ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

การออกแบบตู้สังเค็ต เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
หยดหยาดพระเสโทที่พระองค์ทุ่มเทพระวรกายเพื่อพัฒนาประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน  ดั่งรูปหยดน้ำพระนามาภิไธย  ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  ดั่งดอกราชพฤกษ์สีทองอร่าม  รูปกระต่ายด้านซ้ายแทนปีพระราชสมภพ  รูปลิงด้านขวาแทนปีสวรรคต  ทรงยึดสัจจะวาจา  เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อความผาสุกแห่งมหาชนชาวสยาม  ดังรูปพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล  และพระพุทธรูปปางห้ามญาติ  ประจำวันพระราชสมภพ  ทรงสอนให้คนไทยมีความเพียร  มุ่งมั่น  เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้  ดั่งพระราชนิพนธ์เรื่องมหาชนก  ทรงลงพื้นที่ทุกแห่งหน  ตำบล  เขตแดน  ทรงทำนุบำรุงศาสนาจนเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ  ดั่งลายรักร้อย  รักสามัคคี  ทรงตระหนักถึงปัญหาและคุณค่าของน้ำทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริ  ดั่งขาตู้ที่แสดงเป็นคลื่นน้ำ
การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน
        พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่ใช้สําหรับเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในริ้วขบวนที่ ๔ และ ๕ มีการใช้ในงานพระราชพิธีหลายครั้ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง มีการทารักปิดทอง ทาสีปิดทอง และประดับกระจกในร่องลวดลาย จนกระจกที่ประดับไว้ล้นขึ้นมาจากร่องลวดลาย ส่วนลวดลายที่ปิดทองทับซ้อนกันหลายชั้นก็ดูเลือนไม่ชัดเจน ปิดบังลวดลายไม้แกะสลักที่สวยงามของครูช่างโบราณ อีกทั้งไม้โครงสร้างบางส่วนก็ผุกร่อนตามกาลเวลา ภายหลังจากการสํารวจเพื่อทําการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเตรียมใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สํานักช่างสิบหมู่ พิจารณาเห็นสมควรให้บูรณะปฏิสังขรณ์ด้านโครงสร้างให้แข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ทําการปิดทองใหม่ทั้งหมด และจัดสร้างชุดเฟื่องระย้าชุดใหม่เพื่อประดับตกแต่งให้งดงามสมพระเกียรติ     การบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งราเชนทรยานในส่วนความรับผิดชอบของสํานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีรายละเอียด ดังนี้ - ซ่อมปรับโครงสร้างพื้นไม้ และลวดลายที่ชํารุด - ซ่อมปิดทองใหม่ ๑๐๐% - ซ่อมประดับกระจกโดยรวม ๗๐% - จัดทําพระวิสูตรตาดทองแท้(เงินกะไหล่ทอง) จํานวน ๔ ผืน - จัดสร้างชุดเฟื่องระย่าโลหะเงิน และประดับกระจก   ซึ่งแบ่งการดําเนินงานออกเป็นขั้นตอน ดังนี้ ๑. เชิญพระที่นั่งราเชนทรยานมาบูรณปฏิสังขรณ์ ๒. ถอดส่วนประกอบพระที่นั่งราเชนทรยานเพื่อซ่อมปรับโครงสร้างและลวดลายที่ชํารุด ๓. ดําเนินการคัดลอกแบบและเขียนแบบ ๔. ดําเนินการกะเทาะกระจกและขัดลอกผิวทองเดิมออก ๕. ดําเนินการปิดทองและประดับกระจกใหม่ ๖. การประกอบพระที่นั่งราเชนทรยาน ๗. การจัดทําเครื่องประกอบ               ขนาด กว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (พร้อมคานหาม) สูง ๔.๒๓ เมตร จํานวนพล พลแบกหาม ๕๖ นายผู้ควบคุม ๑ นาย พระที่นั่งราเชนทรยาน มีลักษณะเป็นทรงบุษบก ทําด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราสี่สาย อาทิ เสด็จพระราชดําเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงาน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น เนื่องจากพระราชยานองค์นี้ มีขนาดใหญ่และ นํ้าหนักมาก จึงไม่นิยมใช้สําหรับเสด็จพระราชดําเนินทางไกลไปนอกพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยัง ใช้ในการอัญเชิญ พระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ หรือ พระโกศพระอัฐิพระบรมวงศ์จากพระเมรุท้องสนามหลวงเข้าสู้พระบรมมหาราชวัง

องค์ความรู้

รายงานความก้าวหน้า โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

          บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นงานศิลปะชิ้นสำคัญที่สั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อคราวผูกมหาสีมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๘ ได้มีการสั่งทำบานประตูหน้าต่างมาประดับ เมื่อผ่านกาลเวลาเกิดความชำรุดเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เชื้อรา แมลงกัดกินพื้นไม้ ฝุ่นคราบจากมลภาวะฝุ่นคัวน และจากยางรักที่ทาเคลือบไว้ที่เคยมีการพยายามซ่อมแซมมาทำให้เกิดความหมองคล้ำไม่สดใส ทางวัดราชประดิษฐ์มีความประสงค์ให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม เพื่อให้เกิดสมบูรณ์สวยงาม และเสริมความมั่นคงแข็งแรง เป็นการส่งต่อมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต            ที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์โบรณสถานภายในวัด จากสำนักสถาปัตยกรรมควบคุมการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยกรมศิลปากรมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น(Tokyo National Research Institute for Cultural Properties: TNRICP)ในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น  ร่วมดำเนินการสำรวจบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตู  หน้าต่าง  พบบานประตู  ๓ คู่ บานหน้าต่าง ๑๖ คู่ ประกอบด้วยแผ่นไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นทั้งสิ้น ๗๖ แผ่น  ชำรุด  จำนวน ๖๔  แผ่น หลุดหาย ๑๒ แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน ทั้งสิ้น ๓๘ แผ่น ชำรุด  ๓๐ แผ่น หลุดหาย ๘  แผ่น            การดำเนินงานในระยะที่ ๑ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ได้นำตัวอย่างบานไม้ประดับมุกที่ชำรุด ส่งออกอนอกราชอาณาจักรเพื่อไปศึกษารายละเอียดส่วนประกอบศิลปวัตถุ  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties                     การดำเนินงานในระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ วัดราชประดิษฐได้ส่งตัวแทนจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมศิลปากร ๒ หน่วยงาน ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  และสำนักช่างสิบหมู่  รวมถึงตัวแทนจากโรงเรียนช่างฝีมือในวัง หน่วยละ ๒ รายรวมทั้งสิ้น  ๖  รายเดินทางไปร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties           ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ ๓ ดำเนินการซ่อมอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น พระวิหารหลวง. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ ในปีงบประมาณ  ๒๕๖๔ อยู่ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด - ๑๙ ทำให้ต้องมีการปรีบเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด  การดำเนินงานหากพบประเด็นปัญหาในการทำงาน จะมีการประชุมทางไกลกับผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปรึกษาหาข้อสรุปเพื่อดำเนินงานเป็นระยะ ๆ  ทั้งนี้ในปี ๒๕๖๔ ได้ดำเนินงานดังนี้                 วัดราชประดิษฐฯ สำนักสถาปัตยกรรม และสำนักพิพิธภัณฑ์ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ เพื่อใช้ดำเนินงานการอนุรักษ์ ตามรูปแบบและมาตรฐาน สำนัดหอจดหมายเหตุดำเนินการบันทึกสภาพก่อนดำเนินการถอดบานไม้ ทั้งหมด ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ทำพิธีบวงสรวงและดำเนินการถอดชิ้นงานเป็นปฐมฤกษ์โดยนายประทีป เพ็งตะโก (อธิบดีกรมศิลปากร) จากนั้นดำเนินการถอดบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นจำนวน  ๑๙  แผ่น และแผ่นไม้ประดับรักลายนูน  จำนวน  ๘  แผ่น รวมทั้งสิ้น ๒๗ แผ่น การดำเนินงานโดยบุคลากรของที่ร่วมดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  ณ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นTokyo National Research Institute for Cultural Properties เมื่อปี  ๒๕๕๘ นำความรู้จากการดำเนินการดังกล่าวมาถ่ายทอดความรู้ให้คณะทำงาน และร่วมดำเนินการดังนี้ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินการในส่วน  ตรวจสอบสภาพ ทำแผนผังแสดงลักษณะการเสื่อมสภาพ (mapping) อบฆ่าเชื้อรา  ฆ่าแมลงในแผ่นไม้  เช็ดทำความสะอาดผิวชิ้นงาน สำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการทดสอบวัสดุ เช่นกาวหนัง ยางรักสำหรับติด ผนึกเสริมความแข็งแรงด้วยเทคนิค shimbari  และเติมส่วนที่หลุดล่อนให้ครบสมบูรณ์   จากการปฏิบัติงานในระยะแรกคณะทำงานได้ทดสอบ ทดลองหาแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์  ซ่อมแซมจนมีแนวทางในการดำเนินงาน และเกิดความเข้าใจในการทำงานมากขึ้นจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์และเร็วขึ้น           ในการดำเนินงานคณะทำงานได้ทำการบันทึกข้อมูลกระบวนการทำงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นองค์ความรู้ในการอนุรักษ์  ซ่อมแซมงานศิลปกรรมประเภทบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต และจัดทำเป็นหนังสือองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ในลำดับต่อไป           ในปี ๒๕๖๔ ได้ซ่อมอนุรักษ์ชิ้นงานแล้วเสร็จบางส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน จึงควรนำชิ้นงานที่ซ่อมแล้วเสร็จติดผนึกกลับเพื่อถอดชิ้นงานชุดใหม่มาดำเนินงานการซ่อมต่อไป  การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ถือเป็นโครงการนำร่องที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป การทำงานประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในการอนุรักษ์ซ่อมแซม ทำให้เกิดการเรียนรู้  ฝึกฝน อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ ทักษะฝีมือในการปฏิบัติงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ เกิดความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีประเทศ ไทย-ญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต    

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ประจำปี ๒๕๕๖

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book รายงานสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น" โดย วิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น Mr.KIYOSHI MIYAGI ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๖"ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น"           สำนักช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมศิลปากรที่มีหน้าที่ในการผดุงรักษา ฟื้นฟู สืบทอดศิลปะวิทยาการทางด้านช่างฝีมือ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์งานด้านช่างศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรมของชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ประกอบด้วยกลุ่มประณีตศิลป์ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มจิตรกรรม กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา และศูนย์ศิลปะและการช่างไทย            สำนักช่างสิบหมู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านช่าง ศิลปกรรมระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรแก่บุคลากรภายใน หน่วยงานให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ เทคนิค วิธีการ เปรียบเทียบ นำไปสู่การสร้างสรรค์และการเผยแพร่ด้านศิลปกรรมกับศิลปินต่างประเทศ หน่วยงานได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในนานา ประเทศและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางด้านศิลปกรรม กระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ            สืบเนื่องจากการที่สำนักช่าง สิบหมู่ได้ดำเนินโครงการศึกษาดูงานด้านเครื่องรัก ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๖ มิถุนายน – ๓ กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๕๕๕  ณ  โอกินาวา  นารา และทาคามัตสึ โดยได้มีการศึกษาดูงาน ณ สตูดิโอของศิลปินแห่งชาติด้านเทคนิคเครื่องมุก อาจารย์คิตะมูระศิลปินด้านเครื่องมุกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดโอกินาวา  อาจารย์มาเอดะและอาจารย์มิยากิได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเครื่องรัก และได้ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง  จากการศึกษาดูงานครั้งนี้คณะเดินทางได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากศิลปินญี่ปุ่นในการแสดง สาธิต อธิบายขั้นตอนเทคนิคในการทำงานอย่างไม่ปิดบังและยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคนิคในการทำงานต่าง ๆ แก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่  โดยเฉพาะอาจารย์มิยากิที่เชี่ยวชาญงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องรักทุกชนิดและปฏิบัติงานเองในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การต้มหอยมุกซึ่งทำให้ได้มุกที่มีความบางมากสามารถนำมาใช้งานได้ง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่างไทยไม่มีความรู้และไม่เคยปฏิบัติมาก่อน สำนักช่างสิบหมู่จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อแลกเปลี่ยนด้านศิลปกรรมด้านเครื่องรัก ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๖  โดยเชิญวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดความรู้เทคนิค วิธีการ แนวคิด รูปแบบงานศิลปกรรมด้านเครื่องรักแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ โดยเรียนรู้จากการฝึกอบรมและร่วมปฏิบัติงานกับวิทยากรในการสร้างสรรค์ผลงาน และจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่สำเร็จจากการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะชนต่อไป            เอกสาร “รายงานสรุปการฝึกอบรม : ขั้นตอนการสร้างงานเครื่องรักแบบญี่ปุ่น” ฉบับนี้  เป็นรายงานสรุปผลการฝึกอบรมอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ : ด้านเครื่องรักระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น  ระหว่างวันที่ ๓ – ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  โดยวิทยากรศิลปินชาวญี่ปุ่น  Mr.KIYOSHI  MIYAGI  ซึ่งรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเอกสารรายงานโดย  นางสาวชุตินันท์  กฤชนาวิน  นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ  สังกัด ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต  

ความรู้ทั่วไป

วิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑป : องค์ความรู้จากครูช่าง อมร ศรีพจนารถ

                 เอกสารว่าด้วยวิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑปนี้เป็นเอกสารประกอบการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์อมร ศรีพจนารถ นายช่างศิลปกรรม ระดับ ๙ ของกรมศิลปากรขณะที่ท่านยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะไทยอยู่ ณ โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพฯ (วิทยาลัยช่างศิลป์ในปัจจุบัน) และเมื่อท่านย้ายมาบรรจุเป็นข้าราชการในกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ได้นำความรู้เรื่องศิลปะไทยหลายสาขาที่ท่านเคยสอนมาเผยแพร่แก่ข้าราชการใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงานในกองหัตถศิลป ซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์งานด้านนี้ให้เกิดความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติจนสามารถเป็นนายช่างด้านศิลปะไทยที่ดีมีความสามารถต่อไป การมีโอกาสได้ศึกษาความรู้จากท่านอาจารย์จึงเห็นว่าเอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท่านเคยแนะนำสั่งสอนไว้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษา                 เอกสารวิธีร่างยอดบุษบกหรือมณฑปได้อธิบายการเขียนไว้เป็นหลักพอประมาณแต่ขนาดและสัดส่วนต่าง ๆ ของยอดบุษบกหรือมณฑปในแต่ละอาคาร สามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับขนาด การใช้สอย และพื้นที่ตั้งของอาคาร ผู้ศึกษาจะต้องฝึกเขียน เพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศึกษารูปแบบอาคารลักษณะนี้เพิ่มขึ้นซึ่งจะได้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างยิ่ง

สารสำนักช่างสิบหมู่ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน ต.ค. ๕๒ - ม.ค. ๕๓

          เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  สารสำนักช่างสิบหมู่  ปีที่ ๑๐  ฉบับที่ ๑  ประจำเดือน ต.ค. ๒๕๕๒ - ม.ค. ๒๕๕๓  นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  และบรรยากาศการแสดงนิทรรศการงานช่างประณีตศิลป์ของสำนักช่างสิบหมู่  ในงานมหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ  ๕  ธันวาคม ๒๕๕๒  รวมไปถึงความหมายของรถประทีป (ไฟฟ้า) เทิดพระเกียรติ

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel