ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน
        พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่ใช้สําหรับเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในริ้วขบวนที่ ๔ และ ๕ มีการใช้ในงานพระราชพิธีหลายครั้ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง มีการทารักปิดทอง ทาสีปิดทอง และประดับกระจกในร่องลวดลาย จนกระจกที่ประดับไว้ล้นขึ้นมาจากร่องลวดลาย ส่วนลวดลายที่ปิดทองทับซ้อนกันหลายชั้นก็ดูเลือนไม่ชัดเจน ปิดบังลวดลายไม้แกะสลักที่สวยงามของครูช่างโบราณ อีกทั้งไม้โครงสร้างบางส่วนก็ผุกร่อนตามกาลเวลา ภายหลังจากการสํารวจเพื่อทําการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเตรียมใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สํานักช่างสิบหมู่ พิจารณาเห็นสมควรให้บูรณะปฏิสังขรณ์ด้านโครงสร้างให้แข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ทําการปิดทองใหม่ทั้งหมด และจัดสร้างชุดเฟื่องระย้าชุดใหม่เพื่อประดับตกแต่งให้งดงามสมพระเกียรติ     การบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งราเชนทรยานในส่วนความรับผิดชอบของสํานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีรายละเอียด ดังนี้ - ซ่อมปรับโครงสร้างพื้นไม้ และลวดลายที่ชํารุด - ซ่อมปิดทองใหม่ ๑๐๐% - ซ่อมประดับกระจกโดยรวม ๗๐% - จัดทําพระวิสูตรตาดทองแท้(เงินกะไหล่ทอง) จํานวน ๔ ผืน - จัดสร้างชุดเฟื่องระย่าโลหะเงิน และประดับกระจก   ซึ่งแบ่งการดําเนินงานออกเป็นขั้นตอน ดังนี้ ๑. เชิญพระที่นั่งราเชนทรยานมาบูรณปฏิสังขรณ์ ๒. ถอดส่วนประกอบพระที่นั่งราเชนทรยานเพื่อซ่อมปรับโครงสร้างและลวดลายที่ชํารุด ๓. ดําเนินการคัดลอกแบบและเขียนแบบ ๔. ดําเนินการกะเทาะกระจกและขัดลอกผิวทองเดิมออก ๕. ดําเนินการปิดทองและประดับกระจกใหม่ ๖. การประกอบพระที่นั่งราเชนทรยาน ๗. การจัดทําเครื่องประกอบ               ขนาด กว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (พร้อมคานหาม) สูง ๔.๒๓ เมตร จํานวนพล พลแบกหาม ๕๖ นายผู้ควบคุม ๑ นาย พระที่นั่งราเชนทรยาน มีลักษณะเป็นทรงบุษบก ทําด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราสี่สาย อาทิ เสด็จพระราชดําเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงาน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น เนื่องจากพระราชยานองค์นี้ มีขนาดใหญ่และ นํ้าหนักมาก จึงไม่นิยมใช้สําหรับเสด็จพระราชดําเนินทางไกลไปนอกพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยัง ใช้ในการอัญเชิญ พระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ หรือ พระโกศพระอัฐิพระบรมวงศ์จากพระเมรุท้องสนามหลวงเข้าสู้พระบรมมหาราชวัง
ปิดทองเตากูณฑ์ ภายในเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์)
          ด้วยกรมศิลปากรได้รับหนังสือ ขอความอนุเคราะห์จากเทวสถาน ส าหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์ ) เนื่องด้วยการเตรียมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะต้องมีพิธีพราหมณ์ คือพิธีบูชาไฟ ซึ่งจะต้องใช้เตากูณฑ์ใน การประกอบพิธีฯ จึงขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ที่เคยดูแลซ่อมแซมนพศูลมฑปพระศิวลิงค์ มาช่วยซ่อมผิวเตา กูณฑ์ และขอให้ตรวจสอบเตาเพื่อเก็บความรู้เกี่ยวกับโลหะ และซ่อมสีผิวเตากูณฑ์ และปิดทองเส้นขอบเตากูณฑ์   ณ   เทวสถาน   สำหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์ )        ประวัติความเป็นมา        พิธีโหมกูณฑ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พิธีโหมกูณฑ์ ทำในการพระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินทร์ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช (ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ งดการปฏิบัติในพระราชจองเปรียงไป) ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ลงมาจึงทำแต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช หรือในปัจจุบันนี้ เมื่อมีสมโภชในในการเฉลิมพระชนมพรรษาที่สำคัญ และมีการถวายใบสมิทธิทรงปัดพระองค์ ก็ต้องมีโหมกูณฑ์เผาใบสมิทธนี้ด้วย         ในต้นกรุงปลูกโรงพิธีที่ลานหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างโรงพิธีเป็นฝาก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องเคลือบขาวมีช่อฟ้าใบระกา พระราชทานชื่อ "หอเวทวิทยาคม" ในรัชกาลที่ ๕ ย้ายมาจากหน้าพระที่นั่งดุสิตฯ มาปลูกอยู่ที่มุมโรงกษาปณ์เก่า ( ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีฯ ในปัจจุบันนี้ )          โรงพระราชพิธีมีคร่าวไม้ติดเสาถึงกันทุกเสา ตามตำราพราหมณ์เรียกว่า "พรหมโองการ" แล้วจึงพาดผ้าโตรทวาร ในโรงพระราชพิธีตั้งเตียง ๓ เตียง ลดเป็นลำดับลงมาอย่างตั้งเทวรูปของพราหมณ์ ๑.ชั้นบนสุด ตั้งพรอิศวร พระนารายณ์ พระมหาพิฆเณศวร พระอิศวรทรงโค และพระอุมา ๒.ชั้นกลาง ตั้งเทวรูปนพเคราะห์ ๓.ชั้นล่าง ตั้งเบญจคัพย์ กลศ สังข์           เตาสำหรับโหมกูณฑ์นี้ เป็นเตาทองแดง เป็นของอยู่ในพระคลังในซ้าย                 (ในรูปคือที่เป็นสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นทางขวามือ)                  ธรรมเนียมการโหมกูณฑ์ คือ การทำน้ำมนต์ในหม้อข้าว ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย (ขอพราหมณ์อินเดีย คือ หม้อทองเหลืองที่ใช้หุงข้าวและตักน้ำในเดือนสาม / ของพระสงฆ์ คือ บาตร)                หม้อกุมภ์ (ด้านซ้ายภาพ) คือหม้อดินสำหรับหุงข้าวธรรมดา ๙ ใบ ตั้งกลางใบหนึ่ง ล้อมรอบด้วยอีก ๘ ใบ ในหม้อกุมภ์มีเงินเฟื้องทุกหม้อ หม้อกุมภ์ทั้ง ๙ นี้ เมื่อเสร็จพิธี จะเก็บน้ำมนต์ในหม้อกลางไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันทรงเครื่องใหญ่และใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ อีก ๘ หม้อจะแจกกันไปตามเจ้ากรม/ปลัดกรม ไว้สำหรับถวายสรงเจ้านายหรือรดน้ำในพิธีต่างๆ                สิ่งสำคัญคือ "ใบสมิทธิ" หรือ "ใบสมมิทธิ" เป็นช่อใบไม้มัดรวม (ในพานทางขวาของเทวรูป) เดิมประกอบด้วย ใบรัก ใบมะม่วง ใบตะขบ ใบยอ ใบขนุน ใบมะเดื่อ ใบเงิน ใบทอง ใบเฉียงพร้านางแอ ใบมะผู้ ใบระงับ ใบพันงู อย่างละ ๕๐ ใบ พร้อมด้วยมะกรูด ๑๕ ผล ส้มป่อย ๑๕ ฝัก                 ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ใช้เพียงสามอย่างคือ ๑.ใบตะขบ ๙๖ ใบ แทน ฉันวุติโรค ๙๖ ๒.ใบทอง ๓๒ ใบ แทน เทวดึงสกรรมกรณ ๓๒ ๓.ใบมะม่วง ๒๕ ใบ แทน ปัญจสมหาภัย ๒๕ ประการ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พราหมณ์จะถวายใบสมิทธิเพื่อทรงปัดพระองค์ในเวลาหลังพระสงฆ์สวดมนต์เย็น แล้วจึงนำกลับมาทำพิธีโหมกูณฑ์ในโรงพิธี               การเผาใบสมิทธิหรือการโหมกูณฑ์นี้ จะใช้ฟืนที่ทำจากไม้พุทรายาวดุ้นละ ๙ นิ้ว มัดละ ๙ ดุ้น วันละ ๒๐ มัด ซึ่งในเตากูณฑ์นั้นจะมีดินและมูลโครองอยู่ข้างใน เมื่อพราหมณ์อ่านเวทติดเพลิง จะเอาใบสมิทธินั้นชุบน้ำผึ้งรวงและน้ำมันดิบเผาลงในเตากูณฑ์ เมื่อเผาเสร็จแล้วจะยังไม่ดับไฟในเตากูณฑ์               ในเตากูณฑ์นอกจากดินและมูลโคแล้วยังมีเต่าทอง ทำด้วยทองคำหนักสองสลึงเฟื้อง ซึ่งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พราหมณ์ผู้ทำพิธี (พร้อมของหลวงที่พระราชทานมาเพื่อประกอบพิธี เช่น ผ้าขาว หม้อข้าว หม้อน้ำมนต์ ข้าวสาร ข้าวเปลือก มะพร้าว นม เนย รวมทั้งเงินพระราชทาน)             จนเมื่อการพระราชพิธีทั้งหมดเสร็จสิ้นลง พราหมณ์จึงจะดับกองกูณฑ์ด้วยการอ่านเวทดับกูณฑ์ด้วยน้ำสังข์               ข้อมูลดีๆและประวัติ จาก  เทวสถาน สำหรับพระนคร( โบสถ์พราหมณ์ )  

องค์ความรู้

โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม ด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทย

1.การเตรียมพื้นงานจิตรกรรมไทย2.การเตรียมสีฝุ่นสำหรับเขียนภาพจิตรกรรมไทย3.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : เจว็ด4.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : พระบฎ5.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : สมุดข่อย6.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : เฟรม7.การเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง : ตาลปัตร

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม องค์ความรู้ด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่

          ศิลปกรรมทางด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่อยู่คู่กับกระบวนการสร้างหัวโขนตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล  ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้แม่พิมพ์หินสบู่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา  สืบเนื่องจากวัสดุที่ค่อนข้างหายาก  ความเสียหายของวัสดุซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนในขั้นตอนกระแหนะลาย  สำหรับประกอบขึ้นให้ได้ศิลปกรรมหัวโขนที่สวยงามตระการตา  และด้วยความที่เป็นวัสดุธรรมชาติหายากนั่นเอง  จึงถูกเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลิตวัสดุเข้ามาทดแทนวัสดุธรรมชาติที่เคยใช้งานกันมาตั้งแต่สมัยอดีต  จนความเป็นธรรมชาติเหลือไว้แค่เพียงโบราณวัตถุให้ได้ศึกษา  น้อยคนนักจะกลับไปใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย           ด้วยความสำคัญซึ่งเล็งเห็นคุณค่าของงานศิลปกรรมทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่นี้เอง  กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  จัดทำโครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้ทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อนำไปขยายผลในการทำงานด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อสังคมไทยต่อไป           อย่างไรก็ตามการทำหนังสือการจัดสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้  ในเล่มนี้หากมีข้อบกพร่องประการใด  ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แจงให้ทราบด้วย  เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  

ความรู้ทั่วไป

ท้าวจตุโลกบาล ประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช คือผู้ยิ่งใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชกา เป็นสวรรค์ชั้นแรก ชั้นล่างสุดในฉกามาพจรภูมิ ชั้นจาตุม มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา  แปลว่าดินแดนเป็นที่อยู่ขิงท้าวมหาราชทั้งสี กล่าวคือสวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ปกครองอยู่คนละทิศ ทำหน้าที่รัษาทั้งสี่ทิศ สอดส่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งดูแลบริวานในอำนาจของตน

การเขียนภาพนาค : องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

"นาค" หรือ "พญานาค"  เป็นนามเรียกสัตว์ประดิษฐ์ลักษณะหนึ่งของศิลปะไทย  ตามความหมายนี้หมายถึง งูมีหงอนชนิดหนึ่งในวรรณคดี กล่าวว่ามีอิทธิฤทธิ์มาก  ที่อยู่คือเมืองบาดาลใต้พื้นดิน

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel