ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง ( พระผุด )


photo-การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง ( พระผุด )
การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง ( พระผุด ) วัดพระทอง ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง ( พระผุด )

-

การทำพื้นปิดทองด้วยสีสังเคราะห์(สีน้ำมัน)

ประณีตศิลป์

ความเป็นมาและความสำคัญ

             หลวงพ่อพระทอง(พระผุด) วัดพระทอง(พระผุด) ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นองค์พระพุทธรูปทองคำ โผล่แต่พียงพระเกตุมาลา อยู่ใต้องค์พระพุทธรูปพระทองครึ่งองค์พุทธศาสนิกชนทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงมักเรียกท่านว่า "พระผุด", "พระล่อคอ" ประวัติความเป็นมายังไม่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ซัด เพราะเป็นพระพุทธรูปผุด เพียงพระเกตุมาลาจากพื้นดิน สูงประมาณ ๑ ศอก โดยมีรูปจำลองก่อสวมทับไว้แบบครึ่งองค์ ส่วนคนจีนในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงเรียกว่า "ภู่ปุ๊ค" หรือ "พู่ฮุก" เพราะเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างมาจากเมืองจีน  เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนต่างก็พากันมานมัสการหลวงพ่อพระทอง(พระผุด) กันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้และยังมีความเชื่อเล่าสืบทอดกันมาว่า หลวงพ่อพระทอง(พระผุด)  ที่อยู่ใต้องค์พระพุทธรูปพระทองครึ่งองค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยทองคำที่มี ความสวยงามมาก สร้างที่เมืองจีน ครั้นเมื่อชาวธิเบตได้มารุกรานเมืองจีนและได้ชัยชนะได้นำพระพุทธรูป ดังกล่าว ที่มีชื่อว่า "กิมมิ่นจ้อ" ลงเรือมาทางมหาสมุทรอินเดียเพื่อนำกลับไปประเทศธิเบต แต่เรือถูกพายุ พัดเข้ามายังชายฝั่งพังงาและเกิดเรือล่มลง เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงบริเวณที่  เรือจมกลายเป็นเกาะ ซึ่งก็คือภูเก็ตในปัจจุบันนี้ องค์พระพุทธรูปจมลงใต้พื้นดินโผล่แต่เพียงพระเกตุมาลา อยู่กลางท้องทุ่ง

               ตามตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาว่าในสมัยก่อนในตอนเช้า เด็กชายชาวนาได้นำกระบือไปเลี้ยงในทุ่งนา แล้วนำเชือกที่ผูกกระบือไว้ไปผูกกระทบสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายแก่นไม้หรือท่อนไม้ที่มีโคลนตมติดอยู่จากนั้นเด็กชายก็กลับบ้านไป เมื่อไปถึงบ้านก็เป็นลมล้มลงแล้วเสียชีวิต ตอนสายพ่อของเด็กก็ออกไปที่ทุ่งนา พบว่ากระบือก็ตายเช่นกัน พอตกกลางคืนพ่อของเด็กชายก็ฝันว่า สาเหตุที่ลูกชายและกระบือตายเพราะลูกชายนำเชือกกระบือไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำที่จมอยู่ในดิน รุ่งเช้าจึงได้ชวนชาวบ้านไปดูจุดที่ลูกชายนำเชือกไปผูกลมกระบือไว้  เมื่อแก้เชือกและล้างโคลนตมออกจากจุดที่ผูก  เชือกไว้ พบว่ามีลักษณะเหมือนพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปที่เป็นทองคำ จึงได้พากันมากราบไหว้บูชา และไปเรียนให้ทนเจ้าเมืองทราบ เมื่อเจ้าเมืองทราบได้ทำการขุด แต่ขุดอย่างไรก็ไม่สามารถเคลื่อนย้าย องค์พระพุทธรูปทองคำออกไปได้ ต่อมามีชีปะขาวท่านหนึ่งและชาวบ้าน กรงว่าจะมีคนร้ายมาลักลอบขุด หรือตัดพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำไป จึงได้นำเปลือกหอยทะเลมาเผา ทำเป็นปูนขาวผสมกับ  ทรายมาโบกครอบทับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำไว้

                 ต่อมาในสมัยที่เกิดสงครามกับพม่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒o๒๘ ที่เรียกว่า ศึกถลาง พม่าได้ยกกองทัพมาปิดล้อมเมืองถลางและทราบว่าในทุ่งนามีพระพุทธรูปทองคำแต่สวมทับโบกปิดไว้ด้วยปูนขาว จึงมารื้อปูนขาวออก จนเห็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ก็พยายามที่จะขุดองค์หลวงพ่อพระทอง จนสามารถขุดลงไปได้จนถึงพระศอ (คอ) แต่ก็ไม่สามารถขุดลงไปได้ทั้งองค์ เพราะเกิดอุปสรรคต่าง ๆ เป็นที่มหัศจรรย์มากมาย เป็นที่เล่าขานกันสืบมา เช่น มี ต่อ แตน มดคันตัวเล็ก ๆ จำนวนมากออกมารุมกัดทหารพม่าที่กำลังขุดองค์พระ จนทหารพม่าล้มป่วย ตายไปเป็นจำนวนมากไม่สามารถขุด เอาองค์หลวงพ่อไปได้ จนในที่สุดพม่าได้ล่าถอยทัพกลับไป หลังจากนั้นได้มีพระธุดงค์มาพบว่ามีพระผุดโผล่ ขึ้นมาเพียงพระศอ (คอ) และเป็นทองคำ ก็เกรงว่าจะมีคนร้ายมาลักลอบขุดขโมยไป จึงได้ชักชวนชาวบ้าน ก่อองค์พระพุทธรูปปูนขึ้นสวมทับพระผุดที่เป็นทองคำดังกล่าว แต่สร้างเพียงครึ่งองค์ คือตั้งแต่พระอุระ(ก) ขึ้นไปมาสวมทับไว้ ดูคล้ายกับเป็นพระพุทธรูปผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยมี หลวงพ่อพระทอง (พระผุด) เป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระธุดงค์รูปนี้ก็คือเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด พระทอง(พระผุด) ภายหลักทราบชื่อพระธุดงค์รูปนี้ซึ่งก็คือหลวงพ่อสิงห์ จากการประทับทรงเมื่อครั้งปลุกเสกหลวงพ่อพระทอง (พระผุด) ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ หลังจากสร้างเป็นวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อสิงห์ได้ ผูกปริศนาขึ้นไว้ประจำวัด ปริศนามีดังนี้ "ยัก ๓ ยัก ๔ หามผีมาเผา ผีไม่ทันเน่า หอมฟุ้งตลบ ผู้ใดคิดสบให้เอาที่กบปากแดง ผู้ใดคิดแจ้งให้เอาจากแร้งล่อคอ" หากท่านเจ้าอาวาสท่านใดไม่เข้าใจในปริศนาที่ผูกไว้ ก็จะอยู่วัดนี้ไม่ได้ จะต้องมีอันเป็นไป หลังจากนั้นวัดพระทองก็มีเจ้าอาวาสอีก ๑๔ รูป แต่ไม่มีเจ้าอาวาส ท่านใดสมารถอยู่ได้เกินหนึ่งพรรษา จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าวัดนี้กินสมภาร วัดจึงถูกทิ้งรังกลายเป็นป้าดงขมิ้น หลวงพ่อพระทอง (พระผุด) ก็ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่าคงขมิ้น เช่นกัน เพราะผู้พบเห็นล้วนเห็นว่าเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นเพียงครึ่งองค์ แต่เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน ชาวบ้าน ชาวจีนก็ชักชวนกันมาถากถางป่า ทำความสะอาดและเข้ามากราบไหว้ จนในที่สุดประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระครูวิตถารสมณวัตร (ฝรั่ง) อายุ ๒๓ ปี ขณะนั้นอุปสมบทอยู่ที่วัดพระนางสร้างได้ ๓ พรรษา คิดปริศนาของวัดพระทองที่หลวงพ่อสิงห์ผูกไว้ได้ จึงมาจำพรรษาที่วัดพระทอง ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทอง (พระผุด) รูปที่ ๑๕ ได้ทำการ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ โดยมีเถ้าแก่ย่าเสียง เป็นโยมอุปถัมภ์ จากนั้นได้ทดลองขุดดินลงไปด้านหลังองค์พระทอง (พระผุด) กว้างประมาณ ๑ เมตร ลึกประมาณ ๒ เมตร เพื่อหาลูกนิมิตพระอุโบสถ หลังเดิมแล้วคิดจะพังดินเข้าไปดูองค์พระทอง แต่เกรงว่าองค์พระทอง(พระผุด) ที่สร้างไว้ครึ่งองค์ด้านบนจะพังลงไปทับองค์พระพุทธรูปทองคำด้านล่างเกิดความเสียหาย จึงมิได้พังดินเข้าไป แต่ได้ใช้เหล็กมาตีเป็นปากจิ้งจก แล้วตอกลงไปที่ฐานองค์พระทอง เพื่อพิสูจน์ว่าองค์พระที่อยู่ใต้องค์พระทอง (พระผุด) เป็นทองคำหรือไม่ เมื่อตอกเหล็กลงไปชนกับของแข็งพยายามตอกจนเหล็กงอจึงดึงเอาเหล็กนั้นออกมา แล้วนำเหล็กนั้นไปให้ช่างทองที่ตัวเมืองภูเก็ตพิสูจน์ดู ช่างทองบอกว่ามีเศษทองดำเนื้อดีติดอยู่ให้นำมาขายได้ พระภารสมณวัตร (ฝรั่ง) จึงรีบกลับมาทำการบูรณะองค์พระทอง(พระผุด) โดยการสร้างองค์พระเพียงครึ่งองค์ เช่นกัน คือตั้งแต่พระอุระขึ้นไปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ครอบองค์พะครึ่งองค์เดิม โดยเถ้าแก่ย่าเสียง เป็นโยมอุปถัมภ์ ใช้ช่างชาวปีนัง เป็นผู้ดำเนินการสร้าง ใช้ปูนขาวที่ทำมาจากหินภูเขา จากจังหวัดพังงา

                  ในสมัยที่พระครูสุวรรณพุทธาภิบาล (สุขุม อิสิญาโณ ถิ่นตะเคียน) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทองรูปที่ ๑๖ ได้ทำการขุดรอบ ๆ องค์พระทอง(พระผุด) เพื่อการหาลูกนิมิตพระอุโบสถ พบว่าโดยรอบองค์พระทอง (พระผุด) ห่างจากองค์พระทอง (พระผุด) ด้านละ ๑ เมตร มีอิฐขนาดใหญ่วางเรียงซ้อนกันเป็นกำแพงล้อมรอบองค์พระไว้ แต่มิได้ขุดไปที่องค์พระทอง (พระผุด) 

ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๔๐ เป็นการซ่อมบูรณะองค์พระทอง (พระผุด) ในส่วนของงานปูน

บริเวณพระปราง(แก้ม) และพระศก (เส้นผม) และซ่อมปิดทององค์พระทองใหม่ทั้งองค์  ในช่วงที่พระอธิการอำไพ อมทตโต (อำไพ โกมุทผล) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทอง(พระผุด) และนายบัญญัติ จริยเลอพงศ์ เป็นไวยาวัจกร


การสร้างพระพุทธปฏิมาในพระพุทธศาสนา
 ( ยงยุทธ วรรณโกวิทการซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์

พระทอง (พระผุด). ๒๕๕๓ : ๙ )

                  พุทธปฏิมาพุทธปฏิมากร เป็นคำนาม หมายถึง รูปเหมือนหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ

พระพุทธรูป (ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) การสร้างพุทธเจดีย์หรือ

ถาวรวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นโดยมีเจตนาเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ

                  ธาตุเจดีย์         หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ

                  บริโภคเจดีย์      หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า

                  ธรรมเจดีย์        หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก

                  อุเทสิกเจดีย์      หมายถึง          เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป


ชาวพุทธมีคติความเชื่อเรื่องการปิดทองที่องค์พระในจุดต่างๆ มาตั้งแต่โบราณ กาลมาจนถึงปัจจุบันคือ

๑. ปิดที่พระพักตร์ ทำให้หน้าที่การงาน ชีวิตเจริญรุ่งเรื่อง

๒.ปิดบริเวณพระอุทร(ห้อง) จะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง

๓.ปิดที่พระนาภี(สะดือ) ตลอดทั้งชีวิตจะไม่รู้จักคำว่าอด สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สิน

๔.ปิดที่พระเศียร(หัว) จะทำให้สติปัญญาความจำเป็นเลิศ สามารถแก้ไขฟันฝ้าอุปสรรคของชีวิตได้ตลอด

๕. ปิดที่พระอุระ(หน้าอก) ทำให้มีสงราศีเป็นที่ถูกใจของคนทั่วไป

๖.ปิดที่พระหัตถ์( มือ) ทำให้เป็นคนมีอำนาจบารมี

๗. ปิดที่พระบาท(เท้า) สมบูรณ์ด้วยที่พักอาศัย และยวดยานพาหนะ


            ส่วนการปิดทองหลังพระนั้นที่มีการพูดถึงเป็นภาษิต มีคติความเชื่อว่าถ้าจะให้การปิดทองทั้งหมดสมบูรณ์ต้องปิดด้านหลังด้วย นอกจากนี้แล้วแม้ไม่ปิดที่องค์พระเช่น กรณีพระพุทธรูปขนาดใหญ่แม้การปิดทองบริเวณฐานรองขององค์พระก็ทำให้หน้าที่การงานมั่นคงเจริญก้าวหน้าได้เช่นเดียวกัน
             การไหว้พระปิดทองนั้น เป็นคติธรรมมุ่งหมายถึงการได้บูรณะต่อองค์พระพุทธปฏิมา เพื่อผลแห่ง อานิสงส์ที่จะให้ผลโดยกันที สำหรับผู้ที่เกิดเคราะห์กรรมหรือวิบกกรรม อุปสรรค ความมัวหมองในชะตาชีวิต ในสัมมาอาชีพหากต้องการความสำเร็จในสิ่งที่ทำไปแล้วโดยฉับพลันทันทีการสร้างอานิสงส์โดยการปิดทองพระพุทธปฏิมาจึงเป็นสิ่งที่ให้ผลโดยตรงไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

 

   งานลงรักปิดทองของไทยเราคงมีมาตั้งแต่ไทยได้รับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ดังมีหลักฐานปรากฏที่เขางู จังหวัดราชบุรี พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีปรากฏร่องรอยการปิดทองที่องค์และฐาน ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานพบว่ามีการปิดทองบนลวดลายประดับพระอุโบสถ เจดีย์ พระพุทธรูป และมีการปิดทอง เขียนสีที่เรียกว่าจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย ที่ซุ้มพระปรางค์วัดพระพายหลวง และองค์พระพุทธชินราช

 
ภาพที่ ๑ ชื่อส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป


แนวความคิด องค์ความรู้ทางวิชาการ ในการทำพื้นปิดทอง
 

        องค์ประกอบของงานทำพื้นปิดทอง คือ วัสดุ และเครื่องมือ วัสดุในที่นี้คือ รัก สีสังเคราะห์ เช่น สีโป๊วไม้ (ชื้อทินเนอร์) สีโป๊วปูน (เชื้อน้ำ)  สีน้ำมัน สีต่างๆ ( เชื้อน้ำมันสน ) ทองคำเปลว ๑๐๐เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการทำพื้นและปิดทอง คือ พู่กัน แปรง ในกรณีที่เป็นชิ้นงานใหญ่ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นกาพ่นสี เพื่อให้งานที่ออกมาดูเรียบเนียนและรวดเร็วมีคุณภาพยิ่งขึ้น

        องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของงานทำพื้นและปิดทอง  คือ ช่างฝีมือที่เป็นบุคลากรที่มีคุณสมบัติสามารถใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกันงานนั้น ๆ และเกิดเป็นความงามที่ทรงคุณค่าทางศิลปะได้ 

๑. การทำพื้นปิดทองด้วยรัก 

        ในสมัยก่อนเราใช้รักในการทำพื้นและปิดทองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และงานศิลปกรรมต่างๆ เช่น ปิดทององค์พระพุทธรูปสำริด ปิดทองบุษบกแกะไม้ ปิดทองธรรมาสน์สวด ธรรมาสน์เทศน์ ปิดทองตู้ พระธรรมลายรดน้ำ รักหรือยางรัก คือ ยางที่ได้จากต้นรัก ซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีมากทางภาคเหนือ ยางที่ได้จกต้นรักจะเป็นสีขาวขุ่นเมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นำยางที่ได้มากรอง เรียกว่ารักน้ำเกลี้ยง นำวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าว มาผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดให้ละเอียดผสมกับรัก เรียกว่า "รักสมุกคุณสมบัติของรักสมุกใช้ทำพื้น ช่วยโปิวผิวงานให้เรียบ และมีเนื้อยิ่งขึ้น

        ในการทำพื้นปิดทองด้วยรัก นำรักน้ำเกลี้ยงมาทาลงบนชิ้นงานที่มีการทำความสะอาดผิวเรียบร้อย แล้วให้ทั่วแล้วนำเข้าตู้บ่ม คุณสมบัติของตู้บ่ม คือ เป็นตู้ปิดมิดชิด ใช้ผ้าชุบน้ำหรือภาชนะใส่น้ำวางไว้ภายในโดยรอบหรือใกล้ชิ้นงาน จะทำให้รักแห้งเร็วขึ้น เพราะคุณสมบัติของรักชอบความชื้น ทิ้งไว้ให้แห้งใช้รักสมุกมาโป๊วในส่วนที่ต้องการให้พื้นผิวบริเวณนั้นมีเนื้อ และเรียบเนียนขึ้น ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ทารักซ้ำประมาณ  ๒ รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง ขัดแต่งผิวให้เรียบร้อย (ในการทารักแต่ละครั้งรักต้องแห้งสนิท เพราะถ้าทารักซ้ำขณะที่ทาไว้ก่อนยังไม่แห้งสนิทดี จะทำให้พื้นผิวย่น เวลาทารักต้องระวังอย่าให้รักที่ทาชุ่มเกินไป ควรให้มีเนื้อเสมอกันทั้งชิ้นงาน) นำรักน้ำเกลี้ยงที่ใช้ทาทำพื้นมากรองอีกครั้ง เพื่อให้ได้เนื้อรักที่ละเอียดยิ่งขึ้น นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาอีกประมาณ ๒ รอบ แล้วทิ้งไว้ให้เกือบแห้งสนิท โดยใช้มือสัมผัสชิ้นงาน นำทองคำเปลว ๑๐0% ปูให้ทั่วขึ้นงาน ใช้นิ้วแตะทองแล้วกวดลงบนชิ้นงานที่ปูทองเรียบร้อยแล้ว ใช้พู่กันแตะทองและยีทองลงบนลวดลายที่นิ้วเข้าไปไม่ถึง ลักษณะงานที่ปิดทองด้วยรักยิ่งนานวันคุณสมบัติของรักจะทำให้ทองมีความสุกสวยงามยิ่งขึ้น 

๒ การทำพื้นปิดทองด้วยสีสังเคราะห์(สีน้ำมัน) 

           ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าและวิวัฒนาการสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นสีสังเคราะห์ (สีน้ำมัน) สีพลาสติกซึ่งเป็นสีเชื้อน้ำ สีอคิลิก ที่ใช้ในงานศิลปะต่าง ๆ นั้น แต่ในงานทำพื้นและปิดทอง ส่วนใหญ่จะใช้สีน้ำมันในการทำพื้นและปิดทอง สีน้ำมัน สีเหลืองที่นิยมในการทำพื้นและปิดทอง ส่วนใหญ่จะใช้สีเฟล็กซ์และสีตราพัด คุณสมบัติของสีเฟล็กซ์เป็นสีแห้งช้าเนื้อสีละเอียดเกาะติดกับพื้นผิวดี สีเฟล็กซ์มีด้วยกันหลายนิยมใช้ คือ สีแดง สีเหลือง สีดำ สีแดงกับสีดำนิยมใช้ในการทำพื้น สีเหลืองกับน้ำมันฮับบิ๊ก ใช้ทาเป็นสีสำหรับปิดทอง ส่วนสีตราพัดเป็นสีน้ำมันคุณภาพใกล้เคียงกับสีเฟล็กซ์ สามารถใช้ แทนกันได้ สีตราพัดส่วนใหญ่ใช้ทำพื้นอย่างเดียว ไม่นิยมใช้ทำสีปิดทอง 
            ในการทำพื้นด้วยสีน้ำมัน ถ้าชิ้นงานเป็นไม้ ให้ใช้สีโป๊วไม้ทาที่ขึ้นงานประมาณ ๒ - ๓ รอบ แล้วขัดแต่งผิวให้เรียบร้อยให้สีโป๊วลงไปอุดผิวที่เป็นเสี้ยนไม้ ถ้าชิ้นงานเป็นปูนให้ใช้สีโป้วปูน หรือ บอสนี่ ทา ๒ รอบ แล้วขัดแต่งผิวให้เรียบร้อย ถ้าชิ้นงานเป็นโลหะให้ใช้สีรองพื้นกันสนิมพ่นหรือทาก่อน ๒ - ๓ รอบ แล้วขัดให้เรียบร้อย ถ้าชิ้นงานเป็นเรซิ่น สามารถทาสีน้ำมันได้เลย เมื่อเตรียมชิ้นงานเรียบร้อยแล้วนำชิ้นงานนั้นมาทาสีน้ำมันสีแดง ๒ - ๓ รอบ ทิ้งให้แห้งสนิท แล้วนำสีปิดทองสีเหลือง (สีน้ำมัน) ผสมน้ำยาถ่วงในอัตราส่วนที่เหมาะสมมาทาลงบนชิ้นงานที่เตรียมพื้นไว้แล้วให้ทั่วชิ้นงาน ทิ้งไว้ให้สีปิดทองแห้งทดสอบโดยใช้หลังมือแตะสีไม่ติดผิวออกมา นำทองคำเปลว ๑๐๐% มาปูให้ทั่วชิ้นงาน ใช้นิ้วแตะทอง และ กวดทองจนทั่วทั้งชิ้นงาน นำพู่กันแตะทองมายีบริเวณที่นิ้วกวดไม่ถึงจนทั่วทั้งชิ้นงาน 

 องค์ประกอบหลักของงานทำพื้นปิดทอง

           ๑. วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำพื้นปิดทอง 

                 ๑.๑ ปูน มีหลายประเภท 
                        ๑.๑.๑ ปูนปลาสเตอร์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว เมื่อผสมน้ำสามารถนำมาหล่อเป็น ชิ้นงานต่าง ๆ ได้เนื้อบอบบาง แตกหักเสียหายได้ง่าย

                        ๑.๑.๒ ปูนซิเมนต์ มีลักษณะเป็นผงสีเทาหรืค่อนข้างดำผสมน้ำ สามารถหล่อเป็นขึ้นงานได้ มีความคงทนถาวร

                       ๑.๑.๓  ปูนปลาสเตอร์หิน มีอยู่ด้วยกันหลายสี ผสมน้ำสามารถนำมาหล่อชิ้นงานต่าง ๆได้ เนื้อค่อนข้างละเอียด เป็นปูนประเภทเดียวกับที่ใช้ทำฟัน

  
                 ๑.๒ ไม้ มีหลายประเภทแต่ที่นิยมมาทำงานศิลปะต่าง ๆ ได้แก่ 

                        ๑.๒.๑ ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อละเอียด สีค่อนข้างเหลืองนวล หรือที่เรียกว่าสักทองนิยมนำมาแกะสลักมีหลายแบบ เช่นไม้สักทอง ไม้สักขี้ควาย ไม้สักหิน

                        ๑.๒.๒ ไม้โมก เป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อละเอียดมากสีค่อนข้างขาวนวล ไม่ค่อยมีลายไม้นิยมนำมาทำงนแกะที่มีลวดลายละเอียดและต้องการโชว์สีของเนื้อไม้โมก ส่วนใหญ่งานที่ทำด้วยไม้โมกไม่นิยมทำพื้นสีปิดทอง

                 ๑.๓ โลหะ มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทแต่ที่นิยมนำมาทำพื้นปิดทอง คือ 

                        ๑.๓.๑ เนื้อทองแดงลักษณะเนื้อโลหะจะเป็นสีค่อนข้างแดงเหมือนสีนาก นิยมนำมาหล่อเป็นพระพุทธรูป นำมาทำพื้นและปิดด้วยทองคำเปลว ๑๐0% หรืออาจจะนำมาชุบทองวิทยาศาสตร์ หรือรมคำก็ได้

                        ๑.๓.๒ เนื้อทองเหลืองลักษณะโลหะเป็นสีเหลืองนวลเหมือนทอง นิยมน้ำมาหล่อเป็นพระฉัตรโลหะ หรือสลักดุนต่าง ๆ

                  ๑.๔ เรซิ่น เป็นกรรมวิธีทำงานแบบสมัยใหม่ เป็นวัสดุสังเคราะห์ เนื้อละเอียดมีความข้นมีทั้งสีขุ่นและใส เวลาใช้ต้องผสมตัวเร่งตามอัตราส่วน แล้วเทลงในพิมพ์ยาง ทิ้งไว้สักพักจะแข็งตัวแกะออกจากพิมพ์ เรซิ่นจะนำมาใช้หล่อเป็นงานศิลปะ ได้เกือบทุกรูปแบบ เช่น พระพุทธรูป งานปั้นลวดลายประกอบต่าง ๆ เช่น คันทวย ดาวเพดาน ลายหน้ากระดาน ลูกฟัก ก้ามปู นิยมทำเป็นงานศิลปะมากที่สุด เพราะมีราคาถูกใช้หล่อได้ที่ละมาก ๆ นำมาทำพื้นและปิดทองคำเปลวได้

 
๒. สีที่ใช้ทำพื้นปิดทอง

        ๒.๑ สีโป๊วไม้ มีสีแดงอมส้ม ผสมกับทินเนอร์คนให้เข้ากันใช้ทาเพื่อกลบเสี้ยนไม้



ภาพที่ ๒ สีโป๊วไม้

๒.๒ สีโป๊วปูน มีสีขาวเนื้อละเอียด ผสมน้ำคนให้เข้ากันใช้ทาเป็นชั้นแรกก่อนทาสีรองพื้น ( สีน้ำมัน ) เพราะจะทำให้สีแห้งเสมอกัน



ภาพที่ ๓ สีโป๊วปูน


๒.๓ สีโป๊วโลหะหรือสีกันสนิม  เนื้อสีเทาผสมกับทินเนอร์คนให้เข้ากัน ทาเพื่อกันมิให้โลหะเป็นสนิมเป็นชั้นแรกก่อนทาสีรองพื้น


ภาพที่ ๔ สีโป๊วโลหะ

๒.๔ วัสดุวิทยาศาสตร์ที่ใช้อุดโป๊วผิวที่ไม่เรียบ สมานให้เป็นเนื้อเดียวกันกับชิ้นงาน คือ อีพ๊อกซี่ เอ บี มีเนื้อข้นหนืดผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กันแล้วโป๊วลงบนชิ้นงานที่เป็นโพรงหรือฟองอากาศ เนื้อที่ไม่ใหญ่มาก เมื่อแห้งเนื้อจะแข็งตัว


ภาพที่ ๕ วัสดุวิทยาศาสตร์

๒.๕ สีรองพื้น ( สีน้ำมัน ) สีรองพื้นส่วนใหญ่นิยมใช้สีแดงกับสีดำ ใช้น้ำมันสนเป็นตัวผสมทาสีรองพื้นหลังจากที่โป๊วขัดผิวงานเรียบร้อยแล้ว  โดยทาสีรองพื้นทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้วค่อยทาใหม่  ทาจนกระทั่งผิวเป็นมันวาวประมาณ ๓ รอบ


ภาพที่ ๖ สีรองพื้น ( สีน้ำมัน )

๒.๖ สีปิดทอง คือสีน้ำมันที่ผสมน้ำมันฮับบัก เพื่อให้ยืดระยะเวลาการปิดทองให้ทันกับเวลา สี ที่นิยมใช้ในการปิดทอง คือ สีเหลืองกับสีดำ จะทาสีปิดทองหลังจากทาสีรองพื้นแห้งสนิทเป็นมันวาวแล้วทา ให้ทั่วทั้งชิ้นงานเวลาทาสีควรกะเวลาปิดทองให้ทันด้วย เพราะถ้าสีปิดทองแห้งเกินไป เมื่อปิดทองจะเห็นเป็นรอยต่อทอง เมื่อยีทองลงไปร่องลายจะไม่เรียบร้อย



ภาพที่ ๗ สีปิดทอง

๓. รัก เป็นยางที่ได้มาจากต้นไม้ มีเนื้อค่อนข้างดำ เมื่อจะใช้ต้องนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำมาเคี่ยวกับไฟอ่อนๆ หรือตากแดด เพื่อให้รักเหลวอ่อนตัวทาได้ง่าย  รักเป็นวัสดุชนิดเดียวที่สามารถใช้ได้ทั้งทำพื้นและเป็นสีปิดทอง

ภาพที่ ๘ ยางรัก

๔. ประเภทของทองคำที่นำมาทำแผ่นทองคำเปลว แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

          ทองแดง หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ % หรือช่างตีทองเรียกอีกอย่างว่าทองกิมซัวแผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีเหลืองอร่ามออกแดง

           ทองเขียว หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ ๙๗.๐ % ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์น้อยกว่าทองแดงแผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีเหลืองอร่ามออกเขียว

           ทองคำเปลว ๑๐๐% ชนิดของทองคำเปลว แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ

           ทองคัด หมายถึงแผ่นทองคำเปลวที่คัดตามขนาดกำหนดโดยไม่มีรอยต่อของแผ่นทอง ซึ่งทองคัดนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง

           ทองต่อ หมายถึงแผ่นทองคำเปลวที่มีการตัดต่อแผ่นทองโดยอาจมีการนำแผ่นทองคำเปลวมาต่อกันมากกว่า ๑ แผ่น ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าทองคัด


ภาพที่ ๙
ทองคำเปลว ๑๐๐%

 


๕. เครื่องมือการทำพื้นปิดทอง

๕.๑ กระดาษทรายสำหรับขัดผิวชิ้นงานให้เรียบร้อยเป็นเนื้อเดียวกับผิวงานนั้น ๆ กระดาษทรายมีด้วยกันหลายเบอร์ เบอร์หยาบ เช่น ๓๐๐ ๖๐๐ ใช้ขัดผิวที่โป๊ว แต่งผิวแล้วให้เรียบพอสมควร ส่วนกระดาษทรายเบอร์ละเอียด เช่น ๙๐๐ ๑๐๐๐ ใช้ขัดผิวชิ้นงานก่อนทาสีรองพื้น

๕.๒ เกรียงสีน้ำมัน (เกรียงผสมสี) ใช้สำหรับคนหรือผสมกาววิทยาศาสตร์ (อีพ้อกซี่) ให้เข้ากันแล้วนำมาโป๊วอุดตามพื้นผิวที่ต้องการให้เรียบ

๕.๓ เกรียงโป๊วใช้คู่กับเกรียงผสมสีน้ำมัน สำหรับผสมกาววิทยาศาสตร์ (อีพ๊อคซี่) ให้เข้ากัน

๕.๔ เครื่องขัดต่าง ๆ เช่น เครื่องขัดที่ใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับขัดงานที่เป็นพื้นเรียบระนาบเดียวกัน เช่น พื้นโต๊ะ หรือ พระประธานที่มีขนาดใหญ่ จะสามารถเก็บผิวได้เรียบและเร็วกว่าการขัดด้วยมือ

๕.๕ พู่กันกลมและแบน มีหลายขนาด

๕.๕.๑ พู่กันกลม ใช้สำหรับเขียนลายทำสีงานที่มีลักษณะไม่ใหญ่มากมีด้วยกันหลายเบอร์หลายขนาด เลือกใช้ตามลักษณะของงาน

๕.๕.๒ พู่กันแบน ใช้ทำสีงานลักษณะต่าง ๆ และใช้ปิดทองคำเปลว ๑๐๐% ใช้ยีทองในส่วนที่นิ้วกวดไม่ถึง มีด้วยกันหลายเบอร์หลายขนาดเลือกใช้ตามลักษณะงานนั้น ๆ

๕.๖ แปรงใช้สำหรับทาสีงานขนาดใหญ่ ใช้ปัดฝุ่นก่อนทาสีหรือก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง

๕.๗ เครื่องพ่นสี กาพ่น เหมาะสำหรับงานขนาดค่อนข้างใหญ่ ต้องการความเรียบเนียนของพื้นผิวมาก สามารถปฏิบัติงานได้เร็ว

ลักษณะการปิดทองแบบต่าง ๆ การปิดทองมีด้วยกันหลายวิธี เช่น

๑. การปิดทองบนพื้นเรียบ คือ การปิดทองบนชิ้นงานมีพื้นเรียบเสมอกันทั้งชิ้นงาน เช่น การปิดทองลายรดน้ำ การปิดทองลายฉลุ หรือการปิดทองทึบ โดยไม่มีลวดลายบนชิ้นงาน

๒. การปิดทองแบบนูนต่ำหรือนูนสูง คือ การปิดทองลงบนชิ้นงานที่มีความสูงจากพื้น โดยมองเห็นด้านหน้าและความหนาของชิ้นงาน เช่น งานแกะสลัก ลวดลายประกอบบนชิ้นงานต่าง ๆ กรสลักดุนโลหะการปั้นลายประดับลงบนชิ้นงานต่าง ๆ

๓. การปิดทองแบบลอยตัว คือการปิดทองบนชิ้นงานที่สามารถมองงานได้รอบตัวทั้งด้านหน้าด้านข้าง ความสูง ด้านหลัง มองได้รอบทุกทิศทาง เช่น การปิดทององค์พระพุทธรูป การปิดทองภาพจับเทพเทวดาต่างๆ การปิดทองสัตว์หิมพานต์

การดูแลรักษาเครื่องมือทำพื้นปิดทอง

๑.พู่กัน หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรนำมาเช็ดด้วยเศษผ้าก่อน ที่จะล้างด้วยน้ำมันสน เพราะจะทำให้น้ำมันสนขุ่นสิ้นเปลือง ล้างด้วยน้ำมันสน ๒ ครั้ง เพื่อให้สีที่ติดอยู่ในพู่กันหลุดออกมากที่สุดแล้วนำมาล้างด้วยน้ำยาล้างจานโดยใช้นิ้วมือขยี้ที่ขนพู่กันเบา ๆ สีที่ติดอยู่จะได้หลุดออกได้หมด ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ๒ รอบ ผึ่งลมให้แห้ง ไม่ควรล้างพู่กันด้วยทินเนอร์ เพราะจะทำให้ขนพู่กันเสียเร็วขึ้น

๒. แปรงขัดฝุ่น หลังจากใช้ควรเคาะฝุ่นที่เกาะอยู่บนแปรงออกให้หมด เพราะถ้าเคาะฝุ่นออกไม่หมด เวลาปัดฝุ่นครั้งต่อไปอาจเกิดปัญหาฝุ่นที่แปรงเกาะที่ชิ้นงานใหม่ อาจมีปัญหาทำให้สีไม่แห้งได้

๓. เครื่องชัดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ หลังจากการใช้งานควรปัดฝุ่นทำความสะอาดทุกครั้งเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ยาวนานขึ้น

บุคลากรที่เป็นช่างฝีมือทางด้านงานช่างปิดทอง

         งานช่างปิดทองเป็นงานที่ทำให้คุณค่าของงานนั้นๆ เพิ่มและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะเป็นงานที่ต้องการใช้ช่างฝีมือที่มีความชำนาญตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน การคัดเลือกคุณภาพของทองคำเปลว ๑๐0% ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ เช่น ก่อนการทำพื้นปิดทองของงานแต่ละประเภทก็จะใช้ขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกัน ฉะนั้นบุคคลากรในกลุ่มงานช่างปิดทอง จึงจำเป็นต้องมีความสามารถเข้าใจการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของงานแต่ละประเภท เช่น เมื่อแกะสลักงานเรียบร้อยแล้วก็ต้องนำมาทำพื้นปิดทอง สมควรที่จะช่วยกันดำรงงานช่างปิดทองให้คงอยู่สืบต่อไป


03 พฤษภาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2553

๑. ส่วนชำรุดบริเวณพระพักตร์ค่อนข้างมากเกิดจากดินที่เปื่อยผุพังตามกาลเวลา

๒. องค์พระมีฐานล่างติดกับพื้นดินจึงเกิดความชื้นได้ตลอดเวลา

๓. ระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อย

๔. วัสดุอุปกรณ์บางอย่างไม่มีในท้องถิ่นนั้นๆ


๑. ส่วนที่ชำรุดดินเปื่อยบริเวณพระพักตร์ช่างปั้นได้ใช้สแตนเลส ยึดดันในเสริมความแข็งแรง ใช้ปูนซิเมนต์ดำโป๊วพอกเนื้อด้านใน แล้วจึงใช้ปูนซิมนต์หินโป๊วแต่งผิวด้านนอกภายหลัง แล้วจึงขัดแต่งให้ได้รูปแบบพระพักตร์ดังเดิม

 
๒. องค์พระมีความชื้น ใช้วิธีการเจาะโดยรอบฐานใต้องค์พระ ต่อท่อออกมาระบายอากาศแล้ว ปูกระเบื้องทับบนท่อ

 
๓. ระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อย องค์พระทองมีความชื้นมาก ต้องใช้วัสดุบางอย่างทดแทนเพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติงานได้เสร็จทันตามกำหนดเวลา


๔. วางแผนการปฏิบัติงานเพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมจากที่ตั้งหน่วยงาน

       ในการซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง(พระผุด) ระหว่างเดือน พฤษภาคม - กันยายน ๒๕๕๓ วัดพระทอง ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จัดหวัดภูเก็ต ได้มีการดำเนินงานตั้งแต่ การเดินทางไปสำรวจ, ประมาณการ, เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อม ระยะเวลาการซ่อมจนแล้วเสร็จใช้ระยะเวลาประมาณ ๕ เดือน


ขั้นตอนที่ ๑.

การสำรวจองค์พระทอง ( พระผุด ) ณ วิหารพระทอง วัดพระทอง วัดพระทอง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อการหาข้อมูลในการจัดทำรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายใน การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลว องค์พระทอง( พระผุด )

๒. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อม

๓. ลอกแผ่นทองคำเปลว ที่ปิดอยู่ที่องค์พระออกให้หมด โดยใช้เกรียงขนาด ๓ นิ้ว และ ๕ นิ้วแซะผิวหุ้มเปื่อยออกให้หมด


ภาพที่ ๑๐ การลอกผิวทององค์พระที่ชำรุดเสียหาย

๔. ขัดแต่งผิวในส่วนที่สมบูรณ์ขององค์พระบริเวณด้านหลัง ให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น


ภาพที่ ๑๑ การขัดแต่งผิวด้านหลังองค์พระให้เรียบร้อย


๕.  ใช้แอลกอฮอร์ เช็ดทำความสะอาดผิวองค์พระในส่วนด้านหลัง  ประมาณ ๒ - ๓ รอบ

๖.  เม็ดพระศก ของเดิมทาสีทับหลายรอบ จนเม็ดพระศกค่อนข้างตื้น จำเป็นต้องลอกสีเดิมออกทำให้ดูคมชัดขึ้น แล้วขัดแต่งให้ดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เสร็จแล้วทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์

 

ภาพที่ ๑๒ การลอกสีขัดแต่งเม็ดพระศก

 


ขั้นตอนที่ ๒
๑. ทาน้ำยาผสานปูนเก่ากับปูนใหม่ ในส่วนค้นหลังขององค์พระทั้งหมด ๒-๓ รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง สนิท เพื่อให้สีที่จะโป๊วหรือทาใหม่ผสานเป็นเนื้อเดียวกันไม่ลอกหลุดง่าย น้ำยาผสานปูนเก่า   กับปูนใหม่ มีด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ที่นิยมใช้และมีคุณภาพดี คือ ยี่ห้อ TOA

 
๒.ทาสีโป๊วปูนสีขาว ในส่วนด้านหลังขององค์พระ จนถึงเม็ดพระศกและปลายยอด ๒-๓ รอบ สีโป๊วปูนที่นิยมใช้ และมีคุณสมบัติที่ดี คือ ยี่ห้อ บอสนี (BOSN) สามารถใช้ได้ทั้ง ชำรุด และยังสามารถใช้ผสมกับน้ำในอัตราส่วนสี ๑ ส่วนต่อน้ำ ๓ ส่วน ( ๑:๓ ) คนให้เข้ากันแล้วใช้ทาเป็นสีรองพื้นก่อนทาหรือพ่นสีน้ำมันได้ เพราะจะทำให้สีน้ำมันแห้งเสมอกันทั่วทั้งองค์

ภาพที่ ๑๓ ทาสีโป๊วปูน

๓. ขัดแต่งผิวองค์พระบริเวณด้านหลังให้เรียบเนียนยิ่งขึ้นด้วยกระดาษทรายเบอร์ ๓๐๐-๖๐๐ ซึ่ง เป็นกระดาษทรายเนื้อหยาบ ใช้สำหรับขัดแต่งในส่วนที่มีการโป๊วเสริมให้มีความหนา ขัดลบมุมเหลี่ยมบริเวณผิวให้ดูกลมกลืน จากนั้นใช้กระดาษทรายเบอร์ ๙๐๐-๑๐๐๐ ซึ่งเป็น กระดาษทรายเนื้อละเอียด ขัดให้ดูเรียบเนียนยิ่งขึ้นโดยใช้มือลูบพื้นผิวแล้วไม่สะดุด บริเวณเม็ดพระศกด้านหลัง ขัดแต่งค่อนข้างอยากเพราะเม็ดพระศกมีขนาดเล็กและติดกัน ต้องขัดอย่างระมัดระวังไม่ให้เม็ดพระศกชำรุดหลุดออกมาเพิ่ม



ภาพที่ ๑๔ ขัดแต่งผิวองค์พระที่ทาด้วยสีโป๊วปูนให้เรียบร้อย

๔. ทิ้งเวลาให้สีโป๊วปูนแห้งสนิท ประมาณ ๑ สัปดาห์ สังเกตดูพื้นผิวมีรอยแตกร้าวหรือไม่ เพราะองค์พระทองเป็นองค์ที่ส่วนฐาน (ครึ่งองค์) ติดกับพื้น ไม่สมารถทราบได้ว่าจะมีความชื้นมากหรือน้อย และผิวที่โป๊วปูนเสริมบริเวณส่วนต่างๆ อาจการยุบตัวทำให้มีรอยแตกร้าวได้ จึงควรทิ้งให้ปูนยุตัวและแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ถ้าเกิดรอยแตกร้าวแก้ไขโดยขัดเบาๆให้รอยแตกร้าวหายไป

 

๕. เมื่อสีโป๊วปูนแห้งสนิทแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดประมาณ ๘๐๐ -๑๐๐๐ มาขัดลูบเบาๆ บริเวณด้านหลังขององค์พระทั้งหมด ในส่วนของเม็ดพระศกต้องใช้กระดาษทรายเบอร์ ๙๐๐ - ๑๐๐๐ ตัดและพับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้เก็บรายละเอียดของเม็ดพระศกได้ ระวังอย่าขัดแรงอาจทำให้เม็ดพระศกเบี้ยวหรือแหว่งได้ เมื่อขัดเรียบร้อยแล้วใช้แปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าฝุ่นออกให้หมด


   

ภาพที่ ๑๕ โป๊วปูนที่ขัดแต่งเรียบร้อยแล้ว

๖. เตรียมสีตราพัดสีแดงคนให้เข้ากัน แบ่งใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เติมน้ำมันผสมสีตราพัด แล้วคนให้ เข้ากันอีกครั้ง เนื้อสีที่ได้มีลักษณะใสนิดหน่อย ในอัตราส่วนสี ๑ ส่วนต่อน้ำมันผสมสี ๓ ส่วน คนให้เข้ากัน เทลงในกาพนสี พ่นบริเวณที่เป็นพื้นที่ใหญ่ เช่น แผ่นหลังขององค์พระ ทิ้งให้แห้ง ที่ต้องใช้เครื่องพ่นสีในพื้นที่ใหญ่ๆ เพราะช่วยทำให้ผิวไม่เป็นรอยแปรง และมีความเรียบเนียน ส่วนเม็ดพระศกนำสีตราพัดสีแดงผสมน้ำมันผสมสีนิดหน่อยคนให้เข้ากัน แล้วใช้พู่กันกลม เบอร์ ๑๒ พู่กันกลมเบอร์ ๑๖ ค่อยๆ ทาบริเวณเม็ดพระศกพยายามทาไม่ให้สีกองเพราะจะทำ ให้สีแห้งแต่ด้านบนด้านในจะแห้งไม่สนิท แล้วยังมีผลในการปิดทองจะทำให้ผิวย่นไม่สวยงาม หาให้ทั่วบริเวณเม็ดพระศก ทิ้งให้แห้งสนิทแล้วทาใหม่ครั้งต่อไป พ่นและทาประมาณ ๓ รอบ ครั้งสุดท้ายทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ ๓ วัน



ภาพที่ ๑๖ องค์พระทอง ( พระผุด ) ที่พ่นสีแดงแล้ว

 


ขั้นตอนที่ ๓
๑. นำสี่เฟล็กซ์สีเหลือง ผสมน้ำมันยับUก ในอัตราส่วน สี ๘ ส่วนน้ำมันฮับบั้ก ๑ ส่วน (ถ้าผสมน้ำมันฮับบั้กมากจะทำให้ปิดทองแล้วทองจะหลุดลอกง่าย) แล้วคนให้เข้ากันจนกระทั่งสีเหลืองขึ้นมา เพราะถ้าสีไม่ขึ้นมาเวลาทาจะมีแต่น้ำมัน ทำให้ไม่มีเนื้อสีเกาะที่เนื้องาน

 
๒. เมื่อคนจนเข้ากันแล้ว นำพู่กันเบอร์ ๑๖,๑๘,๒๐ จุ่มสีปิดทองทาองค์พระโดยหาจากล่างด้านหลัง องค์พระขึ้นไปด้านบนขององค์พระ เพราะเวลาปิดทองต้องปิดจากด้านล่างขึ้นด้านบน มิฉะนั้น ถ้าปิดจากด้านบนลงมาด้านล่างเวลากวดทองจะทำให้เศษทองตกลงมาที่ผิวที่ยังมิได้ปูทอง ทำให้ บริเวณนั้นเป็นรอยต่างไม่สวยงาม เวลาทาสีควรทาอย่าให้สีกองหรือหยด พู่กันที่ใช้ทาสีปิดทอง ควรเป็นพู่กันที่มีขนค่อนข้างละเอียด เพระเวลาทาควรให้เป็นรอยแปรงน้อยที่สุด เมื่อหาพื้นได้ ตามต้องการแล้วทิ้งให้สีแห้งเกือบสนิท ประมาณ ๔- ๕ ชั่วโมง ทดสอบโดยใช้หลังมือแตะ

           ในส่วนของเม็ดพระศกควรแบ่งทาคนละวัน เพราะในส่วนเม็ดพระศกมีความลึกเวลาทาสีและปิดทองจะเสียเวลามาก การทาสีปิดทองส่วนพระศกก็เช่นกันควรทาที่ไรพระศกก่อนแล้วก็ต้นพระศอไล่ขึ้นไปพระเมาลีและพระเกตุตามลำดับ


ภาพที่ ๑๗ ทาสีปิดทอง


ขั้นตอนที่ ๔
          เมื่อสีปิดทองเกือบแห้งสนิทแล้วทดสอบโดยใช้หลังมือแตะผิวจะตึงไม่หนึบติดมือ นำทองคำเปลว  ๐๐% ซึ่งเป็นทองคัดพิเศษมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นทองโดยทั่วไป และควรเป็นทองกิมซัวซึ่งเป็นทองที่มีเปอร์เซ็นต์ของเนื้อทองบริสุทธิ์มากกว่าทองตามท้องตลาดทั่วไป นำทองกิมซัวมาปูตั้งแต่ฐานล่างขององค์ พระจนถึงด้านบนขององค์พระ ปูแผ่นทองให้เต็มพื้นที่ที่ทาสีปิดทองไว้  โดยปูทองให้แต่ละแผ่นทองทับกัน ประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร เวลากวดทองให้กวดแผ่นบนทับแผ่นล่าง กวดระหว่างช่องรอยต่อใช้นิ้วกวดให้แน่น ๆ เพราะถ้ากวดไม่แน่นทองอาจจะเปิดและเกิดเป็นรอยต่อได้ ขณะกวดทองนิ้วที่กวดต้องแตะทอง ก่อนกวดทุกครั้ง เพระบางครั้งอาจไปกวดโดนบริเวณที่ไม่มีทองติดที่นิ้วองค์พระเลยจะด่างไม่สวยงาม  ฉะนั้นควรแตะทองทุกครั้งที่กวด เมื่อกวดจนทั่วบริเวณแล้วใช้สำลีปั้นกลมใหญ่ประมาณเกือบฝ่ามือวน บริเวณที่ปิดทองเรียบร้อยแล้วเพื่อให้ผิวทองแนบกับผิวองค์พระและยังช่วยทำให้เห็นรอยต่อทองน้อยที่สุด
 
 
           เม็ดพระศกเมื่อปูทองกิมซัวจนทั่วบริเวณเม็ดพระศกแล้วใช้นิ้วแตะทองกวดทองตามรอยที่ปูทองแตกไว้จนทั่ว ใช้พู่กันยีกอง (พู่กันที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้พู่กันแบนเบอร์ ๑๖, ๑๘, ๒๐ หรือพู่กันจีน) นำพู่กัน แบนมาแตะที่แผ่นทองแล้วนำมายีบริเวณที่เป็นร่องลึกของเม็ดพระศกจนทั่วบริเวณ เพราะเม็ดพระศกมี ความลึกต้องยีให้ทั่วถึงด้านล่างของเม็ดพระศกแต่ละเม็ด ควรใช้เนื้อทองแผ่นยีลงไปให้ทั่วด้านล่างของเม็ด พระศกไม่ควรใช้ฝุ่นทองที่เหลืองมากนัก เพราะถ้าใช้ฝุ่นทองมากอาจทำให้พื้นด้านในเม็ดพระศกมีรอยด่าง ได้ดูไม่เรียบร้อยและไม่สวย ส่วนพระเกตุด้านบนก็ปูทองกิมซัวจากฐานพระเกตุไปจนกระทั่งถึงยอด แล้วใช้ นิ้วแตะทองกวดทองให้ทั่วบริเวณ เสร็จแล้วใช้สำลีกวดอีกครั้งเพื่อให้ทองแนบสนิทกับองค์พระ

ขั้นตอนที่ ๕
นำแปรงขนนุ่มมาปัดฝุ่นทองออกให้หมดตรวจดูความเรียบร้อยบริเวณที่ปิดทองแล้ว


ภาพที่ ๑๘ องค์พระทอง ( พระผุด ) ที่ปิดทองเรียบร้อยแล้ว


ภาพที่ ๑๙ องค์พระทอง ( พระผุด ) ด้านหลัง


ภาพที่ ๒๐ องค์พระทอง ( พระผุด ) ด้านหน้า



-
จำนวนผู้เข้าชม 13,847 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel