ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


ผลงาน


ประทานพร
เป็นอง ๕ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางประทานพรให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้เกิดมาต่างมีบุญกรรมประจำตนให้หลุดพ้นสิ่งแวดล้อมสิ่งเลวร้ายทั้งหลายในชีวิตให้รอดปลอดภัย “โควิด” สิ้นสลายเอย อนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่าขอให้มวลมนุษย์จงเป็นผู้มีปัญญาอย่าเป็นผู้ไร้ปัญญา ดังคติธรรมบัวสี่เหล่า คติธรรมบัวสี่เหล่า           ๑. บัวพ้นน้ำ คือ ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถเรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่าย           ๒. บัวเสมอน้ำ คือ ผู้มีปัญญาระดับกลางไม่โง่แต่ก็ไม่ฉลาดพอจะมีความรู้ความสามารถเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ ถ้าเกิดความศรัทธานำไปพิจารณา           ๓. บัวใต้น้ำ คือ (จะค่อยๆ เจริญขึ้นได้) เหมือนคนไม่มีปัญญาแต่ถ้าได้ใกล้ชิดกับคนมีปัญยา ก็จะพยุงตัวได้ให้รอดปลอดภัย           ๔. บัวจมน้ำ คือ (ที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้) เป็นคนที่ไม่มีปัญญาลุ่มหลงงมงายเห็นผิดเป็นถูกเห็นชั่วเป็นดีเห็นผีเป็นคนเหมือนเป็นเต่าเป็นปลา  
พระพุทธศีลบารมีเมตตา
          เป็นการออกแบบในรูปลักษณืของผู้อิ่มบุญหรือผู้ให้ในอง๕พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยนำอง ๕ พระพุทธรูปเป็นทางชี้นำในเรื่องของความมีศีล บารมี เมตตา ศีล  การควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้ตั้งอยุ่ในความดีงาม มีความปกติสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคมมนุษย์ บารมี  คุณความดีที่ได้บำเพ็ญเป็นคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่มีกำลังใจในการสละออกให้ผู้อื่นด้วยจิตอนุเคราะห์ จิตใจกว้างขวาง สวยงามยิ่ง เมตตา  การช่วยให้ผู้อื่นพ่นจากทุกข์ให้มีสุข มีความเจริญด้วยการแสดงมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยความเต็มใจ มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ซึ่งพระองค์ไม่เคยเหน็ดเหนื่อย บำรุงทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาราษฎร์มาโดยตลอดจนสิ้นพระชน...................................................................................................................  
กระจับปี่กระจกสี “เลื่อมมณีวรรณ”
เครื่องดนตรีชนิดที่มีความเป็นมาที่ยาวนานประมาณ ๖๐๐ กว่าปีแต่สาปสูญไปเพราะเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้เบากว่าเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นจึงไม่เป็นที่นิยม ซึ่งมีคนรู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้น้อยมากๆ แต่ในปัจจุบันกรมศิลปากรเริ่มอนุรักษ์เครื่องดนตรีชนิดนี้ให้กลับมาเหมือนเดิม ข้าพเจ้าได้พบกับนักดนตรีไทย และได้ข้อมูลมาว่าเป็นเครื่องดนตรีเก่า และมีหลักฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้มีการตกแต่งด้วยเทคนิคการประดับกระจกเกรียบ พบข้อมูลนี้จากห้องเครื่องดนตรีไทยในวังสวนผักกาด ข้าพเจ้าจึงอยากมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เครื่องดนตรีชนิดนี้ให้กลับมาสวยงาม ให้นักดนตรีไทยใช้บรรเลงเพลงไทย จึงประดับกระจกให้เหมือนเทคนิคโบราณ ปัจจุบันเครื่องดนตรีกระจับปี่ประดับกระจกตัวนี้เป็นของคุณณัฐพันธุ์ นุชอำพันธ์ แห่งเรือนวิเศษดนตรี กระจับปี่กระจกสี “เลื่อมมณีวรรณ” แปลว่า กระจับปี่ประดับกระจกสีเปล่งรัศมีเหมือนแก้วมณี
การจัดสร้าง "บาตรประดับมุกตราพระราชลัญจกร"
          การจัดสร้าง "บาตรประดับมุกตราพระราชลัญจกร" เพื่อจัดแสดงใน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “ช่างศิลป์ไทยเทิดไท้องค์ราชัน”(ออนไลน์) จัดสร้างโดยกลุ่มงานช่างปั้นหุ่นปั้นลาย และช่างมุก ด้วยเทคนิคการประดับมุกซ้อนลาย ประดับบนพื้นปูเรียบแบบเต็มพื้นที่ หรือประดับมุกแบบโมเสก โดยนำตราพระราชลัญจกร ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ นำมาปรับให้อยู่ในทรงกลมตามรูปแบบฝาบาตร จัดสร้างในปี ๒๕๖๔. สามารถกดลิงค์เพื่อชมการจัดสร้าง     #นิทรรศการช่างศิลป์ไทยเทิดไท้องค์ราชันครั้งที่๒
การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง พระแม่ธรณีบีบมวยผม
              ตามหนังสือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่ ธพส ๐๑/๐๑๕๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔  แจ้งว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการในที่ดินราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ราชการแห่งนี้ว่า “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ” ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประดิษฐานองค์พระพรหมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ มีสภาพชำรุต จึงขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมองค์พระพรหม และอธิบดีกรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่พิจารณาดำเนินการ               โดย สำนักช่างสิบหมู่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากกลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อ และ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย เดินทางไปสำรวจตรวจสอบความชำรุดเสียหายของ องค์พระพรหม ปรากฏว่าองค์พระพรหม ทำจากวัสดุโลหะทองเหลืองปิดทองทั้งองค์ มีรอยแตกร้าว ทองที่ปิดไว้ชีดจางและหลุดลอก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา เห็นควรดำเนินการซ่อมแซมโดยการลอกสีและทองที่ปิดไว้ออก เชื่อมรอยแตกร้าวและแต่งผิวให้กลับสภาพดังเดิม ทำความสะอาดและปิดทองใหม่ทั้งองค์ และได้รับการประสานจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขอให้ดำเนินการปิดทององค์พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ( เพิ่มเติม )
การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง พระพิฆเนศวร
              ตามหนังสือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่ ธพส ๐๑/๐๑๕๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔  แจ้งว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการในที่ดินราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ราชการแห่งนี้ว่า “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ” ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประดิษฐานองค์พระพรหมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ มีสภาพชำรุต จึงขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมองค์พระพรหม และอธิบดีกรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่พิจารณาดำเนินการ               โดย สำนักช่างสิบหมู่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากกลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อ และ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย เดินทางไปสำรวจตรวจสอบความชำรุดเสียหายของ องค์พระพรหม ปรากฏว่าองค์พระพรหม ทำจากวัสดุโลหะทองเหลืองปิดทองทั้งองค์ มีรอยแตกร้าว ทองที่ปิดไว้ชีดจางและหลุดลอก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา เห็นควรดำเนินการซ่อมแซมโดยการลอกสีและทองที่ปิดไว้ออก เชื่อมรอยแตกร้าวและแต่งผิวให้กลับสภาพดังเดิม ทำความสะอาดและปิดทองใหม่ทั้งองค์ และได้รับการประสานจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขอให้ดำเนินการปิดทององค์พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ( เพิ่มเติม )
การซ่อมแซมและทำความสะอาดพร้อมปิดทอง องค์พระพรหม
               ตามหนังสือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่ ธพส ๐๑/๐๑๕๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔  แจ้งว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการในที่ดินราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ราชการแห่งนี้ว่า “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ” ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประดิษฐานองค์พระพรหมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร ข้าราช เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ราชการ และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ มีสภาพชำรุต จึงขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมองค์พระพรหม และอธิบดีกรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่พิจารณาดำเนินการ               โดย สำนักช่างสิบหมู่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จากกลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อ และ กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย เดินทางไปสำรวจตรวจสอบความชำรุดเสียหายของ องค์พระพรหม ปรากฏว่าองค์พระพรหม ทำจากวัสดุโลหะทองเหลืองปิดทองทั้งองค์ มีรอยแตกร้าว ทองที่ปิดไว้ชีดจางและหลุดลอก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา เห็นควรดำเนินการซ่อมแซมโดยการลอกสีและทองที่ปิดไว้ออก เชื่อมรอยแตกร้าวและแต่งผิวให้กลับสภาพดังเดิม ทำความสะอาดและปิดทองใหม่ทั้งองค์ และได้รับการประสานจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขอให้ดำเนินการปิดทององค์พระพิฆเนศวร และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ( เพิ่มเติม )
การบูรณะซ่อมแซมองค์พระประธานและพระโมคลากับพระสารีบุตรในพระอุโบสถวัดหวายเหนียว
เป็นโอกาศอันดีที่ทางเจ้าภาพมีจิตรสัทธาในการที่จะบูรณะพระประธานวัดบ้านเกิดของท่านจึงได้ติดต่อมาทางสำนักช่างสิบหมู่ขอความอนุเคราะแผนกช่างปิดทองประดับกระจกให้ช่วยทำการบูรณะปิดทองในครั้งนี้  ทางแผนกช่างปิดทองประดับกระจกจึงได้ส่งช่างไปสำรวจและประเมิณว่าจะทำได้หรือไม่และทำการปรึกษากับทางเจ้าอาวาสวัด  ท่านต้องการให้ทำอย่างไร่  ทางท่านเจ้าอาวาส  มีความประส่งค์ที่อยากจะปิดทองด้วยพื้นสี  ทางทีมช่างไม่ขัดข้องประการใด  ดูจากองค์พระประธานเป็นโลหะประเภททองเหลือง  มีสภาพที่สมบูรณ์ดี  เหมาะแก่การทำพื้นสีปิดทอง         
หน้าบัน พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย
     พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมากรมศิลปากรได้จัดพิธีบวงสรวงเพื่อจะบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย     ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๘๙ ปีแล้ว หลังจากนั้นก็จะย้าย  กลับไปประดิษฐานที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ตามเดิม หลังจากที่พระที่นั่งองค์นี้ได้ซ้ายมาตั้งแต่ปี  ๒๔๗๐      ความเป็นมาของพระที่นั่งองค์นี้นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อเป็นที่ประทับ  ทอดพระเนตรปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งปรากฏขึ้นต่อพระพักตร์ถึง ๓ รัชกาล และโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเป็นครั้งที่  ๒ ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ถูกจารึกครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ พระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระชาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า     "เมื่อปีมะโรง อัฐศก วันเสาร์ เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ( ๒9 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓99 ) เห็นที่องค์พระปรางค์เป็นดวงช่วงออกมาทางซุ้มดูหาทิศเหนืออีกคราว ๑ ครั้นมาถึงวันพฤหัส เดือน ๑ ขึ้น ๗ ค่ำ เห็นรัศมีส่องไปทั้งองค์ปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียน จับอยู่ที่องค์พระได้เห็นด้วยกันมาก ในเดือน ๑ ปีมะโรง อัฐศก เห็นอัศจรรย์ ๒ ครั้ง การที่ปาฏิหาริย์มีนั้นทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ถ้าสมโภชเวียนเทียนเมื่อใดก็เป็นทุกคราว และที่พระปฐมเจดีย์มีเหตุอัศจรรย์หลายอย่าง คือองค์พระปรางค์ ลางทีเดือนมืดก็บังเกิดเป็นรัศมีเหมือนบุคคลเอาผ้าขาวเข้าไปหุ้มไว้แล้วก็หายไปทีละน้อย ๆ แล้วก็สว่างขึ้นทีละน้อย ๆ จนเต็มกำลัง และเห็นขึ้นไปจนตลอดยอดนภศูล ลางทีก็สว่างซีกหนึ่ง ลางทีสว่างข้างล่าง มืดข้างบน แล้วสว่างข้างบน มืดข้างล่าง เมื่อจะสว่างนั้นก็เป็นรัศมีเรืองขึ้นที่ละน้อย ๆ สว่างเต็มกำลังตลอดจนยอดนภศูล แล้วรัศมีก็โรยอ่อนลงมาทีละน้อย ๆ จนมืดไปทั้งองค์พระปรางค์ แล้วก็ค่อย ๆ มีรัศมีเรื่อง ๆ ขึ้นมาอีกดังกล่าวมาแล้ว เป็นอยู่ ๒ ทุ่มบ้าง ๓ ทุ่มบ้าง แล้วจึงหายไปทีเดียว ลางทีก็เห็นเป็นดวงดาวติดอยู่ปลายยอดนภศูล รัศมีแดงเหลืองสีต่าง ๆ ค่อย ๆ เลื่อนลงมาทีละน้อย หายไปในช่องดูหา ลางทีดูที่องค์ พระปรางค์มืดเป็นปกติ แต่ขอบริมนั้นมีรัศมีขาวสว่างขึ้นไปตลอดยอด..."       ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปพระราชทานผ้าพระกฐินแล้วประทับอยู่ ๒ คืน ได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีก พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ประชุมอยู่ในที่นั้นก็เห็นกันพร้อมหน้า พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า     “...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงปีติ โสมนัส รับสั่งว่าเหมือนผีหลอก ไม่รู้ ที่จะว่าอย่างไรได้ เห็นจะเป็นไฟธาตุดินอยู่ในอิฐปูนถูกน้ำฝนเข้าก็เกิดเป็นรัศมีขึ้น ที่รับสั่งตรัสดังนี้ เพื่อจะมิให้คนที่ถือศาสนาพากันติเตียนได้ แต่ทองทศทองทิษมีอยู่ในฉลองพระองค์เท่าใดก็ถอดพระราชทานให้เป็นส่วนพระราชกุศลจนสิ้น" พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์    พวกคนยุโรปที่ไปเที่ยวนครปฐมและพบเหตุอัศจรรย์นี้ ถึงกับนั่งลงกราบไหว้แบบคนไทย ทั้งยังมีโต๊ะหะยีแขกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เมื่อคนไทยถามว่าเป็นแขกมานับถือแบบนี้ไม่เป็นบาปหรือ แขกก็บอกว่าเขากราบไหว้แท่นบรรทมของพระเจ้า ที่คนโบราณสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ จะเป็นบาปได้อย่างไร    มีบางคนกล่าวว่าที่องค์พระปฐมเจดีย์มีรัศมีเรืองขึ้นนั้น เป็นเพราะสารที่ตำราฝรั่งเรียกว่าฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารมีรัศมีเรืองแสง ไม่ใช่อภินิหารของพระสารีริกธาตุแต่อย่างใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย' จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พระยาอนุชิตชาญชัย พระวิสูตรโยธามาตย์ เอาฟอสฟอรัส เครื่องมือต่าง ๆ ไปทำการทดลอง พอทั้ง 3 รับงานทดสอบปาฏิหาริย์ องค์พระปฐมเจดีย์ยังไม่ทันจะได้ลงมือ เจ้าหญิงและหม่อมห้ามในกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาพร้อมด้วยบุตรกรรยาของพระยาอนุชิตชาญชัย และบ่าวไพร่ได้พากันไปเที่ยวหลังองค์พระ ก็ถูกฝูงผึ้งจำนวนหนึ่งเข้าโจมตี ต้องวิ่งหนีกันกระเจิดกระเจิง บ้างก็เข้าไปในดงหนาม บ้างก็วิ่งไปชนต้นไม้จนหัวแตก บ้างก็ถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ต้องมีคนเอาผ้านุ่งไปให้จึงกลับมาได้ ทั้งๆ ที่บูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์มา ๑0 ปี ไม่เคยมีใครถูกผึ้งต่อยเลย     ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงเผชิญปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ถึง ๒ ครั้ง แต่พระองค์ไม่ได้รับสั่งให้ใครฟัง เก็บความแปลกพระทัยไว้เงียบ ๆจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ขณะยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ และมีพระราชหัตถเลขามากราบทูลพระราชบิดาว่า    "ด้วยเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๘ นี้ ตรงกับวันขึ้น ๑0 ค่ำเดือน ๑๑ เวลาดึก ๒ ยามกับ ๕๕ นาที ข้าพระพุทธเจ้าได้นั่งอยู่ที่เรือนสนามจันทร์ มีข้าราชการและมหาดเล็กอยู่ ด้วยเป็นอันมาก ได้เห็นองค์พระปฐมมีรัศมีสว่างพราวออกมาทั้งองค์ ดูประหนึ่งว่าองค์พระปฐมเจดีย์ด้านตะวันตกคือค้านที่เล็งตรงกับสนามจันทร์นั้น ทาด้วยฟอสฟอรัสพราวเรืองตั้งแต่คอระฆังลงมาหน่อยหนึ่งตลอดขึ้นไปจนขอดมงกุฎ และซ้ำยังมีรัศมีพวยพุ่งสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๓- ๔ วา ปรากฏแก่ตาอยู่อย่างนี้ ๑๗ นาที แล้วรัศมีตอนใต้แต่ปล้องไฉนตลอดยอดก็คับลงไปทันที เหลือสว่างอยู่แต่ตอนช่องมะหวดลงมาอีกสักไม่ถึงกึ่งนาทีก็ดับหายไปหมด มืดแม้จะมองแต่รูปองค์พระก็ไม่ถนัด ข้พระพุทธเจ้า ได้นับผู้ที่เห็นในขณะนั้น ตลอดจนทหารที่อยู่ยาม ๔ คน เป็นจำนวน ๖๔ คน    ข้าพระพุทธเจ้าลองคิดดูตามไซแอนซ์ ว่าบางทีจะเป็นด้วยตอนฝนตกหนักละอองฝนจะติดค้างอยู่ที่กระเบื้องที่ประดับองค์พระปฐมบ้าง ครั้นตอนดึกจวนพระจันทร์ตกแสงจันทร์ส่องทอตรงได้ระดับฐานฉากกับองค์พระปฐม จึงเกิดแสงแพรวพราว ฉะนั้นพอจันทร์เหลื่อมเข้าเมฆแสงลับไป รัศมีที่องค์พระปฐมก็หายไปด้วย ครั้นรุ่งขึ้นได้ทราบเกล้าฯ ว่าจีนที่รับเหมาทำศาลารัฐบาลซึ่งอยู่ด้านตะวันออกองค์พระ และชาวตลาดอีกหลายคนซึ่งอยู่เหนือองค์พระก็เห็นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้าใจได้ว่ารัศมีได้พราวออกทั่วองค์พระเป็นอันพ้นวิสัยที่แสงจันทร์จะถึงได้ หรือว่าจะมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในองค์พระธาตุนั้น จะส่องแสงแพรวพราวในเวลากลางคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ต้องแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันมากพอ ในเวลากลางวันก็ชอุ่ม ตอนเย็นก็ฝนตก ไม่ใช่ธาตุฟอสฟอรัสแน่ จึงเป็นอันจนด้วยเกล้าฯ ที่อ้างแสงรัศมีนั้นเป็นด้วยเหตุไรนอกจากว่ามหัศจรรย์ยิ่ง    พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้ นิมนต์พระสงฆ์ ๑0 รูป มีพระนิกรมุนีเป็นประธาน สวดมนต์เย็นในพระวิหารองค์พระแล้วได้ เดินเทียนสมโกชองค์พระ ๓ รอบ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๖ เวลาเช้า พวกข้าราชการ พ่อค้า ราษฎรชาวพระปฐมเจดีย์ มีความปีติยินดีช่วยกันจัดของไปถวายและเลี้ยงพระหมดทั้งวัดพระปฐมเจดีย์เป็น จำนวน ๖๘ รูป เวลาค่ำได้มีละครเรื่องสุวรรณหงษ์ ตอนกุมพลถวายม้าฉลองหนึ่งคืนเป็นเสร็จการ”    พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสว่า "เรื่องพระปฐมเจดีย์กระทำปาฏิหาริย์ตามลักษณะที่เล่ามานี้ ช่างไม่มีอะไรผิดกับที่เคยเห็น ๒ คราวแค่สักนิดเดียว เวลาที่ได้เห็นนั้นคนมากยิ่งกว่าที่นับมา เห็นปรากฏด้วยกันทั้งหมด จึงได้มีเรื่องตรวจตราซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พ่อเข้าใจในลักษณะที่เล่าว่าเป็นอย่างไร แลเชื่อว่าได้เป็นเช่นนั้นจริงเพราะเคยเห็น แต่จะเป็นด้วยอันใด เหลือที่จะยืนยันฤา รับรองให้คนอื่นเห็นด้วยจริงได้ จึงไม่ได้เล่าให้ใครฟังในชั้นหลัง ๆ นี้ เพราะห่างจากเวลาที่ได้เห็นนั้นมาก เข้าใจว่าการที่เป็นเช่นนั้นได้จะได้เป็นอยู่เนือง ๆ แต่หากคนนั้นตกต่ำลงก็เข้านอนเสียไม่สังเกต แปลกอยู่หน่อยแต่ที่เวลาเป็นมักจะเป็นเดือน ๑๑ เดือน ๑ ๒ เดือนขี่ เวลาเดินบกมาถึงที่นั้นฤาเสด็จออกไปหลายครั้งไม่เคยมีเลย ขออนุโมทนาด้วยในส่วนกุศลที่ได้ทำ"     ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีกในคืนเดือนมืด พร้อมข้าราชบริพาร ตำรวจ และเสือป่าเข้าฝ้าอยู่ที่สนามจันทร์ประมาณ ๒00 คน ซึ่งได้เห็นกันทุกคนรวมทั้งราษฎรที่อยู่รอบองค์พระ   หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจคีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนประกอบสำคัญของพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย 1. หน้าบันจำนวน 2 ด้าน 2. ลายหน้ากระดานฐานพระ(เครื่องประดับชั่ว) จำนวน 2 ค้าน 3. ช่อฟ้าจำนวน 2 ตัว 4. ไประกาหางหงส์จำนวน 2 ด้าน 5. สันตะเข้ (สันเหรา) จำนวน 4 ตัว 6. ฝ้าประธานจำนวน 2 ห้อง 7. ฝ้าพาไรจำนวน 2 ชั้น ชั้นใน 4 ด้านชั้นนอก 4 ด้าน 8. เชิงกลอน (เชิงชาย)จำนวน 4 ด้าน รวมทั้งหมด 8 ด้าน 9. คานจำนวน 8 คาน 10. ข้อสองจำนวน 4 ด้าน 11. สะพานหนูจำนวน 8 เส้น 12. บัวฟันยักษ์ 13. ลายฉลุใต้ขื่อ 14. ลายประจำยาม (ดอกสีกลีบ) ลายดอกจอก (ดอกแปดกลีบ) 15. ไม้แปรหลังดา 16. ไม้จันทัน 17. เสาจำนวน 8 ต้น 18. แท่นยกจำนวน 4 ค้าน 19. แท่นรองจำนวน 4 ด้าน 20. ขอบพื้นแท่นยกจำนวน 4 ด้าน 21. ขอบพื้นแท่นรองจำนวน 4 ด้าน
ปิดทองประดับลายกรวยเชิง ลายลูกฟักคอสอง ประดับฝ้าพาไล
     พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมากรมศิลปากรได้จัดพิธีบวงสรวงเพื่อจะบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย     ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๘๙ ปีแล้ว หลังจากนั้นก็จะย้าย  กลับไปประดิษฐานที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ตามเดิม หลังจากที่พระที่นั่งองค์นี้ได้ซ้ายมาตั้งแต่ปี  ๒๔๗๐      ความเป็นมาของพระที่นั่งองค์นี้นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อเป็นที่ประทับ  ทอดพระเนตรปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งปรากฏขึ้นต่อพระพักตร์ถึง ๓ รัชกาล และโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเป็นครั้งที่  ๒ ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ถูกจารึกครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ พระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระชาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า     "เมื่อปีมะโรง อัฐศก วันเสาร์ เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ( ๒9 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓99 ) เห็นที่องค์พระปรางค์เป็นดวงช่วงออกมาทางซุ้มดูหาทิศเหนืออีกคราว ๑ ครั้นมาถึงวันพฤหัส เดือน ๑ ขึ้น ๗ ค่ำ เห็นรัศมีส่องไปทั้งองค์ปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียน จับอยู่ที่องค์พระได้เห็นด้วยกันมาก ในเดือน ๑ ปีมะโรง อัฐศก เห็นอัศจรรย์ ๒ ครั้ง การที่ปาฏิหาริย์มีนั้นทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ถ้าสมโภชเวียนเทียนเมื่อใดก็เป็นทุกคราว และที่พระปฐมเจดีย์มีเหตุอัศจรรย์หลายอย่าง คือองค์พระปรางค์ ลางทีเดือนมืดก็บังเกิดเป็นรัศมีเหมือนบุคคลเอาผ้าขาวเข้าไปหุ้มไว้แล้วก็หายไปทีละน้อย ๆ แล้วก็สว่างขึ้นทีละน้อย ๆ จนเต็มกำลัง และเห็นขึ้นไปจนตลอดยอดนภศูล ลางทีก็สว่างซีกหนึ่ง ลางทีสว่างข้างล่าง มืดข้างบน แล้วสว่างข้างบน มืดข้างล่าง เมื่อจะสว่างนั้นก็เป็นรัศมีเรืองขึ้นที่ละน้อย ๆ สว่างเต็มกำลังตลอดจนยอดนภศูล แล้วรัศมีก็โรยอ่อนลงมาทีละน้อย ๆ จนมืดไปทั้งองค์พระปรางค์ แล้วก็ค่อย ๆ มีรัศมีเรื่อง ๆ ขึ้นมาอีกดังกล่าวมาแล้ว เป็นอยู่ ๒ ทุ่มบ้าง ๓ ทุ่มบ้าง แล้วจึงหายไปทีเดียว ลางทีก็เห็นเป็นดวงดาวติดอยู่ปลายยอดนภศูล รัศมีแดงเหลืองสีต่าง ๆ ค่อย ๆ เลื่อนลงมาทีละน้อย หายไปในช่องดูหา ลางทีดูที่องค์ พระปรางค์มืดเป็นปกติ แต่ขอบริมนั้นมีรัศมีขาวสว่างขึ้นไปตลอดยอด..."       ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปพระราชทานผ้าพระกฐินแล้วประทับอยู่ ๒ คืน ได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีก พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ประชุมอยู่ในที่นั้นก็เห็นกันพร้อมหน้า พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า     “...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงปีติ โสมนัส รับสั่งว่าเหมือนผีหลอก ไม่รู้ ที่จะว่าอย่างไรได้ เห็นจะเป็นไฟธาตุดินอยู่ในอิฐปูนถูกน้ำฝนเข้าก็เกิดเป็นรัศมีขึ้น ที่รับสั่งตรัสดังนี้ เพื่อจะมิให้คนที่ถือศาสนาพากันติเตียนได้ แต่ทองทศทองทิษมีอยู่ในฉลองพระองค์เท่าใดก็ถอดพระราชทานให้เป็นส่วนพระราชกุศลจนสิ้น" พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์    พวกคนยุโรปที่ไปเที่ยวนครปฐมและพบเหตุอัศจรรย์นี้ ถึงกับนั่งลงกราบไหว้แบบคนไทย ทั้งยังมีโต๊ะหะยีแขกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เมื่อคนไทยถามว่าเป็นแขกมานับถือแบบนี้ไม่เป็นบาปหรือ แขกก็บอกว่าเขากราบไหว้แท่นบรรทมของพระเจ้า ที่คนโบราณสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ จะเป็นบาปได้อย่างไร    มีบางคนกล่าวว่าที่องค์พระปฐมเจดีย์มีรัศมีเรืองขึ้นนั้น เป็นเพราะสารที่ตำราฝรั่งเรียกว่าฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารมีรัศมีเรืองแสง ไม่ใช่อภินิหารของพระสารีริกธาตุแต่อย่างใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย' จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พระยาอนุชิตชาญชัย พระวิสูตรโยธามาตย์ เอาฟอสฟอรัส เครื่องมือต่าง ๆ ไปทำการทดลอง พอทั้ง 3 รับงานทดสอบปาฏิหาริย์ องค์พระปฐมเจดีย์ยังไม่ทันจะได้ลงมือ เจ้าหญิงและหม่อมห้ามในกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาพร้อมด้วยบุตรกรรยาของพระยาอนุชิตชาญชัย และบ่าวไพร่ได้พากันไปเที่ยวหลังองค์พระ ก็ถูกฝูงผึ้งจำนวนหนึ่งเข้าโจมตี ต้องวิ่งหนีกันกระเจิดกระเจิง บ้างก็เข้าไปในดงหนาม บ้างก็วิ่งไปชนต้นไม้จนหัวแตก บ้างก็ถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ต้องมีคนเอาผ้านุ่งไปให้จึงกลับมาได้ ทั้งๆ ที่บูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์มา ๑0 ปี ไม่เคยมีใครถูกผึ้งต่อยเลย     ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงเผชิญปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ถึง ๒ ครั้ง แต่พระองค์ไม่ได้รับสั่งให้ใครฟัง เก็บความแปลกพระทัยไว้เงียบ ๆจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ขณะยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ และมีพระราชหัตถเลขามากราบทูลพระราชบิดาว่า    "ด้วยเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๘ นี้ ตรงกับวันขึ้น ๑0 ค่ำเดือน ๑๑ เวลาดึก ๒ ยามกับ ๕๕ นาที ข้าพระพุทธเจ้าได้นั่งอยู่ที่เรือนสนามจันทร์ มีข้าราชการและมหาดเล็กอยู่ ด้วยเป็นอันมาก ได้เห็นองค์พระปฐมมีรัศมีสว่างพราวออกมาทั้งองค์ ดูประหนึ่งว่าองค์พระปฐมเจดีย์ด้านตะวันตกคือค้านที่เล็งตรงกับสนามจันทร์นั้น ทาด้วยฟอสฟอรัสพราวเรืองตั้งแต่คอระฆังลงมาหน่อยหนึ่งตลอดขึ้นไปจนขอดมงกุฎ และซ้ำยังมีรัศมีพวยพุ่งสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๓- ๔ วา ปรากฏแก่ตาอยู่อย่างนี้ ๑๗ นาที แล้วรัศมีตอนใต้แต่ปล้องไฉนตลอดยอดก็คับลงไปทันที เหลือสว่างอยู่แต่ตอนช่องมะหวดลงมาอีกสักไม่ถึงกึ่งนาทีก็ดับหายไปหมด มืดแม้จะมองแต่รูปองค์พระก็ไม่ถนัด ข้พระพุทธเจ้า ได้นับผู้ที่เห็นในขณะนั้น ตลอดจนทหารที่อยู่ยาม ๔ คน เป็นจำนวน ๖๔ คน    ข้าพระพุทธเจ้าลองคิดดูตามไซแอนซ์ ว่าบางทีจะเป็นด้วยตอนฝนตกหนักละอองฝนจะติดค้างอยู่ที่กระเบื้องที่ประดับองค์พระปฐมบ้าง ครั้นตอนดึกจวนพระจันทร์ตกแสงจันทร์ส่องทอตรงได้ระดับฐานฉากกับองค์พระปฐม จึงเกิดแสงแพรวพราว ฉะนั้นพอจันทร์เหลื่อมเข้าเมฆแสงลับไป รัศมีที่องค์พระปฐมก็หายไปด้วย ครั้นรุ่งขึ้นได้ทราบเกล้าฯ ว่าจีนที่รับเหมาทำศาลารัฐบาลซึ่งอยู่ด้านตะวันออกองค์พระ และชาวตลาดอีกหลายคนซึ่งอยู่เหนือองค์พระก็เห็นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้าใจได้ว่ารัศมีได้พราวออกทั่วองค์พระเป็นอันพ้นวิสัยที่แสงจันทร์จะถึงได้ หรือว่าจะมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในองค์พระธาตุนั้น จะส่องแสงแพรวพราวในเวลากลางคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ต้องแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันมากพอ ในเวลากลางวันก็ชอุ่ม ตอนเย็นก็ฝนตก ไม่ใช่ธาตุฟอสฟอรัสแน่ จึงเป็นอันจนด้วยเกล้าฯ ที่อ้างแสงรัศมีนั้นเป็นด้วยเหตุไรนอกจากว่ามหัศจรรย์ยิ่ง    พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย สร้างเพื่อนั่งดูปาฏิหาริย์ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้ นิมนต์พระสงฆ์ ๑0 รูป มีพระนิกรมุนีเป็นประธาน สวดมนต์เย็นในพระวิหารองค์พระแล้วได้ เดินเทียนสมโกชองค์พระ ๓ รอบ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๖ เวลาเช้า พวกข้าราชการ พ่อค้า ราษฎรชาวพระปฐมเจดีย์ มีความปีติยินดีช่วยกันจัดของไปถวายและเลี้ยงพระหมดทั้งวัดพระปฐมเจดีย์เป็น จำนวน ๖๘ รูป เวลาค่ำได้มีละครเรื่องสุวรรณหงษ์ ตอนกุมพลถวายม้าฉลองหนึ่งคืนเป็นเสร็จการ”    พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสว่า "เรื่องพระปฐมเจดีย์กระทำปาฏิหาริย์ตามลักษณะที่เล่ามานี้ ช่างไม่มีอะไรผิดกับที่เคยเห็น ๒ คราวแค่สักนิดเดียว เวลาที่ได้เห็นนั้นคนมากยิ่งกว่าที่นับมา เห็นปรากฏด้วยกันทั้งหมด จึงได้มีเรื่องตรวจตราซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พ่อเข้าใจในลักษณะที่เล่าว่าเป็นอย่างไร แลเชื่อว่าได้เป็นเช่นนั้นจริงเพราะเคยเห็น แต่จะเป็นด้วยอันใด เหลือที่จะยืนยันฤา รับรองให้คนอื่นเห็นด้วยจริงได้ จึงไม่ได้เล่าให้ใครฟังในชั้นหลัง ๆ นี้ เพราะห่างจากเวลาที่ได้เห็นนั้นมาก เข้าใจว่าการที่เป็นเช่นนั้นได้จะได้เป็นอยู่เนือง ๆ แต่หากคนนั้นตกต่ำลงก็เข้านอนเสียไม่สังเกต แปลกอยู่หน่อยแต่ที่เวลาเป็นมักจะเป็นเดือน ๑๑ เดือน ๑ ๒ เดือนขี่ เวลาเดินบกมาถึงที่นั้นฤาเสด็จออกไปหลายครั้งไม่เคยมีเลย ขออนุโมทนาด้วยในส่วนกุศลที่ได้ทำ"     ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีกในคืนเดือนมืด พร้อมข้าราชบริพาร ตำรวจ และเสือป่าเข้าฝ้าอยู่ที่สนามจันทร์ประมาณ ๒00 คน ซึ่งได้เห็นกันทุกคนรวมทั้งราษฎรที่อยู่รอบองค์พระ   หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจคีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนประกอบสำคัญของพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย 1. หน้าบันจำนวน 2 ด้าน 2. ลายหน้ากระดานฐานพระ(เครื่องประดับชั่ว) จำนวน 2 ค้าน 3. ช่อฟ้าจำนวน 2 ตัว 4. ไประกาหางหงส์จำนวน 2 ด้าน 5. สันตะเข้ (สันเหรา) จำนวน 4 ตัว 6. ฝ้าประธานจำนวน 2 ห้อง 7. ฝ้าพาไรจำนวน 2 ชั้น ชั้นใน 4 ด้านชั้นนอก 4 ด้าน 8. เชิงกลอน (เชิงชาย)จำนวน 4 ด้าน รวมทั้งหมด 8 ด้าน 9. คานจำนวน 8 คาน 10. ข้อสองจำนวน 4 ด้าน 11. สะพานหนูจำนวน 8 เส้น 12. บัวฟันยักษ์ 13. ลายฉลุใต้ขื่อ 14. ลายประจำยาม (ดอกสีกลีบ) ลายดอกจอก (ดอกแปดกลีบ) 15. ไม้แปรหลังดา 16. ไม้จันทัน 17. เสาจำนวน 8 ต้น 18. แท่นยกจำนวน 4 ค้าน 19. แท่นรองจำนวน 4 ด้าน 20. ขอบพื้นแท่นยกจำนวน 4 ด้าน 21. ขอบพื้นแท่นรองจำนวน 4 ด้าน
การบูรณะซ่อมแซม ปิดทองใหม่ เสาหลักเมือง ในรัชกาลที่ ๔
         หลักเมืองกรุงเทพมหานคร ได้สถิตสถาพรมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปีพุทะศักราช ๒๓๙๘ ทรง พระราชดำริว่าเสาหลักเมืองต้นที่สร้างไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นได้ชำรุดไปตามกาลเวลาทั้งตัวศาลก็ไม่สง่างามเท่าที่ควร           ประกอบกลับทรงเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ผูกดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลายที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองให้วัฒนาถาวรยิ่งขึ้น           การสร้างเสาหลักเมืองต้นใหม่ ได้เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ ลักษณะเป็นเสาไม้สักเป็นแกนอยู่ภายใน ประกบด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่นกว้างแผ่นละ ๘ นิ้วยอดเม็ดส่งมัณฑ์ เมื่อสอบวัดดูในปัจจุบัน ตัวเสาสูง ๕.๐๓๕ เมตรหรือ ๒๐๑.๕นิ้ว เส้นผ่า ศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๔๗ เซนติเมตร หรือ ๑๘.๘ นิ้วรำเสาอวบกว่าเสาหลักเมืองต้นเดิม           พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ประกอบพระราชพิธีจารึกดวงชะตาพระนครลงในแผ่นทองคำปรากกฎความตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์หรือขำบุนนาค ว่า “ หลักเมืองชำรุดทำขึ้นใหม่แล้วจะ ได้บันจุดวงพระชาตาเสียใหม่ ณ วันอาทิตย์เดือน ๑ แรม ๙ ค่ำ พระฤกษ์จะได้บรรจุดวงชาตาพระนครลงด้วยแผ่นทองคำหนัก ๑ บาท แผ่กว้าง ๕ นิ้วจารึกในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามกรมสมเด็จพระปรมานุชิต กรมหมื่น บวรรังสี กับพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวม ๕ รูปเมื่อเวลาจารึกได้เจริญพระปริตร ” นอกจากนี้ยังมีเอกสาร 2 ฉบับซึ่งกล่าวถึงวันที่จารึกดวงชะตากรุงเทพมหานครคือ ๑.      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระบรมานุธิตชิโนรส ๒.      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวุเรศวริยาลงกรณ์ ( กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธ์ )             จดหมายพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนคร รัชกาลที่ ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ ในภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่ 5 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า  "กำหนด ณ วันที่ 5  4 ค่ำปีชวดจัตวาศก เพลาเช้า  6  บาทจะได้ลงควงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"       ประกาศการพระราชาพิธีเล่ม 2 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิ์ประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ฉบับพิมพ์พุทธศักราช 2508 เรื่องจดหมายพะราชพิธีบรรจุชาตาพระนครในรัชกาลที่ 4 ซึ่งขาด  จากเอกสารจดหมายฉบับพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนครราชการที่หนึ่งไปพิมพ์กล่าวว่า   "กำหนด ณ วันที่ 4  4 ค่ำปีขวด จัดวาศก เพลาเช้า 6 บาท จะไคลควงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"               อย่างไรก็ตามวัน 5   4 ค่ำและวัน  4   4  ค่ำ ปีชวด จัตวาศก คณะอนุกรรมการจัดทำจดหมายเหตุ ได้ตรวจสอบกับปฏิทินของกรมตำรากระทรวงศึกษาธิการฉบับพิมพ์พุทธศักราช  2468 และปฏิทิน เทียบสุริยคติและจันทรคติฉบับอื่นๆแล้วไม่มีวันดังกล่าวจึงเทียบวันทางสุริยคติไม่ได้ รายละเอียดของพระราชพิธีจารึกควงชาตาพระนครลงในแผ่นทองคำปรากฏในเอกสารจดหมายพระราชพิธีบรรจุชาตาพระนครดังนี้ "ข้าพระพุทธเจ้าพระยาโหราธิบดี ขุนโชตพรมมา ขุนเทพากร พร้อมกันขอพระราชทานคำนวณ พระฤกษ์ลงด้วยชะตาพระนครและพระราชพิธีบรรจุหลักทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย กำหนด ณ  วัน 5  4ค่ำชวด จัตวาศกเพลาเช้า 6 บาท จะได้ลงดวงพระนครในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน  ศาสดาราม พระสงฆ์ 5 รูปกรมสมเด็จพระปรมานุชิต กรมหมื่นบวรรังษีเป็นประธาน ให้มี บายศรีตอง 5 ชั้นสำรับ 1เทียนทอง 5 ธูปเงิน เครื่องกระยาบวช แป้งหอม น้ำมันหอม มีเครื่องนมัสการสำรับ 1 ให้ประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสั่ง แล้วเจิมแป้ง ประมาณแผ่นทองหนัก 1 ตำลึงแผ่ 12 นิ้ว สี่เหลี่ยม  มิให้มีแผลสนิทดี ลงสำเร็จแล้ว "      อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกว่าดวงชะตาพระนครนั้นจารึกลงในแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ส่วนจดหมายเหตุของ  พระยาโหราธิบดีในเอกสารจดหมายพระราชพิธีบรรจุชะตา พระนครราชการที่ 1 และที่คัดไป พิมพ์ในประกาศการพระราชพิธีเล่ม 2 นั้น บันทึกว่าจารึกลงในแผ่นทองคำหนัก 1 ตำลึงคณะอนุกรมการจัดทำจดหมายเหตุ ยังสอบไม่พบหลักฐานอื่นอีกนอกจากเอกสาร 2 ฉบับนี้ สำหรับศาลที่ประดิษฐานหลักเมืองตลอดจนศาลพระกาฬไชยศรี ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง และศาลท้าวเจตคุปต์ปรากฏความตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าพระบาทสมเด็จพระ พระปรเมนทรมาหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้ำ ให้ปรับปรุงใหม่ในคราวเดียวกันด้วยเป็นอาคารจัตุรมุขยอดปรางค์ ก่ออิฐปั้นปูนฉาบสีขาวตามแบบอย่างศาลพระกาฬที่พระนครศรีอยุธยา    อนึ่งรายละเอียดลักษณะของศาลหลักเมืองที่ปรากฏในภาพถ่ายคราวงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบ สถาปัตยกรรมไทยจัตุรมุขยอดปรางค์ หลังคาปูนสีขาว หน้าจั่ว ปั้นลม ประดับช่อฟ้าหางหงส์ปูนสีขาวเฉพาะหลังคามุขทิตใต้ ซึ่งเป็นคนหน้า ของศาล หลังกาซ้อน 2 ชั้น หลังคาชั้นบนเหมือนกับหลังคามุขทิศทั้งสาม ส่วนหลังคามุขซ้อนมุงกระเบื้องสีขาว หน้าจั่วประดับช่อฟ้า รวยระกา  หางหงส์  สันหลังคา หลบสันหลังคา และข้างกระเบื้องฉาบปูนสีขาว เครื่องยอดหลังคาย่อมุมไม้ยี่สิบ ทำเป็นชั้นเชิงกลอนเตรียงลดหลั่นกัน  7  ชั้น แต่ละชั้นประดับบันแถลง กระจังหน้าสีขาว ชั้นรัดประคด มีลักษณะเป็นฝักข้าวโพด ส่วนยอดสุดปักนภศูล ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนสีขาวมุขทิศคนเหนือ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกเป็นมุขสั้นติดกับตัวอาคารมีหน้าต่างที่ผนังมุขด้านตะวันออกและด้านตะวันตกด้านละ 1 ช่อง ส่วนมุขทิศ ด้านใต้ต่อเป็นมุขยาวยื่นออกไปเป็นประตูทางเข้าออกของศาล ผนังสองข้างมุข ทิศด้านไต้นี้มีหน้าต่างข้างละ 1 ช่องครั้นสร้างศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย ณ วันอาทิตย์ที่  1  พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เชิญแผ่นทองคำจารึกดวงชะตากรุงเทพมหานคร เข้าบรรจุที่ยอดเสาหลักเมืองและประกอบพิธี บวงสรวงเชิญพระหลักเมืองเข้าประดิษฐานในรูปเทวดาบนยอดหลักเมืองต้นใหม่จากนั้นจึงมี งานฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ส่วน หลักเมืองต้นเดิมนั้นโปรดให้เชิญขึ้นจากหลุมตั้งทิ้งไว้โดย  ศาลใกล้กับศาลหลักเมืองต้นใหม่ได้เชิญไปไว้ที่อื่น รายละเอียดพระราชพิธีบรรจุดวงชะตาพระนครในยอดเสาหลักเมืองปรากฏในเอกสารในหอสมุดแห่งชาติหลายฉบับประมวลได้ดังนี้            ก่อนวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 อันเป็นกำหนดฤกษ์ 3 วันเริ่มตั้งแต่ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2396 หรือวันแรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศกรัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 เจ้าพนักงานเตรียมการพระราชพิธีศาลหลวงคือที่ตั้งที่ทำการศาลสถิตยุติธรรมในปังจุบัน ตั้งโรง พระราชพิธี และโรงพิธีพราหมณ์ ตั้งศาล 5 ศาล คือศาลท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 ทิศมีศาลพระอินทร์อยู่ท่ามกลาง ปักราชวัติฉัตรธงต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพระราชพิธี โรงพิธีพราหมณ์และศาลหลักเมืองเป็นปริมณฑล  ที่ในโรงพระราชพิธี เชิญ พระไชยพระธรรมมาตั้ง พร้อมเครื่องนมัสการ 1 สำหรับ เทียนชัยฟั่นด้วยขี้ผึ้งหนัก 5 บาทตั้งบาทน้ำ 3 บาท บาตรทราย 1 บาท วงสายสิญจน์รอบที่ศาลเทวดาทั้ง 5 ศาล ตั้งบายศรีตอง 2 สำหรับ ธูปเทียนเงินทอง 2 คู่ พร้อมเครื่องกระยาบวช ตลอดทั้ง 3 วัน ครั้น ณ วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน ถึง วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2396 เจ้าพนักงาน  นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะ 15 รูป พระคู่สวด 20 รูป รวม 35 รูป สวดพระปริตร ทั้ง 3 วัน สำหรับ พระคู่สวดนั้นแบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 5 รูปสวดจตุภาณวาร 3 รูปสวดนครฐานปริตร 2 รูปและใน เวลาเย็น โหรบูชาเทวดาที่ศาลทั้ง 5 ศาลตลอดทั้ง 3 วันเช้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแบกฆ้องชัย แตร สังข์ ตามกำหนด ครั้นวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2396 ตรงกับวันแรม 9 ต่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศก รัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 ที่ศาลหลวงชาวพนักงานสนมพลเรือนตั้งแต่ที่ประทับจัด พานแก้วโถมณฑป พร้อมหมากเสวยไว้พร้อมที่ ศาลเทวดาทั้ง 5 ศาลตั้งบายศรีหัวหมูพร้อม ธูปเทียนและเครื่องสังเวยสำหรับผลไม้บูชาเทวดาที่ศาลหลักเมืองชาวพระคลังสุภารัตน์และชาวพระคลังมหาสมบัติจัดอาสนะสงฆ์ กระโถน ขันน้ำไปตั้งแต่ง สังฆการีรับ เภสัช 4 พานจากชาววิเสท ไปตั้งถวายพระสงฆ์ชาวพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน 3 สำรับ เทียนทอง 3 เล่ม เทียนเงิน 3 เล่มสำหรับผลไม้บูชาฤกษ์ ชาวพนักงานประโคมเตรียมประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสังข์ ตามกำหนด       อนึ่งสำหรับเวลาฤกษ์บรรจุแผ่นทองคำจารึกดวงชะตากรุงเทพมหานครในยอดหลักเมืองและติด เทวรูปพรหลักเมือง มีเอกสารโบราณหลายฉบับบันทึกไว้ต่างกันดังนี้จดหมายพระราชพิธีบรรจุชะตาพระนครราชการที่ 1 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ในภาคผนวกที่ 2  เอกสารฉบับที่ 5 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า"ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันที่ 1  6  ค่ำ เพลาเช้า 2 โมง 8 บาท เป็นวันพระฤกษ์" ประกาศเทวดาจุลศักราช 1215 พุทธศักราช 2396 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ในภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่ 6 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า "พระเลิกเดิมเพลา 7 ทุ่ม 3 บาทเลื่อนมาเป็นเวลาเช้า 3  โมงได้บรรจุพระสุพรรณบัตร" หมายรับสั่งรัชกาลที่ 4 ปีฉลู เบญศกจุลศักราช 1215 พุทธศักราช 2396 ซึ่งคัดมารวมพิมพ์ไว้ใน ภาคผนวกที่ 2 เอกสารฉบับที่  7 ท้ายจดหมายเหตุนี้กล่าวว่า   "พระฤกษ์ซึ่งจะได้บรรจุหลักพระนครณ วันแรม 9 ค่ำ เดือน 6 เพลาย่ำรุ่งแล้ว 2 โมงกับ 8 บาท"          ครั้นเวลาฤกษ์โหนบูชาฤกษ์แล้วพระยาโหราธิบดีเชิญดวงชะตาพระนครเข้าบรรจุในยอดหลัก   เมืองแล้วติดรูปเทวดาพระหลักเมือง พี่ใต้เม็ดยอดเสาหลักเมืองขณะนั้นชาวพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตรสังข์ ทหารยิงปืนใหญ่ พระมหาฤกษ์ พระมหาชัยมหาจักร มหาปราบ ทั้ง 4 ทิศพระสงฆ์สวดชยันโต พระยาโหราธิบดีประน้ำโปรยทราย ผูกผ้าสีชมพูที่หลักเมืองแล้วเวียนเทียน เจิมแป้งหอมน้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้ต่อมาเวลา 7 ทุ่ม 3 บาทพระยาโหราธิบดีอ่านประกาศเชิญเทวดาเข้าประดิษฐานในเทวโลกบนยอดหลักเมืองมีความดังนี้  "ถ้าแต่ท้าวเทวานุราช สุรารักษ์อันควรจะเสด็จสถิตย์อธิวาศนานุรักษ์ บนยอดหลักสำหรับพระมหานครข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญเทพยมหิทธิมเหศรผู้ทรงสิทธิศักดิ์จงเข้าสิงสู่สำนักในเทวรูปซึ่งประดิษฐาน บนยอดบรมมหานครโตรัน อันบรรจุใส่สุพรรณบัฏจารึกดวงพระชันษากรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรอยุธยา บรมราชธานีนี้จงช่วยคุ้มครองป้องกันสรรไพรีราชดัสก  อย่าให้บีฑาถึงพระมหานครราชธานีแลบุรีรอบขอบเขตขัณฑสีมามณฑล ทั่วสกลราชอาณาประวัติ แล้วจงอภิบาลรักษาสมเด็จพระบรมกษัตริย์อันเสด็จเถลิงถวัลยราช  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหากุฎสมมุติเทพยพงย์ทั้งเอกองค์อรรควรราชอนุชา และพระบรมขัตติขวงศาเสวกามาตย์ราชอันเตบุเรบริจาริก อีกทั้งสมณพราหมณ์ประชาราษฎร ทั่วนิกรสัตว์จัตบททวิบาทในพระราชอาณาจักรให้ปราศจากสรรปรปักษ์ปัจจามิตรภัยพาลจงเกษมสุขสำราญนิรันตรายบำราศ ทุกสิ่งสภาโรคาพยาธิอุปัทวันตรธาน อย่าให้มีโรคภัยพิบัติอุปัทวบีฑาคณานอกรราชบรรพสัชสิ้นทั้งปวง ให้พระมหานครหลวงแลเมืองขึ้นออกทุกเขตรขันทปรจันตชนบทสีมา ดุจคำประกาศอันข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอาราธนากถาดั่งนี้เทอญ"  หลังจากนั้นพระยาโหราธิบดีสวมเม็ดส่งมัณฑ์ที่ยอดหลักแล้วตรึงเหล็ก เป็นเสร็จการ   อนึ่งในวันเดียวกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เททองหล่อพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล  สำหรับเชิญนำกระบวนเสด็จออกนอกพระนครอย่างที่สมเด็จพระบูรพามหากษัตริย์ทรงปฏิบัติกันสืบมา พิธีเททองนั้นกระทำที่หน้าหอพระศาสตราคม กำหนดเวลาพระฤกษ์พร้อมกันกับพระฤกษ์บรรจุดวงชะตาพระนครในหลักเมือง  ครั้นรุ่งขึ้นวันจันทร์ที่สองพฤษภาคมพุทธศักราช 2396 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู เบญจศกรัตนโกสินทร์ศก 72 จุลศักราช 1215 ที่ศาลหลักเมืองเวลาเช้ามีพิธีเวียนเทียนสมโภชหลัก เมืองโดยนายอำเภอได้ป่าวประกาศให้ราษฎรมาร่วมในพิธีสมโภชและคอยรับแว่นเวียนเทียนพันจันทนุมาศเกณฑ์ปี่พาทย์เชลยศักดิ์ 4 วง หมื่นเทวาทิศจัดฆ้องชัย มาคอยประโคมขณะเวียนเทียนนอกจากนี้กรมวังได้จัดเพลงและกรมเมืองจัดละครแสดงสมโภชหลักเมืองด้วย
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368