ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง องค์พระพรหม


photo-การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง องค์พระพรหม
การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง องค์พระพรหม พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม

การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง องค์พระพรหม

-

การลงรักปิดทอง

ประณีตศิลป์

               ตามหนังสือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่ ธพส ๐๑/๐๑๕๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔  แจ้งว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการในที่ดินราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ราชการแห่งนี้ว่า “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ” ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประดิษฐานองค์พระพรหมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ มีสภาพชำรุต จึงขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมองค์พระพรหม และอธิบดีกรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่พิจารณาดำเนินการ

              โดย สำนักช่างสิบหมู่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากกลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อ และ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย เดินทางไปสำรวจตรวจสอบความชำรุดเสียหายของ องค์พระพรหม ปรากฏว่าองค์พระพรหม ทำจากวัสดุโลหะทองเหลืองปิดทองทั้งองค์ มีรอยแตกร้าว ทองที่ปิดไว้ชีดจางและหลุดลอก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา เห็นควรดำเนินการซ่อมแซมโดยการลอกสีและทองที่ปิดไว้ออก เชื่อมรอยแตกร้าวและแต่งผิวให้กลับสภาพดังเดิม ทำความสะอาดและปิดทองใหม่ทั้งองค์ และได้รับการประสานจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขอให้ดำเนินการปิดทององค์พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ( เพิ่มเติม )

07 มิถุนายน 2564 ถึง 18 สิงหาคม 2564

๑. ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าเวลาปฏิบัติงาน   ในเวลาที่ต้องทำการตรวจดูว่ารักที่ทาแห้งหรือไม่ ไม่สามารถตรวจสอบได้ทันที

๒. การทำงานรักกับชิ้นงานที่เป็นพื้นโลหะ จะแห้งช้ากว่าบนพื้นไม้หรือปูน เพราะพื้นโลหะไม่สามารถดูดซึมรักได้เหมือนพื้นไม้และพื้นปูน

๓. ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัดเพื่อที่จะควบคุมความชื้น และ มีฝุ่นละลอกที่น้อย


๑.     ไม่ควรปิดทองพระพุทธรูปหรืองานศิลปกรรมต่างๆกลางแจ้งเพราะจะทำให้งานนั้นไม่คงทนถาวรเท่าที่ควร
                  ๒.   ในการทำพื้นลงรักปิดทองด้วยกรรมวิธีแบบโบราณควรใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติไม่ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีสารสังเคราะห์ผสมเพราะอาจทำให้งานศิลปกรรมนั้นๆไม่คงทนถาวร

                  ๓.   วัสดุที่นำมาทำสมุกควรนำมาเผาก่อนทุกครั้ง ด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะเวลานำมาผสมกับรักน้ำเกลี้ยงมาทาหรือยาอุดจะได้เกิดความแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น สมุกะลาเผา ดินเผา อิฐเผา ไม่ควรใช้ดินสอพองที่ยังไม่เผา ถ้าจะใช้ควรนำมาเผาหรือคั่วก่อนจะได้เกิดความแข็งแรงและเกาะผิวได้ดียิ่งขึ้น

                  ๔.    เมื่อกรองรักน้ำเกลี้ยงเรียบร้อยแล้วควรนำแผ่นพลาสติกที่ใช้สำหรับห่ออาหารวางปิดผิวหน้าของยางรักโดยให้ขอบของแผ่นพลาสติกเลยขึ้นมาโดยรอบแล้วนำน้ำมาเทใส่บนพลาสติกพอประมาณโดยอย่าให้น้ำเข้าไปผสมกับยางรักโดยวิธีการนี้จะทำให้รักแห้งช้าลง

                  ๕.    การผสมรักสมุกทา ๑ ต่อ ๕ คือ สมุก ๑ ส่วนรักน้ำเกลี้ยง ๕ ส่วนนวดให้เข้ากันเนื้อที่ได้จะเหลวเพื่อให้ทาได้ง่ายกว่ารักสมุกที่ใช้ยาอุดทาจะมีส่วนผสมของรักน้ำเกลี้ยงมากสมุกน้อยแล้วแต่ช่างแต่ละคนจะหาวิธีทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น

                  ๖.      การผสมรักสมุกยาอุด ๕ ต่อ ๓ คือสมุก ๕ รักน้ำเกลี้ยง ๓ นวดให้เข้ากันจะได้เนื้อที่เหนียวข้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายว่ารักสมุกที่ใช้ยาอุดมีส่วนผสมสมุกมากรักน้อยแล้วแต่ช่างแต่ละคนจะหาวิธีทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น

 เป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ


ขั้นตอนการลงรักปิดทอง

ขั้นตอนการสำรวจก่อนเริ่มงาน

เพื่อตรวจสอบความเสียหาย




ขั้นตอนการลงรักปิดทอง

งานลงรักปิดทอง คือ การทายางรักบนพื้นผิวของศิลปวัตถุหลายครั้งให้ได้พื้นผิวที่อิ่มตัว  แล้วปิดทับด้วยทองคำเปลว ๑๐๐% จนทั่วทั้งพื้นผิว ทำให้ได้พื้นผิวทองสุกปลั่ง คล้ายทำด้วยทองคำจริงๆ

วัสดุที่ใช้ในการปิดทอง

          ยางรัก คือ ยางจากไม้ยืนต้น ตระกูล Anacardiaceae มักพบในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ชาวล้านนาเรียกว่า ฮักหรือ ฮักหลวงมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Melanorrhoea usitata นอกจากนี้ยังมีต้นรักในตระกูล Anacardiaceae ทั้ง ๓ ชนิดนี้มีเปลือกแข็งให้ปริมาณน้ำยางน้อย คุณภาพของน้ำยางต่ำกว่า ฮักหลวงและยังมีพิษที่รุนแรงกว่า ทำให้เกิดผื่นคัน มีอาการบวมเป็นแผลหนองมากน้อยตามที่ได้รับจากการสัมผัส

          รักสมุก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (ที่นิยมใช้จะเป็นผงถ่านกะลา ผงถ่านใบตอง ผงถ่านดินหรือผงชัน) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวจนเหนียวเหมาะแก่การโป๊ขัดแต่ง

          เทือกรัก คือ การนำเอายางรักมาผสมกับผงถ่าน (รักสมุก) ผสมเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวกันแต่มีความเหลวเหมาะแก่การทาเพื่อให้มีเนื้อรัก

 

 ขั้นตอนการลงรักปิดทอง

      ๑.    นำผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดล้างทำความสะอาด ทิ้งให้แห้ง จากนั้นนำแอลกอฮอล์ มาขัดล้างทำความสะอาดในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบในส่วนต่างๆของ องค์พระพรหม 




 

   ๒.   ทารักจีนในส่วนที่เป็นลวดลายและผิวเรียบในส่วนประกอบต่างๆขององค์พระพรหม พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ทิ้งให้แห้งสนิทประมาณหนึ่งสัปดาห์ 






ภาพสำเร็จหลังทารักจีน

     ๓.    นำรักจีนและรักน้ำเกลี้ยง มากรองด้วยผ้าซิ่นสกรีน จากนั้นผสมให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1 ทาใน ส่วนที่เป็นลวดลายทิ้งให้แห้งสนิทประมาณสองสัปดาห์



     ๔.    ผสมรักเทือก ( รักเหลว ) โดย ใช้รักน้ำเกลี้ยง 5 ส่วน สมุกกะละ 2 ส่วน ชันเล็กน้อย  ใช้ทาในส่วนที่มีผิวเรียบขององค์พระพรหม  เพื่อป้องกันการหลุดล่อนได้ง่าย  ทิ้งให้แห้งสนิทประมาณสองสัปดาห์    ( ในส่วนนี้พบปัญหา รักแห้งช้า เพราะไม่ได้ทารักจีนผสมรักไทย ในรอบที่ 2 ในส่วนที่เป็นผิวเรียบ ก่อนที่จะทารักเทือก ทำให้เนื้อรักที่รองพื้นมีปริมาณน้อยเกินไปทำให้รักเทือกแห้งช้า ฉะนั้นรอบ2 ควรทารักไทยจีนในอัตราส่วนเท่าๆกัน เพื่อที่จะเป็นพื้นทำให้รักเทือนที่จะทารอบต่อไปแห้งเร็วขึ้น)





        ๕.     นำรักน้ำเกลี้ยง มากรองกลางแดด เพื่อให้รักไหลเร็วยิ่งขึ้น  ก่อนนำมาทาลวดลายขององค์พระพรหมเป็นการทารักไทยรอบที่ ๑




๖. ทำการผสมรักไทย 2 ส่วน กะละ 3 – 5 ส่วน ชันเล็กน้อย ใช้สำหรับโป้ว จึงควรมีเนื้อเหนียวเหมาะกับการปาด ทิ้งให้แห้ง 1 สัปดาห์



จากนั้นน้ำผ้าเปียก และถังน้ำมาวางไวใกล้ชิ้นงาน เพื่อเพิ่มความชื้น ช่วยให้รักแห้งเร็วยิ่งขึ้น




๗. ทำการขัดเปิดหน้ารักสมุกที่โป้ว กระดาษทรายเบอร์ 320 มาขัด ด้วยน้ำบริเวณที่เป็นผิวเรียบ จะสังเกตเห็นได้ว่ามีเนื้อสมุกที่ยังแห้งไม่สนิทติดออกมาด้วย การขัดเปิดหน้าสมุกจะช่วยให้รักสมุกแห้งเร็วขึ้น 


๘. ทารักไทยทั่วทั้งองค์พระพรหม จากนั้นทิ้งให้แห้ง 2-3 วัน ทารักไทยซ้ำแบบนี้ 3-4 ครั้งจนกว่าผิวรักจะอิ่มเรียบตึง




ทำการขัดเก็บรายละเอียดอีกครั้ง



จากนั้นจึงทารักน้ำเกลี้ยงที่กรองแล้วเพื่อเตรียมปิดทองในวันถัดไป



๙. ทำการปิดทอง










ขั้นตอนการลงรักปิดทอง ลูกประคำ


1.       ทารักจีน ทิ้งไว้ให้แห้ง

                2.       ทารักไทย ทิ้งไว้ให้แห้ง ทำซ้ำแบบนี้ 2-3 ครั้ง

3.       จากนั้นจึงทารักน้ำเกลี้ยงเพื่อเตรียมปิดทองในวันถัดไป











-
จำนวนผู้เข้าชม 1,750 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel