ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

  • หน้าแรก
  • ผลงาน
  • ปิดทองเตากูณฑ์ ภายในเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์)

ปิดทองเตากูณฑ์ ภายในเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์)


photo-ปิดทองเตากูณฑ์ ภายในเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์)
-

ปิดทองเตากูณฑ์ ภายในเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์)

-

ลงรักปิดทอง

ประณีตศิลป์

          ด้วยกรมศิลปากรได้รับหนังสือ ขอความอนุเคราะห์จากเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์ ) เนื่องด้วยการเตรียมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะต้องมีพิธีพราหมณ์ คือพิธีบูชาไฟ ซึ่งจะต้องใช้เตากูณฑ์ใน การประกอบพิธีฯ จึงขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ที่เคยดูแลซ่อมแซมนพศูลมฑปพระศิวลิงค์ มาช่วยซ่อมผิวเตา กูณฑ์ และขอให้ตรวจสอบเตาเพื่อเก็บความรู้เกี่ยวกับโลหะ และซ่อมสีผิวเตากูณฑ์ และปิดทองเส้นขอบเตากูณฑ์   ณ   เทวสถาน   สำหรับพระนคร
( โบสถ์พราหมณ์ )   
 
 
ประวัติความเป็นมา

       พิธีโหมกูณฑ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
พิธีโหมกูณฑ์ ทำในการพระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินทร์ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช (ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ งดการปฏิบัติในพระราชจองเปรียงไป) ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ลงมาจึงทำแต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช หรือในปัจจุบันนี้ เมื่อมีสมโภชในในการเฉลิมพระชนมพรรษาที่สำคัญ และมีการถวายใบสมิทธิทรงปัดพระองค์ ก็ต้องมีโหมกูณฑ์เผาใบสมิทธนี้ด้วย

        ในต้นกรุงปลูกโรงพิธีที่ลานหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างโรงพิธีเป็นฝาก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องเคลือบขาวมีช่อฟ้าใบระกา พระราชทานชื่อ "หอเวทวิทยาคม" ในรัชกาลที่ ๕ ย้ายมาจากหน้าพระที่นั่งดุสิตฯ มาปลูกอยู่ที่มุมโรงกษาปณ์เก่า ( ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีฯ ในปัจจุบันนี้ )

         โรงพระราชพิธีมีคร่าวไม้ติดเสาถึงกันทุกเสา ตามตำราพราหมณ์เรียกว่า "พรหมโองการ" แล้วจึงพาดผ้าโตรทวาร ในโรงพระราชพิธีตั้งเตียง ๓ เตียง ลดเป็นลำดับลงมาอย่างตั้งเทวรูปของพราหมณ์ ๑.ชั้นบนสุด ตั้งพรอิศวร พระนารายณ์ พระมหาพิฆเณศวร พระอิศวรทรงโค และพระอุมา ๒.ชั้นกลาง ตั้งเทวรูปนพเคราะห์ ๓.ชั้นล่าง ตั้งเบญจคัพย์ กลศ สังข์

          เตาสำหรับโหมกูณฑ์นี้ เป็นเตาทองแดง เป็นของอยู่ในพระคลังในซ้าย
                (ในรูปคือที่เป็นสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นทางขวามือ)
 
                ธรรมเนียมการโหมกูณฑ์ คือ การทำน้ำมนต์ในหม้อข้าว ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย (ขอพราหมณ์อินเดีย คือ หม้อทองเหลืองที่ใช้หุงข้าวและตักน้ำในเดือนสาม / ของพระสงฆ์ คือ บาตร)

               หม้อกุมภ์ (ด้านซ้ายภาพ) คือหม้อดินสำหรับหุงข้าวธรรมดา ๙ ใบ ตั้งกลางใบหนึ่ง ล้อมรอบด้วยอีก ๘ ใบ ในหม้อกุมภ์มีเงินเฟื้องทุกหม้อ หม้อกุมภ์ทั้ง ๙ นี้ เมื่อเสร็จพิธี จะเก็บน้ำมนต์ในหม้อกลางไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันทรงเครื่องใหญ่และใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ อีก ๘ หม้อจะแจกกันไปตามเจ้ากรม/ปลัดกรม ไว้สำหรับถวายสรงเจ้านายหรือรดน้ำในพิธีต่างๆ

               สิ่งสำคัญคือ "ใบสมิทธิ" หรือ "ใบสมมิทธิ" เป็นช่อใบไม้มัดรวม (ในพานทางขวาของเทวรูป) เดิมประกอบด้วย ใบรัก ใบมะม่วง ใบตะขบ ใบยอ ใบขนุน ใบมะเดื่อ ใบเงิน ใบทอง ใบเฉียงพร้านางแอ ใบมะผู้ ใบระงับ ใบพันงู อย่างละ ๕๐ ใบ พร้อมด้วยมะกรูด ๑๕ ผล ส้มป่อย ๑๕ ฝัก 

               ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ใช้เพียงสามอย่างคือ ๑.ใบตะขบ ๙๖ ใบ แทน ฉันวุติโรค ๙๖ ๒.ใบทอง ๓๒ ใบ แทน เทวดึงสกรรมกรณ ๓๒ ๓.ใบมะม่วง ๒๕ ใบ แทน ปัญจสมหาภัย ๒๕ ประการ
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พราหมณ์จะถวายใบสมิทธิเพื่อทรงปัดพระองค์ในเวลาหลังพระสงฆ์สวดมนต์เย็น แล้วจึงนำกลับมาทำพิธีโหมกูณฑ์ในโรงพิธี

              การเผาใบสมิทธิหรือการโหมกูณฑ์นี้ จะใช้ฟืนที่ทำจากไม้พุทรายาวดุ้นละ ๙ นิ้ว มัดละ ๙ ดุ้น วันละ ๒๐ มัด ซึ่งในเตากูณฑ์นั้นจะมีดินและมูลโครองอยู่ข้างใน เมื่อพราหมณ์อ่านเวทติดเพลิง จะเอาใบสมิทธินั้นชุบน้ำผึ้งรวงและน้ำมันดิบเผาลงในเตากูณฑ์ เมื่อเผาเสร็จแล้วจะยังไม่ดับไฟในเตากูณฑ์

              ในเตากูณฑ์นอกจากดินและมูลโคแล้วยังมีเต่าทอง ทำด้วยทองคำหนักสองสลึงเฟื้อง ซึ่งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พราหมณ์ผู้ทำพิธี (พร้อมของหลวงที่พระราชทานมาเพื่อประกอบพิธี เช่น ผ้าขาว หม้อข้าว หม้อน้ำมนต์ ข้าวสาร ข้าวเปลือก มะพร้าว นม เนย รวมทั้งเงินพระราชทาน)

            จนเมื่อการพระราชพิธีทั้งหมดเสร็จสิ้นลง พราหมณ์จึงจะดับกองกูณฑ์ด้วยการอ่านเวทดับกูณฑ์ด้วยน้ำสังข์
 
            ข้อมูลดีๆและประวัติ จาก  เทวสถาน สำหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์ )
 

15 พฤศจิกายน 2560 ถึง 29 ธันวาคม 2560

-

-

-

ขั้นตอนที่๑ การจัดเตรียมอุปกรณ์
- รักน้ำเกลี้ยง     
- ผงดินเผาบดละเอียด     
- ดินสอพองป่นละเอียด       
- เกรียงสำหรับผสมสมุก
- แผ่นพลาสติกใส ผสม สมุก        
- น้ำมันสน    
- ถังใส่รัก    
- ผ้ากรองรัก
- แผ่นทองคำเปลว
- กระดาษทรายน้ำอย่างละเอียด  
- น้ำยาลอกสี   
- แปรงลวด       
- ผงซักฟอก     
- แปรงขนแข็ง



 

                          รักน้ำเกลี้ยง    

                        - ผงดินเผาบดละเอียด        

                         -ดินสอพองป่นละเอียด      

                         -เกรียงสำหรับผสมสมุก

                         -แผ่นพลาสติกใส ผสม สมุก        


ขั้นตอนที่ ๒
         การเตรียมพื้น งาน ลำดับแรก ตัวงานเป็นโลหะ มีการปิดทองของเก่าไว้ จึงต้องทำการ ล้างรอก ด้วยน้ำยา ลอกสี ให้ออก ทีละชั้น โดยใช้แปรงลวด ทองเหลือง ขนแข็ง ในการแปลง หรือ ตะกุย สีของเดิมออก เพื่อจะทำการ ทำพื้นผิว รักปิดทอง เข้าไปใหม่ ตากทิ้งไว้แห้ง



ใช้น้ำยาลอกสีทาลงไปที่ตัวงานที่จะทำการลอก

ทิ้งไว้ประมาณ15นาทีเพื่อให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับชิ้นงาน




ใช้แปลงลวดทองเหลืองขัดออก




ล้างทำความสะอาดด้วยผงซักฟอก
                                                           -ล้างด้วยน้ำเปล่า                                                              
-ทิ้งตากแดดให้แห้ง



ขั้นตอนที่ ๓
           นำไปรมดำ พื้นผิว เพื่อไม่ให้เกิดสนิม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของ ช่างโลหะ ซึ่ง ทางผู้ประเมิน ได้ทำงานร่วมกับ ช่างเทคนิคของช่างโลหะในการสำรวจ เนื้อของโลหะ และ รักษาพื้นผิวของโลหะ ในงาน


ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นตอนการทำพื้นปิดทอง
              การทำพื้นชั้นที่ 1 เป็นพื้นของ รักสมุก ในครั้งนี้ เราจะผสมรักสมุก แบบอ่อน ก็คือ ไม่ใส่ดินหยาบลงไป มีแค่ ดินสอพอง ชัน รักน้ำเกลี้ยง ผสมให้เข้ากัน แล้วทาลง บนชั้นฐาน ที่จะปิดทอง ให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง ในครั้งนี้ เราจะทำพื้นสมุกแบบอ่อน เพียงครั้งเดียว เนื่องจาก งานอยู่ในที่ร่ม ไม่ตากแดดตากฝน และตัวงาน ที่ปิดทอง ยังมีลวดลาย ถ้าลงสมุกซ้ำถึง 3 ครั้ง จะทำให้ไปปิดร่องลายหรือตัวลาย ทำให้ตัวลาย ไม่สวยงาม จึงลงสมุก แค่ชั้นเดียว เพื่อให้สมุกนั้น เป็นตัวกั้น ระหว่าง พื้นผิวโลหะ กับทอง หรืออีกในหนึ่ง สมุกแบบอ่อน

  จะช่วยเก็บ และ รักษา น้ำมัน ที่อยู่ใน รักน้ำเกลี้ยง นั่นเอง




รักสมุก





ขั้นตอนการทารักสมุก



ขั้นตอนที่ ๕
ขั้นตอนการทารักน้ำเกลี้ยง สำรวจดู รักสมุก โดยการใช้หลังมือแตะดูว่ารักสมุกแห้งสนิท จึงลงมือ

-ทารักน้ำเกลี้ยงชั้นที่ 1 แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน

- ทารักน้ำเกลี้ยง ชั้นที่ 2 ให้สำรวจดู ว่ารักน้ำเกลี้ยงชั้นที่ 1 แห้งสนิทดีหรือยัง โดยการนำหลังมือ ไปแตะดูที่ผิวงานที่เราทาไว้ ถ้ารักแห้งสนิทดีจะไม่ติดหลังมือมาก็จึงทาซ้ำชั้นที่ 2 ทิ้งไว้ให้แห้ง ประมาณ 2-3 วัน

-ทารักน้ำเกลี้ยงครั้งที่ 3 ก่อนทา ให้ใช้หลังมือ แตะไปที่ชิ้นงานที่ทาไว้แล้วดูว่า รักที่ทารอบ 2 ไม่ติดหลังมือมา ก็เป็นอันว่าทาครั้งที่ 3 ได้เลย ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน- เพื่อให้แน่ใจว่า รักแต่ละชั้น แห้งสนิทดี ดีแล้ว








รักน้ำเกลี้ยง

ขั้นตอนที่ ๖ ขั้นตอนของการปิดทอง
         ให้สำรวจดูชิ้นงาน ว่า แห้งสนิท และมีพื้นผิวเป็นมันเงางามๆ เป็นที่พอใจ ของผู้ทำแล้ว ให้ทารักน้ำเกลี้ยง ชั้นสุดท้าย เพื่อรอการปิดทอง รักน้ำเกลี้ยงชั้นสุดท้ายนี้ ถ้าทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน แล้วจึงทำการปิดทองในวันรุ่งขึ้นได้ ในการปิดทองนั้น ปิดตั้งแต่ ฐานล่างสุด โดยรอบ แล้วค่อยไล่ขึ้นไป เตียงชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 ของตัวลาย เมื่อปิดเสร็จ ให้ใช้สำลี กรวดไปที่ ตัวงาน เบาๆ เพื่อทำให้ทอง แน่น และเศษทองจะลงไปอยู่ในร่องตัวลาย และเป็นการสำรวจดูว่าทองติดแน่นดีหรือไม่



สำรวจชิ้นงานก่อนทำการปิดโดยใช้หลังมือแตะเบา  ว่ารักแห้งหรือยัง  ถ้าไม่ติดหลังมือเป็นอันใช้ได้

ขั้นตอนการปิดทอง



ให้ปิดฐานล่างก่อนเป็นอันดับแรก  แล้วไล่ขึ้นไป







ชั้นที่สอง และ ชั้นที่สามตามลำดับ





งานปิดทองเตากูณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์



-
จำนวนผู้เข้าชม 812 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel