ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ ๓ เล่ม
ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ  ๓ เล่ม   ครั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรให้ช่วยดำเนินการลงรักปิดทองสมุดไทยที่ปกด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของเล่มทั้ง ๔ ด้าน ตลอดจนการจัดทำปกติดตราพระครุฑพ่าห์ จำนวน ๓ เล่ม เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย     - หนังสือรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมด ๓ เล่ม ปกด้านหน้า - ด้านหลัง  - ตราพระครุฑพ่าห์ มีทั้งหมดจำนวน ๓ ตรา ชนิดทองคำจำนวน ๑ ตรา และชนิดเงินกะไหล่ทองจำนวน ๒ ตรา ทั้ง ๓ ตรา จัดทำโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์                   รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครอง และรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้                 ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๖๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม กุกกุฏสมพัตสร จิตรมาส ชุณหปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล เมษายนมาส ฉัฏฐสุรทิน ครุวาร โดยกาลบริเฉท            สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลว่า นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้ดำรงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือ ราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีผู้ไม่นำพาหรือไม่นับถือยำเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอำนาจ หรือขาดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจำต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้ความสำคัญแก่รูปแบบ และวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๑)          นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ                             จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๓)                   ครุฑ ถือกันว่าเป็นสัตว์สำคัญ มีฤทธานุภาพมาก เพราะตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อทรงปราบทุกข์เข็น ครุฑซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ จึงได้รับการยกย่องนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น แกะสลักตามจินตนาการของช่าง ดังจะพบภาพครุฑประดับตามวัดวาอาราม สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง ฯลฯ รวมทั้งธงที่สำคัญ เช่น ธงมหาไชยธวัช ธงมหาราช อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ หนังสือสำคัญของทางราชการ ดวงตราพระราชลัญจกร ล้วนแต่ทำเป็นตรารูปครุฑติดไว้ เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพนั่นเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๓๙)                ครุฑพ่าห์ เครื่องหมายรูปครุฑมีลักษณะเป็นรูปครุฑตัวเดียว มือกางอยู่ในท่ารำแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร เป็นแบบที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นตราประทับกำกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือสำคัญทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังใช้กับสิ่งอื่น เช่น ธงพระครุฑพ่าห์ คือธงที่มีรูปครุฑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๔๐)  
สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Mediaแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สมุดข่อย : ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒ เทคนิค : สีฝุ่นบนสมุดข่อย    ศิลปิน : นายวิสูตร  ศรีนุกูล ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๒๐ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อยชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  กองทัพเรือเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก ออกจากอู่หมายเลข ๑ อู่ทหารเรือ ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ไปจอดเทียบท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพื่อเป็นการถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี           หากจะกล่าวถึง เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  ได้มีการสันนิษฐานว่าบุษบกของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นคราวเดียวกับการสร้างเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔   และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกอันเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘           จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการฟื้นฟูและสืบสานพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างยิ่ง  ทรงมีราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติให้ดำรงอยู่  เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศและประชาชนชาวไทย  พร้อมทั้งยังช่วยบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจแก่คนไทย  ที่สำคัญเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลก           ซึ่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกได้ถูกใช้ในวาระสำคัญต่าง ๆ กระทั่งหลังจากปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงว่างเว้นจากการใช้งานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  แต่ได้เชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญาเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในโอกาสมหามงคลวาระต่าง ๆ เรื่อยมาจนตลอดรัชกาล  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสืบสาน  รักษา  และต่อยอดโบราณราชประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระราชยานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก เทียบท่าราชวรดิฐ  อ้างอิง        กระทรวงวัฒนธรรม, ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, (นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒.      ณัฏฐภัทร  จันทวิช, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่องในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล  เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐.      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงวัฒนธรรม, นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒. ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อย  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------  

องค์ความรู้

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ ด้านงานช่างประดับมุก

     งานช่างประดับมุก เป็นการปฏิบัติงานช่างประณีตศิลป์แขนงหนึ่งที่นำเปลือกหอยที่มีแสงสีแวววาว บางชนิดมาใช้ประดับเครื่องใช้ และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นงานช่างที่ต้องใช้ฝีมือและความละเอียดอ่อนใน การปฏิบัติงานอย่างมากเพื่อประดับตกแต่งพื้นผิวของชิ้นงานในลักษณะต่างๆเช่น ภาชนะใช้สอยบางอย่าง ของมนุษย์ อาทิ พาน ,ตะลุ่ม ,โต๊ะ, ตู้ ,เตียบ ,เตียง ฯลฯ อีกทั้งสามารถประดับตกแต่งส่วนประกอบของอาคาร ที่อยู่อาศัยได้ด้วย เช่น ประตูและหน้าต่าง เป็นต้น ประเทศสยามในอดีตนิยมใช้งานประดับมุกเพื่อตอบสนอง ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ สามัญชนจะไม่นิยมใช้ เนื่องด้วยถือว่าเป็น ของสูง มีค่าและทำได้ยาก ควรคู่แต่สถาบันอันสูงส่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ประตูหน้าต่างของพระอุโบสถ , วิหาร และพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังบางองค์ เป็นต้น

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม องค์ความรู้ด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่

          ศิลปกรรมทางด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่อยู่คู่กับกระบวนการสร้างหัวโขนตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล  ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้แม่พิมพ์หินสบู่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา  สืบเนื่องจากวัสดุที่ค่อนข้างหายาก  ความเสียหายของวัสดุซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนในขั้นตอนกระแหนะลาย  สำหรับประกอบขึ้นให้ได้ศิลปกรรมหัวโขนที่สวยงามตระการตา  และด้วยความที่เป็นวัสดุธรรมชาติหายากนั่นเอง  จึงถูกเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลิตวัสดุเข้ามาทดแทนวัสดุธรรมชาติที่เคยใช้งานกันมาตั้งแต่สมัยอดีต  จนความเป็นธรรมชาติเหลือไว้แค่เพียงโบราณวัตถุให้ได้ศึกษา  น้อยคนนักจะกลับไปใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย           ด้วยความสำคัญซึ่งเล็งเห็นคุณค่าของงานศิลปกรรมทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่นี้เอง  กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  จัดทำโครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้ทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อนำไปขยายผลในการทำงานด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อสังคมไทยต่อไป           อย่างไรก็ตามการทำหนังสือการจัดสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้  ในเล่มนี้หากมีข้อบกพร่องประการใด  ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แจงให้ทราบด้วย  เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  

ความรู้ทั่วไป

เสาเม็ด : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

สถาปัตยกรรมไทย  คือ  การก่อสร้างถาวรวัตถุที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอันเป็นศิลปะประจำ  ชาติของไทย  โดยการนำเอาศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ เข้ามาประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งอาคารบ้านเรือนของคนไทย  และที่พิเศษไปกว่านั้นก็เป็นที่ทรงประทับขององค์พระมหากษัตริย์ไทย  จะเห็นได้ว่ามีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรสถานต่าง ๆ ขึ้นไม่ซ้ำแบบกัน  บางทีแม้จะมีแผนผังเช่นเดียวกันแต่รูปแบบแตกต่างกันไป หลังคาก็ซ้อนชั้นแตกต่างกัน  มีมุขบ้าง ลดชั้นหลังคามากบ้างน้อยบ้างที่เป็นตรีมุขก็มี  ที่เป็นจัตุรมุขก็มี  

การจัดสร้าง ตะเกียงโรมัน(จำลอง)

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ในวันอนุรักษ์มรดกไทย  กรมศิลปากรนิทรรศการพิเศษ เรื่อง จากบ้านสู่เมือง : รัฐแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย  กรมศิลปากร. มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการจัดสร้างตะเกียงโรมัน(จำลอง) เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยกลุ่มประติมากรรม  สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร  รับผิดชอบในการจำลอง และศูนย์ศิลปะและการช่างไทยดำเนินการรวบรวข้อมูลขั้นตอนการจัดสร้างตะเกียงโรมัน(จำลอง)    มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel