ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


ผลงาน


สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Mediaแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สมุดข่อย : ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒ เทคนิค : สีฝุ่นบนสมุดข่อย    ศิลปิน : นายวิสูตร  ศรีนุกูล ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๒๐ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อยชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  กองทัพเรือเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก ออกจากอู่หมายเลข ๑ อู่ทหารเรือ ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ไปจอดเทียบท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพื่อเป็นการถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี           หากจะกล่าวถึง เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  ได้มีการสันนิษฐานว่าบุษบกของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นคราวเดียวกับการสร้างเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔   และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกอันเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘           จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการฟื้นฟูและสืบสานพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างยิ่ง  ทรงมีราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติให้ดำรงอยู่  เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศและประชาชนชาวไทย  พร้อมทั้งยังช่วยบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจแก่คนไทย  ที่สำคัญเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลก           ซึ่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกได้ถูกใช้ในวาระสำคัญต่าง ๆ กระทั่งหลังจากปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงว่างเว้นจากการใช้งานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  แต่ได้เชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญาเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในโอกาสมหามงคลวาระต่าง ๆ เรื่อยมาจนตลอดรัชกาล  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสืบสาน  รักษา  และต่อยอดโบราณราชประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระราชยานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก เทียบท่าราชวรดิฐ  อ้างอิง        กระทรวงวัฒนธรรม, ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, (นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒.      ณัฏฐภัทร  จันทวิช, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่องในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล  เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐.      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงวัฒนธรรม, นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒. ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อย  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------  
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Mediaแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร ศิลปิน : นายเจริญ  มาบุตร  ตำแหน่ง : จิตรกรชำนาญการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๖๔ ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ นับเป็นขั้นตอนสำคัญภายหลังจากการถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศที่มีพัฒนาการของถ้อยพระวาจาสัมพันธ์อยู่กับสภาพการเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  ส่วนในรัชกาลปัจจุบันมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้    ศิลปิน : นายจักรพันธ์  หิรัญสาลี  จิตรกรชำนาญการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)            การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิค การเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร  พระครูพราหมณ์ถวายอนุษฏุภ ศิวมนตร์และถวายอนุษฏุภวิษณุมนตร์  เอ่ยประโยคสำคัญเป็นครั้งแรกว่า "ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม..." และระบุอีกตอนหนึ่งว่า "ขอทรงรับพระมหาสิริราชสมบัติ ถวัลยราชสมบัติ ขอจงทรงแผ่นปกครองทั่วปฐพี ขอจงทรงชนะอริราชดัสกร ทุกเมื่อเทอญ" ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นเป็น "พระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์"  ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีพระปฐมบรมราชโองการพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย และ #ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา พระที่นั่งภัทรบิฐ           ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตกเฉียงเหนือในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  ลักษณะเป็นพระเก้าอี้ถมทอง  พนักเก้าอี้และเท้าแขนต่อเนื่องกันเป็นกงแบบเก้าอี้จีน  ซึ่งพระเก้าอี้ที่ใช้ประกอบเป็นพระที่นั่งภัทรบิฐนั้น  จัดเป็นงานประณีตศิลป์ประเภทเครื่องถม  โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง)  บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  ได้สร้างขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว  เบื้องหลังพระที่นั่งภัทรบิฐปักนพปฎลมหาเศวตรฉัตร  ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์แล้ว  เสด็จพระราชดำเนินประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ  ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ เครื่องราชูปโภคและราชสมบัติ   อ้างอิง     กรมศิลปากร. เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.         คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79      ธีรชัย  จันทรังษี. “เครื่องถม.”  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๑๑. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๕๑.   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้  ได้จากลิ้งค์ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ---------------------------------------------------https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 ---------------------------------------------------  
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน  พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกรอบ  เทคนิค : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน    ขนาด : กว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร  ยาว ๓๐๐ เซนติเมตร ศิลปิน (ภาพเขียน) : นายลาภ  อำไพรัตน์  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ศิลปิน (งานปั้น) : นายฐิติ  หัตถกิจ  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  และกลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)   สามารถรับชมขั้นตอนการจัดสร้างกรอบปั้นปูนน้ำมันได้ทาง YouTube ตามลิ้งค์ด้านล่าง รวบรวมข้อมูล บันทึกภาพและตัดต่อวีดิทัศน์โดยนางสาวสุภัทรา  ทรัพย์สงเคราะห์  นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการสังกัด  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน เทคนิค : สีฝุ่นบนภาพพระบฎ    ศิลปิน : นายวิริยะ  ชอบกตัญญู   ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน   การถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ           เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ซึ่งตามธรรมเนียมเก่านั้นพระมหาราชครูจะต้องประคองพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้นประทับ จากนั้นพระมหาราชครูพราหมณ์ร่ายเวทย์สรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาศ กราบบังคมทูลเฉลิมพระปรมาภิไธย กราบบังคมทูลถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศทั้งปวง ตลอดจนเป็นผู้รับพระบรมราชโองการเป็นปฐม  เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์           เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เป็นเครื่องแสดงว่าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์แล้ว           พระมหาพิชัยมงกุฎ : เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร สูง ๖๖ เซนติเมตร น้ำหนัก ๗๓๐๐ กรัม  สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในรัชกาลที่ ๑ ในครั้งนั้นยอดพระมหาพิชัยมงกุฎยังเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับเพชรเม็ดเล็ก ๆ  จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปเลือกสรรหาซื้อเพชรขนาดใหญ่มาจากประเทศอินเดีย  นำมาประดับยอดมงกุฎแทนพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานเพชรเม็ดนี้ว่า “พระมหาวิเชียรมณี” เพชรเม็ดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๖ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร                     พระแสงขรรค์ชัยศรี : เป็นพระขรรค์โบราณ เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองเขมร สมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐ มาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงไปทอดแหติดขึ้นมา  องค์พระขรรค์ยังดีไม่มีสนิมผุกร่อน ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง และ นครเสียมราฐ  จึงได้มอบให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม  เสร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘  พระแสงองค์นี้ เฉพาะองค์ยาว ๖๔.๕ ซ.ม. ที่สันตอนใกล้จะถึงด้ามคร่ำด้วยทองคำเป็นลวดลายงดงาม ด้ามพระขรรค์ ยาว ๒๕.๔ ซ.ม. สวมฝักแล้วยาว ๑๐๑ ซ.ม. หนัก ๑๙๐๐ กรัม            ธารพระกร : เป็นไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นซ่อมสามง่าม  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอธิบายไว้ว่า  “ลักษณะก็เหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุที่สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล" ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์แต่รัชกาลที่ ๑           พระวาลวิชนี : ของเดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม ที่ใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำ  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์  ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือกแทน เรียกว่าพระแส้ขนหางช้างเผือก แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้  จึงโปรดให้ใช้ควบคู่กัน โดยเรียกของสองสิ่งรวมกันว่า “วาลวิชนี ”           ฉลองพระบาท : เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำยาราชาวดีฝังเพชร มีน้ำหนัก ๖๕๐ กรัม สร้างเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑  ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหาราชครูวามหามุนีเป็นผู้สวมถวาย บรรณานุกรม -------------------- กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.   คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.        [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79 --------------------   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง--------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 ---------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก   เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้    ศิลปิน : นายนพพล  งามวงษ์วาน   ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๙ น.  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์  ทรงฉลองพระองค์ครุยสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์  สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณแล้วประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร  แปรพระพักต์สู่บูรพาทิศเป็นปฐม  เพื่อทรงรับน้ำอภิเษก   การถวายน้ำอภิเษก           เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงผลัดฉลองพระองค์เป็นเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์แล้ว เสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร เพื่อทรงรับน้ำอภิเษกจากผู้แทนทิศทั้งแปด ราชบัณฑิตประจำทิศเข้าไปคุกเข่าถวายบังคมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายแว่นแคว้น ถวายดินแดน ถวายพุทธศาสนา และถวายประชาชน ซึ่งอยู่ในทิศนั้น ๆ ให้ทรงปกป้องคุ้มครองและทำนุบำรุง  แล้วจึงถวายน้ำอภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษกด้วยพระหัตถ์แล้วทรงจิบและทรงลูบพระพักตร์ กับทรงรับด้วยพระเต้าเบญจคัพย์  แล้วจึงมีกระแสพระราชดำรัสตอบ เมื่อสิ้นกระแสพระราชดำรัส พราหมณ์เป่าสังข์ พราหมณ์พิธีถวายน้ำพระมหาสังข์ พราหมณ์พฤฒิบาศถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบสัมฤทธิ์ ต่อจากนั้นจึงทรงผันพระองค์ไปโดยทักษิณาวัฏ ทรงปฏิบัติโดยนัยเดียวกับทิศบูรพาจนรอบพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์โดยลำดับ            การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่ครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๔๙๓ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชครูพราหมณ์น้อมเกล้าฯ ถวายพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ภายหลังจากที่ถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์เป็นปฐม ก่อนเสด็จไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศต่อไป ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวได้ยึดถือเป็นแบบแผนมาถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลปัจจุบัน  อันส่งผลให้พระเศวตฉัตรที่กางกั้นเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐในรัชกาลที่ ๙ และรัชกาลปัจจุบัน  เปลี่ยนจากพระบวรเศวตฉัตรเป็นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร บรรณานุกรมกรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.    คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.        [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79       ผู้ที่สนใจขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร ศิลปิน : นายกฤษฎา  กันต์แจ่ม    ตำแหน่ง : จิตรกร กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  โดยริ้วขบวนพราหมณ์  เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง  สังเวยเทวดากลางหาว  แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน  ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์  แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก    ผู้ที่สนใจขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพา
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพา  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพา เทคนิค : เขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏ ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร ศิลปิน : นายสิทธิพร  สระโพธิ์ทอง  จิตรกร กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  โดยริ้วขบวนพราหมณ์  เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง  สังเวยเทวดากลางหาว  แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน  ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์  แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก   มณฑปพระกระยาสนาน           “มณฑปพระกระยาสนาน” หรือ “พระมณฑปพระกระยาสนาน” เป็นสถานที่สรงสนานสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ลักษณะเป็นมณฑปหุ้มผ้าขาวแต่งด้วยเครื่องทองคำ  เพดานดาดผ้าขาว  มีสหัสธารา [สะ-หัด-สะ-ทา-รา] สำหรับไขน้ำพระมุรธาภิเษกจากบนเพดานให้โปรยลงยังที่สรง  ผูกพระวิสูตรขาวทั้ง ๔ ด้าน ภายในมณฑปตั้งตั่งอุทุมพรบนถาดทองรองน้ำสรง             วันสรงพระมุรธาภิเษก ตั้งถาดสรงพระพักตร์ มีครอบมุรธาภิเษกสนาน และวางใบไม้นามวันกาลกิณีสำหรับทรงเหยียบบนฐานมณฑปตั้งราชวัติทรงเครื่องพื้นขาวลายทอง  ตั้งฉัตร ๗ ชั้นทองแผ่ลวดพื้นโหมดทองเงินนาคทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๓ องค์ มีบุษบกน้อยสำหรับประดิษฐานพระชัยนวโลหะ [พฺระ-ไช-นะ-วะ-โล-หะ] ทางทิศตะวันออกและประดิษฐานพระมหาพิฆเนศ [พฺระ-มะ-หา-พิ-คะ-เนด] ทางทิศตะวันตก ที่มุมฐานมณฑปทั้ง ๔ มุม ตั้งศาลจัตุโลกบาล [จัด-ตุ-โลก-กะ-บาน] สำหรับบูชาพระฤกษ์ การสรงพระมุรธาภิเษก           “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร น้ำที่รดเรียกว่า “น้ำมุรธาภิเษก” การสรงพระมุรธาภิเษก หมายถึงการยกให้ หรือการแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ ซึ่งตามคติความเชื่อของพราหมณ์ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งน้ำสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่บรรจุในทุ้งสหัสธารานั้น เจือด้วยน้ำปัญจมหานที ในมัธยมประเทศ (อินเดีย) และน้ำเบญจสุทธคงคา แม่น้ำสำคัญทั้งห้าของราชอาณาจักรไทย น้ำสี่สระ เจือด้วยน้ำอภิเษก ซึ่งทำพิธีพลีกรรม ตักมาจาก ปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร และเจือด้วยน้ำพระพุทธปริตรที่ได้ทำพิธีเตรียมไว้                ขั้นตอนปฏิบัติในการสรงพระมุรธาภิเษกมีแบบแผนคล้ายกันในทุกรัชกาลนับตั้งแต่ทรงผลัดฉลองพระองค์เศวตพัสตร์ เสด็จโดยริ้วขบวนจากหอพระสุราลัยพิมานมายังมณฑปพระกระยาสนาน ทรงจุดธูปเทียนเทียนบูชาเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นประทับเหนือตั่งไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาวผินพระพักตร์สู่มงคลทิศในแต่ละรัชกาล ดังกรณีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปรพระพักตร์ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปรพระพักตร์ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงแปรพระพักตร์ทิศบูรพา (ตะวันออก)  การผินพระพักตร์ไปยังมงคลทิศต่าง ๆ นี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่พระองค์และความสวัสดิสุขแด่ปวงชน                นอกจากการแปรพระพักตร์ไปในมงคลทิศต่าง ๆ แล้ว ยังปรากฏธรรมเนียมการทอดใบไม้กาลกิณีให้ทรงเหยียบซึ่งแตกต่างกันในแต่ละรัชกาลด้วย เช่น รัชกาลที่ ๖ ทอดใบกระถิน รัชกาลที่ ๗ ทอดใบตะขบ รัชกาลที่ ๙ และรัชกาลปัจจุบัน ทอดใบอ้อ            ในส่วนของการถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนตร์ด้วยพระเต้า พระครอบ และพระมหาสังข์ต่าง ๆ นั้น โดยปกติบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้า พระราชครูพราหมณ์ เจ้าพนักงาน แต่ในบางรัชกาลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบุคคลปฏิบัติหน้าที่ถวายน้ำเพิ่มเติม ดังเช่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อาราธนาสมเด็จพระราชาคณะ ๓ รูปถวายน้ำพระพุทธมนต์หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรสถวายน้ำพระพุทธมนต์ที่พระขนองและพระหัตถ์แล้ว รวมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถวายน้ำด้วยพระเต้าศิลายอดเกี้ยวที่พระขนองและพระหัตถ์ด้วย  บรรณานุกรม ------------------ กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.   คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก            http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79 ------------------ ผู้ที่สนใจขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏ  สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรองที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรองที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรองที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช  ๒๕๖๒ เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร ศิลปิน : นางสาวนิธีราฤดี ภาตะนันท์  นายช่างศิลปกรรม อาวุโส กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร   ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ "เถลิงรัชช์หัตถศิลป์"ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)             การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนตาลปัตร  พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรอง  ที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  เป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในการเริ่มพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ  จิตรกรเขียนภาพจิตรกรรมด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามผสมดินสอพอง  โดยศูนย์ศิลปะและการช่างไทยได้บันทึกรวบรวมขั้นตอน  เรียบเรียงจัดทำเป็นวีดีทัศน์องค์ความรู้  สำหรับสืบทอดกระบวนการงานช่างแบบโบราณของกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่างค่ะ ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : บาตรประดับมุก
สื่อประชาสัมพันธ์ : บาตรประดับมุก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บาตรประดับมุก ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๖๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานยืมจัดแสดง ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)            ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒  กรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่  ดำเนินการจัดสร้างศิลปกรรมที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี ๑ ชุด  คือ  #เครื่องไทยธรรม หมายถึง สิ่งของที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วย บาตรประดับมุก และ หีบประดับมุก (หีบใบใหญ่ภายในบรรจุหีบใบเล็กสามใบ)              โดยเครื่องไทยธรรมชุดนี้ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ในช่วงท้ายของพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์  ทรงหลั่งทักษิโณทก เสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย           บาตรประดับมุก  ประกอบด้วย  บาตร  ฝาบาตร  และเชิงบาตร  บาตรประดับมุกเป็นบาตรทรงมะนาวแป้น  พื้นฝาบาตรประดับมุกทึบเต็มพื้นที่ (ปูพื้นอย่างโมเสก) ประดับเป็นรูปเหลี่ยมเพชร  ฝาบาตรด้านบนประดับด้วยโลหะสลักดุนนูน  ฉลุทองแดงชุบทอง  รูปพระราชลัญจกรประจำรัชกาล  พระจุฬมงกุฎมหาวชิราวุธประดิษฐานบนพานปากกระจับ ๒ ชั้น ประกอบด้านซ้ายและขวาด้วยฉัตรบริวาร  ล้อมด้วยสายสร้อยและดวงตราเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์             รอบฝาบาตรประดับโลหะสลักดุนนูนรูป อัฏฐพิธมงคล หรือ สัญลักษณ์มงคล ๘ ประการ  ได้แก่ ๑.อุณหิสหรือกรอบหน้า ๒.คทาหรือกระบอง ๓.สังข์ ๔.จักร ๕.ธงชัย ๖.อังกุศหรือขอช้าง ๗.โคอุสภ ๘.กุมภ์หรือหม้อน้ำ สัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการนี้เป็นความเชื่อที่คนไทยแต่โบราณได้รับคติมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยสิ่งที่เป็นมงคลทั้งแปดนี้ มีความสัมพันธ์เนื่องในพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์   ผู้ที่สนใจกระบวนการสร้างบาตรประดับมุก  สามารถอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้---------------------------------------https://datasipmu.finearts.go.th/academic/38---------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สื่อประชาสัมพันธ์ : คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustratorใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร  โดยสำนักช่างสิบหมู่  ดำเนินออกแบบ  จัดทำหุ่นต้นแบบ กระทรวงมหาดไทย  จัดหาโรงงานในการผลิตชิ้นงาน  โรงงานรัตนโกสินทร์  จ.ราชบุรี  ดำเนินการผลิต  และสำนักช่างสิบหมู่กำกับควบคุมการผลิต  เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงามสมพระเกียรติ ผลงานศิลปกรรมออกแบบโดย สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก       พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญสูงสุดสำหรับผู้ที่จะขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ  เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลบางประการมาจากรูปแบบพิธีกรรมในคัมภีร์สันสกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พิธีราชสูยะ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระราชาธิบดีที่ได้แผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือบรรดาพระราชาทั้งปวง อย่างไรก็ตาม เมื่อคติความเชื่อดังกล่าวเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการผสมผสานคติความเชื่อและพิธีกรรมทั้งของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมผ่านกระบวนการทำให้เป็นท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการพระราชพิธีเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง      นักวิชาการสันนิษฐานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยน่าจะรับรูปแบบพิธีกรรมจากอินเดียผ่านจากพวก มอญ ชวา และเขมร จากหลักฐานต่าง ๆ กล่าวได้ว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้มีพัฒนาการอย่างน้อยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งปรากฏเด่นชัดในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเตรียมพระราชพิธี        มีการทำพิธีตักน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก การจารึกพระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร การเตรียมตั้งแต่งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธีการเตรียมน้ำสรงพระมุรธาภิเษก และน้ำอภิเษก      การสรงพระมุรธาภิเษกและทรงรับน้ำอภิเษกนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  น้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกตามคติพราหมณ์จะต้องใช้น้ำจากแม่น้ำสำคัญ ๕ สายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู เรียกว่า “ปัญจมหานที” ด้วยเชื่อว่าแม่น้ำเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเขาไกรลาสอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้ใช้น้ำปัญจมหานทีหรือไม่ พบแต่เพียงการใช้น้ำจากสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ในแขวงเมืองสุพรรณบุรีเป็นสำคัญ       ครั้นถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กำหนดให้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ แห่งทั่วทุกจังหวัด  และตั้งพิธีเสกน้ำในพระอารามจังหวัดนั้น ๆ ก่อนเชิญมาทำพิธีเสกรวมอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustratorใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒ เทคนิค : สลักดุนโลหะ  ปิดทอง ลงยาสี  และประดับคริสตัล กลุ่มงานช่างบุ และช่างศิราภรณ์  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)    ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช  ๒๕๖๒       อักษรพระปรมาภิไธย วปร. (อยู่ตรงกลาง) พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง  อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร  ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร. อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์  ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ  กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม  อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช  ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล  อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแส้จามรีทอดไขว้อยู่เบื้องขวา  ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี  ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอนอยู่เบื้องล่าง        พระมหาพิชัยมงกุฎ  หมายถึง  ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดิน  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน        พระแสงขรรค์ชัยศรี  หมายถึง  ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย      ธารพระกร  หมายถึง  ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง      พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี  หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์      ฉลองพระบาทเชิงงอน  หมายถึง  ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร     เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎ : ประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด  ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ      เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธย : มีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทองขอบขลิบทอง  มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน  ประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร      เบื้องซ้าย : มีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน  ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค  แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ  สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน วีดิทัศน์ขั้นตอนการจัดสร้างตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒ รวบรวมข้อมูล บันทึกภาพและตัดต่อวีดิทัศน์โดย นางสาวสุภัทรา  ทรัพย์สงเคราะห์  นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการสังกัด  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  
รวมภาพพิธีไหว้ครูช่างกรมศิลปากร
พิธีไหว้ครูช่างกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยมีนายอำพล สัมมาวุฒธิ อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (วิจัยและพัฒนาศิลปกรรม) เป็นครูเจ้าพิธี พิธีไหว้ครูช่างกรมศิลปากรจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านศิลปกรรมได้แสดงถึงความกตเวทิตาคุณครูบาอาจารย์ เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามและแสดงถึงความเคารพต่อครูอาจารย์เพื่อความเป็นสิริมงคลรวมถึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงาม สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจ ร่วมกันสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่สืบไป โดยสำนักช่างสิบหมู่ได้สืบทอดพิธีไหว้ครูช่างเป็นประจำทุกปีและจะประกอบพิธีในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้นเดือน ๖ ของทุกปี - - - - รายการถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊กสำนักช่างสิบหมู่ - - - - 
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel