ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


โต๊ะหมู่บูชาลายยา หมู่ ๙


photo-โต๊ะหมู่บูชาลายยา   หมู่ ๙
-

โต๊ะหมู่บูชาลายยา หมู่ ๙

-

ลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายยา

ประณีตศิลป์

ความเป็นมาและความสำคัญ

             การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชานั้น เป็นธรรมประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาลจัดเป็นสถานที่อย่างหนึ่งใน บรรดา ศาสน์พิธีต่างๆ  โต๊ะหมู่บูชานี้ สำหรับตั้งในงานต่างๆ ทั้งงานมงคล ทั้งงานหลวงและงานราษฎร์  เป็นแบบแผนอันดีงาม เป็นประเพณีที่ควรแก่การเทิดทูนรักษาไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไทย เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศเป็นที่สะดุดตาเตือนใจแก่ชาวต่างประเทศผู้พบเห็น เราชาว พุทธทุกคนควรสนใจศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้ เมื่อถึงคราวจะจัดตั้งก็จัดทำโดยเรียบร้อย การสนใจการศึกษาไม่เสียเปล่าได้ประโยชน์ต้องตามภาษิตที่ว่า “ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ”

เครื่องตั้ง

             เครื่องตั้ง จะมีจำนวนมากหรือน้อย ให้พิจารณาตามหมู่ของโต๊ะนั้นๆ  เป็นสำคัญการจัดถูกต้องและเหมาะสมถูกแบบแผนจึงจะสวยงามน่าดู เมื่อเรามีโต๊ะหมู่บูชา และเครื่องสำหรับตั้งโต๊ะครบบริบูรณ์ตามจำนวนแล้วสำคัญก็คือการจัดตั้งนั้นจะต้องจัดให้ถูกที่  มีระเบียบ ได้จังหวะช่องไฟดี จึงสง่างาม จัดตั้งโดย ขาดการพิจารณาแล้วความงามก็จะลดลง  และบางครั้งอาจไม่ถูกหลักก็ได้  ฉะนั้นจึงต้องสนใจในเรื่องการ จัดตั้งนั้นเป็นอย่างมาก อนึ่งเครื่องแก้ว ( หรืออื่นๆ ) ในการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชานั้น โดยปกติก็มีขนาดไม่เท่ากัน คือ ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ฉะนั้นการจัดตั้งจึงจำเป็นที่จะต้องตั้งให้ถูกที่และขนาดของเครื่องแก้ว โดยจัดเครื่องแก้วขนาดเล็กไว้ที่โต๊ะตัวบน แล้วรองลงมาเป็นขนาดกลาง ส่วนขนาดใหญ่ไว้ล่างสุด

                  วิธีตั้งให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัวคือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป แจกัน เชิงเทียน ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่นในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ  ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูปส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียง

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเป็นข้อมูลองค์ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปไว้ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล
๒.เพื่อเป็นประโยชน์ พัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้านประณีตศิลป์ต่อไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นคว้า เรียนรู้ จากเอกสารเล่มนี้ได้
๒. ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องต่อช่างผู้ปฏิบัติงานด้านประดับกระจก

โต๊ะหมู่ลายยา ( วัฒนธรรมในการจัดตั้งโต๊ะหมู่ ๒๕๕๒ : ๑๗ – ๑๙ )
                     เป็นงานที่รวมลักษณะงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า ๒ ประเภท เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน คือ โต๊ะหมู่เป็นงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณใช้ประกอบในงานพิธีสำคัญๆ ของชาติ และ ยิ่งใช้ในพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมต่างๆ อีกมากมาย

โต๊ะหมู่บูชาแบ่งตามลำดับความสำคัญเป็น ๓ หมวดใหญ่ๆ ดังนี้

หมวดที่ ๑ โต๊ะหมู่บูชาที่มีมาแต่เดิม มี ๕ หมู่ คือ
                    ๑) หมู่ ๔     ๒)  หมู่ ๕    ๓)   หมู่  ๖   ๔)  หมู่  ๗   ๕)  หมู่  ๙
                      หมายเหตุ  โต๊ะหมู่ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำทั่วไป  คือ  หมู่  ๕  หมู่  ๗  และ หมู่  ๙

หมวดที่ ๒ โต๊ะหมู่ประยุกต์ มี ๓ หมู่  คือ
               ๑) หมู่ ๒     ๒)  หมู่ ๓    ๓)   หมู่  ๔ ที่ใช้เป็นโต๊ะเคียง

หมวดที่ ๓ โต๊ะหมู่พิเศษ มี ๕ หมู่ คือ
                โต๊ะหมู่ที่จัดไว้เป็นพิเศษ  โดยพิจารณาตามอาคารสถานที่  ที่กว้างใหญ่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่
เช่น   ๑) หมู่ ๑๑     ๒)  หมู่ ๑๒    ๓)   หมู่  ๑๓   ๔)  หมู่ ๑๔  ๕)  หมู่ ๑๕
 
วิธีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา

๑. โต๊ะหมู่บูชา  ต้องตั้งอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์  ซึ่งเป็นประธานในพิธีเสมอ  และควรหันหน้าโต๊ะหมู่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ

๒. วิธีตั้ง ให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัว คือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป,แจกัน ,เชิงเทียน  ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่น ในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูป ส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียน

๓. ถ้าเป็นประชุมอบรม  โต๊ะหมู่บูชาต้องอยู่หน้าของผู้เข้าประชุมและธงชาติด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชานั้นด้วย

๔. เทียนชนวน  สำหรับใช้จุดเทียนและธูปที่ใช้บูชา  ควรดูไส้เทียนให้เรียบร้อย  เวลาใช้จะได้ไม่มีปัญหา  ด้ามเทียบชนวนควรให้ควรให้มีความยาวพอดีกับความสูงต่ำของโต๊ะหมู่บูชาด้วย

๕. ผ้ากราบตรงหน้าโต๊ะหมู่บูชาควรใช้ผ้าที่สะอาดเพื่อรองกราบ   จะได้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง ( ไม่ควรใช้แท่นทรงกราบอย่างงานพิธี )

โต๊ะบูชา  หมู่  ๔  สมัยรัตนโกสินทร์

            โต๊ะหมู่ ๔ มี ๒ ประเภท คือ แบบธรรมดา  และแบบโต๊ะซัด ( โต๊ะปีกหรือโต๊ะเคียง ) โต๊ะซัดเป็นชื่อเรียกโต๊ะหมู่ ๔ ที่จัดตั้งโดยทแยงมุมโต๊ะออก  ตั้งเครื่องบูชาและพระพุทธรูป  รูปทแยงตามมุมโต๊ะ  หรือตั้งบริเวณมุมของห้อง  โดยทแยงกับมุมห้องด้านตรงข้าม  หากนำไปตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่ใหญ่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง  จะเรียกว่า  โต๊ะปีก หรือ โต๊ะเคียง ซึ่งหมายถึงโต๊ะปีกของโต๊ะหมู่ใหญ่  หรือโต๊ะที่ตั้งเคียงคู่กับโต๊ะหมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙

การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของราชการ

          การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของทางราชการ  เช่น การประชุม  อบรม  สัมมนา  เป็นต้น  ที่มิใช่พิธีเกี่ยวกับนานาชาติและการประชุมปกติของคณะกรรมการ  นิยมตั้งธงชาติ  และพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รวมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบันคือชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์  มีหลักในการจัดคือ  ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลาง  ตั้งธงชาติไว้ทางด้านขวาของโต๊ะหมู่  และตั้งพระบรมฉายาลักษณ์  ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่

ลายยา

           คือการขุดไม้บนพื้นเรียบให้เป็นลวดลาย  แล้วนำมาทำพื้นปิดทองประดับกระจกลงในร่องลายที่ขุดเป็นฐาน  โบราณงานลายยาที่พบเห็นส่วนใหญ่จะพบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ  เช่น  ที่หัวเรือและท้ายเรืออเนกชาติภุชงค์ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีทางชลมารค  ลายที่ขุดส่วนใหญ่เป็นลายพญานาคขดไปมา  กระจกที่ใช้ประดับในร่องลายสาวใหญ่จะเป็นสีขาว  และ ยังพบลายยาที่ฐานพระแท่นเศวตฉัตรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  เป็นลายแนวตั้ง  ขุดลายเป็นเส้นตรง  สลับกับลายกลีบดอกไม้  ๓  แฉกประดับด้วยกระจกประมาณ  ๓  สี  ขึ้นไป  วอสีวิกา  เป็นวอคานหาม  พนักพิงด้านหลังขุดลายประดับกระจกลายยาเป็นรูปดอกไม้  ผูกลายเป็นเครือเถา  สวยงาม และละเอียดมาก  ใช้กระจกประมาณ ๓ สีขึ้นไป นิยมใช้ สีแดง สีเขียว สีทอง
 

11 มิถุนายน 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553

การตัดกระจกให้เป็นรูปโค้ง กลีบดอกแบบต่างๆ บางครั้งจะแตกหักง่าย ถ้ามีความโค้งเล็กๆ เป็นหยักมาก


สว่านเจาะกระจกที่นำมาดัดแปลงสำหรับตัดกระจกนั้น จะลับดอกสว่านให้มีความคม เมื่อกรีดกระจกแล้วจะได้รูปแบบต่างๆ ตามต้องการ กระจกจะแตกหักไม่มาก


    ในการจัดทำตั่งฐานรองโต๊ะหมู่บูชา เพื่อประกอบให้เข้าชุดกับโต๊ะหมู่ทั้ง ๙ ตัว เป็นชุดโต๊ะหมู่พร้อมตั่งฐานรองโต๊ะหมู่บูชา ที่มีลักษณะแปลกไปจากโต๊ะหมู่ที่มีอยู่ทั่วไป เพราะเป็นโต๊ะหมู่ที่มีลักษณะงานลายยา ซึ่งเป็นงานโบราณที่เกือบจะสูญหายไปให้คงอยู่ต่อไปโดยนำมาออกแบบลวดลายให้เข้ากับชุดโต๊ะหมู่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย และในการจัดทำโต๊ะหมู่ลายยาพร้อมตั่งฐานรองโต๊ะหมู่บูชา ยังใช้ประกอบกับงานโครงการสำรวจการประดับกระจกประจำปี ๒๕๕๔ เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ชุดโต๊ะหมู่พร้อมตั่งฐานรองโต๊ะหมู่บูชา ยังสามารถนำไปใช้ในงานสำคัญๆ ของสำนักช่างสิบหมู่ และใช้สำหรับแสดงผลงานในการจัดนิทรรศการของสำนักช่างสิบหมู่ด้วย


ขั้นตอนที่ ๑ เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
เครื่องมืออุปกรณ์ในการประดับลายยาประกอบด้วย

๑. หุ่นหรือชิ้นงานที่จะนำมาประดับกระจก
๒. กระจกสีต่างๆ 
๓. เพชรตัดกระจก เช่น  เพชรจีน เพชรเขี้ยวงู  คีมเล็มกระจก  กรรไกรเล็มกระจก และ สว่านเจาะกระจก
๔. วัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการประดับกระจก  เช่น ขี้ผึ้งติดกระจก 
๕. วัสดุที่ใช้ในการผสมสำหรับประดับกระจก




ภาพที่๑ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

องค์ประกอบหลักของงานประดับกระจก ประกอบด้วย

๑. หุ่น หรือ ชิ้นงาน ชนิดต่างๆดังนี้ คือ

           ๑.๑ หุ้นไม้ ไม้ที่นิยมนำมาแกะสลัก และปิดทองประดับกระจก คือไม้สัก มีคุณสมบัติเป็นไม้เนื้ออ่อน  แต่มีความคงทนถาวร ไม้อีกชนิดหนึ่งคือ  หวายหรือไม้ไผ่  ใช้ขึ้นหุ่นตะลุ่ม เตียบ โตก พานแว่นฟ้า และนำมาประดับกระจกได้อย่างสวยงาม

           ๑.๒ หุ่นปูน  คือ  หุ่นที่หล่อด้วยปูนซิเมนต์  หรือปูนปลาสเตอร์  ปูนหินหรือปูนตำแบบโบราณ แล้วนำมาทำพื้นปิดทองประดับกระจก  เช่น ฐานพระขนาดใหญ่ในพระอุโบสถ  วิหาร ช่อฟ้า  ใบระกา  และ หน้าบัน

           ๑.๓ โลหะ  คือ  ปูนหรือแบบที่ทำด้วยทองแดง  ทองเหลือง เป็นหุ่นแล้วทำพื้นปิดทองก่อนประดับกระจก เช่น องค์พระพุทธรูปทรงเครื่อง  ฐานตั้งองค์พระฝางหล่อลายปิดทองประดับกระจก

           ๑.๔ เรซิ่น  คือ น้ำยาทางวิทยาศาสตร์ที่นิยมใช้หล่องานศิลปะในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก  เช่นหล่อพระพุทธรูป  หล่อเทวรูป หล่อฐานพระ  แล้วนำมาทำพื้นปิดทองประดับกระจก
 
๒. กระจกสีชนิดต่างๆ มีด้วยกัน ๓ ชนิด คือ

      ๒.๑ กระจกแก้วอังวะ เป็นกระจกของพม่า ด้านหน้าเคลือบด้วยแก้วใสอ่อนบางๆ ด้านหลังเป็นตะกั่ว สามารถดัดโค้งงอได้ พบได้ตามงานศิลปะทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ เช่น ที่วัดศรีชุม จังหวัดลำปาง
และวัดอื่นอีกมากมายของทางภาคเหนือ ภาคใต้พบที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่วิหารพระทรงม้าทางขึ้นพระบรมธาตุฯ ปัจจุบันน่าจะไม่มีการทำกระจกแก้วอังวะแล้ว

      ๒.๒ กะจกเกรียบหรือกระจกจีน เป็นกระจกสีชนิดหนึ่ง ทำขึ้นโดยใช้แร่ดีบุกเป็นพื้นรองรับและ เคลือบด้วยดินประสิวเศษแก้ว ทรายแก้ว เพื่อให้ผิวเป็นมันวาว มีทั้งชนิดแผ่นบางและชนิดแผ่นหนา ชนิด แผ่นบางจะบางเหมือนข้าวเกรียบ ใช้กรรไกรตัดแต่ได้ มักใช้ในงานที่ต้องประดับอย่างประณีต เช่น ตัดเป็น แววประดับเครื่องศิราภรณ์ โขน ละคร ประดับลายทองแผ่ลวดเครื่องสูงราชวัตรฉัตรธงต่างๆ ส่วนชนิดแผ่นใช้ประดับตู้โต๊ะ ตลอดจนช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน ๆลฯ กระจกเกรียบนี้นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณในปัจจุบันนี้ไม่มีกระจกชนิดนี้ใช้แล้วเพราะเลิกผลิตแล้ว และยังจะพบเห็นได้ที่งานศิลปะโบราณในพิพิธภัณฑ์ เช่น ที่ตู้พระธรรม ตะลุ่ม และกระบะต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวังจะมี ตะลุ่ม พานแว่นฟ้า ที่พระอุโบสถวัดอนงค์คาราม พบกระจกเกรียบสีฟ้านกพิราบที่ฐานพระประธาน จะมีสีขาว สีเขียวและสีเหลือง

      ๒.๓ กระจกแก้ว มีด้วยกัน ๒ แบบคือ

                 ๒.๓.๑ กระจกตรง คือ กระจกมีลักษณะแผ่นเรียบ มีความหนา ๓ - ๔ มิลลิเมตรด้านหน้าเป็นกระจกแก้ว ด้านหลังเคลือบปรอท มีสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ฟ้า ใช้ประดับช่อฟ้า ใบระกาหรืองานศิลปะใหญ่ได้ ไม่เหมาะกับงานกระจกชิ้นเล็กๆ เช่น ตะลุ่ม เตียบ พานแว่นฟ้า เพราะมีความหนาตัดยาก กระจกตรงเมื่อใช้ประดับจะไม่สวยงามเพราะเมื่อแสงแดดส่องการสะท้อนแสงน้อยดูเรียบๆแบนๆ  ปัจจุบันยังมีการผลิตใช้อยู่ ราคาค่อนข้างถูก

                 ๒๓.๒ กระจกโค้ง คือ กระจกที่มีความโค้งนิดหน่อย ด้านหน้าเป็นกระจกสีต่างๆด้านหลังเคลือบปรอท มีความหนาประมาณ ๑-๒ มิลลิเมตร มีสีแดง ม่วง เขียว เหลือง ฟ้า ทอง นิยม ประดับได้ทั้งงานชิ้นใหญ่และงานชิ้นเล็ก มีความบางสามารถตัดได้ง่าย เช่น ประดับกระบะ ตะลุ่ม เตียบ โตก และเป็นกระจกโค้งซึ่งให้ความแวววาวเวลาโดนแสง ปัจจุบันมีการผลิตใช้อยู่แต่เป็นกระจกนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น ไทยผลิตได้แต่ราคาค่อนข้างแพ สีม่วง สีแดง ราคาแพงที่สุด กระจก ๑ กล่องจะมี ๒๕ แผ่น ขนาด กว้าง ๗ เซนติเมตร ยาว ๙ เซนติเมตร

๓. ชนิดของวัสดุที่นำมาประดับกระจก มีด้วยกันหลายแบบ เช่น

        ๓.๑ สมุกกับรัก คือ รักสมุก โดยการนำเอากะลามะพร้าว อิฐ หรือใบตอง มาเผาให้เป็นถ่าน แล้วนำมาบดให้ละเอียด กรองด้วยผ้าเนื้อละเอียดแล้วนำมาผสมกับรักที่กรองแล้วคนให้เข้ากัน นำมาทาเป็นพื้นใช้ประดับกระจก นิยมใช้ก็งานอนุรักษ์ คือ งานที่ต้องการให้ใกล้เคียงของโบราณมากที่สุด เช่น ธรรมาสน์เทศก์ ธรรมาสน์สวด ที่วัดพระมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก และ งานซ่อมโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ เมื่อผสมเหลือแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาเพื่อนำมาใช้ครั้งต่อไป




ภาพที่ ๒ สมุก รัก

          ๓.๒ ชันกับ น้ำมันยาง คือ ชันที่ได้จกยางต้นไม้บดละเอียดนำมาผสมกับน้ำมันยาง ในอัตราที่พอเหมาะ แล้วใส่ปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย เพื่อให้ชันน้ำมันยางแข็งตัวเร็วขึ้น กวนให้เข้ากันใช้ทาเป็น พื้นประดับกระจกได้ หรือใช้อุดรอยต่อของตะเข็บเรือก็ได้ ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ เมื่อผสมแล้วใช้ไม่หมดสามารถเก็บใส่กล่องใช้วันต่อไปได้



ภาพที่ ๓ ชัน น้ำมันยาง และปูนแดง

๓.๓ กาววิทยาศาสตร์ หรือ อีอกชี่ เป็นกาว ๒ ตัว ผสมในอัตราส่วนเท่าๆกัน มีลักษณะสีขาวขุ่น ตัวเอเป็นตัวแห้งเร็ว ตัวบีเป็นตัวแห้งช้า เมื่อจะใช้ประดับกระจกผสมในอัตราส่วนเท่าๆกัน ไม่ควรผสมครั้งละมากๆ เพราะจะแห้งเร็วไม่สามารถเก็บไว้ครั้งต่อไปได้ ควรผสมและประดับในเวลาไม่เกิน ๑ ชั่วโมงเพราะถ้าแห้งไปจะประดับกระจกไม่ติด รดไม่แพงหาซื้อได้ตามร้านที่ขายกระจก ปัจจุบันนิยมใช้กันมากเพราะหาซื้อง่ายขั้นตอนไม่ยุ่งยาก



ภาพที่ ๔ กาวอีพ๊อกซี่

๓.๔ ปูนซิมนต์ขาว เป็นปูนที่สามารถใช้ประดับกระจกได้ แต่จะต้องใช้กับงานที่ประดับกระจก เป็นปูนด้วยกันเท่านั้น เวลาประดับก็ต้องเอาน้ำไปปะสะให้ชิ้นงานมีความชื้นก่อน แล้วผสมปูนซิเมนต์ขาว ผสมกับน้ำแล้วใส่ปูนแดงนิดหน่อยเพื่อให้แข็งตัวเร็วขึ้น ผสมในอัตราส่วนที่พอเหมาะไม่ให้เหลวจนเกินไปทาปูนซิเมนต์ขาวป้ายที่ชิ้นงานแล้วนำกะจกที่ตัดแล้วมาประดับ พยายามอย่าให้พื้นชิ้นงานแห้ง ควรปะสะให้มีความชื้นตลอดเวลาประดับให้ได้ประมาณ กว้างฟุต ยาวฟุต แล้วใช้ฟองน้ำซุบน้ำลูบบริเวณที่ประดับกระจกปูนก็จะเรียบเสมอกระจก ทำให้งานดูเรียบร้อย





ภาพที่ ๕ ปูนซิเมนต์ขาว น้ำ ปูนแดง

๔. เครื่องมือที่ใช้ในการผสมและประดับกระจก

                ๔.๑ เกรียงผสมขนาดหน้าต่างๆ ถ้างานขนาดใหญ่ก็ใช้เกรียงหน้า ๕-๖ นิ้ว แต่ถ้าเป็นงานขนาดเล็ก ใช้เกรียงเล็กหน้า ๓-๕ นิ้ว เพื่อความถนัดในการปฏิบัติงาน



ภาพที่ ๖ เกรียงผสมหนา ๒-๕ นิ้ว

๔.๒ เกรียงผสมสีน้ำมัน  เป็นเกรียงสำหรับใช้คนเนื้อวัสดุที่จะนำมาทาลงบนชิ้นงานก่อนจะประดับกระจก



ภาพที่ ๗ เกรียงสำหรับคนให้เนื้อวัสดุเข้ากัน
 

๔.๓ ขี้ผึ้งพันปลายไม้ ใช้สำหรับแตะกระจกที่ตัดเรียบร้อยแล้วมาประดับบนชิ้นงานเพราะถ้าใช้นิ้วจับจะไม่นัด ขี้ผึ้งควรเป็นขี้ผึ้งสำหรับทำน้ำมนต์ เพราะอ่อนตัวง่ายเวลานวด และไม่เหนี่ยวติดกระจก

 


ภาพที่ ๘ ขี้ผึ้งที่ทำจากไขผึ้ง

๕. เครื่องมือในการตัดกระจก

๕.๑ เพชรตัดกระจกชนิดต่าง ๆ

๕.๑๑ เพชรใหญ่ หรือเพชรจีน เพชรที่ใช้สำหรับตัดกระจกตามร้านทำกรอบรูปทั่วไปส่วนหัวทำด้วยเหล็กชุบ ด้านปลายมีเพชรฝังอยู่ในเหล็ก ยื่นออกมานิดหน่อยสามารถสัมผัสถึงความคมของเพชรใช้ตัดหรือกรีดกระจกให้ขาดได้ ส่วนด้ามที่ต่อจากส่วนหัวเป็นไม้ใช้สำหรับจับเวลาตัดกระจก คุณสมบัติสามารถตัดได้ทั้งกระจกหนาและกระจกสีบางๆ ส้นที่ตัดได้จะมีความคม ตัดกระจกชิ้นเล็กๆได้ดีมาก มีขายตามร้านที่มีกระจกขาย การตัดกระจกจะใช้ไม้โปรแทรกเตอร์วางทาบบนกระจกแล้วใช้เพชรจีนกรีดตามขนาดที่ต้องการ

 



ภาพที่ ๙ เพชรใหญ่ หรือเพชรจีน

๕.๑.๒ เพชรเขี้ยวงู มีตามเป็นทองเหลือง ตรงปลายเป็นเพชรยื่นออกมาค่อนข้างมาก สามารถสัมผัสถึงความคมได้ มีราคาค่อนข้างถูก ใช้ตัดกระจกสีได้เท่านั้น วิธีใช้ ให้ใช้ไม้ตับคีบกระจกให้ แนบกับไม้แล้วใช้เพชรเขี้ยวงูตัด

 



ภาพที่ ๑๐ เพชรเขี้ยวงู

 

๕.๑.๓ สว่านเจาะกระจก เป็นสว่านที่ใช้สำหรับเจาะกระจก โดยเฉพาะมีหลายขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๔ มิลลิเมตร สูงประมาณ ๓ เชนติเมตร นำมาเจียรปลายให้แหลม แล้วนำมาฝนกับ  กระดาษทรายหรือเครื่องมือขัดพลอยให้คมแล้วนำมาติดกับด้ามที่ทำด้วยไม้กลึง เพื่อให้จับถนัดเวลากรีด   หรือตัดกระจกสีต่างๆ มีขายทั่วไปตามร้านขายสว่าน แต่ต้องระบุว่าเป็นดอกสว่านเจาะกระจกเท่านั้นจึงจะ นำมาทำเป็นเครื่องมือตัดกระจกได้

 



ภาพที่ ๑๑ สว่านเจาะกระจกเจียรและทำด้ามแล้ว

 

๕.๑.๔ กรรไกร หรือคีม ใช้สำหรับเล็มกระจกสีให้เป็นรูปต่างๆ ได้ เช่น วงกลม หยดน้ำ ไม่สามารถใช้ตัดกระจกได้ โดยใช้เพชรต่างๆ ตัดเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ก่อน แล้วจึงใช้กรรไกรหรือคีม เล็มกระจกให้ได้ขนาดและรูปร่างตามต้องการ

 




ภาพที่ ๑๒ กรรไกร หรือ คีมเล็มกระจก

 

ลักษณะของงานประดับกระจก

การประดับกระจกจำแนกเป็น ๔ แบบ ดังนี้

๑.กระจกแบบเต็มพื้นหน้า เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน หางหงส์ เชิงกลอน กระเบื้องหลังคามณฑป ฝาผนัง เสาระเบียงต่างๆ

 

๒ ประดับเป็นร่องในพื้นลายกึ่งแกะสลัก หรือปูนปั้นลงรักปิดทอง เรียกว่า ปิดทองร่องกระจก เช่นคันทวย บุษบก ธรรมาสน์ ตู้พระธรรม ฯลฯ

 

๓.ประดับบนพื้นไม้ที่ขุดเป็นร่องลวดลายต่างๆ แล้วประดับกระจกสีลงในช่องลวดลายนั้นๆ พื้นปิดทองทึบ เรียกว่า ประดับกระจกลายยา

 

๔.ประดับกระจกผสมการประดับมุกเป็นลายต่างๆ เรียกว่า มุกแกมเบื้อ เช่น ตู้พระธรรมวัดบางบำหรุ ธนบุรี ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 

 

การดูแลเครื่องมือและบำรุงรักษาหลังการใช้งาน

          การดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ตัดกระจก เช่น เพชรต่างๆ ควรระวังไม่ให้เพชรหรือเครื่องมือที่ใช้ในการตัดหรือกรีดกระจก กระแทกหรือหล่นลงพื้นแรงๆ เพราะจะทำให้เพชรหลุดหรือชำรุดเสียหายได้ควรทำเป็นถุงเล็กๆ สวมบริเวณที่เป็นเพชร หรือเครื่องมือตัด เพื่อเป็นการรักษาให้ใช้งานต่อไปยาวนานขึ้นเครื่องมือที่ใช้ในการผสม คือ เกรียงต่างๆ เมื่อใช้เสร็จเรียบร้อยแล้วควรเช็ดทำความสะอาดทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้แข็ง เวลาใช้เครื่องมือครั้งต่อไป จะเอาส่วนผสมที่ใช้ในการติดกระจกออกยาก

 

บุคคลากรที่เป็นช่างฝีมือทางด้านการประดับกระจก

             ในปัจจุบันมีช่างประดับกระจกอยู่มากมายตามวัดหรืองานศิลปะต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานประดับกระจก แต่ช่างกระจกที่สามารถตัดกระจกเป็นชิ้นเล็ก ประดับลงบนชิ้นงาน เช่น ตะลุ่ม พานแว่นฟ้ากระบะต่างๆ ไม่ค่อยจะมี ที่เห็นมีในปัจจุบัน ก็คงมีอยู่ที่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เท่านั้น ส่วนช่างตามวัดหรือสถานที่ต่างๆ ที่มีช่างประดับกระจกก็จะตัดกระจกที่มีขนาดใหญ่ ทำให้คุณค่าของงานอาจจะไม่ละเอียดสวยงามเท่าที่ควร ฉะนั้นควรจะมีการฝึกช่างที่สามารถตัดและประดับกระจกที่เป็นงานละเอียดเพื่อให้งานศิลปะคงอยู่ต่อไป และให้เพิ่มจำนวนบุคลากร เมื่อถึงเวลาหนึ่งช่างที่มีอายุมากขึ้นการมองเห็น

 






ขั้นตอนที่ ๒ การตัดกระจก
๑. กำหนดสีของกระจกให้ได้เหมาะสมตามลวดลายที่กำหนด นำสีไม้มาระบายลงในแบบลาย ขนาดเท่าจริง โดยระบายสีแดงในส่วนที่เป็นเส้นที่เดินรอบฐานตั่งฐานรองโต๊ะหมู่ ๙ ระบายสีเขียวในส่วนที่เป็นก้านดอก ระบายสีขาวและแดงในส่วนที่เป็นแววกลม ระบายสีน้ำเงิน น้ำทะเล แดง ในส่วนที่เป็นกลีบดอก และแววรูปหยดน้ำ โดยตัดทอนลาย ๑ ใน ๔ ของตัวตั่ง



ภาพที่ ๑๓ การกำหนดสีของกระจกลงในแบบเท่าจริง

๒. นำเพชรตัดกระจกมาตัดกระจกสีแดงตามแบบที่กำหนดขนาดกว้าง ๑,๕ มิล ยาว 0.๕ มิล ตัดเตรียมไว้เพื่อใช้ประดับในส่วนที่เป็นส้นรอบฐานตั้งโต๊ะหมู่ทั้ง ๔ ด้าน ในการตัดกระจก นำกระจกมาวาง บนกระดาษกราฟใช้ไม้โปรแทรกเตอร์วางบนกระจกแล้วใช้เพชรตัดกระจกกรีดกระจกตามขนาดที่กำหนดโดยกรีดให้เป็นเส้นใสๆ บางๆ ถ้าเป็นเส้นขุ่นหรือเป็นฝ้าขาวเวลาหักกระจกจะเบี้ยว ไม่ได้ขนาดตามต้องการ

 




ภาพที่ ๑๕ ตัดกระจกแดง

 

๓. นำเพชรตัดกระจกมาตัดกระจกสีขาว และสีแดง ขนาดประมาณ ๓ X ๓ มิล นำกรรไกรหรือคีมเมกระจก ให้เป็นรูปแววกลมตรียมไว้ประดับในส่วนแววทั้ง ๔ ด้าน ของตั่งฐานรองโต๊ะหมู่บูชา

 








ภาพที่ ๑๖ เล็มแววสีขาว,แดง

๔.นำเจาะกระจกที่เจียรเรียบร้อยแล้วมาตัดกระจกสีเขียวให้เป็นรูปก้านใบ  ตามแบบที่กำหนด โดยตัดเตรียมเพื่อประดับ

 




ภาพที่ ๑๗ ตัดก้านดอกกระจกสีเขียว


ขั้นตอนที่ ๓ การประดับกระจก

         ๑. ผสมชัน น้ำมันยาง, ปูนแดง โดยอัตราส่วน ชัน ๓ ส่วน น้ำมันยาง ๑.๕ ส่วน ปูนแดง ๐.๕ ส่วน  ผสม (กวน) ให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ประมาณ ๑๐ นาที จะสังเกตเห็นว่าเนื้อของชันที่ผสมไว้จะมีความหนืดมากกว่า ตอนผสมใหม่ๆ ใช้ไม้ปลายแหลมขนาดเล็ก(ไม้เสียบลูกชิ้น) ป้ายชันที่ผสมได้ที่แล้วใส่ในร่องลายของ ตั่งบริเวณที่เป็นเส้นตรงกรอบโดยรอบของตั่ง โดยใส่ชันที่ผสมแล้วลงในร่องลายเกือบเต็มลายที่ขุดแล้วนำกระจกสีแดงที่ตัดเตรียมไว้มาประดับในร่องลายที่ใส่ชันไว้ โดยใช้ขี้ผึ้งติดไม้เป็นตัวจับกระจกวางในร่องลายกดกระจกให้จมในร่องลายนิดหน่อย




ภาพที่ ๑๘ เดินเส้นสีแดง


๒. ผสมชัน  น้ำมันยางและปูนแดงในอัตราส่วน ๓ : ๑.๕ : ๐.๕ แล้วหมักไว้  เมื่อได้ที่แล้วใช้ไม้ปลายแหลมป้ายชันในพื้นที่ลายที่เป็นแววและก้านดอกทั้งหมด  แล้วใช้ขี้ผึ้งแตะแววกระจกและก้านดอกสีเขียวที่ตัดเตรียมไว้ใส่ลงในร่องลายแล้วกดกระจงให้จมลงในร่องนิดหน่อย




ภาพที่ ๑๙  การประดับกระจกก้านดอกสีเขียว

๓. ส่วนที่เป็นกลีบดอกและใบมีสี ขนาดแตกต่างกันต้องตัดและประดับกระจกทีละกลีบ เพราะถ้าตัดเตรียมไว้จะไม่ได้ขนาดตามร่องลาย ค่อยๆประดับให้แล้วเสร็จที่ละด้านจนครบทั้ง ๔ ด้านการตัดกระจกให้นำกระจกมาตัดหรือกดให้ได้ลักษณะและขนาดเล็กกว่าร่องลายนิดหน่อย การกรีดกระจกนี้จะใช้สว่านเจาะกระจกที่เจียรและทำด้ามแล้วมากรีดกระจกให้เป็นรูปกลีบดอกและขนาดตามต้องการ นำชัน น้ำมันยาง ปูนแดง ที่ผสมและหมักแล้วมาทาในร่องลายให้ชันเกือบเต็ม และนำกระจกที่ตัดแล้วมาประดับในร่องลาย แล้วกดให้กระจกจมลงนิดหน่อย เสร็จแล้วตรวจดูความเรียบร้อยจนทั่ว แล้วนำมาจัดวางให้เข้าชุดกับโต๊ะหมู่ ๙ ที่ประดับกระจกเรียบร้อยแล้ว







ภาพที่ ๒๐ รูปการตัดและเล็มกลีบดอกและใบ  ตัดไปประดับไปพร้อมกัน




ภาพที่ ๒๑  รูปสำเร็จโต๊ะหมู่ ๙ พร้อม  ตั่งฐานรองโต๊ะประดับกระจกลายยา











-
จำนวนผู้เข้าชม 3,478 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel