ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

พวงมาลาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
                        สืบเนื่องจากวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นวันแห่งการสวรรคตครบ ๗ ปี หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ รับทราบการกำหนดให้วันที่ ๑๓ ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช” ซึ่งแปลว่า วันที่ระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ ๙ ผู้ยิ่งใหญ่         กรมศิลปากรจึงได้จัดสร้างพวงมาลา เพื่อถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร และข้าราชการในสังกัดกรมศิลปากร เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ

องค์ความรู้

รายงานความก้าวหน้า โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

          บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นงานศิลปะชิ้นสำคัญที่สั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อคราวผูกมหาสีมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๘ ได้มีการสั่งทำบานประตูหน้าต่างมาประดับ เมื่อผ่านกาลเวลาเกิดความชำรุดเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เชื้อรา แมลงกัดกินพื้นไม้ ฝุ่นคราบจากมลภาวะฝุ่นคัวน และจากยางรักที่ทาเคลือบไว้ที่เคยมีการพยายามซ่อมแซมมาทำให้เกิดความหมองคล้ำไม่สดใส ทางวัดราชประดิษฐ์มีความประสงค์ให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม เพื่อให้เกิดสมบูรณ์สวยงาม และเสริมความมั่นคงแข็งแรง เป็นการส่งต่อมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต            ที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์โบรณสถานภายในวัด จากสำนักสถาปัตยกรรมควบคุมการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยกรมศิลปากรมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น(Tokyo National Research Institute for Cultural Properties: TNRICP)ในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น  ร่วมดำเนินการสำรวจบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่าง  พบบานประตู  ๓ คู่ บานหน้าต่าง ๑๖ คู่ ประกอบด้วยแผ่นไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นทั้งสิ้น ๗๖ แผ่น  ชำรุด  จำนวน ๖๔  แผ่น หลุดหาย ๑๒ แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน ทั้งสิ้น ๓๘ แผ่น ชำรุด  ๓๐ แผ่น หลุดหาย ๘  แผ่น            การดำเนินงานในระยะที่ ๑ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ได้นำตัวอย่างบานไม้ประดับมุกที่ชำรุด ส่งออกอนอกราชอาณาจักรเพื่อไปศึกษารายละเอียดส่วนประกอบศิลปวัตถุ  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties                     การดำเนินงานในระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ วัดราชประดิษฐได้ส่งตัวแทนจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมศิลปากร ๒ หน่วยงาน ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  และสำนักช่างสิบหมู่  รวมถึงตัวแทนจากโรงเรียนช่างฝีมือในวัง หน่วยละ ๒ รายรวมทั้งสิ้น  ๖  รายเดินทางไปร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties           ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ ๓ ดำเนินการซ่อมอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น พระวิหารหลวง. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ ในปีงบประมาณ  ๒๕๖๔ อยู่ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด - ๑๙ ทำให้ต้องมีการปรีบเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด  การดำเนินงานหากพบประเด็นปัญหาในการทำงาน จะมีการประชุมทางไกลกับผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปรึกษาหาข้อสรุปเพื่อดำเนินงานเป็นระยะ ๆ  ทั้งนี้ในปี ๒๕๖๔ ได้ดำเนินงานดังนี้                 วัดราชประดิษฐฯ สำนักสถาปัตยกรรม และสำนักพิพิธภัณฑ์ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ เพื่อใช้ดำเนินงานการอนุรักษ์ ตามรูปแบบและมาตรฐาน สำนัดหอจดหมายเหตุดำเนินการบันทึกสภาพก่อนดำเนินการถอดบานไม้ ทั้งหมด ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ทำพิธีบวงสรวงและดำเนินการถอดชิ้นงานเป็นปฐมฤกษ์โดยนายประทีป เพ็งตะโก (อธิบดีกรมศิลปากร) จากนั้นดำเนินการถอดบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นจำนวน  ๑๙  แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน  จำนวน  ๘  แผ่น รวมทั้งสิ้น ๒๗ แผ่น การดำเนินงานโดยบุคลากรของที่ร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties เมื่อปี  ๒๕๕๘ นำความรู้จากการดำเนินการดังกล่าวมาถ่ายทอดความรู้ให้คณะทำงาน และร่วมดำเนินการดังนี้ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินการในส่วน  ตรวจสอบสภาพ ทำแผนผังแสดงลักษณะการเสื่อมสภาพ (mapping) อบฆ่าเชื้อรา  ฆ่าแมลงในแผ่นไม้  เช็ดทำความสะอาดผิวชิ้นงาน สำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการทดสอบวัสดุ เช่นกาวหนัง ยางรักสำหรับติด ผนึกเสริมความแข็งแรงด้วยเทคนิค shimbari  และเติมส่วนที่หลุดล่อนให้ครบสมบูรณ์   จากการปฏิบัติงานในระยะแรกคณะทำงานได้ทดสอบ ทดลองหาแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์  ซ่อมแซมจนมีแนวทางในการดำเนินงาน และเกิดความเข้าใจในการทำงานมากขึ้นจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์และเร็วขึ้น           ในการดำเนินงานคณะทำงานได้ทำการบันทึกข้อมูลกระบวนการทำงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นองค์ความรู้ในการอนุรักษ์  ซ่อมแซมงานศิลปกรรมประเภทบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต และจัดทำเป็นหนังสือองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ในลำดับต่อไป           ในปี ๒๕๖๔ ได้ซ่อมอนุรักษ์ชิ้นงานแล้วเสร็จบางส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน จึงควรนำชิ้นงานที่ซ่อมแล้วเสร็จติดผนึกกลับเพื่อถอดชิ้นงานชุดใหม่มาดำเนินงานการซ่อมต่อไป  การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ถือเป็นโครงการนำร่องที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป การทำงานประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในการอนุรักษ์ซ่อมแซม ทำให้เกิดการเรียนรู้  ฝึกฝน อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ ทักษะฝีมือในการปฏิบัติงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ เกิดความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีประเทศ ไทย-ญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต    

โครงการฝึกอบรมสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ - งานปั้นประดิษฐ์

งานช่างสิบหมู่ คือ รากฐานของงานศิลปกรรมไทยที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด สานต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จนเกิดความรัก ความซาบซึ้ง และความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปกรรมด้านช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบไปด้วย งานช่างเขียน  งานช่างลายรดน้ำ งานช่างหุ่นช่างปั้นลาย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างไม้ประณีต งานช่างปิดทอง งานช่างประดับกระจก และงานช่างสนะ ซึ่งล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะของงาน  แต่ละประเภท ที่แตกต่างกันไป   ในการปฏิบัติงานที่จะให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดคือการให้การศึกษา ส่งเสริม  ฟื้นฟู  และเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรม    ที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาวิชาด้านช่างศิลปกรรม  และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่า สำนักช่างสิบหมู่จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ  เพื่อตอบสนองนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการเผยแพร่งานศิลปกรรมด้านงานช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสาน ต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนได้นำไปต่อยอดและสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน ทำให้งานศิลปกรรมเกิดคุณค่ารวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยกรมศิลปากร สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชม โดยสามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นอาชีพได้  โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์โดยรวมแก่ชุมชน นอกจากนั้นโครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ยังเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในระดับพื้นฐานของงานช่างศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสารมารถเสริมสร้างทักษะในงานด้านศิลปกรรมให้สามารถต่อยอดความรู้และนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือน สามารถนำความรู้มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โครงการฝึกอบรมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านงานศิลปกรรม โดยหวังว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม    จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ หรือสามารถถ่ายทอดความรู้รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายด้านงานช่างศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ในลำดับต่อไป    

ความรู้ทั่วไป

เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ : การปั้นเซรามิค

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ “เสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านเซรามิค" หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค เป็นการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปกรรมในสถานที่ตั้งให้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่   ครั้งที่ ๑ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๒ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘  พฤาภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การเขียนลายบนงานเซรามิค” QR CODE : ภาพบรรยากาศพิธีเปิดและการฝึกอบรม ครั้งที่ ๒ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๕ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การปั้นเซรามิค"

การออกแบบตราสัญลักษณ์ นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"

ตราสัญลักษณ์นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ปลาคู่ อันหมายความถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์  โดยด้านซ้ายเป็นลายปลากาซึ่งได้ต้นแบบแนวความคิดมาจากเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัยที่นิยมวาดรูปปลาลงบนภาชนะ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองดังคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ด้านขวามือเป็นลายปลาคาร์ป  ซึ่งได้แนวความคิดมาจากสัญลักษณ์  ธงปลาคาร์ปของชาวญี่ปุ่น  โดยระหว่างปลาคู่ประดับด้วยช่อดอกราชพฤกษ์ดอกไม้ประจำชาติไทยและดอกซากุระเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น ถัดลงมาด้านล่างระหว่างหางปลาทั้งสองมีธงชาติของทั้งสองประเทศเชื่อมต่อกัน หมายถึง ทั้งสองประเทศเป็นมิตรไมตรีต่อกัน มีการประสานร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงงานเซรามิก ศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศ

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel