ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • การลงรักปิดทองประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

การลงรักปิดทองประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย


photo-การลงรักปิดทองประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย
การจัดสร้างพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

การลงรักปิดทองประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

สูง ๔๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๒๔๙ เซนติเมตร ยาว ๕๔๘ เซนติเมตร

ลงรักปิดทองประดับกระจก

ประณีตศิลป์

การจัดสร้างพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย
ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


ประวัติความเป็นมา

           พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย เป็นพระราชยานที่เป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ในกรจัดริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศของ พระมหากษัตริย์ไทย การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมศิลปากร ได้มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่จัดสร้างพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายตามแบบอย่างโบราณพระราชประเพณี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้สนองรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระวชิรกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดริขบวนพระบรมราชอิสริยยศเต็มรูปแบบโบราณราชประเพณีเพื่อให้เป็นที่ปรากฏแก่แผ่นดินสืบไป
 
 
ความสำคัญ

          ปัจจุบันงานช่างศิลปกรรมไทย ด้านงานเครื่องไม้แกะสลักซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง ที่ได้รับการสืบทอดฝีมือจากช่างหลวงในราชสำนักซึ่งเคยสร้างสรรค์ราชรถและราชยานใช้ในงานพระราชพิธีนับตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏจัดแสดงภายในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครและปัจจุบัน สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีหน้าที่สร้างสรรค์ธำรงรักษาสืบทอดงานศิลปกรรมไทย ในงานประณีตศิลป์คงความเป็นศิลปกรรมไทยที่เป็นมรดกตามขนบธรรมเนียมและประเพณี เพื่อใช้ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดซมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกระบวนงานช่างไทยได้พัฒนาเทคนิควิธีการเรื่อยมาเป็นลำดับ และเพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจในช่างแขนงนี้ได้ลึกซึ้ง จึงเกิดการรวบรวมความรู้ด้านงานการจัดสร้าง พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยในรัชกาลปัจจุบัน เพื่อเป็นการสืบสานงานตามโบราณราชประเพณีของบูรพมหากษัตริย์ไทยถวายเป็นพระเกียรติยศสูงสุด อันจะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้า ต่อไปภายภาคหน้าในอนาคตของปวงชนชาวไทยรุ่นต่อไป
 
            งานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ของไทยสืบมาแต่ต้นรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการใช้ราชรถและราชยานต่าง ๆ ในการเชิญพระโกศพระบรมศพสู่พระเมรุมาศเพื่อทำพิธีถวายพระเพลิง ตลอดจนกรเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง โดยใช้พระมหาพิชัย ราชรถหรือพระเวชยันตราชรถ ซึ่งเป็นราชรถขนาดใหญ่และมีความงดงามสมพระเกียรติ เป็นราชรถเชิญ พระโกศพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ใช้พระยานมาศสามลำคาน ซึ่งเป็นพระราชยานขนาดใหญ่ในกรเชิญพระโกศพระบรมศพเวียนโดยรอบพระเมรุมาศ ก่อนทำพิธีถวายพระเพลิง และใช้พระที่นั่งราเชนทรยานเชิญพระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศกลับพระบรมมหาราชวัง
 
             ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ช่างสิบหมู่ซ่อมบูรณพระราชยาน จัดสร้างพระเมรุมาศและเครื่องประกอบที่ใช้ในการพระราชพิธี จากการสำรวจราชรถ พระราชยานภายในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่ชาติ พระนคร ปรากฏว่า มีราชรถจำนวน ๕ องค์ คือ พระมหาพิชัยราชรถ พระเวชยันตราชรถ ราชรถน้อย จำนวน ๓ องค์ พระที่นั่งราเชนทรยาน ๑ องค์ และเกรินบันไดนาค ๒ ตัว พระยานมาศสามลำคาน ๒ องค์ และพระวอสีวิกากาญจน์ ๓ องค์ แต่ไม่พบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยสำหรับเชิญพระบรมราชสรีรางคารเหมือนในอดีตกาล ตามหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุ จึงทำให้การเตรียมพระราชยานในสิ่งที่เคยใช้ในการจัดขบวน พระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อครั้งอดีตไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี กรมศิลปากรจึงได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ ตรวจสอบไปยังสำนักพระราชวัง เพื่อขอให้พิจารณาตรวจสอบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ซึ่งเคยใช้ในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ทั้งนี้ สำนัก  พระราชวังได้ตรวจสอบแล้วไม่พบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเก็บรักษาอยู่ภายในสำนักพระราชวัง ดังนั้น กรมศิลปากรจึงขอพระบรมราชานุญาตดำเนิดการจัดสร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเพื่อ สืบสานตามธรรมเนียมโบราณราชประเพณีให้เป็นที่ปรากฏพระเกียรติยศสืบไป

ความแตกต่างระหว่าง

พระที่นั่งราเชนทรยานกับพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

  ลักษณะรูปทรงหุ่นโครงสร้างนั้นพระที่นั่งราเชนทรยานองค์เดิมจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งแต่ชั้นฐานขององค์พระที่นั่งจนถึงชั้นหลังคาองค์ระฆัง ซึ่งเป็นลักษณะของบุษบกมณฑปและพระที่นั่งราเชนทรยานคานหาม

      ส่วนพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยได้ปรับรูปแบบให้เล็กลง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งแต่ฐานขององค์พระที่นั่งจนถึงชั้นหลังคา

      ลักษณะรูปแบบของการแกะสลักลายประกอบหุ่นโครงสร้างและลายประดับส่วนต่างๆ ก็ยังคงลักษณะ รูปแบบใกล้เคียงกับองค์พระที่นั่งราเชนทรยานองค์เดิม เพียงแต่ย่อเล็กลงตามส่วน ส่วนครุฑยุดนาคก็ลดจำนวน ประดับลงตามรูปทรงของหุ่นตัวเรือน โครงสร้างในส่วนพื้นองค์พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยได้ปรับเป็นราวพนักประดับ เสาหัวเม็ดกลม ประดับกระจังปฏิญาณตรงซึ่งแตกต่างจากองค์พระที่นั่งองค์เดิม เป็นกงพนักพิงและประดับกระจังปฏิญาณรวน เป็นต้น


12 มิถุนายน 2560 ถึง 23 ตุลาคม 2560

๑. การขัดแต่งในส่วนของลวดลายประกอบ เช่น ครุฑ บันแถลง  กาบกระจังต่างๆ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะส่วนประกอบต่างๆ เป็นไม้อาจเกิดความชำรุดเสียหายได้

๒. ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติงานให้ทันกับการใช้งานในพระราชพิธี ต้องให้สมบูรณ์ สมพระเกียรติมากที่สุด

๓. ต้องใช้ช่างหรือบุคคลที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปในทางเดียวกัน งานจึงจะสำเร็จสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์

๔. ต้องระวังเรื่องการแพ้จากวัสดุที่นำมาปฏิบัติงาน เช่น ยางรัก ยางรักจีน

๑. ในการขัดแต่งต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ คือ ตัวขัดที่เล็กและละเอียด เช่น เครื่องขัดพื้นต้องระมัดระวังอย่างมาก อาจเกิดความเสียหายได้

๒. ในการปฏิบัติงานขัดแต่งช่างควรรู้วิธีใช้เครื่องมือ แต่ละชิ้นเป็นอย่างดี เพื่อให้งานสำเร็จและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด

๓. ใช้กระจกฟิล์มนิรภัย โทรศัพท์มือถือ มาทดแทนกระจกเกรียบ เพราะมีลักษณะความบางใกล้เคียงกับกระจกเกรียบ 

๔. ระวังอาการแพ้ยางรักโดยใช้ถุงมือทางการแพทย์ และ ผ้าปิดจมูกในขณะปฏิบัติงาน

-

งานลงรักปิดทองพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

งานลงรักปิดทองพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

      งานลงรักปิดทอง คือ การทายางรักบนพื้นผิวของศิลปวัตถุหลายครั้งให้ได้พื้นผิวที่อิ่มตัว  แล้วปิดทับด้วยทองคำเปลว ๑๐๐% จรทั่วทั้งพื้นผิว ทำให้ได้พื้นผิวทองสุกปลั่ง คล้ายทำด้วยทองคำจริงๆ

วัสดุที่ใช้ในการปิดทอง


ยางรัก คือ ยางจากไม้ยืนต้น ตระกูล Anacardiaceae มักพบในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ชาวล้านนาเรียกว่า “ฮัก” หรือ “ฮักหลวง” มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Melanorrhoea usitata นอกจากนี้ยังมีต้นรักในตระกูล Anacardiaceae ทั้ง ๓ ชนิดนี้มีเปลือกแข็งให้ปริมาณน้ำยาวน้อย คุณภาพของน้ำยางต่ำกว่า “ฮักหลวง” และยังมีพิษที่รุนแรงกว่า ทำให้เกิดผื่นคัน มีอาการบวมเป็นแผลหนองมากน้อยตามที่ได้รับจากการสัมผัส

รักสมุก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (ที่นิยมใช้จะเป็นผงถ่านกะลา ผงถ่านใบตอง ผงถ่านดินหรือผงชัน) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวจนเหนียวเหมาะแก่การโป๊ขัดแต่ง

เทือกรัก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (รักสมุก) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวกันแต่มีความเหลวเหมาะแก่การทาเพื่อให้มีเนื้อรัก




ขั้นตอนการปิดทอง

1.       ขัดแต่งเซียนไม้ในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบให้เรียบร้อยในส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

 

2.       นำแอลกอฮอล์ มาขัดล้างทำความสะอาดในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบในส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยทิ้งให้แห้งสนิท

3.       ทารักจีนในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบในส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยทิ้งให้แห้งสนิทประมาณหนึ่งถึงสองวัน

4.       นำรักจีนและรักน้ำเกลี้ยงผสมนวดให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1 ทาใน ส่วนที่เป็นลวดลายและในส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยทิ้งให้แห้งประมาณ 2-3 วัน

5.       ในส่วนที่เป็นผิวเรียบนำสมุกกะลา บดละเอียด 5 ส่วน รักน้ำเกลี้ยง 4 ส่วน ชัน 1 ส่วนน้ำสะอาด 1/2 ส่วน นวดให้เป็นเนื้อเดียวกันนำมาโป๊ในส่วนที่เป็นผิวเรียบทิ้งให้แห้งสนิทประมาณสองถึงสามวัน

6.       นำกระดาษทรายเบอร์ 250 มาขัด ด้วยน้ำบริเวณที่เป็นผิวเรียบและในส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย โดยในส่วนที่เป็นลวดลายต้องระวังอย่าขัดจนลวดลายหายไป จากนั้นเช็ดทำความสะอาดคราบฝุ่นออกให้หมดทิ้งให้แห้งสนิท

7.       นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาในส่วนที่เป็นพื้นเรียบและในส่วนที่เป็นลวดลายของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยนำเข้าตู้บ่มกันฝุ่นปิดให้สนิทนำน้ำใส่ ภาชนะตั้งไว้ประมาณสองถึงสามจุด ทิ้งให้แห้งสนิท

8.       นำกระดาษทรายเบอร์ 400 มาขาดน้ำในส่วนที่เป็นพื้นเรียบและในส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเสร็จแล้วเช็ดทำความสะอาดคราบฝุ่นออกให้หมดทิ้งให้แห้งสนิทดี

9.       นำรักเกลี้ยงมากรอกเพื่อ ใช้ทาปิดทองถ้าในส่วนที่เป็นผิวเรียบและในส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่างๆที่นั่งราเชนทรยานน้อยนำเข้าตู้บ่ม นำน้ำใส่ภาชนะวางไว้ด้านในตู้บ่ม ทิ้งให้ชิ้นงานแห้งสนิทประมาณ 10 กว่าชั่วโมง

10.     นำทองคำเปลว 100% มาปูในส่วนที่เป็นพื้นเรียบโดยปูจากด้านล่างขึ้นด้านบนปูทองคำเปลวไปในทางเดียวกันใช้นิ้วหรือพู่กันหุ้ม ถุงพลาสติกอ่อน มากวดบริเวณที่เป็นรอยต่อแต่ละแผ่นโดยกวดทองให้แผ่นบนทับแผ่นล่างเวลากวดทองต้องมีทองติดที่นิ้วหรือพู่กันที่จะนำไปกวด ทองเวลากวดไม่ด่างผิวเรียบเสมอกัน ในส่วนที่เป็นลวดลายใช้พู่กันแตะทองไปกระทุ้งในส่วนที่เป็นลวดลายที่กวดทองเข้าไม่ถึงให้เรียบร้อย



นำแอลกอฮอล์ มาขัดล้างทำความสะอาด





ลงยางรักเพื่อทำพื้นสำหรับปิดทอง




ขั้นตอนการปูทอง







งานประดับกระจกพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย

อุปกรณ์ในการประดับกระจก

อุปกรณ์การตัดกระจก

1.      กระจกโค้งสีต่างๆ ขาว,น้ำเงิน,เขียว,เหลือง,แดง

2.      อุปกรณ์ตัดกระจก เพชรใหญ่,เพชรเขี้ยวงู

3.      กระดาษกราฟ

4.      ไม้โปรแทรกเตอร์

5.      ปากกาหรือดินสอ

6.      ไม้ติดปลายด้วยน้ำขี้ผึ้ง

7.      แผ่นรองตัด

8.      คีมปากแหลม หรือ กรรไกรทำพิเศษเพื่อใช้เล็มกระจก

อุปกรณ์ในการผสมสมุกเพื่อประดับกระจก

1.      ยางรัก

2.      สมุกกะลา

3.      ชัน

4.      น้ำสะอาด

5.      น้ำมันพืช

6.      ภาชนะในการผสมสมุก เช่น จานมีลักษณะแบนเรียบมีขนาดใหญ่ หรือ แผ่นกระจกหนา

7.      เกียง ขนาด 2 นิ้ว และ 5 นิ้ว

8.      เกียงขนาดเล็ก

9.      ถุงมือยาง

ขั้นตอนการประดับกระจก

1.      การประดับกระจกในพระราเชนทรยานน้อย ลวดลายในบางส่วนได้ประดับตามรูปแบบและขนาดเดิมของ พระที่นั่งราเชนทรยาน เพียงแต่มีสีที่แตกต่างจากลวดลายของพระที่นั่งราเชนทรยาน ทำการตัดกระจกในส่วนที่ออกแบบเตรียมไว้เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป

2.      การผสมสมุกเพื่อประดับกระจก


2.1   การผสมสมุกควรกะปริมาณให้ใช้พอดีกับการทำงานมิฉะนั้นการทำงานในวันต่อๆไปสมุกอาจแห้งจนไม่สามารถนำมาใช้ได้ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร เฉพาะนั้นการผสมแต่ละครั้งควรใช้ให้หมดภายใน 1-3 วัน การเริ่มทำงาน ทุกครั้งควร ทำการใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันการสัมผัสยางรักโดยตรง เพราะยางรักอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้

2.2   นำสมุกกะลาใส่ลงในภาชนะผสมที่เตรียมไว้ ตามด้วยชันในปริมาณน้อยกว่า สมุกกะลาเล็กน้อย นำน้ำสะอาดใส่ลงไปเล็กน้อย จากนั้นจึงทำการผสมให้เข้ากัน

2.3   เมื่อส่วนผสมในขั้นตอนแรกเข้ากันดีแล้ว จึงทำการตักยางรักใส่ลงไปประมาณ 1 - 2 ส่วน ของส่วนผสมในขั้นตอนแรก จากนั้นจึงนำเกียง 2 นิ้วทำการนวดผสมให้เนื้อสมุกเข้ากับเนื้อยางรักถ้ารู้สึกว่าเนื้อสมุกที่ผสมเหลวเกินไปให้ผสมสมุกกะลาลงไปเพิ่ม จนกว่าจะได้เนื้อที่พอดี

2.4   เมื่อผสมสมุกได้เนื้อที่ต้องการแล้ว ให้ตักใส่เกียง 5 นิ้ว เพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนถัดไป  จากนั้นทำการล้างทำความสะอาด อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ผสมสมุก ด้วยน้ำมันพืช เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งานในครั้งต่อไป


การประดับกระจกลวดลายส่วนตัวเรือน

 



ส่วนหน้ากระดานฐานสิงห์ ประดับด้วยกระจกสีขาว รูปทรงข้าวหลามตัด



ส่วนหน้ากระดานบนและล่าง
ประดับด้วยกระจกสีเขียว เป็นลายลูกฟักก้ามปู และประดับด้วยกระจกสีขาว ลายบัวหงาย


ส่วนท้องไม้

         ประดับด้วยกระจกสีขาว ตัดเป็นลายประจำยาม ๔ กลีบ เดินเส้นกรอบประจำยามด้วยกระจกสีน้ำเงินตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดับไส้ลายด้วยกระจกแดง  และสีเหลืองทองระหว่างดอกประจำยาม และตัดกระจกสีเขียว เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับเดินเส้นลวดด้านบนและด้านล่าง



ส่วนลวดลายก้านขดฉลุโปร่ง ส่วนท้องไม้ประดับครุฑยุดนาค

ประดับด้วยกระจกสีเขียว ตัดเป็นรูปหยดน้ำ และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบริเวณเส้นกรอบท้องไม้แต่ละด้าน

กระจังรวน และกระจังตาอ้อย

ประดับด้วยกระจกสีขาว  ตัดเป็นรูปหยดน้ำ ประดับบริเวณไส้ลาย



ครุฑยุดนาค

ประดับกระจกสีเขียว สีขาว และสีแดง ดวงตาประดับพลอยสีแดง โกเมน




กระจักปฏิญาณ

ประดับด้วยกระจกสีเขียว และสีขาว


 

กระจังมุม

ประดับด้วยกระจกสีเขียว และสีขาว





กาบพรหมศร

ประดับด้วยกระจกสีเขียว และสีขาว


ส่วนหัวเม็ดคานหาม


ประดับกระจกสีขาวและสีเขียว


๒. การประดับกระจกส่วนเครื่องยอดบุษบก

ส่วนเครื่องยอดบุษบก ประกอบด้วยชั้นหลังคา ชั้นที่ ๑- ๔ ชั้นเชิงกลอน องค์ระฆัง บัลลังก์ เหม และลูกแก้ว



ชั้นหลังคา  ชั้นที่ ๑-๔ และองค์ระฆัง

ประดับลวดลายเกล็ดเต่า ด้วยกระจกสีขาวและกระจกสีเขียว โดยเริ่มจากการประดับเส้นขอบ เพื่อความเรียบร้อยและสวยงาม จากนั้นจึงเริ่มประดับลวดลายเกล็ดเต่า จากตรงกลางออกไป เพื่อความเรียบร้อยเช่นเดียวกัน


ชั้นเชิงกลอน

ส่วนหน้ากระดานชั้นเชิงกลอนประดับกระจกสีขาว และส่วนเส้นลวด ประดับ กระจกสีเขียว



บันแถลง

ประดับกระจกสีเขียว


บัลลังก์

ประดับกระจกเหมือนกับการประดับชั้นเชิงกลอน คือ ใช้กระจกสีขาว ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดับในส่วนหน้ากระดานและใช้กระจกสีเขียวโค้งตัดเป็นเส้น ประดับส่วนที่เป็นเส้นลวด

เหม

ประดับกระจกเหมือนกับการประดับชั้นเชิงกลอน คือ ใช้กระจกสีขาว ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดับในส่วนหน้ากระดาน

ลูกแก้ว

ประดับแววด้วยกระจกสีขาว




-
จำนวนผู้เข้าชม 822 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel