ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

องค์ความรู้

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - การฉลุลายซ้อนโฟม

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป      

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (งานปิดทอง งานประดับกระจก)กรณีศึกษา งานซ่อมตะลุ่มประดับกระจกบางของวัดชนะสงคราม

การจัดทำเอกสารองค์ความรู้เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ทางด้านศิลปกรรมประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ ด้านการซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้านงานปิดทองงานประดับกระจก ในงานซ่อมตะลุ่มประดับกระจกบางของวัดชนะสงคราม โดยจะมีการบรรยายถึงกรรมวิธีการทำกระจกบางเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนกระจกเดิมที่ชำรุดเสียหาย การตัดกระจก และการประดับกระจก สืบเนืองมาจากทางวัดชนะสงครามได้ขอความอนุเคราะห์จากสำนักช่างสิบหมู่ช่วยเหลือบูรณซ่อมแซมตะลุ่มประดับกระจกที่ชำรุดเสียหายจำนวน ๒ ใบ ด้วยเห็นว่าทางกลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย กลุ่มประณีตศิลป์ กรมศิลปากร มีความชำนาญทางด้านงานประณีตศิลป์ จึงได้ขอความอนุเคราะห์ให้ซ่อมแซมตะลุ่มเพื่อให้กลับคงสภาพสมบูรณ์รักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป ทางกลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและสนะไทยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจให้ซ่อมบูรณะตะลุ่มประดับกระจก ทั้ง ๒ ใบนี้ บัดนี้ได้ทำการซ่อมแซมตะลุ่มประดับกระจกบางเสร็จสมบูรณ์ และได้ทำการส่งมอบกลับคืนให้ทางวัดชนะสงครามเป็นที่เรียนร้อยแล้ว ด้วยทางกลุ่มงานช่างปิดทองเล็งเห็นว่าในการซ่อมแซมตะลุ่มประดับกระจกบางในครั้งนี้มีเทคนิคพิเศษหลายอย่างที่น่าสนใจควรแก่การจดบันทึก จึงได้จัดทำเอกสารองค์ความรู้นี้ขึ้น เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้ชนรุ่นหลังต่อไป

ความรู้ทั่วไป

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ขั้นตอนการออกแบบ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ออกแบบโดย นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์  จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์             สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน  ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้น  เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           "การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล ๙๐ พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ  ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย" นายเกียรติศักดิ์ กล่าว

วิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง อมร ศรีพจนารถ

                 เอกสารว่าด้วยวิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑปนี้เป็นเอกสารประกอบการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์อมร ศรีพจนารถ นายช่างศิลปกรรม ระดับ ๙ ของกรมศิลปากรขณะที่ท่านยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะไทยอยู่ ณ โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพฯ (วิทยาลัยช่างศิลป์ในปัจจุบัน) และเมื่อท่านย้ายมาบรรจุเป็นข้าราชการในกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ได้นำความรู้เรื่องศิลปะไทยหลายสาขาที่ท่านเคยสอนมาเผยแพร่แก่ข้าราชการใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงานในกองหัตถศิลป ซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์งานด้านนี้ให้เกิดความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติจนสามารถเป็นนายช่างด้านศิลปะไทยที่ดีมีความสามารถต่อไป การมีโอกาสได้ศึกษาความรู้จากท่านอาจารย์จึงเห็นว่าเอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท่านเคยแนะนำสั่งสอนไว้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษา                 เอกสารวิธีร่างยอดบุษบกหรือมณฑปได้อธิบายการเขียนไว้เป็นหลักพอประมาณแต่ขนาดและสัดส่วนต่าง ๆ ของยอดบุษบกหรือมณฑปในแต่ละอาคาร สามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับขนาด การใช้สอย และพื้นที่ตั้งของอาคาร ผู้ศึกษาจะต้องฝึกเขียน เพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศึกษารูปแบบอาคารลักษณะนี้เพิ่มขึ้นซึ่งจะได้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างยิ่ง

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel