ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • การบูรณะกลีบบัวทองคำหุ้มยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหารธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

การบูรณะกลีบบัวทองคำหุ้มยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหารธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช


photo-การบูรณะกลีบบัวทองคำหุ้มยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหารธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
-

การบูรณะกลีบบัวทองคำหุ้มยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหารธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

- แผ่นทองกลีบบัวมีขนาดโดยประมาณ กว้าง ๓๓ เซนติเมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๖๐ แผ่น - แผ่นทองคำหุ้มลูกแก้วมีขนาด กว้าง ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑๐.๕ เซนติเมตร - แผ่นทองคำหุ้มส่วนหลังคากลีบมะเฟือง กว้าง ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑๐.๕ เซนติเมตร

- เชื่อมประกอบแผ่นทองคำ - เคาะขึ้นรูปแผ่นทองคำตามขนาดกลีบบัว - ยึดประกอบด้วยตะปูเกียวเงินกะไหล่ทอง

ประณีตศิลป์

-          เป็นการซ่อมบูรณะกลีบบัวทองคำทดแทนกลีบบัวเดิมที่เป็นสาเหตุให้ยอดพระธาตุเกิดสนิม


ไม่ระบุ ถึง ไม่ระบุ

-

-

-

การจัดสร้างกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย มีจำนวน ๖๐ กลีบ
-         ขั้นตอนการเตรียมแผ่นทองคำ ใช้ผ้าเนื้อนิ่มหุ้มปลายไม้แล้วนำมากรวดบนแผ่นทองคำให้เรียบ


-          นำแผ่นทองคำที่กรวดผิวแล้ววางลงบนหุ่นต้นแบบเรซิ่นกลีบบัวใช้ไม้ที่หุ้มผ้ากรวดแผ่นทองคำให้เรียบลงตามต้นแบบและใช้ค้อนขึ้นรูปเคาะรีดแผ่นทองให้เข้ามุมลายตามต้นแบบ ทำเช่นนี้จนทั่วทั้งแผ่น



-           ผสมทองคำกับอัลลอยเพื่อทำเชื้อบัดกรี ในอัดตราส่วน ทองคำ ๗๐% ต่อ อัลลอย ๓๐% โดยหลอมส่วนผสมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันด้วยไฟเป่าแล่น



-          เมื่อหลอมทองเป็นแท่งแล้วนำมารีดให้เป็นเส้นบางๆด้วยเครื่องรีด




-          ขนาดกลีบบัวที่มีความกว้างน้อยกว่าแบบเป็นที่หลอมรีดมาต้องทำการเชื่อมแผ่นทองคำเพื่อให้ได้ขนาดความกว้างก่อนทำการขึ้นรูป (สำหรับกลีบบัวแผ่นใหญ่)



-          ตัดแผ่นทองคำให้เข้ารูปทั้ง ๖๐ กลีบบัว และเชื่อมประกอบแผ่นทองคำให้สวมเข้าพอดีกับกลีบบัว




-           ล้างทำความสะอาดกลีบบัวทองคำด้วยน้ำกรดกำมะถันเจือจางแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด


การทำลูกแก้วรัดกลีบบัว

-   นำแผ่นทองคำเผาไฟหัวฟู่เพื่อให้ทองอ่อนตัวลงแล้วนำไปเคาะขึ้นรูปตามหุ่นต้นแบบเรซิ่น ให้ผิวทองเรียบตึง เชื่อมต่อแผ่นทองคำให้ความยาวพอดีกับต้นแบบ แล้วใช้ค้อนเคาะให้ผิวทองช่วงรอยต่อเรียบเสมอกัน




-          ตัดเศษแผ่นทองเพื่อเสริมความกว้างของแผ่นทองให้พอดีกับแบบ เมื่อเชื่อมต่อและเคาะแต่งผิวทองเรียบร้อยแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำกรดกำมะถันเจือจางแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด




ทองหุ้มลูกแก้วรัดกลีบบัวที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว


การจัดสร้างหลังคากลีบมะเฟืองความยาวล้อมรอบส่วนปลียอด

-   เมื่อมีการใช้แผ่นทองคำที่รีดมาใช้งานครบทุกแผ่นแล้วทางคณะช่างต้องนำเศษทองคำมาหลอมให้เป็นแท่งเพื่อทำการรีดแผ่นทองคำเพิ่มในส่วนที่ขาดและยังขึ้นรูปไม่เสร็จ




-           นำทองคำแท่งมารีดเป็นแผ่นทองตามขนาดที่ต้องการจะบุหุ้มส่วนของหลังคากลีบมะเฟือง



-          เมื่อได้แผ่นทองคำตามขนาดที่กำหนดแล้วติดแบบหลังคากลีบมะเฟืองเพื่อนำไปตัดตามแบบ



-          นำแผ่นทองคำมาขึ้นรูปตามหุ่นหลังคากลีบมะเฟืองเรซิ่นที่เตรียมไว้ กรวดให้แผ่นทองคำเรียบตึงตามหุ่น



-          เชื่อมประกอบแผ่นหลังคากลีบมะเฟืองและกรวดรอยเชื่อมต่อให้เรียบร้อย



 

-           ทำความสะอาดหลังคากลีบมะเฟืองด้วยการล้างน้ำกรดกำมะถันเจือจางและล้างออกด้วยน้ำสะอาด


ขั้นตอนการทำตะปูเกียวเงินกะไหล่ทอง

-          รีดแผ่นทองคำให้บางมี่สุดจากนั้นตัดแผ่นทองเป็นเส้นละเอียดแล้วนำไปผสมกับปรอทเพื่อทำเปียกทอง




-          ผสมปรอทเข้ากับทองด้วยการตุ๋นให้ทองและปรอทรวมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นกรองเอาเฉพาะทองที่ผสมกับปรอทเรียบร้อยแล้วเรียกว่าเปียกทอง ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด จากนั้นใส่ลงในเครื่องบดทอง




บดเปียกทองด้วยเครื่องเป็นเวลา ๑๕ วัน

-          ทำความสะอาดตะปูเกียวเงินและเช็ดให้แห้งสนิท   

-          ใช้เหล็กหมาดปลายแหลมและปลายแบนในการทาเปียกทอง ส่วนหัวตะปู

-          นำตะปูที่ทาเปียกทองแล้วมาเผาไล่ปรอทออกจากเปียกทอง เมื่อเย็นแล้วกรวดด้วยเหล็กปลายแหลมให้ทองติดแน่นกับหัวตะปู


ตะปูเกียวเงินกะไหล่ทองที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว


การติดตั้งกลีบบัวคว่ำ กลีบบัวหงาย ลูกแก้วและหลังคากลีบมะเฟืองทองคำ

-          เตรียมอุปกรณ์ และกลีบบัวพร้อมหุ่นต้นแบบเพื่อป้องกันไม่ให้กลีบบัวทองคำเกิดความเสียหาย ใส่ถุงผ้าใบที่มีความหนาพอที่จะรับน้ำหนักได้



-          ใช้รอกในการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งขึ้นสู่ยอดพระธาตุ


-          การใช้รอกในการส่งอุปกรณ์


-          ใช้ตะปูเกียวในการยึดกลีบบัวทองคำให้ติดกับยอดขององค์พระธาตุส่วนกลีบบัว


-          ใช้เข็มขัดยึดระหว่างกลีบบัวคว่ำ กลีบบัวหงาย และลูกแก้วเข้าด้วยกันเพื่อความแข็งแรง


-          ติดตั้งหลังคากลีบมะเฟือง โดยใช้ตะปูเงินกะไหล่ทองคำติดยึด



-
จำนวนผู้เข้าชม 686 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel