ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

องค์ความรู้

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (งานปิดทอง งานประดับกระจก)กรณีศึกษา การบูรณะซ่อมแซมพระราชอาสน์

เนื่องด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม มีความประสงค์จะบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ จำนวน ๓ รายการ ได้แก่ นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชอาสน์ และพระแท่นบรรทม จึงได้ขอความอนุเคราะห์มายังสำนักช่างสิบหมู่ให้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุตามรายการดังกล่าว สำนักช่างสิบหมู่ โดยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย และกลุ่มงานแกะสลักและช่างไม้ประณีต ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ ห้องจัดแสดงอาคารพลับพลาจตุรมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และได้เคลื่อนย้ายพระแท่นพระราชอาสน์ และพระบรรทมมาบูรณะซ่อมแซม ณ อาคารช่างปิดทองประดับกระจก และช่างสนะไทย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ จังหวัดนครปฐม เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยรายงานฉบับนี้จะขอนำเสนอรายละเอียด ส่วนพระแท่นราชอาสน์และขั้นตอนการปฏิบัติงานบูรณะซ่อมแซมจำเพาะ พระราชอาสน์ ในลักษณะการอนุรักษ์แบบอย่างสำนักช่างสิบหมู่ ตามหลักฐานที่ปรากฏตามข้อเท็จจริง และสมมุติฐานโดยคำนึงถึงรูปแบบเดิมของพระราชอาสน์ ซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ศิลป์ไทยที่สืบต่อกันมานับจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการบูรณะซ่อมแซม พระราชอาสน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ฉบับนี้จะเป็นแนวทางการบูรณะซ่อมแซมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุในลักษณะการซ่อมบูรณะการซ่อมแซมงานอนุรักษ์แบบอย่างสำนักช่างสิบหมู่ และเป็นประโยชน์ทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสนใจได้ไม่มากก็น้อย 

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ ความรู้ด้านการตอกกระดาษ ตอกฉลุหนัง

          ศิลปกรรมด้านการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังมีขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล  ปรากฏทั้งในพิธีมงคล  และพิธีอวมงคล  ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้งานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์จากงานตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังเริ่มจางหายไปตามกาลเวลา  สืบเนื่องจากวัสดุที่ค่อนข้างเก็บรักษายาก  เช่น  งานตอกกระดาษ  คงหลงเหลือไว้ให้ศึกษาเพียงแบบลาย  แต่ผลงานจริงกลับถูกทิ้งลงไปเมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรม  ส่วนงานตอกหนังนั้น  เนื่องจากขนาดที่ค่อนข้างใหญ่  จึงยากต่อการเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมได้  และสืบเนื่องมาจนถึงการถ่ายทอดออกมาเป็นมหรสพการแสดงหนังใหญ่  ยังคงหลงเหลือกลุ่มชนเพียงบางกลุ่มที่ยังอนุรักษ์ภูมิปัญญาซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย           ด้วยความสำคัญซึ่งเล็งเห็นคุณค่าของงานศิลปกรรมทางด้านงานตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังนี้เอง  กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  จัดทำโครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  “ความรู้ทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง”  เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง  เพื่อนำไปขยายผลในการทำงานด้านการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนังให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อสังคมไทยต่อไป           อย่างไรก็ตามการทำหนังสือประกอบโครงการการจัดสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม “ความรู้ทางด้านงานการตอกกระดาษ  ตอกฉลุหนัง” เล่มนี้  หากมีเนื้อหาบกพร่องประการใด  ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แจงให้ทราบด้วย  เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  

ความรู้ทั่วไป

ขั้นตอนการสร้างสรรค์พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ด้วยเทคนิคการเขียนสีน้ำมันบนผ้าลินิน

พระสาทิสลักษณ์          ภาพเขียนของบุคคลโดยทั่วไปมักถูกเรียกว่าภาพคนเหมือน ภาพเหมือน รูปเหมือน หรือจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล (Portrait) แต่สำหรับราชาศัพท์ที่ใช้เรียกจิตรกรรมภาพเหมือนสำหรับพระมหากษัตริย์คือ พระบรมรูปเขียน พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ ซึ่งหากยึดความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “บรม” หมายถึง อย่างยิ่ง, ที่สุด (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) และคำว่า “สาทิสลักษณ์” หมายถึง ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง ดังนั้นพระบรมสาทิสลักษณ์จึงใช้เรียกพระรูปเขียนของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยราชาศัพท์ของจิตรกรรมภาพเหมือนสำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรือสมเด็จพระบรมราชินี ใช้คำว่า พระรูปเขียน พระสาทิสลักษณ์

ดินเหนียวในงานประติมากรรม

“ดินเหนียว” สำหรับใช้ในการปั้นงานประติมากรรม  โดยเฉพาะการปั้นรูปเหมือนบุคคล และอนุสาวรีย์ของกลุ่มงานประติมากรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  มีคุณสมบัติเป็นดินเนื้อละเอียด มีความหนาแน่นของเนื้อดินสูง  มีความเหนียว  ได้มาจากแหล่งธรรมชาติซึ่งอยู่ในชั้นดินที่ลึกจากหน้าดินลงไป  ชั้นดินที่ลึกนั้นมีคุณสมบัติเหนียว และปราศจากกรวดทรายปะปน  ถ้ามีก็ถือว่าน้อยมาก  ทางกลุ่มประติมากรรมจึงได้นำมาใช้กับงานประติมากรรม  โดยดินเหนียวที่ทางกลุ่มงานนำมาใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นดินที่มีความแห้ง  รูปทรงเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม  มีขนาดหนา 1 นิ้ว  ยาว 10 นิ้ว  กว้าง 5 นิ้ว  เป็นวัตถุดิบที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการปั้นได้  ดังนั้น ก่อนการนำไปปฏิบัติงานต้องมีขั้นตอนการเตรียมดิน โดยขออธิบายด้วยวิธีเบื้องต้น  ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถนำไปปฏิบัติตามได้  ดังนี้

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel