ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน

การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน


photo-การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน
การบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งราเชนทรยาน

การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน

กว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (พร้อมคานหาม ๒ ลำคาน) สูง ๔.๒๓ เมตร

การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก

ประณีตศิลป์

        พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่ใช้สําหรับเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในริ้วขบวนที่ ๔ และ ๕ มีการใช้ในงานพระราชพิธีหลายครั้ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง มีการทารักปิดทอง ทาสีปิดทอง และประดับกระจกในร่องลวดลาย จนกระจกที่ประดับไว้ล้นขึ้นมาจากร่องลวดลาย ส่วนลวดลายที่ปิดทองทับซ้อนกันหลายชั้นก็ดูเลือนไม่ชัดเจน ปิดบังลวดลายไม้แกะสลักที่สวยงามของครูช่างโบราณ อีกทั้งไม้โครงสร้างบางส่วนก็ผุกร่อนตามกาลเวลา ภายหลังจากการสํารวจเพื่อทําการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเตรียมใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สํานักช่างสิบหมู่ พิจารณาเห็นสมควรให้บูรณะปฏิสังขรณ์ด้านโครงสร้างให้แข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ทําการปิดทองใหม่ทั้งหมด และจัดสร้างชุดเฟื่องระย้าชุดใหม่เพื่อประดับตกแต่งให้งดงามสมพระเกียรติ

 

 

การบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งราเชนทรยานในส่วนความรับผิดชอบของสํานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีรายละเอียด ดังนี้

- ซ่อมปรับโครงสร้างพื้นไม้ และลวดลายที่ชํารุด

- ซ่อมปิดทองใหม่ ๑๐๐%

- ซ่อมประดับกระจกโดยรวม ๗๐%

- จัดทําพระวิสูตรตาดทองแท้(เงินกะไหล่ทอง) จํานวน ๔ ผืน

- จัดสร้างชุดเฟื่องระย่าโลหะเงิน และประดับกระจก

 

ซึ่งแบ่งการดําเนินงานออกเป็นขั้นตอน ดังนี้

๑. เชิญพระที่นั่งราเชนทรยานมาบูรณปฏิสังขรณ์

๒. ถอดส่วนประกอบพระที่นั่งราเชนทรยานเพื่อซ่อมปรับโครงสร้างและลวดลายที่ชํารุด

๓. ดําเนินการคัดลอกแบบและเขียนแบบ

๔. ดําเนินการกะเทาะกระจกและขัดลอกผิวทองเดิมออก

๕. ดําเนินการปิดทองและประดับกระจกใหม่

๖. การประกอบพระที่นั่งราเชนทรยาน

๗. การจัดทําเครื่องประกอบ

 

            ขนาด กว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (พร้อมคานหาม) สูง ๔.๒๓ เมตร จํานวนพล พลแบกหาม ๕๖ นายผู้ควบคุม ๑ นาย พระที่นั่งราเชนทรยาน มีลักษณะเป็นทรงบุษบก ทําด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราสี่สาย อาทิ เสด็จพระราชดําเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงาน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น เนื่องจากพระราชยานองค์นี้ มีขนาดใหญ่และ นํ้าหนักมาก จึงไม่นิยมใช้สําหรับเสด็จพระราชดําเนินทางไกลไปนอกพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยัง ใช้ในการอัญเชิญ พระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ หรือ พระโกศพระอัฐิพระบรมวงศ์จากพระเมรุท้องสนามหลวงเข้าสู้พระบรมมหาราชวัง


13 มกราคม 2560 ถึง 23 ตุลาคม 2561

๑. การขัดแต่งในส่วนของลวดลายประกอบ เช่น ครุฑ บันแถลง  กาบกระจังต่างๆ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะส่วนประกอบต่างๆ เป็นไม้และมีอายุหลายร้อยปีอาจเกิดความชำรุดเสียหายได้

๒. ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติงานให้ทันกับการใช้งานในพระราชพิธี ต้องให้สมบูรณ์ สมพระเกียรติมากที่สุด

๓. ต้องใช้ช่างหรือบุคคลที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปในทางเดียวกัน งานจึงจะสำเร็จสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์

๔. วัสดุบางส่วนที่ชำรุด เสียหายไปต้องหา วัสดุทดแทนให้ได้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด เช่น กระจกเกรียบ

๕. ต้องระวังเรื่องการแพ้จากวัสดุที่นำมาปฏิบัติงาน เช่น ยางรัก ยางรักจีน

 


๑. ในการขัดแต่งต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ คือ ตัวขัดที่เล็กและละเอียด เช่น เครื่องขัดพื้นต้องระมัดระวังอย่างมาก อาจเกิดความเสียหายได้

๒. ในการปฏิบัติงานขัดแต่งช่างควรรู้วิธีใช้เครื่องมือ แต่ละชิ้นเป็นอย่างดี เพื่อให้งานสำเร็จและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด

๓. ใช้กระจกฟิล์มนิรภัย โทรศัพท์มือถือ มาทดแทนกระจกเกรียบที่หลุดหายไปบางส่วน

๔. ระวังอาการแพ้ยางรักโดยใช้ถุงมือทางการแพทย์ และ ผ้าปิดจมูกในขณะปฏิบัติงาน

 


-

ขั้นตอนที่ ๑

ขั้นตอนการล้างลอกสี

เนื่องจากพระที่นั่งราเชนทรยานมีการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง ทั้งการทายางรักปิดทอง ทาสีปิดทอง ส่วนลวดลายที่ปิดทองทับซ้อนกันหลายชั้นจนทำให้ลวดลายเลือนไม่ชัดเจน ปิดบังลวดลายไม้แกะสลักที่สวยงามของครูช่างโบราณเช่น ครุฑ บันแถลง  กาบพรหมศรและกระจังต่าง ๆ และประดับกระจกในร่องลวดลาย จนกระจกที่ประดับไว้ล้นขึ้นมาจากร่องลวดลาย ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะส่วนประกอบสร้างด้วยไม้สักและมีอายุหลายร้อยปีอาจเกิดความชำรุดเสียหายได้ จึงต้องใช้เครื่องมือกอฟันในการขัดล้างทำความสะอาดพื้นสีปิดทองเก่าออก โดยมีหัวเจียรที่มีขนาดเล็กจึงสามารถเข้าถึงส่วนร่องลายได้เป็นอย่างดี



การใช้เครื่องกอฟัน และสิ่วเหล็กขนาดเล็กกะเทาะเอาวัสดุกระจกและรักสมุกติดกระจกของเก่าออกจากร่องลายอย่างระมัดระวัง




การใช้สิ่วเหล็กขนาดเล็กกะเทาะเอาวัสดุกระจกและรักสมุกติดกระจกของเก่าออกจากร่องลายอย่างระมัดระวัง




การใช้เครื่องกอฟัน กอเอารักสมุกติดกระจกและลอกผิวสีและยางรักปิดทองที่เกาะตัวบนผิวไม้แกะสลักของเก่าออกอย่างระมัดระวัง




ภาพชั้นหลังคาบุษบก ภายหลังการนำกระจกเก่า สมุกติดกระจก ลอกผิวสีและยางรักปิดทองที่เกาะบนผิวลายแกะสลักออก




รูปครุฑยุดนาค ภาพก่อนและภายหลังการนำกระจกเก่า สมุกติดกระจก ลอกผิวสีและยางรักปิดทองที่เกาะบนผิวลายแกะสลักออก



กระจกเก่าบางส่วนที่มีสภาพสมบูรณ์ จะทำการเก็บไว้เพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ของบุคคลรุ่นหลังต่อไป



ภาพพนักพิง ภาพก่อนและภายหลังการนำกระจกเก่า สมุกติดกระจก ลอกผิวสีและยางรักปิดทองที่เกาะบนผิวลายแกะสลักออก



ภาพขณะดำเนินการใช้เครื่องมือเคาะเนื้อรักสมุกเก่าออกจากผิวงานไม้แกะสลักเพื่อให้ลายคมชัดเช่นดังเดิม



ภาพลายกระจังปฏิญาณใหญ่หลังจากการนำกระจกเก่า สมุกติดกระจก ลอกผิวสีและยางรักปิดทองที่เกาะบนผิวลายแกะสลักออก

เนื่องจากเนื้อไม้สักของพระที่นั่งองค์นี้มีอายุหลายร้อยปี จึงมีการหักหรือเสื่อมสภาพตามการเวลา ต้องทำการแกะสลักเสริมในส่วนที่เสียหายไปให้สมบูรณ์สวยงามก่อนการลงรักปิดทองใหม่ โดยกลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต และเมื่อแกะสลักซ่อมเสริมลวดลายเรียบร้อยและจึงส่งให้กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทยดำเนินการต่อไป


ขั้นตอนที่ ๒

ลักษณะของงานลงรักปิดทอง

งานลงรักปิดทอง คือ การทายางรักบนพื้นผิวของศิลปวัตถุหลายครั้งให้ได้พื้นผิวที่อิ่มตัว (โดยมิให้ยางรักทับหนาจนกลับไปเป็นสภาพเดิมก่อนซ่อม)  แล้วปิดทับด้วยทองคำเปลว ๑๐๐% จนทั่วทั้งพื้นผิวทำให้ได้พื้นผิวทองสุกปลั่ง คล้ายทำด้วยทองคำจริง ๆ

วัสดุที่ใช้ในการปิดทอง

ยางรัก คือ ยางจากไม้ยืนต้น ตระกูล Anacardiaceae มักพบในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ชาวล้านนาเรียกว่า ฮักหรือ ฮักหลวงมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Melanorrhoea usitata Wall ยางมีพิษที่รุนแรง ทำให้เกิดผื่นคัน มีอาการบวมเป็นแผลหนองมากน้อยตามที่ได้รับจากการสัมผัส

รักสมุก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (ที่นิยมใช้จะเป็นผงถ่านกะลา ผงถ่านใบตอง ผงถ่านหญ้าคา ผงถ่านดินหรือผงชัน เป็นต้น ) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวจนเหนียวเหมาะแก่การโป๊ขัดแต่ง

เทือกรัก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (รักสมุก) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวกันแต่มีความเหลวเหมาะแก่การทาเพื่อให้มีเนื้อยางรัก

 

ขั้นตอนการลงรักปิดทอง
-      นำแอลกอฮอล์ มาขัดล้างทำความสะอาดในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยานทิ้งให้แห้งสนิท


-      ทายางรักจีนในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยานทิ้งให้แห้งสนิทประมาณหนึ่งถึงสองวัน 


-      นำรักจีนและรักน้ำเกลี้ยงผสมนวดให้เข้ากันในอัตราส่วน ๑ : ๑ ทาใน ส่วนที่เป็นลวดลายและส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยาน ทิ้งให้แห้งประมาณ ๒ – ๓ วัน


-      นำกระดาษทรายเบอร์ ๒๕๐ มาขัดด้วยน้ำบริเวณที่เป็นผิวเรียบและในส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยาน โดยในส่วนที่เป็นลวดลายต้องระวังอย่าขัดจนลวดลายหายไป จากนั้นเช็ดทำความสะอาดคราบฝุ่นออกให้หมดทิ้งให้แห้งสนิท



-
      นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาในส่วนที่เป็นพื้นเรียบและส่วนที่เป็นลวดลายของพระที่นั่งราเชนทรยาน นำเข้าตู้บ่มกันฝุ่นปิดให้สนิท  นำน้ำเปล่าใส่ภาชนะตั้งไว้ประมาณสองถึงสามจุดช่วยการแห้งตัวของยางรัก ทิ้งยางรักให้แห้งสนิท




-      นำกระดาษทรายเบอร์ ๔๐๐ มาขาดน้ำในส่วนที่เป็นพื้นเรียบและส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยานเสร็จแล้วเช็ดทำความสะอาดคราบฝุ่นออกให้หมดทิ้งให้แห้งสนิทดี

 -      นำรักเกลี้ยงมากรอกเพื่อใช้ทาปิดทอง  แล้วนำมาทาในส่วนที่เป็นผิวเรียบและส่วนที่เป็นลวดลายส่วนประกอบต่าง ๆ ที่นั่งราเชนทรยานนำเข้าตู้บ่ม นำน้ำใส่ภาชนะวางไว้ด้านในตู้บ่ม ทิ้งให้ชิ้นงานแห้งสนิทประมาณ ๑๐ – ๑๒ ชั่วโมง (ต้องหมั่นเปิดตรวจดูว่าเหมาะสมแก่การปิดทองหรือยังเป็นระยะเมื่อใกล้ระยะเวลา)




-      นำทองคำเปลว ๑๐๐% มาปูบนส่วนที่เป็นพื้นเรียบโดยปูจากด้านล่างขึ้นด้านบนปูทองคำเปลวไปในทางเดียวกัน  ใช้นิ้วหรือพู่กันหุ้มถุงพลาสติกอ่อนมากวดบริเวณที่เป็นรอยต่อแต่ละแผ่นโดยกวดทองให้แผ่นบนทับแผ่นล่าง  เวลากวดทองต้องมีทองติดที่นิ้วหรือพู่กันที่จะนำไปกวดจะทำให้ทองเวลากวดไม่ด่างผิวเรียบเสมอกัน ในส่วนที่เป็นลวดลายใช้พู่กันแตะทองไปกระทุ้งในส่วนที่เป็นลวดลายที่กวดทองเข้าไม่ถึงให้เรียบร้อย









ภาพขณะการปิดทองลวดลายของพระที่นั่งราเชนทรยาน

ขั้นตอนที่ ๓

งานประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน

อุปกรณ์ในการประดับกระจก

-      กระจกโค้งสีต่าง ๆ  ขาว น้ำเงิน เขียว เหลือง แดง

-      อุปกรณ์ตัดกระจก เพชรใหญ่ เพชรเขี้ยวงู

-      กระดาษกราฟ

-      ไม้โปรแทรกเตอร์

-      ปากกาหรือดินสอ

-      ไม้ติดปลายด้วยน้ำขี้ผึ้ง

-      แผ่นรองตัด

-      คีมปากแหลม หรือ กรรไกรทำพิเศษเพื่อใช้เล็มกระจก

 

อุปกรณ์ในการผสมสมุกเพื่อประดับกระจก

-      ยางรัก

-      สมุกกะลา

-      ชัน

-      น้ำสะอาด

-      น้ำมันพืช

-      ภาชนะในการผสมสมุก เช่น จานมีลักษณะแบนเรียบมีขนาดใหญ่ หรือ แผ่นกระจกหนา

-      เกียง ขนาด ๒ นิ้ว และ ๕ นิ้ว

-      เกียงขนาดเล็ก

-      ถุงมือยาง

 

ขั้นตอนการประดับกระจก

-      เตรียมแบบกระจก การประดับกระจกพระราเชนทรยาน โดยประดับตามรูปแบบและขนาดเดิม ทำการตัดกระจกในส่วนที่คัดลอกแบบเตรียมไว้เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป

-      การผสมสมุกเพื่อประดับกระจก

 


       การผสมรักสมุกสำหรับประดับกระจกควรกะปริมาณให้ใช้พอดีกับการทำงานในแต่ละครั้งตามพื้นที่ประดับลายกระจก  ถ้าผสมสมุกเผื่อมากไปสมุกอาจแห้งจนไม่สามารถนำมาใช้ได้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร เฉพาะนั้นการผสมแต่ละครั้งควรใช้ให้หมดภายใน ๑ - ๓ วัน การเริ่มทำงานทุกครั้งควรใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันการสัมผัสยางรักโดยตรง เพราะยางรักอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

       นำสมุกกะลาใส่ลงในภาชนะผสมที่เตรียมไว้ ตามด้วยชันในปริมาณน้อยกว่า สมุกกะลาเล็กน้อย นำน้ำสะอาดใส่ลงไปเล็กน้อย จากนั้นจึงกวนผสมให้เข้ากัน

       เมื่อส่วนผสมในขั้นตอนแรกเข้ากันดีแล้ว จึงตักยางรักใส่ลงไปประมาณ ๑ – ๒ ส่วน ของส่วนผสมในขั้นตอนแรก จากนั้นจึงนำเกียงขนาด ๒ นิ้วทำการนวดผสมให้เนื้อสมุกให้เข้ากับเนื้อยางรักถ้ารู้สึกว่าเนื้อสมุกที่ผสมเหลวเกินไปให้ผสมสมุกกะลาลงไปเพิ่มจนกว่าจะได้เนื้อที่พอดี

เมื่อผสมสมุกได้เนื้อที่ต้องการแล้ว ให้ตักใส่เกียงขนาด ๕ นิ้ว เพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนถัดไป  จากนั้นล้างทำความสะอาด อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ผสมสมุกด้วยน้ำมันพืช เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งานในครั้งต่อไป

 

การประดับกระจกพระที่นั่งราเชน แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน

๑.      การประดับกระจกส่วนตัวเรือน

๒.      การประดับกระจกส่วนเครื่องยอดบุษบก

๓.      การประดับกระจกเสาไม้ย่อมุม

         ในแต่ละส่วนมีลวดลายและรายละเอียดส่วนประกอบที่แตกต่างกัน การตัดกระจกในแต่ละส่วนจึงต้องใช้ความประณีตเพื่อให้ขนาดของกระจกพอดีกับร่องลาย ช่างประดับกระจกจึงต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการตัดกระจก เพราะกระจกบางลายต้องตัดให้พอดีกับพื้นที่ ไม่สามารถตัดเตรียมไว้ก่อนได้

๑.      การประดับกระจกลวดลายส่วนตัวเรือน

 


ส่วนลวดลายก้านขดฉลุโปร่ง ผนังของส่วนท้องไม้ฐานเชิงบาตรประดับครุฑยุดนาค ประดับด้วยกระจกสีเขียว ตัดเป็นรูปหยดน้ำ และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบริเวณเส้นกรอบท้องไม้แต่ละด้าน



กระจังรวนบน และกระจังตาอ้อยตั้งด้านล่างของฐานเชิงบาตร ประดับด้วยกระจกสีขาว  ตัดเป็นรูปหยดน้ำ  ประดับบริเวณไส้ลาย




ครุฑยุดนาค  ประดับกระจกสีเขียว และ สีขาว





พนักพิง  ประดับกระจกสีขาว สีแดง และ สีน้ำเงิน





กระจังปฏิญาณ  ประดับด้วยกระจกสีเขียว และ สีขาว





กระจังมุม  ประดับด้วยกระจกสีเขียว และ สีขาว





กาบพรหมศร  ประดับด้วยกระจกสีเขียว และ สีขาว



ส่วนหัวเม็ดคานหาม  ประดับกระจกสีขาวและสีเขียว



๒. การประดับกระจกส่วนเครื่องยอดบุษบก

ส่วนเครื่องยอดบุษบก ประกอบด้วยชั้นหลังคา ชั้นที่ ๑ - ๔ ชั้นเชิงกลอน องค์ระฆัง บัลลังก์ เหม และลูกแก้ว

 


ชั้นหลังคา ชั้นที่ ๑ – ๔ และองค์ระฆัง

        ประดับลวดลายเกล็ดเต่า ด้วยกระจกสีขาวและกระจกสีเขียว โดยเริ่มจากการประดับเส้นขอบ เพื่อความเรียบร้อยและสวยงาม จากนั้นจึงเริ่มประดับลวดลายเกล็ดเต่าจากตรงกลางออกไป เพื่อความเรียบร้อยเช่นเดียวกัน


บันแถลง  ประดับจกสีน้ำเงิน



บัลลังก์

        ประดับกระจกเหมือนกับการประดับชั้นเชิงกลอน คือ ใช้กระจกสีขาว ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดับในส่วนหน้ากระดานและใช้กระจกสีเขียวโค้งตัดเป็นเส้น ประดับส่วนที่เป็นเส้นลวด

เหม

ประดับกระจกเหมือนกับการประดับชั้นเชิงกลอน คือ ใช้กระจกสีขาว ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดับในส่วนหน้ากระดาน

ลูกแก้ว

ประดับแววด้วยกระจกสีขาว


๓.การประดับกระจกเสาย่อมุมไม้สิบสอง

เสาย่อมุมไม้สิบสองพระที่นั่งราเชนทรยาน

            ประดับกระจกตามแบบลวดลายกระจกเดิม และประดับจกเสริมในส่วนที่หลุดหาย หรือแตกหัก เหตุที่ไม่กะเทาะกระจกออกจนหมด เนื่องจากลวดลายกระจกยังคงความสมบูรณ์เป็นส่วนมากจึงต้องการเก็บรักษาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป และ ด้วยระยะเวลาในการดำเนินงานมีเวลาน้อยจึงไม่สามารถที่จะประดับใหม่ได้ทั้งหมดเสาย่อมุมไม้สิบสองพระที่นั่งราเชนทรยาน ประดับด้วยกระจก สีแดง สีน้ำเงิน และ สีขาว



-
จำนวนผู้เข้าชม 2,585 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel