ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒


photo-สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒
นิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”

สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

2953 x 2079 Pixels

Graphic Design (Illustrator)

ศิลปประยุกต์

สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร 
เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ
“เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” 


ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒
เทคนิค : สลักดุนโลหะ  ปิดทอง ลงยาสี  และประดับคริสตัล
กลุ่มงานช่างบุ และช่างศิราภรณ์  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร

ผลงานศิลปกรรมจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”
ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ 
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) 
 
ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช  ๒๕๖๒ 
     อักษรพระปรมาภิไธย วปร. (อยู่ตรงกลาง) พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง  อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร  ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร. อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์  ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ  กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม  อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช  ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล  อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแส้จามรีทอดไขว้อยู่เบื้องขวา  ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี  ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอนอยู่เบื้องล่าง  
     พระมหาพิชัยมงกุฎ  หมายถึง  ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดิน  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  
     พระแสงขรรค์ชัยศรี  หมายถึง  ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
     ธารพระกร  หมายถึง  ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
     พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี  หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
     ฉลองพระบาทเชิงงอน  หมายถึง  ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
     เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎ : ประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด  ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ
     เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธย : มีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทองขอบขลิบทอง  มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน  ประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร
     เบื้องซ้าย : มีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน  ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค  แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ  สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน

วีดิทัศน์ขั้นตอนการจัดสร้างตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒



รวบรวมข้อมูล บันทึกภาพและตัดต่อวีดิทัศน์โดย
นางสาวสุภัทรา  ทรัพย์สงเคราะห์  นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
สังกัด  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร


 

ไม่ระบุ ถึง ไม่ระบุ

-

-

สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร 
เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ 
“เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” 


-
จำนวนผู้เข้าชม 275 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel