ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ภาพช่างไทย: นาย สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
นาย สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
ยังปฏิบัติงานราชการ
นายช่างประณีตศิลป์
กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์

ลำดับ ปีที่ได้รับ ชื่อรางวัล
1 2526 ทุนรางวัลนริศรานุวัติวงศ์ (ทุนการศึกษาและรางวัลการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น)
2 2523 รางวัลชนะเลิศการประดิษฐ์หัวโขนขนาดเล็ก

ลำดับ ปีที่ได้รับ รายละเอียดผลงาน
1 2528 เขียนฉากบังเพลิงด้านทิศใต้ ออกแบบ และควบคุมการเขียนแผงหลังของฉากทุกด้าน งานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
2 2528 ออกแบบพัดรองที่ระลึกเนื่องในโอกาสงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ  เช่น
  • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมศิลปากร
  • งานพระราชพิธีการพระราชกุศลราชคฤหมงคล  เฉลิมพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร  พระราชวังบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ออกแบบพัดรองและย่ามให้แก่พระอารามหลวงต่าง ๆ
3 2529 เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเจ้าสิบชาติ  มารผจญ  เทพชุมนุม  ที่พระอุโบสถวัดชินวรารามวรวิหาร  จังหวัดปทุมธานี
4 2539 เขียนหน้าโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙  ในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก  ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนารถบพิตร  ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
5 2539 เขียนหน้าโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙  ในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก  ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนารถบพิตร  ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
6 2546 อาจารย์สอนการเขียนลายไทย ให้แก่นักเรียนของโรงฝึกอาชีพสวนจิตรลดา (ปัจจุบันได้ยกสถานะเป็นสถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา)
  • พระที่นั่งพุดตานคร่ำทอง
  • พระที่นั่งกงคร่ำทอง (วานเรศบวรอาศน์)
  • เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
7 2546 เป็นผู้ควบคุมดูแลการจัดผลงานประณีตศิลป์ ในการแสดงงานนิทรรศการ "ศิลป์แผ่นดิน" ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
8 2547 แบบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนารถ  ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ  ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗


ความหมายตราสัญลักษณ์ : 
 พระสัปตปฎลเศวตฉัตร หมายถึง ฉัตรผ้าขาว ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีระบายขลิบทอง เป็นเครื่องหมายแสดงพระอิสริยยศสำหรับ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบวรราชเจ้าสมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ในแบบตราสัญลักษณ์นี้เชิญประดับไว้ซ้ายขวาของดวงตรา ซึ่งในอดีตเมื่อครั้งพระราชพิธีรมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ นั้น ตราสัญลักษณ์มีพระสัปตปฎลเศวตฉัตร กางกั้นเหนืออักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ก.หลังพระมหามงกุฎ และมีฉัตร ๕ ชั้น ประกอบไว้ซ้ายและขวาของดวงตรา แต่เนื่องจากตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้ ไม่มีพระสัปตปฎลเศวตฉัตรเหนืออักษรย่อพระนามาภิไธย ส.ก. จึงเชิญฉัตร ๗ ชั้น ประดับไว้สองข้างอักษรย่อพระนามาภิไธย ส.ก. เพื่อแสดงถึงพระอิสริยยศ ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
9 2549 แบบตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี  พุทธศักราช ๒๕๔๙


ความหมายตราสัญลักษณ์ : ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.สีเหลืองนวลทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทองอันเป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้อมด้วยเพชรอันเป็นเอกแห่งรัตนะแทนแก้ว 7 ประการที่มาสู่พระบารมี ได้แก่ จักรแก้ว พญาช้างแก้ว พญาม้าแก้ว แก้วมณีโชติ นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และ ขุนพลแก้ว แวดล้อมประดับพระเกียรติยศ และที่เหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะทั้งปวง คือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเป็นเพชรอันล้ำค่ายิ่งสถิตย์ในดวงใจราษฎร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุขเป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกรต่างเชื้อชาติศาสนาในพระราชอาณาจักรของพระองค์
 
 
อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. นี้ประดิษฐานบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎประกอบพระอุณาโลมแวดล้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรีและพระแส้หางช้างเผือก ทอดสอดอยู่ในกงพระที่นั่งภัทรบิฐ เบื้องซ้ายแห่งพระมหาพิชัยมงกุฎมีธารพระกรและพัชนีฝักมะขามทอดสอดอยู่เบื้องขวาแห่งกงพระที่นั่งภัทรบิฐอันประดิษฐานบนฐานเขียงซึ่งทอดฉลองพระบาทประดิษฐานอยู่ เหล่านี้รวมเรียกว่าเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ สิ่งอันแสดงความเป็นกษัตริย์ทั้ง 5 ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ 1 พระแสงขรรค์ชัยศรี 1 ธารพระกร 1 พัดวาลวิชนีและพระแส้ 1 และฉลองพระบาท 1
 
 
ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทองเขียนอักษรสีทอง ความว่า ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีพุทธศักราช 2549 ปลายแห่งแพรแถบด้านขวาผูกเป็นภาพกระบี่ธุช คือวานรกายขาวเชิญก้านลายซุ้มอันเป็นกรอบลายของตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านซ้ายปลายแพรแถบผูกเป็นภาพครุฑพ่าห์ เป็นครุฑหน้าขาวกาย
สีเสนปนทอง สัญลักษณ์แห่งสมมติเทวราช ประคองกรอบแห่งตราสัญลักษณ์
 
พื้นภาพตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติทั้งหมดสีเขียวปนทอง อันหมายถึงสีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพและความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แห่งผืนแผ่นดินไทยที่ทรงปกครองทำนุบำรุงให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นับเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์องค์ใดในสยามประเทศและในสากลโลก
 
10 2550 เขียนแบบและจัดสร้างหนังใหญ่  โครงการอนุรักษ์หนังใหญ่รัชกาลที่ ๒ พระนครไหว  ชุดศึกสัทธาสูร – วิรุญจำบัง
11 2555 แบบตราสัญลักษณ์สถาบันสิริกิติ์

12 2558 แบบตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
13 2559 แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี  พุทธศักราช ๒๕๕๙
14 2560 สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมในการจัดสร้างพระเมรุมาศ และสิ่งประกอบพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนารถบพิตร
  • ออกแบบพระโกศจันทน์  ฐานพระโกศจันทน์ 
  • ออกแบบพระโกศทองคำลงยาบรรจุพระอัฐิ 
  • ออกแบบผ้าม่านประดับพระเมรุมาศ 
  • ออกแบบลายฐานเทวดา  และฐานฉัตรเป็นลายฉลุผ้าทองย่นสำหรับประดับเสาพระเมรุมาศ  ประดับเสาช่าง  ประดับเสาหอเปลื้อง  และประดับเสาฉากบังเพลิง 
  • ออกแบบยอดพระจิตกาธานเป้นหน้าพรหมพักตร์ 
  • ออกแบบช่อไม้จันทน์ 
  • ออกแบบการ์ดเชิญงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ 
  • ออกแบบวิมานทองคำที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 
  • ควบคุมออกแบบปกหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ๒ เล่ม

     

     

          

          

 

15 2560 กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านศิลปกรรมบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

การบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ (ตอนที่ ๑)

 


การบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ (ตอนที่ ๒)



การบรรยายความรู้
ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
เรื่อง "พุ่มเข้าบิณฑ์ ตอนที่ ๑" 


 

การบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
เรื่อง "ลายกระจัง"




การบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
เรื่อง "ลายกระจังปฏิญาณ"



การบรรยายความรู้ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม
เรื่อง "พุ่มเข้าบิณฑ์ ตอนที่ ๒" 

16 2560
ศิลปิน ศิลปากร : สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร ผู้สืบทอดวิถีแห่งช่างศิลป์ไทย
นิตยสารศิลปากรปีที่ ๖๐ ฉบับที่ ๖ (พ.ย.- ธ.ค. ๖๐)

กดเพื่ออ่าน : นิตยสารศิลปากรปีที่ ๖๐ ฉบับที่ ๖ (พ.ย. - ธ.ค. ๖๐)

ลำดับ ปี ชื่อชิ้นงาน โครงการ
1 2562 108 ปี กรมศิลปากร
2 2564 ศึกษาดูงาน วัดสุทัศนเทพวราราม ตอนที่ ๑ โครงการกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านศิลปกรรม บุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
3 2565 ศึกษาดูงาน วัดสุทัศนเทพวราราม ตอนที่ ๒ โครงการกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านศิลปกรรม บุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
4 2566 พวงมาลาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

จำนวนผู้เข้าชม 866 คน
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368