ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


ผลงาน


พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
จิตรกร : นายลาภ อำไพรัตน์  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน ในโอกาสเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารสำนักช่างสิบหมู่ และจิตรกรผู้สร้างสรรค์ผลงาน ถวายพระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แทนรับมอบ
พระนารายณ์มหาราช
จิตรกร : นายนพพล งามวงษ์วาน นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2191-2231 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 พระชนมายุ 56 พรรษานิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเกี่ยวกับรูปร่างของสมเด็จพระนารายณ์ไว้อย่างน่าสนใจ คือ "พระองค์ทรงมีรูปร่างสันทัด พระพักตร์ยาว พระฉวีคล้ำ ดวงพระเนตรแจ่มใสเป็นประกาย พระวรกายโดยรวมมีลักษณะท่าทีของผู้ยิ่งใหญ่ สง่างาม พระอัธยาศัยอ่อนโยน" และในบันทึกอีกส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า มีพระปีฬก หรือ ไฝ บริเวณคางข้างซ้ายเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา หรือ ขน สองเส้นห้อยลงมายาวรูปแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ในภาพดังกล่าวนี้ ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมอินโด-เปอเซียเป็นรูปแบบเสื้อที่มีการใข้งานจริงตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สอดคล้องกับรายงานของ อ็องเดร เดส์ล็องส์-บูโร (Andre' Deslandes-Boureau) ผู้แทนราชบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ใน พ.ศ.2223 ได้กล่าวถึงฉลองพระองค์ของพระองค์ไว้ว่า"ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงมาจากเมืองเปอเซียมีดอกสีทองประปราย" อย่างไรก็ตามรูปแบบฉลองพระองค์อย่างเทศในสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งสามารถศึกษาได้จากภาพพิมพ์ของออกพระวิสุทสุนทร ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรีวิสารวาจา ที่ทำในฝรั่งเศส โดย โยฮันน์ ไฮเซลมาน (Johan Haizelman) จะพบว่าทั้งสามท่านสวมเสื้ออย่างเทศเหมือนกัน   ยังปรากฏหลักฐานว่าฉลองพระองค์อย่างเทศถูกใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังพบหลักฐานพระรูปของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ขณะปฏิบัติงานเขียนลายเส้น
สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : สมุดข่อย ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Mediaแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สมุดข่อย : ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒ เทคนิค : สีฝุ่นบนสมุดข่อย    ศิลปิน : นายวิสูตร  ศรีนุกูล ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๒๐ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อยชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  กองทัพเรือเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก ออกจากอู่หมายเลข ๑ อู่ทหารเรือ ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ไปจอดเทียบท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพื่อเป็นการถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี           หากจะกล่าวถึง เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  ได้มีการสันนิษฐานว่าบุษบกของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นคราวเดียวกับการสร้างเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔   และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกอันเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘           จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการฟื้นฟูและสืบสานพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างยิ่ง  ทรงมีราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติให้ดำรงอยู่  เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศและประชาชนชาวไทย  พร้อมทั้งยังช่วยบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจแก่คนไทย  ที่สำคัญเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลก           ซึ่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกได้ถูกใช้ในวาระสำคัญต่าง ๆ กระทั่งหลังจากปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงว่างเว้นจากการใช้งานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก  แต่ได้เชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญาเป็นเรือพระที่นั่งทรง  ในการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่องในโอกาสมหามงคลวาระต่าง ๆ เรื่อยมาจนตลอดรัชกาล  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสืบสาน  รักษา  และต่อยอดโบราณราชประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระราชยานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก เทียบท่าราชวรดิฐ  อ้างอิง        กระทรวงวัฒนธรรม, ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, (นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒.      ณัฏฐภัทร  จันทวิช, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่องในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล  เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐.      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงวัฒนธรรม, นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒. ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อย  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------  
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Mediaแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร ศิลปิน : นายเจริญ  มาบุตร  ตำแหน่ง : จิตรกรชำนาญการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๖๔ ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ นับเป็นขั้นตอนสำคัญภายหลังจากการถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศที่มีพัฒนาการของถ้อยพระวาจาสัมพันธ์อยู่กับสภาพการเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  ส่วนในรัชกาลปัจจุบันมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้    ศิลปิน : นายจักรพันธ์  หิรัญสาลี  จิตรกรชำนาญการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)            การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิค การเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร  พระครูพราหมณ์ถวายอนุษฏุภ ศิวมนตร์และถวายอนุษฏุภวิษณุมนตร์  เอ่ยประโยคสำคัญเป็นครั้งแรกว่า "ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม..." และระบุอีกตอนหนึ่งว่า "ขอทรงรับพระมหาสิริราชสมบัติ ถวัลยราชสมบัติ ขอจงทรงแผ่นปกครองทั่วปฐพี ขอจงทรงชนะอริราชดัสกร ทุกเมื่อเทอญ" ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นเป็น "พระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์"  ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีพระปฐมบรมราชโองการพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย และ #ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา พระที่นั่งภัทรบิฐ           ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตกเฉียงเหนือในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  ลักษณะเป็นพระเก้าอี้ถมทอง  พนักเก้าอี้และเท้าแขนต่อเนื่องกันเป็นกงแบบเก้าอี้จีน  ซึ่งพระเก้าอี้ที่ใช้ประกอบเป็นพระที่นั่งภัทรบิฐนั้น  จัดเป็นงานประณีตศิลป์ประเภทเครื่องถม  โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง)  บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  ได้สร้างขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว  เบื้องหลังพระที่นั่งภัทรบิฐปักนพปฎลมหาเศวตรฉัตร  ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์แล้ว  เสด็จพระราชดำเนินประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ  ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ เครื่องราชูปโภคและราชสมบัติ   อ้างอิง     กรมศิลปากร. เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.         คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79      ธีรชัย  จันทรังษี. “เครื่องถม.”  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๑๑. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๕๑.   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้  ได้จากลิ้งค์ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ---------------------------------------------------https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 ---------------------------------------------------  
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน  พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกรอบ  เทคนิค : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน    ขนาด : กว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร  ยาว ๓๐๐ เซนติเมตร ศิลปิน (ภาพเขียน) : นายลาภ  อำไพรัตน์  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ศิลปิน (งานปั้น) : นายฐิติ  หัตถกิจ  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  และกลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)   สามารถรับชมขั้นตอนการจัดสร้างกรอบปั้นปูนน้ำมันได้ทาง YouTube ตามลิ้งค์ด้านล่าง รวบรวมข้อมูล บันทึกภาพและตัดต่อวีดิทัศน์โดยนางสาวสุภัทรา  ทรัพย์สงเคราะห์  นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการสังกัด  ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
สื่อประชาสัมพันธ์ : ภาพพระบฏ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน เทคนิค : สีฝุ่นบนภาพพระบฎ    ศิลปิน : นายวิริยะ  ชอบกตัญญู   ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง และพระปฐมบรมราชโองการพระราชทาน   การถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ           เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ซึ่งตามธรรมเนียมเก่านั้นพระมหาราชครูจะต้องประคองพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้นประทับ จากนั้นพระมหาราชครูพราหมณ์ร่ายเวทย์สรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาศ กราบบังคมทูลเฉลิมพระปรมาภิไธย กราบบังคมทูลถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศทั้งปวง ตลอดจนเป็นผู้รับพระบรมราชโองการเป็นปฐม  เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์           เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เป็นเครื่องแสดงว่าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์แล้ว           พระมหาพิชัยมงกุฎ : เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร สูง ๖๖ เซนติเมตร น้ำหนัก ๗๓๐๐ กรัม  สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในรัชกาลที่ ๑ ในครั้งนั้นยอดพระมหาพิชัยมงกุฎยังเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับเพชรเม็ดเล็ก ๆ  จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปเลือกสรรหาซื้อเพชรขนาดใหญ่มาจากประเทศอินเดีย  นำมาประดับยอดมงกุฎแทนพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานเพชรเม็ดนี้ว่า “พระมหาวิเชียรมณี” เพชรเม็ดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๖ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร                     พระแสงขรรค์ชัยศรี : เป็นพระขรรค์โบราณ เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองเขมร สมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐ มาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงไปทอดแหติดขึ้นมา  องค์พระขรรค์ยังดีไม่มีสนิมผุกร่อน ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง และ นครเสียมราฐ  จึงได้มอบให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม  เสร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘  พระแสงองค์นี้ เฉพาะองค์ยาว ๖๔.๕ ซ.ม. ที่สันตอนใกล้จะถึงด้ามคร่ำด้วยทองคำเป็นลวดลายงดงาม ด้ามพระขรรค์ ยาว ๒๕.๔ ซ.ม. สวมฝักแล้วยาว ๑๐๑ ซ.ม. หนัก ๑๙๐๐ กรัม            ธารพระกร : เป็นไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นซ่อมสามง่าม  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอธิบายไว้ว่า  “ลักษณะก็เหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุที่สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล" ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์แต่รัชกาลที่ ๑           พระวาลวิชนี : ของเดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม ที่ใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำ  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์  ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือกแทน เรียกว่าพระแส้ขนหางช้างเผือก แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้  จึงโปรดให้ใช้ควบคู่กัน โดยเรียกของสองสิ่งรวมกันว่า “วาลวิชนี ”           ฉลองพระบาท : เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำยาราชาวดีฝังเพชร มีน้ำหนัก ๖๕๐ กรัม สร้างเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑  ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหาราชครูวามหามุนีเป็นผู้สวมถวาย บรรณานุกรม -------------------- กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.   คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.        [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79 --------------------   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง--------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 ---------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก
สื่อประชาสัมพันธ์ : พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก   เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้    ศิลปิน : นายนพพล  งามวงษ์วาน   ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร  ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๙ น.  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์  ทรงฉลองพระองค์ครุยสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์  สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณแล้วประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร  แปรพระพักต์สู่บูรพาทิศเป็นปฐม  เพื่อทรงรับน้ำอภิเษก   การถวายน้ำอภิเษก           เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงผลัดฉลองพระองค์เป็นเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์แล้ว เสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร เพื่อทรงรับน้ำอภิเษกจากผู้แทนทิศทั้งแปด ราชบัณฑิตประจำทิศเข้าไปคุกเข่าถวายบังคมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายแว่นแคว้น ถวายดินแดน ถวายพุทธศาสนา และถวายประชาชน ซึ่งอยู่ในทิศนั้น ๆ ให้ทรงปกป้องคุ้มครองและทำนุบำรุง  แล้วจึงถวายน้ำอภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษกด้วยพระหัตถ์แล้วทรงจิบและทรงลูบพระพักตร์ กับทรงรับด้วยพระเต้าเบญจคัพย์  แล้วจึงมีกระแสพระราชดำรัสตอบ เมื่อสิ้นกระแสพระราชดำรัส พราหมณ์เป่าสังข์ พราหมณ์พิธีถวายน้ำพระมหาสังข์ พราหมณ์พฤฒิบาศถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบสัมฤทธิ์ ต่อจากนั้นจึงทรงผันพระองค์ไปโดยทักษิณาวัฏ ทรงปฏิบัติโดยนัยเดียวกับทิศบูรพาจนรอบพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์โดยลำดับ            การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่ครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๔๙๓ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชครูพราหมณ์น้อมเกล้าฯ ถวายพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ภายหลังจากที่ถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์เป็นปฐม ก่อนเสด็จไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศต่อไป ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวได้ยึดถือเป็นแบบแผนมาถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลปัจจุบัน  อันส่งผลให้พระเศวตฉัตรที่กางกั้นเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐในรัชกาลที่ ๙ และรัชกาลปัจจุบัน  เปลี่ยนจากพระบวรเศวตฉัตรเป็นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร บรรณานุกรมกรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.    คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.        [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79       ผู้ที่สนใจขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สื่อประชาสัมพันธ์ : ตาลปัตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ใช้สำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์ทาง  Social Media  แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ  ของกรมศิลปากร  เพื่อประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ข้อมูลประกอบสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร ศิลปิน : นายกฤษฎา  กันต์แจ่ม    ตำแหน่ง : จิตรกร กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  โดยริ้วขบวนพราหมณ์  เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง  สังเวยเทวดากลางหาว  แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน  ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์  แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก    ผู้ที่สนใจขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel