ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


หน้าบัน พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย


photo-หน้าบัน พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย
พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย

หน้าบัน พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย

-

ลงรักปิดทอง ประดับกระจก

ประณีตศิลป์

     พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมากรมศิลปากรได้จัดพิธีบวงสรวงเพื่อจะบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย

    ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๘๙ ปีแล้ว หลังจากนั้นก็จะย้าย  กลับไปประดิษฐานที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ตามเดิม หลังจากที่พระที่นั่งองค์นี้ได้ซ้ายมาตั้งแต่ปี  ๒๔๗๐

     ความเป็นมาของพระที่นั่งองค์นี้นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อเป็นที่ประทับ  ทอดพระเนตรปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งปรากฏขึ้นต่อพระพักตร์ถึง ๓ รัชกาล และโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเป็นครั้งที่  ๒
ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ถูกจารึกครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ พระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระชาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า

    "เมื่อปีมะโรง อัฐศก วันเสาร์ เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ( ๒9 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓99 ) เห็นที่องค์พระปรางค์เป็นดวงช่วงออกมาทางซุ้มดูหาทิศเหนืออีกคราว ๑ ครั้นมาถึงวันพฤหัส เดือน ๑ ขึ้น ๗ ค่ำ เห็นรัศมีส่องไปทั้งองค์ปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียน จับอยู่ที่องค์พระได้เห็นด้วยกันมาก ในเดือน ๑ ปีมะโรง อัฐศก เห็นอัศจรรย์ ๒ ครั้ง การที่ปาฏิหาริย์มีนั้นทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ถ้าสมโภชเวียนเทียนเมื่อใดก็เป็นทุกคราว และที่พระปฐมเจดีย์มีเหตุอัศจรรย์หลายอย่าง คือองค์พระปรางค์ ลางทีเดือนมืดก็บังเกิดเป็นรัศมีเหมือนบุคคลเอาผ้าขาวเข้าไปหุ้มไว้แล้วก็หายไปทีละน้อย ๆ แล้วก็สว่างขึ้นทีละน้อย ๆ จนเต็มกำลัง และเห็นขึ้นไปจนตลอดยอดนภศูล ลางทีก็สว่างซีกหนึ่ง ลางทีสว่างข้างล่าง มืดข้างบน แล้วสว่างข้างบน มืดข้างล่าง เมื่อจะสว่างนั้นก็เป็นรัศมีเรืองขึ้นที่ละน้อย ๆ สว่างเต็มกำลังตลอดจนยอดนภศูล แล้วรัศมีก็โรยอ่อนลงมาทีละน้อย ๆ จนมืดไปทั้งองค์พระปรางค์ แล้วก็ค่อย ๆ มีรัศมีเรื่อง ๆ ขึ้นมาอีกดังกล่าวมาแล้ว เป็นอยู่ ๒ ทุ่มบ้าง ๓ ทุ่มบ้าง แล้วจึงหายไปทีเดียว ลางทีก็เห็นเป็นดวงดาวติดอยู่ปลายยอดนภศูล รัศมีแดงเหลืองสีต่าง ๆ ค่อย ๆ เลื่อนลงมาทีละน้อย หายไปในช่องดูหา ลางทีดูที่องค์ พระปรางค์มืดเป็นปกติ แต่ขอบริมนั้นมีรัศมีขาวสว่างขึ้นไปตลอดยอด..."
 

    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔
๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปพระราชทานผ้าพระกฐินแล้วประทับอยู่ ๒ คืน ได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีก พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ประชุมอยู่ในที่นั้นก็เห็นกันพร้อมหน้า พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า

    “...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงปีติ โสมนัส รับสั่งว่าเหมือนผีหลอก ไม่รู้ ที่จะว่าอย่างไรได้ เห็นจะเป็นไฟธาตุดินอยู่ในอิฐปูนถูกน้ำฝนเข้าก็เกิดเป็นรัศมีขึ้น ที่รับสั่งตรัสดังนี้ เพื่อจะมิให้คนที่ถือศาสนาพากันติเตียนได้ แต่ทองทศทองทิษมีอยู่ในฉลองพระองค์เท่าใดก็ถอดพระราชทานให้เป็นส่วนพระราชกุศลจนสิ้น"

พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์

   พวกคนยุโรปที่ไปเที่ยวนครปฐมและพบเหตุอัศจรรย์นี้ ถึงกับนั่งลงกราบไหว้แบบคนไทย ทั้งยังมีโต๊ะหะยีแขกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เมื่อคนไทยถามว่าเป็นแขกมานับถือแบบนี้ไม่เป็นบาปหรือ แขกก็บอกว่าเขากราบไหว้แท่นบรรทมของพระเจ้า ที่คนโบราณสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ จะเป็นบาปได้อย่างไร

   มีบางคนกล่าวว่าที่องค์พระปฐมเจดีย์มีรัศมีเรืองขึ้นนั้น เป็นเพราะสารที่ตำราฝรั่งเรียกว่าฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารมีรัศมีเรืองแสง ไม่ใช่อภินิหารของพระสารีริกธาตุแต่อย่างใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พระยาอนุชิตชาญชัย พระวิสูตรโยธามาตย์ เอาฟอสฟอรัส เครื่องมือต่าง ๆ ไปทำการทดลอง พอทั้ง 3 รับงานทดสอบปาฏิหาริย์ องค์พระปฐมเจดีย์ยังไม่ทันจะได้ลงมือ เจ้าหญิงและหม่อมห้ามในกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาพร้อมด้วยบุตรกรรยาของพระยาอนุชิตชาญชัย และบ่าวไพร่ได้พากันไปเที่ยวหลังองค์พระ ก็ถูกฝูงผึ้งจำนวนหนึ่งเข้าโจมตี ต้องวิ่งหนีกันกระเจิดกระเจิง บ้างก็เข้าไปในดงหนาม บ้างก็วิ่งไปชนต้นไม้จนหัวแตก บ้างก็ถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ต้องมีคนเอาผ้านุ่งไปให้จึงกลับมาได้ ทั้งๆ ที่บูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์มา ๑0 ปี ไม่เคยมีใครถูกผึ้งต่อยเลย

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงเผชิญปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ถึง ๒ ครั้ง แต่พระองค์ไม่ได้รับสั่งให้ใครฟัง เก็บความแปลกพระทัยไว้เงียบ ๆจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ขณะยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ และมีพระราชหัตถเลขามากราบทูลพระราชบิดาว่า

   "ด้วยเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๘ นี้ ตรงกับวันขึ้น ๑0 ค่ำเดือน ๑๑ เวลาดึก ๒ ยามกับ ๕๕ นาที ข้าพระพุทธเจ้าได้นั่งอยู่ที่เรือนสนามจันทร์ มีข้าราชการและมหาดเล็กอยู่ ด้วยเป็นอันมาก ได้เห็นองค์พระปฐมมีรัศมีสว่างพราวออกมาทั้งองค์ ดูประหนึ่งว่าองค์พระปฐมเจดีย์ด้านตะวันตกคือค้านที่เล็งตรงกับสนามจันทร์นั้น ทาด้วยฟอสฟอรัสพราวเรืองตั้งแต่คอระฆังลงมาหน่อยหนึ่งตลอดขึ้นไปจนขอดมงกุฎ และซ้ำยังมีรัศมีพวยพุ่งสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๓๔ วา ปรากฏแก่ตาอยู่อย่างนี้ ๑๗ นาที แล้วรัศมีตอนใต้แต่ปล้องไฉนตลอดยอดก็คับลงไปทันที เหลือสว่างอยู่แต่ตอนช่องมะหวดลงมาอีกสักไม่ถึงกึ่งนาทีก็ดับหายไปหมด มืดแม้จะมองแต่รูปองค์พระก็ไม่ถนัด ข้พระพุทธเจ้า ได้นับผู้ที่เห็นในขณะนั้น ตลอดจนทหารที่อยู่ยาม ๔ คน เป็นจำนวน ๖๔ คน

   ข้าพระพุทธเจ้าลองคิดดูตามไซแอนซ์ ว่าบางทีจะเป็นด้วยตอนฝนตกหนักละอองฝนจะติดค้างอยู่ที่กระเบื้องที่ประดับองค์พระปฐมบ้าง ครั้นตอนดึกจวนพระจันทร์ตกแสงจันทร์ส่องทอตรงได้ระดับฐานฉากกับองค์พระปฐม จึงเกิดแสงแพรวพราว ฉะนั้นพอจันทร์เหลื่อมเข้าเมฆแสงลับไป รัศมีที่องค์พระปฐมก็หายไปด้วย ครั้นรุ่งขึ้นได้ทราบเกล้าฯ ว่าจีนที่รับเหมาทำศาลารัฐบาลซึ่งอยู่ด้านตะวันออกองค์พระ และชาวตลาดอีกหลายคนซึ่งอยู่เหนือองค์พระก็เห็นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้าใจได้ว่ารัศมีได้พราวออกทั่วองค์พระเป็นอันพ้นวิสัยที่แสงจันทร์จะถึงได้ หรือว่าจะมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในองค์พระธาตุนั้น จะส่องแสงแพรวพราวในเวลากลางคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ต้องแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันมากพอ ในเวลากลางวันก็ชอุ่ม ตอนเย็นก็ฝนตก ไม่ใช่ธาตุฟอสฟอรัสแน่ จึงเป็นอันจนด้วยเกล้าฯ ที่อ้างแสงรัศมีนั้นเป็นด้วยเหตุไรนอกจากว่ามหัศจรรย์ยิ่ง

   พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้ นิมนต์พระสงฆ์ ๑0 รูป มีพระนิกรมุนีเป็นประธาน สวดมนต์เย็นในพระวิหารองค์พระแล้วได้ เดินเทียนสมโกชองค์พระ ๓ รอบ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๖ เวลาเช้า พวกข้าราชการ พ่อค้า ราษฎรชาวพระปฐมเจดีย์ มีความปีติยินดีช่วยกันจัดของไปถวายและเลี้ยงพระหมดทั้งวัดพระปฐมเจดีย์เป็น จำนวน ๖๘ รูป เวลาค่ำได้มีละครเรื่องสุวรรณหงษ์ ตอนกุมพลถวายม้าฉลองหนึ่งคืนเป็นเสร็จการ

   พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสว่า 
"เรื่องพระปฐมเจดีย์กระทำปาฏิหาริย์ตามลักษณะที่เล่ามานี้ ช่างไม่มีอะไรผิดกับที่เคยเห็น ๒ คราวแค่สักนิดเดียว เวลาที่ได้เห็นนั้นคนมากยิ่งกว่าที่นับมา เห็นปรากฏด้วยกันทั้งหมด จึงได้มีเรื่องตรวจตราซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พ่อเข้าใจในลักษณะที่เล่าว่าเป็นอย่างไร แลเชื่อว่าได้เป็นเช่นนั้นจริงเพราะเคยเห็น แต่จะเป็นด้วยอันใด เหลือที่จะยืนยันฤา รับรองให้คนอื่นเห็นด้วยจริงได้ จึงไม่ได้เล่าให้ใครฟังในชั้นหลัง ๆ นี้ เพราะห่างจากเวลาที่ได้เห็นนั้นมาก เข้าใจว่าการที่เป็นเช่นนั้นได้จะได้เป็นอยู่เนือง ๆ แต่หากคนนั้นตกต่ำลงก็เข้านอนเสียไม่สังเกต แปลกอยู่หน่อยแต่ที่เวลาเป็นมักจะเป็นเดือน ๑๑ เดือน ๑ ๒ เดือนขี่ เวลาเดินบกมาถึงที่นั้นฤาเสด็จออกไปหลายครั้งไม่เคยมีเลย ขออนุโมทนาด้วยในส่วนกุศลที่ได้ทำ"

    ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีกในคืนเดือนมืด พร้อมข้าราชบริพาร ตำรวจ และเสือป่าเข้าฝ้าอยู่ที่สนามจันทร์ประมาณ ๒
00 คน ซึ่งได้เห็นกันทุกคนรวมทั้งราษฎรที่อยู่รอบองค์พระ
 
หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจคีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ส่วนประกอบสำคัญของพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย

1. หน้าบันจำนวน 2 ด้าน

2. ลายหน้ากระดานฐานพระ(เครื่องประดับชั่ว) จำนวน 2 ค้าน

3. ช่อฟ้าจำนวน 2 ตัว

4. ไประกาหางหงส์จำนวน 2 ด้าน

5. สันตะเข้ (สันเหรา) จำนวน 4 ตัว

6. ฝ้าประธานจำนวน 2 ห้อง

7. ฝ้าพาไรจำนวน 2 ชั้น ชั้นใน 4 ด้านชั้นนอก 4 ด้าน

8. เชิงกลอน (เชิงชาย)จำนวน 4 ด้าน รวมทั้งหมด 8 ด้าน

9. คานจำนวน 8 คาน

10. ข้อสองจำนวน 4 ด้าน

11. สะพานหนูจำนวน 8 เส้น

12. บัวฟันยักษ์

13. ลายฉลุใต้ขื่อ

14. ลายประจำยาม (ดอกสีกลีบ) ลายดอกจอก (ดอกแปดกลีบ)

15. ไม้แปรหลังดา

16. ไม้จันทัน

17. เสาจำนวน 8 ต้น

18. แท่นยกจำนวน 4 ค้าน

19. แท่นรองจำนวน 4 ด้าน

20. ขอบพื้นแท่นยกจำนวน 4 ด้าน

21. ขอบพื้นแท่นรองจำนวน 4 ด้าน


01 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2558

ส่วนประกอบต่างๆของพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนมีอายุค่อนข้างมากลวดลายต่างๆ มีความบอบบางต้องปฏิบัติงานทำพื้นลงรักปิดทองด้วยความระมัดระวังให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

 
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ลงรักปิดทองแต่รักครั้งนี้ต้องทำให้แห้งสนิท ถึงจะทำพื้นขั้นต่อไปได้ ถ้ายังไม่แห้งสนิทขั้นตอนต่อไปจะทำให้พื้นแต่ละชั้นเกิดความเสียหายผุพองได้

 
ช่างทุกคนต้องมีความระมัดระวังในการปฏิบัติงานเพราะยางของรักเป็นวัสดุที่สามารถทำให้ เกิดอาการแพ้ต้องหาถุงมือหรือทานยาแก้แพ้ป้องกันอาการก่อนปฏิบัติงาน

 
ในการปฏิบัติงานส่วนประกอบแต่ละชั้นมีขนาดใหญ่การยกหรือเคลื่อนข้ายต้องใช้บุคลากร ค่อนข้างมากและต้องมีความแข็งแรงควรมีอุปกรณ์และเครื่องมือทุ่นแรงช่างเพื่อให้ปฏิบัติงานได้สะดวกสบายไม่เกิดความเสียหาย

-    ในการทำพื้นรักสมุกควรมีน้ำเข้าไปอยู่ผสมของรักสมุกต่างๆด้วยทำให้พื้นนั้นแห้งเร็วขึ้น

ในการนวดรักสมุกที่ใช้สำหรับโป๊วควรนวดให้เนื้อสมุกและรักน้ำเกลี้ยงเข้าเป็นเนื้อเดียวกันเวลาโป๊วรักสมุกที่ได้จะไม่ถลกเวลาขัดก็จะไม่หลุดล่อนง่าย

 
การขัดโดยการนำกระดาบทรายไปชุบน้ำแล้วนำมาขัดทำให้ชิ้นงานนั้นนั้นมีความเรียบเนียน ยิ่งขึ้นกว่าการขัดด้วยกระดาบทรายแห้งเพราะการขัดน้ำจะทำให้เนื้อที่ขัดออกมาไปอุดรอยตามด หรือฟองอากาศ เล็กๆได้เรียบเนียนยิ่งขึ้น

 
-   วัสดุที่ใช้ในการ โป๊วรักสมุกควรเป็นพลาสติกเพราะสามารถบิด โค้งไปตามลวดลายต่างๆของงานได้

 
-  การผสมชาดต้องผสมให้ชาดมีปริมาณเท่ากันกับรักจีนในอัตราส่วน ต่อ 1 ช้อนตวงแต่ถ้าชั่งเป็น น้ำหนักแล้วชาดจะมีน้ำหนักมากกว่าจะ ได้สีชาดที่ออกมาสีสดและสีจะแดงสดยิ่งขึ้นเมื่อทาเทียวต่อไป

 
-  การใช้โก่ง บดชาดจะทำให้ได้เนื้อละเอียดเนียนยิ่งขึ้นเวลาทาจะเรียบเสมอกันทั้งชิ้นงาน

-  การผสมชาดควรใส่น้ำมันยางหรือน้ำมันลินสีดนิดหน่อยเพื่อให้ทาเรียบเนียนยิ่งขึ้นไม่เป็นรอยแปลงหรือพู่กันเวลาทา

 
-  เวลาผสมชาดเสร็จแล้วควรนำไปตากแดดหรืออังไฟเพื่อไม่ให้ชาดแห้งไวเกินไปถ้าได้ทั้งวัน

เป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า รูปแบบทางงานแกะสลักลงรักปิดทองที่สำคัญองค์หนึ่งของชาติไทยต้องช่วยกันดูแลให้ชนรุ่นหลังได้ไว้ศึกษาหาความรู้ต่อไปไม่ให้ผุพังไปตามกาลเวลา

ขั้นตอนที่ ๑
   ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลกรรมวิธีการปฏิบัติงานช่างโบราณจากหนังสือและผู้มีความรู้ประสบการณ์



ขั้นตอนที่ ๒

ลอกผิวเดิมออกด้วยน้ำยาทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผิวเดิมที่ทาสีและปิดทองทับกันหลายครั้งทำให้ลวดลายไม่คมชัด

 

ถอดส่วนประกอบก่อนลอกผิว
 
 
ก่อนล้างทำความสะอาดลายกรวยเชิงประดับฝ้าพาไล









ลอกกะเทาะทำความสะอาด

ขั้นตอนที่ ๓

ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่มีสารสกัดจากมะนาว เช่น น้ำขาล้างจานสูตรมะนาวเพราะจะ ช่วยให้ขจัดคาบน้ำยาที่ติดผิวไม้จากการลอกสีออกให้หมดล้างด้วยน้ำเปล่าให้ไม่เหลือคราบ น้ำยาทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ 3-5 วัน

 

  






ล้างทำความสะอาด


ขั้นตอนที่ ๔
เช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อให้พื้นผิวที่ลอกน้ำยาสะอาดให้มากที่สุดทิ้งให้แห้งสนิท 2-3 วัน





ขั้นตอนที่ ๕
นำสมุกกะลาบดละเอียดมา เทน้ำให้ท่วมคนให้เข้ากันทิ้งให้สมุกกะลาตกตะกอนน้ำจะใสเท น้ำออก นำมากรองด้วยผ้าแก้วหรือผ้าขาวบางบิดให้เกือบแห้งสนิท



ขั้นตอนที่ ๖

ผสมรักสมุกที่ใช้สำหรับทาโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 5 (กะลาเปียก 1 ส่วน รักน้ำเกลี้ยง 5 ส่วน นวดให้เข้ากันลักษณะเนื้อหาที่ได้จะเหลวใช้สำหรับทา)

 

 

ผสมรักสมุก 1 ต่อ 5


ขั้นตอนที่ ๗

ทารักสมุก 1 ต่อ 5 มาทาในส่วนที่เป็นลวดลายและในส่วนที่เป็นพื้นทั้งหมดเข้าตู้หรือห้องที่ มิดชิดนำน้ำใส่ถังวางไว้ ให้ห้องหรือตู้ทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ 1-2 สัปดาห์


ขั้นตอนที่ ๘
นำกระดาบทราย ชุบน้ำมาเช็ดลูบเบาๆในส่วนที่เป็นลวดลายและพื้นทั้งหมด



ขั้นตอนที่ ๙
เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดในส่วนที่เป็นลวดลายและพื้นให้ทั่วประมาณ2-3 รอบทิ้งให้แห้งสนิท

ขั้นตอนที่ ๑๐
นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาในส่วนที่เป็นลวดลาย

ขั้นตอนที่ ๑๑
ในส่วนของพื้นให้ผสมรักสมุกเพื่อใช้โป๊ว อุดอัตราส่วน 5 ต่อ 3 (สมุกกะลาเปียก 5 ส่วนรัก น้ำเกลี้ยง 3 ส่วน นวดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันลักษณะเนื้อที่ได้จะเหนียวเหมาะสำหรับโป๊วอุดผิว)

ขั้นตอนที่ ๑๒
นำรักสมุกโป๊วในส่วนที่เป็นพื้นทั้งหมดเพื่อให้พื้นที่ได้เรียบเนียนยิ่งขึ้นเข้าคู้บ่ม เพื่อทำให้ พื้นที่โป๊วรักสมุกแห้งสนิท



ขั้นตอนที่ ๑๓
นำกระดาษทราย ชุบน้ำหมาดขัดในส่วนที่เป็นลวดลายและในส่วนที่เป็นพื้นทั้งหมด

ขั้นตอนที่ ๑๔
ใช้ผ้าเก็บฝุ่นชุบน้ำหมาดเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วทั้งลวดลายและในส่วนพื้นทั้งหมดทิ้งให้แห้งสนิท

ขั้นตอนที่ ๑๕
นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองดีแล้วมาทาในส่วนที่เป็นลวดลายและพื้นรอบที่ 3 เข้าตู้บ่มเพื่อกันฝุ่นและทำให้ผิวแห้งสนิท

ขั้นตอนที่ ๑๖
นำกระดาบทราย ชุบน้ำหมาดขัดเบาๆในส่วนที่เป็นลวดลายทั้งหมด

ขั้นตอนที่ ๑๗
ใช้ผ้าชุบน้ำมาเช็ดทำความสะอาดประมาณ 2-3 รอบทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ 30 นาที

ขั้นตอนที่ ๑๘

นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาในส่วนที่เป็นลวดลายเพื่อปิดทองเข้าตู้หรือห้องเพื่อกันฝุ่นทิ้งให้เกือบแห้งสนิท

 



ทารักน้ำเกลี้ยงเพื่อปิดทอง


ขั้นตอนที่ ๑๙

นำทองคำเปลว 100% มาปูในส่วนที่เป็นลวดลายทั้งหมดใช้พู่กันแตะทองคำเปลวมายีลงบนลวดลายที่นิ้วกวด ไม่ถึงให้ทั่ว ปัดฝุ่นทองออกให้หมด

 


ปิดทองลายกรวยเชิงประดับฝ้าพาไล


ขั้นตอนที่ ๒๐
ประดับกระจก ด้วยกระจกสีขาว














-
จำนวนผู้เข้าชม 1,112 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel