ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

โต๊ะหมู่บูชาลายยา หมู่ ๙
ความเป็นมาและความสำคัญ              การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชานั้น เป็นธรรมประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาลจัดเป็นสถานที่อย่างหนึ่งใน บรรดา ศาสน์พิธีต่างๆ  โต๊ะหมู่บูชานี้ สำหรับตั้งในงานต่างๆ ทั้งงานมงคล ทั้งงานหลวงและงานราษฎร์  เป็นแบบแผนอันดีงาม เป็นประเพณีที่ควรแก่การเทิดทูนรักษาไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไทย เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศเป็นที่สะดุดตาเตือนใจแก่ชาวต่างประเทศผู้พบเห็น เราชาว พุทธทุกคนควรสนใจศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้ เมื่อถึงคราวจะจัดตั้งก็จัดทำโดยเรียบร้อย การสนใจการศึกษาไม่เสียเปล่าได้ประโยชน์ต้องตามภาษิตที่ว่า “ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ” เครื่องตั้ง              เครื่องตั้ง จะมีจำนวนมากหรือน้อย ให้พิจารณาตามหมู่ของโต๊ะนั้นๆ  เป็นสำคัญการจัดถูกต้องและเหมาะสมถูกแบบแผนจึงจะสวยงามน่าดู เมื่อเรามีโต๊ะหมู่บูชา และเครื่องสำหรับตั้งโต๊ะครบบริบูรณ์ตามจำนวนแล้วสำคัญก็คือการจัดตั้งนั้นจะต้องจัดให้ถูกที่  มีระเบียบ ได้จังหวะช่องไฟดี จึงสง่างาม จัดตั้งโดย ขาดการพิจารณาแล้วความงามก็จะลดลง  และบางครั้งอาจไม่ถูกหลักก็ได้  ฉะนั้นจึงต้องสนใจในเรื่องการ จัดตั้งนั้นเป็นอย่างมาก อนึ่งเครื่องแก้ว ( หรืออื่นๆ ) ในการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชานั้น โดยปกติก็มีขนาดไม่เท่ากัน คือ ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ฉะนั้นการจัดตั้งจึงจำเป็นที่จะต้องตั้งให้ถูกที่และขนาดของเครื่องแก้ว โดยจัดเครื่องแก้วขนาดเล็กไว้ที่โต๊ะตัวบน แล้วรองลงมาเป็นขนาดกลาง ส่วนขนาดใหญ่ไว้ล่างสุด                   วิธีตั้งให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัวคือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป แจกัน เชิงเทียน ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่นในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ  ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูปส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียง วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นข้อมูลองค์ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปไว้ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ๒.เพื่อเป็นประโยชน์ พัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้านประณีตศิลป์ต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นคว้า เรียนรู้ จากเอกสารเล่มนี้ได้ ๒. ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องต่อช่างผู้ปฏิบัติงานด้านประดับกระจก โต๊ะหมู่ลายยา ( วัฒนธรรมในการจัดตั้งโต๊ะหมู่ ๒๕๕๒ : ๑๗ – ๑๙ )                      เป็นงานที่รวมลักษณะงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า ๒ ประเภท เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน คือ โต๊ะหมู่เป็นงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณใช้ประกอบในงานพิธีสำคัญๆ ของชาติ และ ยิ่งใช้ในพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมต่างๆ อีกมากมาย โต๊ะหมู่บูชาแบ่งตามลำดับความสำคัญเป็น ๓ หมวดใหญ่ๆ ดังนี้ หมวดที่ ๑ โต๊ะหมู่บูชาที่มีมาแต่เดิม มี ๕ หมู่ คือ                     ๑) หมู่ ๔     ๒)  หมู่ ๕    ๓)   หมู่  ๖   ๔)  หมู่  ๗   ๕)  หมู่  ๙                       หมายเหตุ  โต๊ะหมู่ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำทั่วไป  คือ  หมู่  ๕  หมู่  ๗  และ หมู่  ๙ หมวดที่ ๒ โต๊ะหมู่ประยุกต์ มี ๓ หมู่  คือ                ๑) หมู่ ๒     ๒)  หมู่ ๓    ๓)   หมู่  ๔ ที่ใช้เป็นโต๊ะเคียง หมวดที่ ๓ โต๊ะหมู่พิเศษ มี ๕ หมู่ คือ                 โต๊ะหมู่ที่จัดไว้เป็นพิเศษ  โดยพิจารณาตามอาคารสถานที่  ที่กว้างใหญ่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ เช่น   ๑) หมู่ ๑๑     ๒)  หมู่ ๑๒    ๓)   หมู่  ๑๓   ๔)  หมู่ ๑๔  ๕)  หมู่ ๑๕  วิธีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ๑. โต๊ะหมู่บูชา  ต้องตั้งอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์  ซึ่งเป็นประธานในพิธีเสมอ  และควรหันหน้าโต๊ะหมู่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ๒. วิธีตั้ง ให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัว คือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป,แจกัน ,เชิงเทียน  ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่น ในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูป ส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียน ๓. ถ้าเป็นประชุมอบรม  โต๊ะหมู่บูชาต้องอยู่หน้าของผู้เข้าประชุมและธงชาติด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชานั้นด้วย ๔. เทียนชนวน  สำหรับใช้จุดเทียนและธูปที่ใช้บูชา  ควรดูไส้เทียนให้เรียบร้อย  เวลาใช้จะได้ไม่มีปัญหา  ด้ามเทียบชนวนควรให้ควรให้มีความยาวพอดีกับความสูงต่ำของโต๊ะหมู่บูชาด้วย ๕. ผ้ากราบตรงหน้าโต๊ะหมู่บูชาควรใช้ผ้าที่สะอาดเพื่อรองกราบ   จะได้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง ( ไม่ควรใช้แท่นทรงกราบอย่างงานพิธี ) โต๊ะบูชา  หมู่  ๔  สมัยรัตนโกสินทร์             โต๊ะหมู่ ๔ มี ๒ ประเภท คือ แบบธรรมดา  และแบบโต๊ะซัด ( โต๊ะปีกหรือโต๊ะเคียง ) โต๊ะซัดเป็นชื่อเรียกโต๊ะหมู่ ๔ ที่จัดตั้งโดยทแยงมุมโต๊ะออก  ตั้งเครื่องบูชาและพระพุทธรูป  รูปทแยงตามมุมโต๊ะ  หรือตั้งบริเวณมุมของห้อง  โดยทแยงกับมุมห้องด้านตรงข้าม  หากนำไปตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่ใหญ่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง  จะเรียกว่า  โต๊ะปีก หรือ โต๊ะเคียง ซึ่งหมายถึงโต๊ะปีกของโต๊ะหมู่ใหญ่  หรือโต๊ะที่ตั้งเคียงคู่กับโต๊ะหมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙ การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของราชการ           การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของทางราชการ  เช่น การประชุม  อบรม  สัมมนา  เป็นต้น  ที่มิใช่พิธีเกี่ยวกับนานาชาติและการประชุมปกติของคณะกรรมการ  นิยมตั้งธงชาติ  และพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รวมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบันคือชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์  มีหลักในการจัดคือ  ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลาง  ตั้งธงชาติไว้ทางด้านขวาของโต๊ะหมู่  และตั้งพระบรมฉายาลักษณ์  ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ ลายยา            คือการขุดไม้บนพื้นเรียบให้เป็นลวดลาย  แล้วนำมาทำพื้นปิดทองประดับกระจกลงในร่องลายที่ขุดเป็นฐาน  โบราณงานลายยาที่พบเห็นส่วนใหญ่จะพบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ  เช่น  ที่หัวเรือและท้ายเรืออเนกชาติภุชงค์ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีทางชลมารค  ลายที่ขุดส่วนใหญ่เป็นลายพญานาคขดไปมา  กระจกที่ใช้ประดับในร่องลายสาวใหญ่จะเป็นสีขาว  และ ยังพบลายยาที่ฐานพระแท่นเศวตฉัตรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  เป็นลายแนวตั้ง  ขุดลายเป็นเส้นตรง  สลับกับลายกลีบดอกไม้  ๓  แฉกประดับด้วยกระจกประมาณ  ๓  สี  ขึ้นไป  วอสีวิกา  เป็นวอคานหาม  พนักพิงด้านหลังขุดลายประดับกระจกลายยาเป็นรูปดอกไม้  ผูกลายเป็นเครือเถา  สวยงาม และละเอียดมาก  ใช้กระจกประมาณ ๓ สีขึ้นไป นิยมใช้ สีแดง สีเขียว สีทอง  

องค์ความรู้

รายงานความก้าวหน้า โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

          บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นงานศิลปะชิ้นสำคัญที่สั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อคราวผูกมหาสีมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๘ ได้มีการสั่งทำบานประตูหน้าต่างมาประดับ เมื่อผ่านกาลเวลาเกิดความชำรุดเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เชื้อรา แมลงกัดกินพื้นไม้ ฝุ่นคราบจากมลภาวะฝุ่นคัวน และจากยางรักที่ทาเคลือบไว้ที่เคยมีการพยายามซ่อมแซมมาทำให้เกิดความหมองคล้ำไม่สดใส ทางวัดราชประดิษฐ์มีความประสงค์ให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม เพื่อให้เกิดสมบูรณ์สวยงาม และเสริมความมั่นคงแข็งแรง เป็นการส่งต่อมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต            ที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์โบรณสถานภายในวัด จากสำนักสถาปัตยกรรมควบคุมการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยกรมศิลปากรมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น(Tokyo National Research Institute for Cultural Properties: TNRICP)ในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น  ร่วมดำเนินการสำรวจบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่าง  พบบานประตู  ๓ คู่ บานหน้าต่าง ๑๖ คู่ ประกอบด้วยแผ่นไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นทั้งสิ้น ๗๖ แผ่น  ชำรุด  จำนวน ๖๔  แผ่น หลุดหาย ๑๒ แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน ทั้งสิ้น ๓๘ แผ่น ชำรุด  ๓๐ แผ่น หลุดหาย ๘  แผ่น            การดำเนินงานในระยะที่ ๑ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ได้นำตัวอย่างบานไม้ประดับมุกที่ชำรุด ส่งออกอนอกราชอาณาจักรเพื่อไปศึกษารายละเอียดส่วนประกอบศิลปวัตถุ  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties                     การดำเนินงานในระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ วัดราชประดิษฐได้ส่งตัวแทนจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมศิลปากร ๒ หน่วยงาน ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  และสำนักช่างสิบหมู่  รวมถึงตัวแทนจากโรงเรียนช่างฝีมือในวัง หน่วยละ ๒ รายรวมทั้งสิ้น  ๖  รายเดินทางไปร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties           ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ ๓ ดำเนินการซ่อมอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น พระวิหารหลวง. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ ในปีงบประมาณ  ๒๕๖๔ อยู่ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด - ๑๙ ทำให้ต้องมีการปรีบเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด  การดำเนินงานหากพบประเด็นปัญหาในการทำงาน จะมีการประชุมทางไกลกับผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปรึกษาหาข้อสรุปเพื่อดำเนินงานเป็นระยะ ๆ  ทั้งนี้ในปี ๒๕๖๔ ได้ดำเนินงานดังนี้                 วัดราชประดิษฐฯ สำนักสถาปัตยกรรม และสำนักพิพิธภัณฑ์ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ เพื่อใช้ดำเนินงานการอนุรักษ์ ตามรูปแบบและมาตรฐาน สำนัดหอจดหมายเหตุดำเนินการบันทึกสภาพก่อนดำเนินการถอดบานไม้ ทั้งหมด ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ทำพิธีบวงสรวงและดำเนินการถอดชิ้นงานเป็นปฐมฤกษ์โดยนายประทีป เพ็งตะโก (อธิบดีกรมศิลปากร) จากนั้นดำเนินการถอดบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นจำนวน  ๑๙  แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน  จำนวน  ๘  แผ่น รวมทั้งสิ้น ๒๗ แผ่น การดำเนินงานโดยบุคลากรของที่ร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties เมื่อปี  ๒๕๕๘ นำความรู้จากการดำเนินการดังกล่าวมาถ่ายทอดความรู้ให้คณะทำงาน และร่วมดำเนินการดังนี้ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินการในส่วน  ตรวจสอบสภาพ ทำแผนผังแสดงลักษณะการเสื่อมสภาพ (mapping) อบฆ่าเชื้อรา  ฆ่าแมลงในแผ่นไม้  เช็ดทำความสะอาดผิวชิ้นงาน สำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการทดสอบวัสดุ เช่นกาวหนัง ยางรักสำหรับติด ผนึกเสริมความแข็งแรงด้วยเทคนิค shimbari  และเติมส่วนที่หลุดล่อนให้ครบสมบูรณ์   จากการปฏิบัติงานในระยะแรกคณะทำงานได้ทดสอบ ทดลองหาแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์  ซ่อมแซมจนมีแนวทางในการดำเนินงาน และเกิดความเข้าใจในการทำงานมากขึ้นจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์และเร็วขึ้น           ในการดำเนินงานคณะทำงานได้ทำการบันทึกข้อมูลกระบวนการทำงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นองค์ความรู้ในการอนุรักษ์  ซ่อมแซมงานศิลปกรรมประเภทบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต และจัดทำเป็นหนังสือองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ในลำดับต่อไป           ในปี ๒๕๖๔ ได้ซ่อมอนุรักษ์ชิ้นงานแล้วเสร็จบางส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน จึงควรนำชิ้นงานที่ซ่อมแล้วเสร็จติดผนึกกลับเพื่อถอดชิ้นงานชุดใหม่มาดำเนินงานการซ่อมต่อไป  การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ถือเป็นโครงการนำร่องที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป การทำงานประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในการอนุรักษ์ซ่อมแซม ทำให้เกิดการเรียนรู้  ฝึกฝน อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ ทักษะฝีมือในการปฏิบัติงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ เกิดความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีประเทศ ไทย-ญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต    

โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม องค์ความรู้ด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่

          ศิลปกรรมทางด้านการแกะแม่พิมพ์หินสบู่อยู่คู่กับกระบวนการสร้างหัวโขนตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล  ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้แม่พิมพ์หินสบู่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา  สืบเนื่องจากวัสดุที่ค่อนข้างหายาก  ความเสียหายของวัสดุซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนในขั้นตอนกระแหนะลาย  สำหรับประกอบขึ้นให้ได้ศิลปกรรมหัวโขนที่สวยงามตระการตา  และด้วยความที่เป็นวัสดุธรรมชาติหายากนั่นเอง  จึงถูกเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลิตวัสดุเข้ามาทดแทนวัสดุธรรมชาติที่เคยใช้งานกันมาตั้งแต่สมัยอดีต  จนความเป็นธรรมชาติเหลือไว้แค่เพียงโบราณวัตถุให้ได้ศึกษา  น้อยคนนักจะกลับไปใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย           ด้วยความสำคัญซึ่งเล็งเห็นคุณค่าของงานศิลปกรรมทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่นี้เอง  กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  จัดทำโครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้ทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นทางด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่  เพื่อนำไปขยายผลในการทำงานด้านงานแกะแม่พิมพ์หินสบู่ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อสังคมไทยต่อไป           อย่างไรก็ตามการทำหนังสือการจัดสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม  ความรู้  ในเล่มนี้หากมีข้อบกพร่องประการใด  ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แจงให้ทราบด้วย  เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  

ความรู้ทั่วไป

โบรชัวร์ : การอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

การอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel