ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.

ผลงาน

ตาลปัตร ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เล่มที่ ๑)
ตาลปัตรในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน แบบที่ ๒  ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยออกแบบ  โดย  นายเกียรติศักดิ์  สุวรรณพงศ์   ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรมเขียนสี  โดย   นายกฤษฎา กันต์แจ่ม   ตำแหน่ง จิตรกร  -------------------------------------------------------------------------------สามารถรับชมข้อมูลการจัดสร้างตาลปัตร (ตอนที่ ๑) ได้จาก QR CODE ด้านล่างhttps://datasipmu.finearts.go.th/academic/51---------------------------------------------------------------------------------การจัดสร้างตาลปัตร (ตอนที่ ๒) ได้จาก QR CODE ด้านล่างhttps://datasipmu.finearts.go.th/academic/52------------------------------------------------------------------------------วีดิทัศน์การจัดสร้างตาลปัตร  ได้จาก QR CODE ด้านล่างhttps://datasipmu.finearts.go.th/portfolio/1223------------------------------------------------------------  
ปิดทองนพศูล บนเทวาลัย พระศิวลึง ณ เทวสถาน สำหรับพระนคร( โบสถ์พรามหณ์ )
         เนื่องด้วย ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เทวสถาน สำหรับพระนคร ( โบสถ์พราหมณ์ )  ได้พบ กิ่งนพศูล บนเทวาลัย พระศิวลึง หักตกลงมาด้านล่าง จึงได้ขอความอนุเคราะห์มาทาง สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรดำเนินการซ่อมแซม เชื่อมทองเหลือง และ ปิดทองใหม่ทั้งองค์ ณ เทวสถาน สำหรับพระนคร ( โบสถ์พราหมณ์ )  นภศูล หรือ นพศูล กับความกังขา นภศูล สมัยอยุธยา นภศูลปรางค์ทั่วๆ ไป และนภศูลปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์  เครื่องประดับส่วนยอดของสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งพบเห็นกันอยู่ทั่วไปทั้งที่ส่วนยอดของปรางค์ ตามวัดในพุทธศาสนา หรือส่วนยอดของอาคารปราสาท มหาปราสาทที่มีเครื่องยอดทรงปรางค์ เครื่องประดับนี้ พจนานุกรมฉบับต่างๆ รวมทั้งข้อเขียน บทความ หนังสือ ตำราเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย จะเรียกกันทั้งนภศูลและนพศูล และยังให้ความหมายของกิ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบว่าเป็นนภศูลและนพศูลด้วย ซึ่งชื่อที่เรียกต่างๆ นี้ จะแยกแยะว่าควรจะเรียกว่าอย่างใดในภายหลัง             เครื่องประดับนี้จะมีรูปร่างและรูปแบบแตกต่างกัน ส่วนยอดของปราสาทหรือปรางค์ขอมนั้นทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและทั้งที่อยู่ในประเทศเขมรปัจจุบัน จะไม่ปรากฏเครื่องประดับยอดปรางค์นี้อยู่ที่ส่วนยอดเลย นอกจากผู้เขียนพบจอมโมฬีหรือบัวกลุ่ม ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนยอดบนสุด มีรูสำหรับเสียบเครื่องประดับ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร จอมโมฬีนี้พังทลายหล่นลงมาอยู่บนพื้นดินในจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่ลายหน้าบันสลักด้วยหินที่มุขของปราสาทด้านทิศตะวันตก  ของปราสาทประธาน ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ก็มีรูปแบบเป็นตรีศูล หรือศาสตราของพระอิศวรเท่านั้น             สำหรับประเทศไทย ยังมีเครื่องประดับยอดปรางค์ทั้งที่อยู่บนยอดของปรางค์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับองค์ปรางค์ที่รอการบูรณะหรือตั้งแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ของทางราชการ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเครื่องประดับยอดปรางค์ของปรางค์ไทย ที่ยังเรียกชื่อและให้นิยามความหมายที่ยังสับสนกันอยู่เท่านั้น            โดยจะรวบรวมความหมายต่างๆ จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ และพจนานุกรม ฉบับมติชน พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๔๗ มาเทียบเคียงเพื่อความกระจ่างต่อไป (ดูตาราง)           สำหรับเครื่องประดับยอดปรางค์ของประเทศไทย จะเป็นเครื่องโลหะปลายแหลมต่อด้วยแกนกลางเป็นลำยาว เสียบอยู่ที่ยอดปรางค์ต่อจากจอมโมฬีหรือบัวกลุ่ม ตลอดลำที่ยอดเป็นศูล คือหลาว รวมเรียกว่าลำภุขัน ลำ หรือด้ามของอาวุธ มีปลายลำเป็นหลาวมิใช่หอก พอสรุปได้ว่าสิ่งประดับยอดปรางค์ คือแกนกลาง เป็นลำของอาวุธ คือลำภุขัน มีกิ่งจำนวน ๓ ชั้น แต่ละชั้นมีสาขาออกไป ๔ ทิศ ๓ ชั้นรวมเป็น ๑๒ สาขา รวมหลาวซึ่งเป็นแกนกลางอีก ๑ รวมเป็น ๑๓ และโดยเฉพาะจะชี้ขึ้นไปบนฟ้า คือนภ หรือนภา เครื่องประดับยอดปรางค์จึงสมควรเรียกว่านภศูลเท่านั้น ส่วนคำว่านพศูล มีผู้อธิบายว่ามีกิ่งจำนวน ๒ ชั้น รวม ๘ กิ่ง และเมื่อรวมกับหลาวอีก ๑ ก็จะเป็น ๙ ตรงกับคำว่านพ แต่เท่าที่พบปรางค์ต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยจะพบว่ามีกิ่งจำนวน ๓ ชั้น ๑๒ กิ่งเท่านั้น ไม่พบว่ามีกิ่งหรือสาขาจำนวน ๒ ชั้น ๘ กิ่ง ฝักเพกา-ฝักลิ้นฟ้า เพกา น. ชื่อไม้ต้นชนิด Oroxylumindicum (L.) Kurz ในวงศ์ Bignoniaceaeฝักแบนยาวใหญ่มาก ฝักอ่อนทำให้สุกแล้วกินได้ เมล็ดใช้ทำยาได้ ช่างไทยเอาคำว่าฝักเพกามาเป็นชื่อกิ่งชนิดหนึ่งของนภศูล         จากพจนานุกรมทั้ง ๒ เล่ม อธิบายยอดกลางว่าเป็นหอก ก็ขัดกับคำอธิบายว่าศูล ที่หมายถึงหลาว ส่วนคำว่า แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน และสลัดได ที่นิยามความหมายทั้งหมดว่า เครื่องประดับยอดปรางค์นั้นไม่น่าจะถูกต้อง ความหมายของคำดังกล่าวทั้งหมด ต้องหมายถึงรูปแบบของกิ่งหรือสาขาของแต่ละสมัยของสถาปัตยกรรม หรือของแต่ละพื้นถิ่น             ความหมายของทุกคำที่นิยามไว้ว่ามีกิ่งเป็นรูปดาบนั้นถูกต้องเฉพาะกิ่งของนภศูลสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น เช่น นภศูลที่ยอดปรางค์ของวัดอรุณราชวราราม นภศูลของเครื่องยอดของปราสาททรงปรางค์ของปราสาทพระเทพบิดร หรือพุทธปรางค์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง นภศูลของปรางค์  วัดราชบูรณะและนภศูลของศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร                นภศูลโดยทั่วไปโดยเฉพาะปรางค์สมัยอยุธยา กิ่งจะไม่เป็นรูปดาบ แต่จะเป็นรูปฝักเพกา อันเป็นฝักของต้นไม้ ฝักมีขนาดใหญ่ ฝักอ่อนกินได้ ผู้เขียนพบที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ชาวอีสานจะเรียกต้นเพกานี้ว่าลิ้นฟ้า คงเห็นว่าฝักแบนใหญ่ ปลายฝักคล้ายลิ้น ต้นมีความสูงเสียดฟ้า ส่วนคำว่าลำภุขัน หมายถึงอาวุธชนิดหนึ่ง มีด้ามเป็นลำยาว ปลายสุดเป็นหลาว มิได้หมายถึงนภศูลทั้งอัน ส่วนกิ่งที่เป็นรูปฝักเพกา เป็นลักษณะกิ่งของนภศูลสมัยอยุธยา เช่น นภศูลของปรางค์วัดพระราม ปรางค์วัดกษัตราธิราช ปรางค์วัดศาลาปูน และปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยานภศูล ชนิดแง่งขิง, สลัดได ปรางค์วัดมหาธาตุ สุพรรณบุรี นภศูลที่มีกิ่งเป็นแง่งขิง หรือสลัดไดที่มีรูปแบบคล้ายกันนั้น พบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี                 ผู้เขียนพบขณะที่ทางวัดนำลงมาตั้งใกล้ๆ กับองค์ปรางค์ รอที่จะนำขึ้นไปติดตั้งเมื่อบูรณะเสร็จ ปัจจุบันนำขึ้นไปติดตั้งเหนือจอมโมฬีแล้ว นภศูลปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์               สรุปได้ว่า เครื่องประดับยอดปรางค์ในประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรเรียกว่านภศูลอย่างเดียว และควรมีคำนิยามดังนี้                    นภศูล น. เครื่องประดับยอดปรางค์ยอดพุ่งตรงขึ้นไปบนท้องฟ้ายอดกลางเป็นหลาวมีกิ่ง๓ชั้นแตกสาขาออกไป๔ทิศมีรูปแบบต่างๆเช่นฝักเพกาแง่งขิงสลัดไดและดาบ ที่มา         ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ สิงหาคม 2555 ผู้เขียน     รศ. สมใจ นิ่มเล็ก, ราชบัณฑิต   เผยแพร่   วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2560

องค์ความรู้

การหล่อระฆังโบราณ

จากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณถึงสมัยกลาง ยืนยันได้ว่ามนุษย์ รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และการทำแบบหล่อ เพื่อผลิตชิ้นงานหล่อมาใช้งาน ดังเช่น เมื่อประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ได้ผลิตงานหล่อเป็นหัวขวาน ที่ทำจากทองแดงโดยวิธีการหลอมและเทลงในแบบที่ขุดลงในหินทราย และต่อมามีการพัฒนาโดยการทำไส้แบบ และ การทำแบบเป็นสองชั้น การหล่อบรอนซ์นั้นกระทำกันครั้งแรกในเมโสโปเทเมีย ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช และเทคนิคนี้ได้รับการถ่ายทอดมาสู่เอเชียกลาง อินเดีย และจีน มาถึงจีนประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ในประเทศจีนสมัย ยิน ประมาณ 1,500-1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ก็ได้มีการหล่อภาชนะที่มีขนาดใหญ่ๆและคุณภาพดีได้สำเร็จการถ่ายทอดเข้าไปสู่ยุโรปประมาณ 1,500-1,400 ปีก่อนคริสตศักราช โดยผลิตเป็น ดาบ หัวหอก เครื่องประดับ ภาชนะต่างๆและเครื่องตกแต่งที่ใช้ในงานศพเป็นต้น กลุ่มประเทศที่ผลิตงานหล่อในยุคนั้น คือ สเปญ สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรีย นอร์เวย์ เดนมาร์ค สวีเดน อังกฤษ และ ฝรั่งเศส

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๑)

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book  รายงานสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ ๑  หัวข้อ “ทฤษฎีสีเบื้องต้นในธรรมชาติ” และ “การเขียนภาพธรรมชาติด้วยสีอะคริลิค”โดยวิทยากรรับเชิญ  อาจารย์สมวงศ์  ทัพพรัตน์ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๖๔“เสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านจิตรกรรม"              ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเรียนรู้ส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน  เนื่องด้วยการปฏิบัติเป็นงานสายวิชาชีพเฉพาะ  จึงมีการการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางด้านศิลปกรรมให้กับบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ขึ้น  อันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด และสามารถปฏิบัติงานให้บริการแก่ประชาชน หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางด้านศิลปกรรมนี้  เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้มีความสนใจในการเพิ่มพูนทักษะด้านศิลปกรรมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเชิงวิชาการ  ทักษะการปฏิบัติงาน และการเดินทางศึกษาเรียนรู้จากผลงานศิลปกรรมชั้นครูตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำในทุกปี              ในโอกาสนี้ทางสำนักช่างสิบหมู่ต้องกราบขอบพระคุณวิทยากรรับเชิญ  อาจารย์สมวงศ์  ทัพพรัตน์  ที่สละเวลาอันมีค่าเดินทางมาให้ความรู้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่  แนะนำเทคนิคทางด้านการใช้สี  เสริมความรู้ด้านทัศนียวิทยา และแนะนำเทคนิคการใช้สีกับการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์จากสถานที่จริง  ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ให้บุคลากรได้มีโอกาเรียนรู้  แลกเปลี่ยน  และนำเทคนิคแนวทางการดำเนินงานมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานสำหรับหน่วยงานต่อไป

ความรู้ทั่วไป

การออกแบบลายและเขียนสีใต้เคลือบแจกันคู่ นิทรรศการพิเศษ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"

การออกแบบลายและเขียนสีใต้เคลือบแจกันคู่นิทรรศการพิเศษเรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก"ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลวดลายบนแจกันประกอบด้วยส่วนบนหรือคอแจกันผูกกันเป็นลายดอกพุดตานก้านขดถัดลงมาเป็นลายก้านขด มีดอกบัวเป็นตัวออกลาย ผูกเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีส่วนก้าน ใบ และดอกผสมผสานกันโดยใช้ลวดลายที่มีต้นแบบมาจากเครื่องสังคโลก ส่วนกลางของแจกันเขียนลายปลาสลับกับต้นไม้โดยด้านหนึ่งของแจกันเป็นลายปลากา ต้นพุดตานและดอกพุดตานเพื่อสื่อถึงประเทศไทย อีกด้านเขียนลายปลาคาร์ปต้นไม้ดัดแบบญี่ปุ่นและดอกซากุระ สื่อถึงประเทศญี่ปุ่น ด้านล่างมีคลื่นน้ำที่ผสมผสานระหว่างคลื่นแบบงานจิตรกรรมไทยและคลื่นน้ำแบบญี่ปุ่นหมายถึง ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรไมตรีต่อกัน มีการประสานร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เขียนสีใต้เคลือบ โดยใช้สีครามเขียนลวดลายพรรณพฤกษา ต้นไม้และคลื่นน้ำเขียนปลาโดยใช้ตราสัญลักษณ์ของโครงการ เขียนสีต้วปลาให้มีสีสัน ด้วยสีส้มสีแดงและสีเหลืองเพื่อให้โดดเด่นขึ้นมา

หนังสือแนะนำสำนักช่างสิบหมู่

สำนักช่างสิบหมู่ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. ผดุงรักษา ฟื้นฟู และสืบทอดศิลปะวิทยาการด้านช่างฝีมือและเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรม 2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนางานด้านช่างศิลปกรรม 3. ดำเนินการด้านช่างและงานศิลปะในการบูรณะ ซ่อมแซมเพื่อการอนุรักษ์งานศิลปกรรมที่มีคุณค่าของชาติ 4. ดำเนินการสร้างสรรค์งานช่างสิบหมู่ งานจิตรกรรม และงานประติมากรรม  รวมทั้งงานศิลปะประยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ 5. ดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ งานด้านศิลปกรรมและประมาณราคา ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ วัด สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ 6. ควบคุม ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมบูรณะ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ 7. ควบคุม ดูแล การสร้างพระพุทธรูปที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ 8. เผยแพร่ สนับสนุน ส่งเสริมเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการทางการศึกษางานด้านศิลปกรรมแก่สถานศึกษา ชุมชน และสังคม  

ทะเบียนช่างสิบหมู่


ทะเบียนช่างไทย


  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel