ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)


photo-ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา  ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)
-

ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

มีขนาดความกว้าง ๕๔ เซนติเมตร ยาว ๑๑๐ เซนติเมตร สูง ๕๔ เซนติเมตร

การลงรักปิดทอง

ประณีตศิลป์

ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา

ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

       ด้วยกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) และเมื่อดำเนินการบูรณะเสร็จแล้ว สำนักโบราณคดีจะต้องเข้าไปดูแลโบราณสถานพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งกรมศิลปากรและหน่วยงานอื่นๆ จะใช้สถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาอยู่เนืองๆ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานองค์ยืนอยู่ ๑ องค์ แต่ยังขาดโต๊ะวางเครื่องสักการะ เพื่อให้องค์ประกอบภายในพระอุโบสถครบถ้วนและสวยงาม จึงได้ขอความอนุเคราะห์สำนักช่างสิบหมู่จัดทำโต๊ะวางเครื่องสักการะ
 
- ผู้ได้รับการประเมินได้รับมอบหมายให้ดำเนินการลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) โดยยึดรูปแบบจากบุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)
 
- เริ่มจากการสำรวจ เก็บข้อมูล บันทึกภาพถ่าย บุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

  เป็นงานลงรักปิดทอง ให้ผิวงานจากวัสดุต่างๆ ดูเป็นทองเหมือนทองคำบริสุทธิ์ แล้วตัดกระจกแซมแทรก ประดับติดลงในช่องไฟระหว่างลวดลายให้งดงาม พื้นลาย ไส้ลายประดับกระจก






บุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)


ลักษณะของงาน

- เป็นงานลงรัก “ปิดทองร่องกระจก” หมายถึง การลงรักลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ประเภทที่ทำขึ้นด้วย ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ดินเผา แล้วปิดทองคำเปลวทับ ลักษณะคล้ายกันกับงานลงรักปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะเฉพาะของงานนี้อยู่ที่มีการ “ร่องกระจก” เพิ่มขึ้นมา

“ร่องกระจก” คือการใช้กระจกสีต่างๆ แผ่นบาง รูปสี่เหลี่ยม นำมาตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กรูปร่างต่างๆ ตามประสงค์ให้เหมาะสมแก่งานและพื้นที่ นำมาติดลงในช่องไฟของสิ่งที่ได้ปิดทองขึ้นในที่นั้น

ความประสงค์ “ร่องกระจก” ก็เป็นไปเช่นเดียวกับการปิดทองล่องชาด คืออาศัยกระจกที่เป็นวัตถุมีสีและความมันวาวถมปิดลงไปในร่อง เพื่อหนุนหรือขับลวดลายหรือสิ่งที่ปิดทองซึ่งนูนขึ้นจากพื้นหลังให้เป็นที่ดูเด่นชัด เห็นกระจะตานั่นเอง (การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐: ๑๐๒)
 
- งานประดับกระจกแวว เป็นการประดับกระจกตกแต่งในเกสร หรือไส้ลายรูปต่างๆ ถือเป็นการประดับกระจกที่ใช้สำหรับสอดประดับตกแต่งตัวลายแบบต่างๆ ด้วยวิธีการตัดกระจกให้เป็นรูปวงกลมหรือหยดน้ำตามสีหรือขนาดให้เหมาะสมกับลวดลาย เห็นได้ตามกระจังต่างๆ ของบุษบก ตามลวดลายปูนปั้น หรือการแกะสลักไม้
 

01 สิงหาคม 2559 ถึง 31 ตุลาคม 2559

-

-

-

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนออกแบบ
 เป็นการอออกแบบโดยยึดรูปแบบจากบุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) วัสดุที่ใช้เป็นไม้สัก แกะสลักลวดลายใบเทศ มีขนาดความกว้าง ๕๔ เซนติเมตร ยาว ๑๑๐ เซนติเมตร สูง ๕๔ เซนติเมตร




แบบโต๊ะวางเครื่องสักการะ พระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนการแกะสลัก
















ช่างไม้และช่างแกะสลัก ได้ทำการแกะสลักลวดลายตามที่ได้ออกแบบไว้













แกะสลักลวดลายตามแบบเสร็จเรียบร้อย

ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตอนการลงรักปิดทองประดับกระจก

๑. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์

           - เครื่องเป่าลม

           - แปรง ใช้สำหรับปัดฝุ่น

           - ผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐

           - รักน้ำเกลี้ยง

           - สมุกกะลา

           - สมุกอิฐ

           - แผ่นกระจก ใช้สำหรับการผสมสมุก และชาด

           - น้ำมันพืช ใช้สำหรับล้างอุปกรณ์

           - พู่กันแบนเบอร์ ๑๐ ใช้สำหรับทารัก

           - เกรียงโป๊ว ขนาด ๒ นิ้ว

           - กระดาษทรายเบอร์ละเอียด

           - พู่กันแบนเบอร์ ๑๐ หุ้มด้วยถุงพลาสติกชนิดบางและนิ่ม ใช้ในการปิดทอง

           - ตู้บ่ม

           - ที่ฉีดน้ำ

           - ทองคำเปลว ๑๐๐%

           - แปรงขนอ่อน

           - กระจกสีขาว , กระจกโค้งสีเขียว ,กระจกโค้งสีน้ำเงิน

           - เพชรตัดกระจก

           - กรรไกรขนาดเล็ก ใช้สำหรับเล็มกระจก

           - ไม้โปรแทรกเตอร์

           - กระดาษกร๊าฟ

           - ไม้ปลายแหลม อีกด้านพันด้ายขี้ผึ้ง ใช้สำหรับจับกระจก

           - กาวอีพ็อกซี่ A , B

           - เกรียงสีน้ำมัน เบอร์ ๑๐ (เกรียงปาด)

           - ฝุ่นดำ

           - น้ำมันยาง

           - ผงครั่ง

           - ผงชาด

           - พู่กันแบนเบอร์ ๑๐ , ๒๐ ใช้สำหรับทาชาด

 

           ๒. การทำพื้น




- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดทำความสะอาดเอาฝุ่นและเศษไม้ที่หลงเหลือจากการแกะสลักออกให้หมด

- ตำสมุกกะลาในครกหิน แล้วใช้ช้อนตักผงสมุกมาใส่ในผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ รวบมุมทั้งสี่ของผ้าแล้วทำการเขย่า ผงสมุกกะลาที่ละเอียดก็จะหล่นลงมาในภาชนะที่เตรียมไว้

- กรองรักน้ำเกลี้ยง ด้วยผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ เพื่อให้ได้เนื้อรักที่บริสุทธิ์เนื้อเนียน กรองรักกลางแดดเพราะรักจะเหลว ไหลดีและเพื่อเป็นการขับน้ำที่หลงเหลือในรักระเหยออกไป ช่วยทำให้ยางรักแห้งเร็วขึ้น




กรองสมุกกะลา


กรองรักน้ำเกลี้ยง

- ทำสมุกเหลว โดยการนำสมุกกะลาผสมกับรักน้ำเกลี้ยงบนกระจก ใช้เกรียงนวด รีดจนไม่มีเม็ด เนื้อเนียนละเอียดเข้ากัน สมุกเหลวที่ใช้ได้คือเวลาที่ใช้เกรียงตักขั้นมาจะไหลเป็นสายต่อเนื่อง เหลวจนใช้พู่กันทาได้ การทาสมุกเหลวเพื่อเป็นการกลบเสี้ยนไม้ รอยต่อไม้ต่างๆ




ทำสมุกเหลว




สมุกเหลว

- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทาสมุกเหลวบางๆ ให้ทั่ว ๑ รอบ ข้อควรระวัง คืออย่าให้สมุกขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว รอแห้ง



ทาสมุกเหลว



กรองสมุกอิฐ

- ตำสมุกอิฐในครกหิน แล้วใช้ช้อนตักผงสมุกมาใส่ในผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ ที่ได้ทำการขึงบนภาชนะเรียบร้อยแล้ว ใช้มือกด วนๆ ผงสมุกอิฐที่ละเอียดก็จะหล่นลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้
- ทำสมุกข้น โดยการนำสมุกอิฐผสมกับรักน้ำเกลี้ยงบนกระจก ค่อยๆ เพิ่มสมุกอิฐเข้าไปทีละน้อย ใช้เกรียงนวดจนเนื้อเนียนละเอียดเข้ากัน นำไปตำต่อในครกหิน ตำ นวด จนเหนียวได้ที่ มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันจนสามารถปั้นได้ 




ทำสมุกข้น



สมุกข้น


- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงนำสมุกข้นมาปั้น แต่งลายที่หลุดให้สมบูรณ์ อุดร่อง รอยต่อไม้ต่างๆ เสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว รอแห้ง
 
- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงบางๆ ให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วจึงทาครั้งต่อไป โดยทาทั้งหมด ๒ รอบ






แต่งลาย อุดร่อง รอยต่อไม้ต่างๆ




ทารักน้ำเกลี้ยงรอบที่ ๑


- ลูบเบาๆ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด เอาเศษผง เศษฝุ่นออก ระวังอย่าให้ถึงเนื้อไม้ เพราะถ้าถึงเนื้อไม้ ส่วนนั้นก็จะแห้งช้า




ลูบเบาๆ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด




เป่าลมเพื่อเอาฝุ่นออก

 

- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงบางๆ ให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วจึงทาครั้งต่อไป โดยทาทั้งหมด ๒ รอบ (สังเกตว่าพื้นรักมีความอิ่มตัว ขึ้นเงาวาวหรือไม่ ถ้าไม่ สามารถเพิ่มจำนวนรอบการทารักน้ำเกลี้ยงได้ เพราะถ้าพื้นรักมีความอิ่มตัว ขึ้นเงาวาว จะช่วยให้ทองที่ปิดเกิดความเงางาม

 





ขั้นตอนที่ ๔ การปิดทอง
- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงปิดทองให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ ทารักให้พอดีกับที่เราจะปิดทองในแต่ละวันเท่านั้น เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว



ทารักน้ำเกลี้ยงปิดทอง


- พอรักแห้งหมาดๆ ทำการปิดทอง ใช้ทองคำเปลว ๑๐๐% ปิดเรียงกันให้ทั่ว แล้วใช้พู่กันหุ้มถุงพลาสติกชนิดบางทำการกวดทองให้ทั่ว และแตะแผ่นทองยีเบาๆ ตรงร่องลายที่ลึกและในส่วนที่นิ้วเรากวดไม่ถึง (ที่ต้องใช้ถุงพลาสติกหุ้มปลายพู่กันเนื่องจากนิ้วมือของเรามีเหงื่อ อาจทำให้ปิดทองไม่ติดได้) ตรวจดูความเรียบร้อย ปัดผงทองออกด้วยแปรงขนอ่อน





ปิดทอง



กวดทอง และยีทองให้ทั่ว


ขั้นตอนที่ ๕ การประดับกระจก
- ตัด และประดับกระจก สีตามแบบ โดยยึดรูปแบบจากบุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)

- ผสมกาวอีพ็อกซี่ A , B ในอัตราส่วน ๕๐ : ๕๐ ลงบนเกรียงโป๊ว ใส่ฝุ่นสีดำ (เพื่อเป็นการเรียนแบบการใช้ยางรัก) แล้วใช้เกรียงสีน้ำมันช่วยผสมกาวอีพ็อกซี่ให้เข้ากัน ผสมให้พอกับการใช้ในแต่ละครั้งเท่านั้น เสร็จแล้วใช้ไม้ปลายแหลมช่วยทากาวอีพ็อกซี่ลงในช่องที่จะทำการประดับกระจก เพราะช่องที่จะทำการประดับกระจกมีขนาดเล็ก และแคบ

- ใช้ไม้ที่พันขี้ผึ้งแตะกระจก นำไปประดับลงบนกาวอีพ็อกซี่ที่ทารอเตรียมไว้ ตรวจความเรียบร้อย
- ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบขี้ผึ้ง และคราบกาวอีพ็อกซี่ออกจากกระจก
- ติดกระจังตาอ้อย



ทากาวอีพ็อกซี่



ประดับกระจก




ประดับกระจก



ติดกระจังตาอ้อย


ขั้นตอนที่ ๖ การทาชาด
ส่วนผสม
๑. รักน้ำเกลี้ยง ที่กรองด้วยผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ แล้ว
๒. น้ำมันยาง ที่ทำการเคี่ยวแล้ว
๓. ผงครั่ง ที่ทำการตำละเอียด และกรองด้วยผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ แล้ว
๔. ผงชาด

- นำรักน้ำเกลี้ยง น้ำมันยาง และผงครั่ง เทลงในภาชนะ (ถ้วย) แล้วกวนหรือคนด้วยพู่กัน พอทั้ง ๓ อย่างเข้ากันดีแล้วจึงเติมผงชาด คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน จากนั้นนำไปเทลงบนกระจก ใช้เกรียงรีดจนไม่มีเม็ด เนื้อเนียนละเอียดเข้ากัน

- ใช้เครื่องเป่าลมและแปรงปัดฝุ่น แล้วจึงนำชาดไปทาที่โต๊ะ รวมถึงความหนาของลวดลายส่วนที่ไม่ได้ปิดทอง เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้แห้งสนิท

- ตรวจความเรียบร้อย




ผสมชาด



ผสมชาด



ทาชาด



ฉีดน้ำที่ตู้บ่ม


หมายเหตุตู้บ่มที่ใช้ในงานนี้ มีลักษณะเป็นตู้ที่ขึ้นโครงด้วยไม้ ขึงผ้าให้รอบ เป็นตู้ที่มีลักษณะทึบ มีที่เปิดปิด เวลาใช้ต้องฉีดน้ำให้เปียกชุ่มชื้นทั้งตู้ การที่ต้องใช้ตู้บ่มนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปติดที่ชิ้นงาน รวมทั้งยังเป็นการปรับ ควบคุมอุณหภูมิให้มีความร้อนชื้น ซึ่งรักจะแห้งเร็วขึ้นในอากาศร้อนชื้น





นำโต๊ะเข้าตู้บ่ม




ปิดตู้บ่ม









เสร็จสมบูรณ์




-
จำนวนผู้เข้าชม 995 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368