเข้าไปผสมกับยางรักโดยวิธีการนี้จะทำให้รักแห้งช้าลง

๗. การผสมรักสมุกทา ๑ ต่อ ๕ คือ สมุก ๑ ส่วนรักน้ำเกลี้ยง ๕ ส่วนนวดให้เข้ากันเนื้อที่ได้จะเหลวเพื่อให้ทาได้ง่ายกว่ารักสมุกที่ใช้ยาอุดทาจะมีส่วนผสมของรักน้ำเกลี้ยงมากสมุกน้อยแล้วแต่ช่างแต่ละคนจะหาวิธีทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น

๘. การผสมรักสมุกยาอุด ๕ ต่อ ๓ คือสมุก ๕ รักน้ำเกลี้ยง ๓ นวดให้เข้ากันจะได้เนื้อที่เหนียวข้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายว่ารักสมุกที่ใช้ยาอุดมีส่วนผสมสมุกมากรักน้อยแล้วแต่ช่างแต่ละคนจะหาวิธีทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น
 

-

ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑.   สำรวจจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์กำหนดวางแผนในการปฏิบัติงานศึกษาค้นคว้ากรรมวิธีการลงรักปิดทองแบบโบราณจากผู้มีประสบการณ์และจากข้อมูลที่เคยมีการจดบันทึกไว้

๒.    ล้างลอกผิวเดิมที่เป็นสารสังเคราะห์ออกให้หมดจนถึงเนื้อสัมฤทธิ์โดย ใช้น้ำยาล้างลอกสี ประมาณ 
๒ - ๓ รอบ






                                                                            ลอกผิวด้วยน้ำยาลอกสี



3.      ขัดล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่มีส่วนผสมของมะนาว เช่น น้ำยาล้างจานซันไลล้างประมาณ ๓-๕ รอบ ทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ ๓ - ๕ วัน






ล้างขัดทำความสะอาด


๔.      หลังจากล้างลอกผิวเดิมที่เป็นสารสังเคราะห์ออกจนหมดแล้ว มีส่วนเนื้อสัมฤทธิ์บางส่วนเกิดการเสียหาย







ภาพก่อนซ่อมส่วนเนื้อสัมฤทธิ์



       




ภาพหลังซ่อมส่วนเนื้อสัมฤทธิ์



ล้างขัดทำความสะอาด

๕. ผสมรักสมุกที่ใช้สำหรับทาอัตราส่วน ๑ ต่อ ๕ (สมุกดินเผา ๑ ส่วน รักน้ำเกลี้ยง ๕ ส่วนนวดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน) จะได้เนื้อของรักสมุกเหลวเหมาะสำหรับมาทาเป็น พื้น




๖.      ทารักสมุก ๑ ต่อ ๕ ให้ทั่วในส่วนที่มีผิวเรียบ เช่น ใบหน้า แขน มือ ขา ในส่วนจีวรที่มีลวดลายใช้รักน้ำเกลี้ยงทาให้ทั่วโดยไม่ให้มีรักกรอง หรือ หนามากเกินไป จะทำให้ลวดลายโดนรักถ่มจนหายไป ทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ ๓-๕ วัน




๗. ขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆให้ทั่วทั้งองค์พระตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุดเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดให้ทั่วทั้งองค์ทิ้งให้แห้งสนิท

๘. นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาบางๆให้ทั่วตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุดขององค์พระ   

๙. ผสมรักสมุกที่ใช้ยาอุดอัตราส่วน ๕ ต่อ ๓ (คือรักสมุกดินเผา ๕ ส่วน รักน้ำเกลี้ยง ๓ ส่วน นวดให้เข้าเป็นเนื้อ
เดียวกัน) จะได้เนื้อรักสมุกเหนียวข้นเหมาะสำหรับนำมายาอุดเพิ่มผิวองค์พระและเก็บรายละเอียดในส่วนที่ไม่เรียบร้อยให้สมบูรณ์ ในส่วนจีวรที่มีลวดลายใช้รักน้ำเกลี้ยงทาให้ทั่วโดยไม่ให้มีรักกรอง หรือ หนามากเกินไป

๑๐. นำรักสมุก ๕ ต่อ ๓ นวดดีแล้วมายาอุดให้ทั่วในส่วนที่เป็นผิวเรียบ ด้วยเกรียงพลาสติกจะทำให้ใช้งานในส่วนโค้งและส่วนเว้าขององค์พระได้เรียบเนียน ยิ่งขึ้นทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ ๑ สัปดาห์   ยาอุดรักสมุก ๕ ต่อ ๓ คือรักสมุกดินเผา ๕ ส่วน รักน้ำเกลี้ยง ๓ ส่วน

๑๑. ขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆให้ทั่วตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุด   
                                                     
๑๒. เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดประมาณ ๒-๓ รอบทิ้งให้แห้งสนิท

๑๓. ปฏิบัติงานขั้นตอนทารักน้ำเกลี้ยงบางๆ ยาอุดรักสมุก ๕ ต่อ ๓ ทิ้งให้แห้งสนิทขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆเช็ดผ้าชุบน้ำหมาดทิ้งให้แห้งสนิท ปฏิบัติงานขั้นตอนดังกล่าวประมาณ ๓ รอบ เพื่อให้เพิ่มผิวองค์พระมีเนื้อเรียบเนียนยิ่งขึ้น

๑๔. นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาให้ทั่วตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุดขององค์พระแล้วจึงนำเข้าตู้บ่มทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ ๑ สัปดาห์

๑๕. ขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆให้ทั่วตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุดขององค์พระ 
           
๑๖. เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดประมาณ ๒-๓ รอบ ตั้งแต่ยอดบนสุดจนถึงฐานล่างสุดทิ้งให้แห้งสนิท

๑๗. ปฏิบัติงานขั้นตอนทารักน้ำเกลี้ยงที่กรองแล้ว เข้าตู้บ่มทิ้งให้แห้งสนิทขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆ เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดทิ้งให้แห้งสนิทปฏิบัติงานขั้นตอนดังกล่าวประมาณ ๓ รอบ เพื่อให้ผิวเนียนยิ่งขึ้นเวลาปิดทองจะเงาทำให้งานที่ออกมาสวยงามยิ่งขึ้น   
                                                                                                                         
๑๘. นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาเพื่อปิดทองคำเปลว ๑๐๐% ให้ทั่วตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุด เข้าตู้บ่มทิ้งให้แห้ง

๑๙. นำทองคำเปลว ๑๐๐% มาปูให้ทั่วทั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงยอดบนสุด


    
ปิดทอง
๒๐. นำแผ่นพลาสติก(ถุงพลาสติกใส่ผลไม้)มาตัดให้ได้ขนาดเหมาะสมนำมาหุ้มปลายพู่กันเพื่อใช้กวดบริเวณที่เป็นรอยต่อ ของทองแต่ละแผ่นที่ปูโดยกวดให้แผ่นบนแนบทับบนแผ่นล่างแล้วใช้พู่กันแตะทองมายีในส่วนที่นิ้วกวดไม่ถึง ให้ทั่วทั้งองค์พระ





กวดทองด้วยพู่กันสวมถุงพลาสติก



๒๑. ปัดฝุ่นทองออกให้หมดแล้วนำสำลีมากวดที่ผิวองค์พระที่ปิดทองแล้วให้ผิวทองเรียบเนียนยิ่งขึ้น


 


-
จำนวนผู้เข้าชม 1,262 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel