ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์

สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์


photo-สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
นิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”

สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์

5333 x 3333 Pixels

Graphic Design (Illustrator)

ศิลปประยุกต์

สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน
  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร 
เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” 

ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน
เทคนิค : สีฝุ่นบนภาพพระบฎ   
ศิลปิน : นายวิริยะ  ชอบกตัญญู  
ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ
กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร
ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร

ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”
ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ 
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)

          การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน  

การถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ

          เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ซึ่งตามธรรมเนียมเก่านั้นพระมหาราชครูจะต้องประคองพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้นประทับ จากนั้นพระมหาราชครูพราหมณ์ร่ายเวทย์สรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาศ กราบบังคมทูลเฉลิมพระปรมาภิไธย กราบบังคมทูลถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศทั้งปวง ตลอดจนเป็นผู้รับพระบรมราชโองการเป็นปฐม 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

          เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เป็นเครื่องแสดงว่าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์แล้ว

          พระมหาพิชัยมงกุฎ : เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร สูง ๖๖ เซนติเมตร น้ำหนัก ๗๓๐๐ กรัม  สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในรัชกาลที่ ๑ ในครั้งนั้นยอดพระมหาพิชัยมงกุฎยังเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับเพชรเม็ดเล็ก ๆ  จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปเลือกสรรหาซื้อเพชรขนาดใหญ่มาจากประเทศอินเดีย  นำมาประดับยอดมงกุฎแทนพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานเพชรเม็ดนี้ว่า “พระมหาวิเชียรมณี” เพชรเม็ดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๖ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร
         
          พระแสงขรรค์ชัยศรี : เป็นพระขรรค์โบราณ เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองเขมร สมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐ มาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงไปทอดแหติดขึ้นมา  องค์พระขรรค์ยังดีไม่มีสนิมผุกร่อน ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง และ นครเสียมราฐ  จึงได้มอบให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม  เสร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘  พระแสงองค์นี้ เฉพาะองค์ยาว ๖๔.๕ ซ.ม. ที่สันตอนใกล้จะถึงด้ามคร่ำด้วยทองคำเป็นลวดลายงดงาม ด้ามพระขรรค์ ยาว ๒๕.๔ ซ.ม. สวมฝักแล้วยาว ๑๐๑ ซ.ม. หนัก ๑๙๐๐ กรัม
 
          ธารพระกร : เป็นไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นซ่อมสามง่าม  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอธิบายไว้ว่า  “ลักษณะก็เหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุที่สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล" ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์แต่รัชกาลที่ ๑

          พระวาลวิชนี : ของเดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม ที่ใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำ  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์  ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือกแทน เรียกว่าพระแส้ขนหางช้างเผือก แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้  จึงโปรดให้ใช้ควบคู่กัน โดยเรียกของสองสิ่งรวมกันว่า “วาลวิชนี ”

          ฉลองพระบาท : เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำยาราชาวดีฝังเพชร มีน้ำหนัก ๖๕๐ กรัม สร้างเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑  ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหาราชครูวามหามุนีเป็นผู้สวมถวาย

บรรณานุกรม
--------------------
กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.   
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  
     [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79
--------------------
 
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง
---------------------
---------------------

ไม่ระบุ ถึง ไม่ระบุ

-

-

สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน
  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร 
เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” 


-
จำนวนผู้เข้าชม 151 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel