ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์

ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์


photo-ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์
-

ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์

-

ลงรักปิดทอง

ประณีตศิลป์

ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์ ปี ๒๕๕๘

        สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงฟื้นฟูกลุ่มอาคารอนุรักษ์บริเวณท่าเตียน และมีความประสงค์จะอัญเชิญ สัญลักษณ์ ครุฑเทิดพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขึ้นประดับบนผนังด้านหน้าอาคารอนุรักษ์ บริเวณทางเข้าตลาดท่าเตียน เมื่อบูรณะอาคารแล้วเสร็จ จึงได้ขอความอนุเคราะห์สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรจัดทำ ตราสัญลักษณ์ ครุฑเทิดพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยวัสดุโลหะบรอนซ์ ลงรักปิดทอง จำนวน ๔ องค์ และวัสดุอะคริลิคเขียนสี ลงรักปิดทอง จำนวน ๔ องค์ ซึ่งมีรูปแบบตามพิมพ์เดิมที่ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ได้พิจารณาความเหมาะสมในรูปแบบ และจัดทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว
 
- ผู้ได้รับการประเมินได้รับมอบหมายให้ดำเนินการลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์
 
ลักษณะของงาน
- เป็นงานลงรัก “ปิดทองทึบ” หมายถึง การปิดทองคำเปลวลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นด้วย ดินเผา ปูนปั้น ไม้แกะสลัก หรือโลหะหล่อ เพื่อให้ผิวภายนอกของศิลปวัตถุนั้นๆ เป็นผิวทองคำ และเรียบเกลี้ยงทั่วไป ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปิดทองเป็นพระปฏิมาประธาน เป็นต้น (การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐: ๑๐๑)
 
ลักษณะของครุฑ
- วัสดุเป็นโลหะบรอนซ์ มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัว ปั้นหล่อขึ้นเป็นสามมิติ มองเห็นรอบด้าน ไม่ติดพื้นหลัง จำนวน ๔ องค์
 
ครุฑ อมนุษย์จำพวกกึ่งสัตว์กึ่งเทพ ตามคติโบราณสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ถือว่าครุฑเป็นใหญ่ที่สุดในบรรดานกทั้งหลาย มีรูปร่างลักษณะครึ่งนกครึ่งคน คือมีหัว ปีก เล็บ และปากเหมือนนกอินทรี ตัวและแขนเหมือนคน หน้าขาว ปีกแดง ตัวเป็นสีทอง หน้าตาท่าทางดุร้าย เครื่องประดับที่สวมมี มงกุฎยอดน้ำเต้า สร้อยคอ พาหุรัด ทองกร และกำไล นุ่งผ้าชายเฟือยมีห้อยหน้าลงมา ไม่สวมเสื้อ
ครุฑอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ส่วนพญาครุฑอาศัยอยู่บนวิมานสวยงาม ชื่อว่า “วิมานฉิมพลี” ครุฑเป็นนกที่บินได้เร็วไม่มีสัตว์อื่นเทียบ คือบินได้กวักละโยชน์ ที่อยู่ของครุฑเป็นสถานที่ลี้ลับจึงยากที่ใครจะไปได้ถึง
ถือกันว่าครุฑเป็นสัตว์สำคัญ มีฤทธานุภาพมาก เพราะตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อทรงปราบทุกข์เข็น ครุฑซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ จึงได้รับการยกย่องนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น แกะสลักตามจินตนาการของช่าง ดังจะพบภาพครุฑประดับตามวัดวาอาราม สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง ฯลฯ รวมทั้งธงที่สำคัญ เช่น ธงมหาไชยธวัช ธงมหาราช อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ หนังสือสำคัญของทางราชการ ดวงตราพระราชลัญจกร ล้วนแต่ทำเป็นตรารูปครุฑติดไว้ เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพนั่นเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๓๘-๑๓๙)
 
ครุฑพ่าห์ เครื่องหมายรูปครุฑมีลักษณะเป็นรูปครุฑตัวเดียว มือกางอยู่ในท่ารำแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร เป็นแบบที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นตราประทับกำกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือสำคัญทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังใช้กับสิ่งอื่น เช่น ธงพระครุฑพ่าห์ คือธงที่มีรูปครุฑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๔๐)
 

01 กันยายน 2558 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558

-

-

-

ขั้นตอนที่ ๑ เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์

           - แปรงทองเหลือง

           - ผงซักฟอก

           - ผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐

           - รักน้ำเกลี้ยง

           - สมุกอิฐ

           - แผ่นกระจก ใช้สำหรับการผสมสมุก

           - น้ำมันพืช ใช้สำหรับล้างอุปกรณ์

           - เกรียงโป๊ว ขนาด ๒ นิ้ว

           - พู่กันแบนเบอร์ ๑๐ ใช้สำหรับทารัก

           - แปรง ใช้สำหรับปัดฝุ่น

           - กระดาษทรายเบอร์ละเอียด

           - ตู้บ่ม

           - ที่ฉีดน้ำ

           - พู่กันแบนเบอร์ ๑๐ หุ้มด้วยถุงพลาสติกชนิดบางและนิ่ม ใช้ในการปิดทอง

           - ทองคำเปลว ๑๐๐%

           - แปรงขนอ่อน


ขั้นตอนที่ ๒ การทำพื้น
- ทำความสะอาด เอาสิ่งสกปรกออกด้วยแปรงทองเหลือง และผงซักฟอก ตากแดดให้แห้ง






ล้างทำความสะอาด ตากแดด ผึ่งให้แห้ง


- ตำสมุกอิฐในครกหิน แล้วใช้ช้อนตักผงสมุกมาใส่ในผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ ที่ได้ทำการขึงบนภาชนะเรียบร้อยแล้ว ใช้มือกด วนๆ ผงสมุกอิฐที่ละเอียดก็จะหล่นลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้

- กรองรักน้ำเกลี้ยง ด้วยผ้าซิลค์สกรีนเบอร์ ๗๐ เพื่อให้ได้เนื้อรักที่บริสุทธิ์เนื้อเนียน กรองรักกลางแดดเพราะรักจะเหลว ไหลดี และเพื่อเป็นการขับน้ำที่หลงเหลือในรักระเหยออกไป ช่วยทำให้ยางรักแห้งเร็วขึ้น




กรองสมุกอิฐ




กรองรักน้ำเกลี้ยง


- ทำสมุกเหลว โดยการนำสมุกอิฐผสมกับรักน้ำเกลี้ยงบนกระจก ใช้เกรียงนวด รีดจนไม่มีเม็ด เนื้อเนียนละเอียดเข้ากัน สมุกเหลวที่ใช้ได้คือเวลาที่ใช้เกรียงตักขั้นมาจะไหลเป็นสายต่อเนื่อง เหลวจนใช้พู่กันทาได้




ทำสมุกเหลว





สมุกเหลว

- ใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทาสมุกเหลวบางๆ ให้ทั่ว ๑ รอบ ข้อควรระวัง คืออย่าให้สมุกขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว รอแห้ง

- ใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงบางๆ ให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วจึงทาครั้งต่อไป โดยทาทั้งหมด ๒ รอบ




ทาสมุกเหลว




ใช้แปรงปัดฝุ่นก่อนทารักทุกครั้ง
 

 

- ลูบเบาๆ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด เอาเศษผง เศษฝุ่นออก ระวังอย่าให้ถึงเนื้อโลหะ เพราะถ้าถึงเนื้อโลหะ ส่วนนั้นก็จะแห้งช้า ใช้แปรงปัดฝุ่น และผ้าชุบน้ำเช็ดฝุ่นออก




ทารักน้ำเกลี้ยงรอบที่ ๑



 

 
ลูบเบาๆ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด


- ใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงบางๆ ให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วจึงทาครั้งต่อไป โดยทาทั้งหมด ๒ รอบ (สังเกตว่าพื้นรักมีความอิ่มตัว ขึ้นเงาวาวหรือไม่ ถ้าไม่ สามารถเพิ่มจำนวนรอบการทารักน้ำเกลี้ยงได้ เพราะถ้าพื้นรักมีความอิ่มตัว ขึ้นเงาวาว จะช่วยให้ทองที่ปิดเกิดความเงางาม



ทารักน้ำเกลี้ยงรอบที่ ๔



นำครุฑเข้าตู้บ่ม


ขั้นตอนที่ ๓ การปิดทอง
           - ใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วจึงทารักน้ำเกลี้ยงปิดทองให้ทั่ว ระวังอย่าให้รักขัง หรือกองในร่องลาย รายละเอียดต่างๆ ทารักให้พอดีกับที่เราจะปิดทองในแต่ละวันเท่านั้น เมื่อทาเสร็จแล้วนำเข้าตู้บ่มที่ได้ฉีดน้ำไว้เรียบร้อยแล้ว
           - พอรักแห้งหมาดๆ ทำการปิดทอง ใช้ทองคำเปลว ๑๐๐% ปิดเรียงกันให้ทั่ว โดยให้ทองทับกันประมาณ ๑ มิลลิเมตร แล้วใช้พู่กันหุ้มถุงพลาสติกชนิดบางทำการกวดทองให้ทั่ว และแตะแผ่นทองยีเบาๆ ตรงร่องลายที่ลึกและในส่วนที่นิ้วเรากวดไม่ถึง (ที่ต้องใช้ถุงพลาสติกหุ้มปลายพู่กันเนื่องจากนิ้วมือของเรามีเหงื่อ อาจทำให้ปิดทองไม่ติดได้) ตรวจดูความเรียบร้อย ปัดผงทองออกด้วยแปรงขนอ่อน


ปิดทอง



ปิดทอง



กวดทอง และยีทองให้ทั่ว


กวดทอง และยีทองให้ทั่ว


เสร็จสมบูรณ์

เสร็จสมบูรณ์

หมายเหตุ  ตู้บ่มที่ใช้ในงานนี้ มีลักษณะเป็นตู้ที่ขึ้นโครงด้วยไม้ ขึงผ้าให้รอบ เป็นตู้ที่มีลักษณะทึบ มีที่เปิดปิด เวลาใช้ต้องฉีดน้ำให้เปียกชุ่มชื้นทั้งตู้ การที่ต้องใช้ตู้บ่มนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปติดที่ชิ้นงาน รวมทั้งยังเป็นการปรับ ควบคุมอุณหภูมิให้มีความร้อนชื้น ซึ่งรักจะแห้งเร็วขึ้นในอากาศร้อนชื้น


-
จำนวนผู้เข้าชม 666 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel