ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

image header.
ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
image header.


ผลงาน


การลงรักปิดทอง และ ประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยาน
        พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่ใช้สําหรับเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในริ้วขบวนที่ ๔ และ ๕ มีการใช้ในงานพระราชพิธีหลายครั้ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง มีการทารักปิดทอง ทาสีปิดทอง และประดับกระจกในร่องลวดลาย จนกระจกที่ประดับไว้ล้นขึ้นมาจากร่องลวดลาย ส่วนลวดลายที่ปิดทองทับซ้อนกันหลายชั้นก็ดูเลือนไม่ชัดเจน ปิดบังลวดลายไม้แกะสลักที่สวยงามของครูช่างโบราณ อีกทั้งไม้โครงสร้างบางส่วนก็ผุกร่อนตามกาลเวลา ภายหลังจากการสํารวจเพื่อทําการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเตรียมใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สํานักช่างสิบหมู่ พิจารณาเห็นสมควรให้บูรณะปฏิสังขรณ์ด้านโครงสร้างให้แข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ทําการปิดทองใหม่ทั้งหมด และจัดสร้างชุดเฟื่องระย้าชุดใหม่เพื่อประดับตกแต่งให้งดงามสมพระเกียรติ     การบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งราเชนทรยานในส่วนความรับผิดชอบของสํานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีรายละเอียด ดังนี้ - ซ่อมปรับโครงสร้างพื้นไม้ และลวดลายที่ชํารุด - ซ่อมปิดทองใหม่ ๑๐๐% - ซ่อมประดับกระจกโดยรวม ๗๐% - จัดทําพระวิสูตรตาดทองแท้(เงินกะไหล่ทอง) จํานวน ๔ ผืน - จัดสร้างชุดเฟื่องระย่าโลหะเงิน และประดับกระจก   ซึ่งแบ่งการดําเนินงานออกเป็นขั้นตอน ดังนี้ ๑. เชิญพระที่นั่งราเชนทรยานมาบูรณปฏิสังขรณ์ ๒. ถอดส่วนประกอบพระที่นั่งราเชนทรยานเพื่อซ่อมปรับโครงสร้างและลวดลายที่ชํารุด ๓. ดําเนินการคัดลอกแบบและเขียนแบบ ๔. ดําเนินการกะเทาะกระจกและขัดลอกผิวทองเดิมออก ๕. ดําเนินการปิดทองและประดับกระจกใหม่ ๖. การประกอบพระที่นั่งราเชนทรยาน ๗. การจัดทําเครื่องประกอบ               ขนาด กว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (พร้อมคานหาม) สูง ๔.๒๓ เมตร จํานวนพล พลแบกหาม ๕๖ นายผู้ควบคุม ๑ นาย พระที่นั่งราเชนทรยาน มีลักษณะเป็นทรงบุษบก ทําด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราสี่สาย อาทิ เสด็จพระราชดําเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงาน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น เนื่องจากพระราชยานองค์นี้ มีขนาดใหญ่และ นํ้าหนักมาก จึงไม่นิยมใช้สําหรับเสด็จพระราชดําเนินทางไกลไปนอกพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยัง ใช้ในการอัญเชิญ พระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ หรือ พระโกศพระอัฐิพระบรมวงศ์จากพระเมรุท้องสนามหลวงเข้าสู้พระบรมมหาราชวัง
การลงรักปิดทองประดับกระจก พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย
การจัดสร้างพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประวัติความเป็นมา            พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย เป็นพระราชยานที่เป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ในกรจัดริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศของ พระมหากษัตริย์ไทย การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมศิลปากร ได้มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่จัดสร้างพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายตามแบบอย่างโบราณพระราชประเพณี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้สนองรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระวชิรกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดริขบวนพระบรมราชอิสริยยศเต็มรูปแบบโบราณราชประเพณีเพื่อให้เป็นที่ปรากฏแก่แผ่นดินสืบไป     ความสำคัญ           ปัจจุบันงานช่างศิลปกรรมไทย ด้านงานเครื่องไม้แกะสลักซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง ที่ได้รับการสืบทอดฝีมือจากช่างหลวงในราชสำนักซึ่งเคยสร้างสรรค์ราชรถและราชยานใช้ในงานพระราชพิธีนับตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏจัดแสดงภายในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครและปัจจุบัน สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีหน้าที่สร้างสรรค์ธำรงรักษาสืบทอดงานศิลปกรรมไทย ในงานประณีตศิลป์คงความเป็นศิลปกรรมไทยที่เป็นมรดกตามขนบธรรมเนียมและประเพณี เพื่อใช้ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดซมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกระบวนงานช่างไทยได้พัฒนาเทคนิควิธีการเรื่อยมาเป็นลำดับ และเพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจในช่างแขนงนี้ได้ลึกซึ้ง จึงเกิดการรวบรวมความรู้ด้านงานการจัดสร้าง พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยในรัชกาลปัจจุบัน เพื่อเป็นการสืบสานงานตามโบราณราชประเพณีของบูรพมหากษัตริย์ไทยถวายเป็นพระเกียรติยศสูงสุด อันจะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้า ต่อไปภายภาคหน้าในอนาคตของปวงชนชาวไทยรุ่นต่อไป               งานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ของไทยสืบมาแต่ต้นรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการใช้ราชรถและราชยานต่าง ๆ ในการเชิญพระโกศพระบรมศพสู่พระเมรุมาศเพื่อทำพิธีถวายพระเพลิง ตลอดจนกรเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง โดยใช้พระมหาพิชัย ราชรถหรือพระเวชยันตราชรถ ซึ่งเป็นราชรถขนาดใหญ่และมีความงดงามสมพระเกียรติ เป็นราชรถเชิญ พระโกศพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ใช้พระยานมาศสามลำคาน ซึ่งเป็นพระราชยานขนาดใหญ่ในกรเชิญพระโกศพระบรมศพเวียนโดยรอบพระเมรุมาศ ก่อนทำพิธีถวายพระเพลิง และใช้พระที่นั่งราเชนทรยานเชิญพระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศกลับพระบรมมหาราชวัง                ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ช่างสิบหมู่ซ่อมบูรณพระราชยาน จัดสร้างพระเมรุมาศและเครื่องประกอบที่ใช้ในการพระราชพิธี จากการสำรวจราชรถ พระราชยานภายในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่ชาติ พระนคร ปรากฏว่า มีราชรถจำนวน ๕ องค์ คือ พระมหาพิชัยราชรถ พระเวชยันตราชรถ ราชรถน้อย จำนวน ๓ องค์ พระที่นั่งราเชนทรยาน ๑ องค์ และเกรินบันไดนาค ๒ ตัว พระยานมาศสามลำคาน ๒ องค์ และพระวอสีวิกากาญจน์ ๓ องค์ แต่ไม่พบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยสำหรับเชิญพระบรมราชสรีรางคารเหมือนในอดีตกาล ตามหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุ จึงทำให้การเตรียมพระราชยานในสิ่งที่เคยใช้ในการจัดขบวน พระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อครั้งอดีตไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี กรมศิลปากรจึงได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ ตรวจสอบไปยังสำนักพระราชวัง เพื่อขอให้พิจารณาตรวจสอบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ซึ่งเคยใช้ในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ทั้งนี้ สำนัก  พระราชวังได้ตรวจสอบแล้วไม่พบพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเก็บรักษาอยู่ภายในสำนักพระราชวัง ดังนั้น กรมศิลปากรจึงขอพระบรมราชานุญาตดำเนิดการจัดสร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเพื่อ สืบสานตามธรรมเนียมโบราณราชประเพณีให้เป็นที่ปรากฏพระเกียรติยศสืบไป ความแตกต่างระหว่าง พระที่นั่งราเชนทรยานกับพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย   ลักษณะรูปทรงหุ่นโครงสร้างนั้นพระที่นั่งราเชนทรยานองค์เดิมจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งแต่ชั้นฐานขององค์พระที่นั่งจนถึงชั้นหลังคาองค์ระฆัง ซึ่งเป็นลักษณะของบุษบกมณฑปและพระที่นั่งราเชนทรยานคานหาม       ส่วนพระที่นั่งราเชนทรยานน้อยได้ปรับรูปแบบให้เล็กลง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งแต่ฐานขององค์พระที่นั่งจนถึงชั้นหลังคา       ลักษณะรูปแบบของการแกะสลักลายประกอบหุ่นโครงสร้างและลายประดับส่วนต่างๆ ก็ยังคงลักษณะ รูปแบบใกล้เคียงกับองค์พระที่นั่งราเชนทรยานองค์เดิม เพียงแต่ย่อเล็กลงตามส่วน ส่วนครุฑยุดนาคก็ลดจำนวน ประดับลงตามรูปทรงของหุ่นตัวเรือน โครงสร้างในส่วนพื้นองค์พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยได้ปรับเป็นราวพนักประดับ เสาหัวเม็ดกลม ประดับกระจังปฏิญาณตรงซึ่งแตกต่างจากองค์พระที่นั่งองค์เดิม เป็นกงพนักพิงและประดับกระจังปฏิญาณรวน เป็นต้น
การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์พระทอง ( พระผุด )
ความเป็นมาและความสำคัญ              หลวงพ่อพระทอง(พระผุด) วัดพระทอง(พระผุด) ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นองค์พระพุทธรูปทองคำ โผล่แต่พียงพระเกตุมาลา อยู่ใต้องค์พระพุทธรูปพระทองครึ่งองค์พุทธศาสนิกชนทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงมักเรียกท่านว่า "พระผุด", "พระล่อคอ" ประวัติความเป็นมายังไม่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ซัด เพราะเป็นพระพุทธรูปผุด เพียงพระเกตุมาลาจากพื้นดิน สูงประมาณ ๑ ศอก โดยมีรูปจำลองก่อสวมทับไว้แบบครึ่งองค์ ส่วนคนจีนในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงเรียกว่า "ภู่ปุ๊ค" หรือ "พู่ฮุก" เพราะเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างมาจากเมืองจีน  เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนต่างก็พากันมานมัสการหลวงพ่อพระทอง(พระผุด) กันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้และยังมีความเชื่อเล่าสืบทอดกันมาว่า หลวงพ่อพระทอง(พระผุด)  ที่อยู่ใต้องค์พระพุทธรูปพระทองครึ่งองค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยทองคำที่มี ความสวยงามมาก สร้างที่เมืองจีน ครั้นเมื่อชาวธิเบตได้มารุกรานเมืองจีนและได้ชัยชนะได้นำพระพุทธรูป ดังกล่าว ที่มีชื่อว่า "กิมมิ่นจ้อ" ลงเรือมาทางมหาสมุทรอินเดียเพื่อนำกลับไปประเทศธิเบต แต่เรือถูกพายุ พัดเข้ามายังชายฝั่งพังงาและเกิดเรือล่มลง เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงบริเวณที่  เรือจมกลายเป็นเกาะ ซึ่งก็คือภูเก็ตในปัจจุบันนี้ องค์พระพุทธรูปจมลงใต้พื้นดินโผล่แต่เพียงพระเกตุมาลา อยู่กลางท้องทุ่ง                ตามตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาว่าในสมัยก่อนในตอนเช้า เด็กชายชาวนาได้นำกระบือไปเลี้ยงในทุ่งนา แล้วนำเชือกที่ผูกกระบือไว้ไปผูกกระทบสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายแก่นไม้หรือท่อนไม้ที่มีโคลนตมติดอยู่จากนั้นเด็กชายก็กลับบ้านไป เมื่อไปถึงบ้านก็เป็นลมล้มลงแล้วเสียชีวิต ตอนสายพ่อของเด็กก็ออกไปที่ทุ่งนา พบว่ากระบือก็ตายเช่นกัน พอตกกลางคืนพ่อของเด็กชายก็ฝันว่า สาเหตุที่ลูกชายและกระบือตายเพราะลูกชายนำเชือกกระบือไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำที่จมอยู่ในดิน รุ่งเช้าจึงได้ชวนชาวบ้านไปดูจุดที่ลูกชายนำเชือกไปผูกลมกระบือไว้  เมื่อแก้เชือกและล้างโคลนตมออกจากจุดที่ผูก  เชือกไว้ พบว่ามีลักษณะเหมือนพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปที่เป็นทองคำ จึงได้พากันมากราบไหว้บูชา และไปเรียนให้ทนเจ้าเมืองทราบ เมื่อเจ้าเมืองทราบได้ทำการขุด แต่ขุดอย่างไรก็ไม่สามารถเคลื่อนย้าย องค์พระพุทธรูปทองคำออกไปได้ ต่อมามีชีปะขาวท่านหนึ่งและชาวบ้าน กรงว่าจะมีคนร้ายมาลักลอบขุด หรือตัดพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำไป จึงได้นำเปลือกหอยทะเลมาเผา ทำเป็นปูนขาวผสมกับ  ทรายมาโบกครอบทับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำไว้                  ต่อมาในสมัยที่เกิดสงครามกับพม่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒o๒๘ ที่เรียกว่า ศึกถลาง พม่าได้ยกกองทัพมาปิดล้อมเมืองถลางและทราบว่าในทุ่งนามีพระพุทธรูปทองคำแต่สวมทับโบกปิดไว้ด้วยปูนขาว จึงมารื้อปูนขาวออก จนเห็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ก็พยายามที่จะขุดองค์หลวงพ่อพระทอง จนสามารถขุดลงไปได้จนถึงพระศอ (คอ) แต่ก็ไม่สามารถขุดลงไปได้ทั้งองค์ เพราะเกิดอุปสรรคต่าง ๆ เป็นที่มหัศจรรย์มากมาย เป็นที่เล่าขานกันสืบมา เช่น มี ต่อ แตน มดคันตัวเล็ก ๆ จำนวนมากออกมารุมกัดทหารพม่าที่กำลังขุดองค์พระ จนทหารพม่าล้มป่วย ตายไปเป็นจำนวนมากไม่สามารถขุด เอาองค์หลวงพ่อไปได้ จนในที่สุดพม่าได้ล่าถอยทัพกลับไป หลังจากนั้นได้มีพระธุดงค์มาพบว่ามีพระผุดโผล่ ขึ้นมาเพียงพระศอ (คอ) และเป็นทองคำ ก็เกรงว่าจะมีคนร้ายมาลักลอบขุดขโมยไป จึงได้ชักชวนชาวบ้าน ก่อองค์พระพุทธรูปปูนขึ้นสวมทับพระผุดที่เป็นทองคำดังกล่าว แต่สร้างเพียงครึ่งองค์ คือตั้งแต่พระอุระ(ก) ขึ้นไปมาสวมทับไว้ ดูคล้ายกับเป็นพระพุทธรูปผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยมี หลวงพ่อพระทอง (พระผุด) เป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระธุดงค์รูปนี้ก็คือเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด พระทอง(พระผุด) ภายหลักทราบชื่อพระธุดงค์รูปนี้ซึ่งก็คือหลวงพ่อสิงห์ จากการประทับทรงเมื่อครั้งปลุกเสกหลวงพ่อพระทอง (พระผุด) ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ หลังจากสร้างเป็นวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อสิงห์ได้ ผูกปริศนาขึ้นไว้ประจำวัด ปริศนามีดังนี้ "ยัก ๓ ยัก ๔ หามผีมาเผา ผีไม่ทันเน่า หอมฟุ้งตลบ ผู้ใดคิดสบให้เอาที่กบปากแดง ผู้ใดคิดแจ้งให้เอาจากแร้งล่อคอ" หากท่านเจ้าอาวาสท่านใดไม่เข้าใจในปริศนาที่ผูกไว้ ก็จะอยู่วัดนี้ไม่ได้ จะต้องมีอันเป็นไป หลังจากนั้นวัดพระทองก็มีเจ้าอาวาสอีก ๑๔ รูป แต่ไม่มีเจ้าอาวาส ท่านใดสมารถอยู่ได้เกินหนึ่งพรรษา จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าวัดนี้กินสมภาร วัดจึงถูกทิ้งรังกลายเป็นป้าดงขมิ้น หลวงพ่อพระทอง (พระผุด) ก็ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่าคงขมิ้น เช่นกัน เพราะผู้พบเห็นล้วนเห็นว่าเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นเพียงครึ่งองค์ แต่เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน ชาวบ้าน ชาวจีนก็ชักชวนกันมาถากถางป่า ทำความสะอาดและเข้ามากราบไหว้ จนในที่สุดประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระครูวิตถารสมณวัตร (ฝรั่ง) อายุ ๒๓ ปี ขณะนั้นอุปสมบทอยู่ที่วัดพระนางสร้างได้ ๓ พรรษา คิดปริศนาของวัดพระทองที่หลวงพ่อสิงห์ผูกไว้ได้ จึงมาจำพรรษาที่วัดพระทอง ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทอง (พระผุด) รูปที่ ๑๕ ได้ทำการ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ โดยมีเถ้าแก่ย่าเสียง เป็นโยมอุปถัมภ์ จากนั้นได้ทดลองขุดดินลงไปด้านหลังองค์พระทอง (พระผุด) กว้างประมาณ ๑ เมตร ลึกประมาณ ๒ เมตร เพื่อหาลูกนิมิตพระอุโบสถ หลังเดิมแล้วคิดจะพังดินเข้าไปดูองค์พระทอง แต่เกรงว่าองค์พระทอง(พระผุด) ที่สร้างไว้ครึ่งองค์ด้านบนจะพังลงไปทับองค์พระพุทธรูปทองคำด้านล่างเกิดความเสียหาย จึงมิได้พังดินเข้าไป แต่ได้ใช้เหล็กมาตีเป็นปากจิ้งจก แล้วตอกลงไปที่ฐานองค์พระทอง เพื่อพิสูจน์ว่าองค์พระที่อยู่ใต้องค์พระทอง (พระผุด) เป็นทองคำหรือไม่ เมื่อตอกเหล็กลงไปชนกับของแข็งพยายามตอกจนเหล็กงอจึงดึงเอาเหล็กนั้นออกมา แล้วนำเหล็กนั้นไปให้ช่างทองที่ตัวเมืองภูเก็ตพิสูจน์ดู ช่างทองบอกว่ามีเศษทองดำเนื้อดีติดอยู่ให้นำมาขายได้ พระภารสมณวัตร (ฝรั่ง) จึงรีบกลับมาทำการบูรณะองค์พระทอง(พระผุด) โดยการสร้างองค์พระเพียงครึ่งองค์ เช่นกัน คือตั้งแต่พระอุระขึ้นไปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ครอบองค์พะครึ่งองค์เดิม โดยเถ้าแก่ย่าเสียง เป็นโยมอุปถัมภ์ ใช้ช่างชาวปีนัง เป็นผู้ดำเนินการสร้าง ใช้ปูนขาวที่ทำมาจากหินภูเขา จากจังหวัดพังงา                   ในสมัยที่พระครูสุวรรณพุทธาภิบาล (สุขุม อิสิญาโณ ถิ่นตะเคียน) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทองรูปที่ ๑๖ ได้ทำการขุดรอบ ๆ องค์พระทอง(พระผุด) เพื่อการหาลูกนิมิตพระอุโบสถ พบว่าโดยรอบองค์พระทอง (พระผุด) ห่างจากองค์พระทอง (พระผุด) ด้านละ ๑ เมตร มีอิฐขนาดใหญ่วางเรียงซ้อนกันเป็นกำแพงล้อมรอบองค์พระไว้ แต่มิได้ขุดไปที่องค์พระทอง (พระผุด)  ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๔๐ เป็นการซ่อมบูรณะองค์พระทอง (พระผุด) ในส่วนของงานปูน บริเวณพระปราง(แก้ม) และพระศก (เส้นผม) และซ่อมปิดทององค์พระทองใหม่ทั้งองค์  ในช่วงที่พระอธิการอำไพ อมทตโต (อำไพ โกมุทผล) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระทอง(พระผุด) และนายบัญญัติ จริยเลอพงศ์ เป็นไวยาวัจกร การสร้างพระพุทธปฏิมาในพระพุทธศาสนา ( ยงยุทธ วรรณโกวิท, การซ่อมบูรณะปิดทองคำเปลวองค์ พระทอง (พระผุด). ๒๕๕๓ : ๙ )                   พุทธปฏิมา, พุทธปฏิมากร เป็นคำนาม หมายถึง รูปเหมือนหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป (ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) การสร้างพุทธเจดีย์หรือ ถาวรวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นโดยมีเจตนาเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ                   ธาตุเจดีย์         หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ                   บริโภคเจดีย์      หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า                   ธรรมเจดีย์        หมายถึง          เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก                   อุเทสิกเจดีย์      หมายถึง          เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูปชาวพุทธมีคติความเชื่อเรื่องการปิดทองที่องค์พระในจุดต่างๆ มาตั้งแต่โบราณ กาลมาจนถึงปัจจุบันคือ ๑. ปิดที่พระพักตร์ ทำให้หน้าที่การงาน ชีวิตเจริญรุ่งเรื่อง ๒.ปิดบริเวณพระอุทร(ห้อง) จะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ๓.ปิดที่พระนาภี(สะดือ) ตลอดทั้งชีวิตจะไม่รู้จักคำว่าอด สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สิน ๔.ปิดที่พระเศียร(หัว) จะทำให้สติปัญญาความจำเป็นเลิศ สามารถแก้ไขฟันฝ้าอุปสรรคของชีวิตได้ตลอด ๕. ปิดที่พระอุระ(หน้าอก) ทำให้มีสงราศีเป็นที่ถูกใจของคนทั่วไป ๖.ปิดที่พระหัตถ์( มือ) ทำให้เป็นคนมีอำนาจบารมี ๗. ปิดที่พระบาท(เท้า) สมบูรณ์ด้วยที่พักอาศัย และยวดยานพาหนะ             ส่วนการปิดทองหลังพระนั้นที่มีการพูดถึงเป็นภาษิต มีคติความเชื่อว่าถ้าจะให้การปิดทองทั้งหมดสมบูรณ์ต้องปิดด้านหลังด้วย นอกจากนี้แล้วแม้ไม่ปิดที่องค์พระเช่น กรณีพระพุทธรูปขนาดใหญ่แม้การปิดทองบริเวณฐานรองขององค์พระก็ทำให้หน้าที่การงานมั่นคงเจริญก้าวหน้าได้เช่นเดียวกัน              การไหว้พระปิดทองนั้น เป็นคติธรรมมุ่งหมายถึงการได้บูรณะต่อองค์พระพุทธปฏิมา เพื่อผลแห่ง อานิสงส์ที่จะให้ผลโดยกันที สำหรับผู้ที่เกิดเคราะห์กรรมหรือวิบกกรรม อุปสรรค ความมัวหมองในชะตาชีวิต ในสัมมาอาชีพหากต้องการความสำเร็จในสิ่งที่ทำไปแล้วโดยฉับพลันทันทีการสร้างอานิสงส์โดยการปิดทองพระพุทธปฏิมาจึงเป็นสิ่งที่ให้ผลโดยตรงไม่ต้องรอถึงชาติหน้า      งานลงรักปิดทองของไทยเราคงมีมาตั้งแต่ไทยได้รับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ดังมีหลักฐานปรากฏที่เขางู จังหวัดราชบุรี พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีปรากฏร่องรอยการปิดทองที่องค์และฐาน ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานพบว่ามีการปิดทองบนลวดลายประดับพระอุโบสถ เจดีย์ พระพุทธรูป และมีการปิดทอง เขียนสีที่เรียกว่าจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย ที่ซุ้มพระปรางค์วัดพระพายหลวง และองค์พระพุทธชินราช  ภาพที่ ๑ ชื่อส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป แนวความคิด องค์ความรู้ทางวิชาการ ในการทำพื้นปิดทอง         องค์ประกอบของงานทำพื้นปิดทอง คือ วัสดุ และเครื่องมือ วัสดุในที่นี้คือ รัก สีสังเคราะห์ เช่น สีโป๊วไม้ (ชื้อทินเนอร์) สีโป๊วปูน (เชื้อน้ำ)  สีน้ำมัน สีต่างๆ ( เชื้อน้ำมันสน ) ทองคำเปลว ๑๐๐% เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการทำพื้นและปิดทอง คือ พู่กัน แปรง ในกรณีที่เป็นชิ้นงานใหญ่ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นกาพ่นสี เพื่อให้งานที่ออกมาดูเรียบเนียนและรวดเร็วมีคุณภาพยิ่งขึ้น        องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของงานทำพื้นและปิดทอง  คือ ช่างฝีมือที่เป็นบุคลากรที่มีคุณสมบัติสามารถใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกันงานนั้น ๆ และเกิดเป็นความงามที่ทรงคุณค่าทางศิลปะได้ ๑. การทำพื้นปิดทองด้วยรัก         ในสมัยก่อนเราใช้รักในการทำพื้นและปิดทองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และงานศิลปกรรมต่างๆ เช่น ปิดทององค์พระพุทธรูปสำริด ปิดทองบุษบกแกะไม้ ปิดทองธรรมาสน์สวด ธรรมาสน์เทศน์ ปิดทองตู้ พระธรรมลายรดน้ำ รักหรือยางรัก คือ ยางที่ได้จากต้นรัก ซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีมากทางภาคเหนือ ยางที่ได้จกต้นรักจะเป็นสีขาวขุ่นเมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นำยางที่ได้มากรอง เรียกว่ารักน้ำเกลี้ยง นำวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าว มาผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดให้ละเอียดผสมกับรัก เรียกว่า "รักสมุก" คุณสมบัติของรักสมุกใช้ทำพื้น ช่วยโปิวผิวงานให้เรียบ และมีเนื้อยิ่งขึ้น        ในการทำพื้นปิดทองด้วยรัก นำรักน้ำเกลี้ยงมาทาลงบนชิ้นงานที่มีการทำความสะอาดผิวเรียบร้อย แล้วให้ทั่วแล้วนำเข้าตู้บ่ม คุณสมบัติของตู้บ่ม คือ เป็นตู้ปิดมิดชิด ใช้ผ้าชุบน้ำหรือภาชนะใส่น้ำวางไว้ภายในโดยรอบหรือใกล้ชิ้นงาน จะทำให้รักแห้งเร็วขึ้น เพราะคุณสมบัติของรักชอบความชื้น ทิ้งไว้ให้แห้งใช้รักสมุกมาโป๊วในส่วนที่ต้องการให้พื้นผิวบริเวณนั้นมีเนื้อ และเรียบเนียนขึ้น ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ทารักซ้ำประมาณ  ๒ รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง ขัดแต่งผิวให้เรียบร้อย (ในการทารักแต่ละครั้งรักต้องแห้งสนิท เพราะถ้าทารักซ้ำขณะที่ทาไว้ก่อนยังไม่แห้งสนิทดี จะทำให้พื้นผิวย่น เวลาทารักต้องระวังอย่าให้รักที่ทาชุ่มเกินไป ควรให้มีเนื้อเสมอกันทั้งชิ้นงาน) นำรักน้ำเกลี้ยงที่ใช้ทาทำพื้นมากรองอีกครั้ง เพื่อให้ได้เนื้อรักที่ละเอียดยิ่งขึ้น นำรักน้ำเกลี้ยงที่กรองเรียบร้อยแล้วมาทาอีกประมาณ ๒ รอบ แล้วทิ้งไว้ให้เกือบแห้งสนิท โดยใช้มือสัมผัสชิ้นงาน นำทองคำเปลว ๑๐0% ปูให้ทั่วขึ้นงาน ใช้นิ้วแตะทองแล้วกวดลงบนชิ้นงานที่ปูทองเรียบร้อยแล้ว ใช้พู่กันแตะทองและยีทองลงบนลวดลายที่นิ้วเข้าไปไม่ถึง ลักษณะงานที่ปิดทองด้วยรักยิ่งนานวันคุณสมบัติของรักจะทำให้ทองมีความสุกสวยงามยิ่งขึ้น ๒ การทำพื้นปิดทองด้วยสีสังเคราะห์(สีน้ำมัน)            ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าและวิวัฒนาการสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นสีสังเคราะห์ (สีน้ำมัน) สีพลาสติกซึ่งเป็นสีเชื้อน้ำ สีอคิลิก ที่ใช้ในงานศิลปะต่าง ๆ นั้น แต่ในงานทำพื้นและปิดทอง ส่วนใหญ่จะใช้สีน้ำมันในการทำพื้นและปิดทอง สีน้ำมัน สีเหลืองที่นิยมในการทำพื้นและปิดทอง ส่วนใหญ่จะใช้สีเฟล็กซ์และสีตราพัด คุณสมบัติของสีเฟล็กซ์เป็นสีแห้งช้าเนื้อสีละเอียดเกาะติดกับพื้นผิวดี สีเฟล็กซ์มีด้วยกันหลายนิยมใช้ คือ สีแดง สีเหลือง สีดำ สีแดงกับสีดำนิยมใช้ในการทำพื้น สีเหลืองกับน้ำมันฮับบิ๊ก ใช้ทาเป็นสีสำหรับปิดทอง ส่วนสีตราพัดเป็นสีน้ำมันคุณภาพใกล้เคียงกับสีเฟล็กซ์ สามารถใช้ แทนกันได้ สีตราพัดส่วนใหญ่ใช้ทำพื้นอย่างเดียว ไม่นิยมใช้ทำสีปิดทอง             ในการทำพื้นด้วยสีน้ำมัน ถ้าชิ้นงานเป็นไม้ ให้ใช้สีโป๊วไม้ทาที่ขึ้นงานประมาณ ๒ - ๓ รอบ แล้วขัดแต่งผิวให้เรียบร้อยให้สีโป๊วลงไปอุดผิวที่เป็นเสี้ยนไม้ ถ้าชิ้นงานเป็นปูนให้ใช้สีโป้วปูน หรือ บอสนี่ ทา ๒ รอบ แล้วขัดแต่งผิวให้เรียบร้อย ถ้าชิ้นงานเป็นโลหะให้ใช้สีรองพื้นกันสนิมพ่นหรือทาก่อน ๒ - ๓ รอบ แล้วขัดให้เรียบร้อย ถ้าชิ้นงานเป็นเรซิ่น สามารถทาสีน้ำมันได้เลย เมื่อเตรียมชิ้นงานเรียบร้อยแล้วนำชิ้นงานนั้นมาทาสีน้ำมันสีแดง ๒ - ๓ รอบ ทิ้งให้แห้งสนิท แล้วนำสีปิดทองสีเหลือง (สีน้ำมัน) ผสมน้ำยาถ่วงในอัตราส่วนที่เหมาะสมมาทาลงบนชิ้นงานที่เตรียมพื้นไว้แล้วให้ทั่วชิ้นงาน ทิ้งไว้ให้สีปิดทองแห้งทดสอบโดยใช้หลังมือแตะสีไม่ติดผิวออกมา นำทองคำเปลว ๑๐๐% มาปูให้ทั่วชิ้นงาน ใช้นิ้วแตะทอง และ กวดทองจนทั่วทั้งชิ้นงาน นำพู่กันแตะทองมายีบริเวณที่นิ้วกวดไม่ถึงจนทั่วทั้งชิ้นงาน  องค์ประกอบหลักของงานทำพื้นปิดทอง           ๑. วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำพื้นปิดทอง                  ๑.๑ ปูน มีหลายประเภท                         ๑.๑.๑ ปูนปลาสเตอร์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว เมื่อผสมน้ำสามารถนำมาหล่อเป็น ชิ้นงานต่าง ๆ ได้เนื้อบอบบาง แตกหักเสียหายได้ง่าย                        ๑.๑.๒ ปูนซิเมนต์ มีลักษณะเป็นผงสีเทาหรืค่อนข้างดำผสมน้ำ สามารถหล่อเป็นขึ้นงานได้ มีความคงทนถาวร                       ๑.๑.๓  ปูนปลาสเตอร์หิน มีอยู่ด้วยกันหลายสี ผสมน้ำสามารถนำมาหล่อชิ้นงานต่าง ๆได้ เนื้อค่อนข้างละเอียด เป็นปูนประเภทเดียวกับที่ใช้ทำฟัน                   ๑.๒ ไม้ มีหลายประเภทแต่ที่นิยมมาทำงานศิลปะต่าง ๆ ได้แก่                         ๑.๒.๑ ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อละเอียด สีค่อนข้างเหลืองนวล หรือที่เรียกว่าสักทองนิยมนำมาแกะสลักมีหลายแบบ เช่นไม้สักทอง ไม้สักขี้ควาย ไม้สักหิน                        ๑.๒.๒ ไม้โมก เป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อละเอียดมากสีค่อนข้างขาวนวล ไม่ค่อยมีลายไม้นิยมนำมาทำงนแกะที่มีลวดลายละเอียดและต้องการโชว์สีของเนื้อไม้โมก ส่วนใหญ่งานที่ทำด้วยไม้โมกไม่นิยมทำพื้นสีปิดทอง                 ๑.๓ โลหะ มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทแต่ที่นิยมนำมาทำพื้นปิดทอง คือ                         ๑.๓.๑ เนื้อทองแดงลักษณะเนื้อโลหะจะเป็นสีค่อนข้างแดงเหมือนสีนาก นิยมนำมาหล่อเป็นพระพุทธรูป นำมาทำพื้นและปิดด้วยทองคำเปลว ๑๐0% หรืออาจจะนำมาชุบทองวิทยาศาสตร์ หรือรมคำก็ได้                        ๑.๓.๒ เนื้อทองเหลืองลักษณะโลหะเป็นสีเหลืองนวลเหมือนทอง นิยมน้ำมาหล่อเป็นพระฉัตรโลหะ หรือสลักดุนต่าง ๆ                  ๑.๔ เรซิ่น เป็นกรรมวิธีทำงานแบบสมัยใหม่ เป็นวัสดุสังเคราะห์ เนื้อละเอียดมีความข้นมีทั้งสีขุ่นและใส เวลาใช้ต้องผสมตัวเร่งตามอัตราส่วน แล้วเทลงในพิมพ์ยาง ทิ้งไว้สักพักจะแข็งตัวแกะออกจากพิมพ์ เรซิ่นจะนำมาใช้หล่อเป็นงานศิลปะ ได้เกือบทุกรูปแบบ เช่น พระพุทธรูป งานปั้นลวดลายประกอบต่าง ๆ เช่น คันทวย ดาวเพดาน ลายหน้ากระดาน ลูกฟัก ก้ามปู นิยมทำเป็นงานศิลปะมากที่สุด เพราะมีราคาถูกใช้หล่อได้ที่ละมาก ๆ นำมาทำพื้นและปิดทองคำเปลวได้ ๒. สีที่ใช้ทำพื้นปิดทอง        ๒.๑ สีโป๊วไม้ มีสีแดงอมส้ม ผสมกับทินเนอร์คนให้เข้ากันใช้ทาเพื่อกลบเสี้ยนไม้ ภาพที่ ๒ สีโป๊วไม้ ๒.๒ สีโป๊วปูน มีสีขาวเนื้อละเอียด ผสมน้ำคนให้เข้ากันใช้ทาเป็นชั้นแรกก่อนทาสีรองพื้น ( สีน้ำมัน ) เพราะจะทำให้สีแห้งเสมอกัน ภาพที่ ๓ สีโป๊วปูน ๒.๓ สีโป๊วโลหะหรือสีกันสนิม  เนื้อสีเทาผสมกับทินเนอร์คนให้เข้ากัน ทาเพื่อกันมิให้โลหะเป็นสนิมเป็นชั้นแรกก่อนทาสีรองพื้น ภาพที่ ๔ สีโป๊วโลหะ ๒.๔ วัสดุวิทยาศาสตร์ที่ใช้อุดโป๊วผิวที่ไม่เรียบ สมานให้เป็นเนื้อเดียวกันกับชิ้นงาน คือ อีพ๊อกซี่ เอ บี มีเนื้อข้นหนืดผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กันแล้วโป๊วลงบนชิ้นงานที่เป็นโพรงหรือฟองอากาศ เนื้อที่ไม่ใหญ่มาก เมื่อแห้งเนื้อจะแข็งตัว ภาพที่ ๕ วัสดุวิทยาศาสตร์ ๒.๕ สีรองพื้น ( สีน้ำมัน ) สีรองพื้นส่วนใหญ่นิยมใช้สีแดงกับสีดำ ใช้น้ำมันสนเป็นตัวผสมทาสีรองพื้นหลังจากที่โป๊วขัดผิวงานเรียบร้อยแล้ว  โดยทาสีรองพื้นทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้วค่อยทาใหม่  ทาจนกระทั่งผิวเป็นมันวาวประมาณ ๓ รอบ ภาพที่ ๖ สีรองพื้น ( สีน้ำมัน ) ๒.๖ สีปิดทอง คือสีน้ำมันที่ผสมน้ำมันฮับบัก เพื่อให้ยืดระยะเวลาการปิดทองให้ทันกับเวลา สี ที่นิยมใช้ในการปิดทอง คือ สีเหลืองกับสีดำ จะทาสีปิดทองหลังจากทาสีรองพื้นแห้งสนิทเป็นมันวาวแล้วทา ให้ทั่วทั้งชิ้นงานเวลาทาสีควรกะเวลาปิดทองให้ทันด้วย เพราะถ้าสีปิดทองแห้งเกินไป เมื่อปิดทองจะเห็นเป็นรอยต่อทอง เมื่อยีทองลงไปร่องลายจะไม่เรียบร้อย ภาพที่ ๗ สีปิดทอง ๓. รัก เป็นยางที่ได้มาจากต้นไม้ มีเนื้อค่อนข้างดำ เมื่อจะใช้ต้องนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำมาเคี่ยวกับไฟอ่อนๆ หรือตากแดด เพื่อให้รักเหลวอ่อนตัวทาได้ง่าย  รักเป็นวัสดุชนิดเดียวที่สามารถใช้ได้ทั้งทำพื้นและเป็นสีปิดทอง ภาพที่ ๘ ยางรัก ๔. ประเภทของทองคำที่นำมาทำแผ่นทองคำเปลว แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ           ทองแดง หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ % หรือช่างตีทองเรียกอีกอย่างว่าทองกิมซัวแผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีเหลืองอร่ามออกแดง            ทองเขียว หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ ๙๗.๐ % ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์น้อยกว่าทองแดงแผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีเหลืองอร่ามออกเขียว            ทองคำเปลว ๑๐๐% ชนิดของทองคำเปลว แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ            ทองคัด หมายถึงแผ่นทองคำเปลวที่คัดตามขนาดกำหนดโดยไม่มีรอยต่อของแผ่นทอง ซึ่งทองคัดนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง            ทองต่อ หมายถึงแผ่นทองคำเปลวที่มีการตัดต่อแผ่นทองโดยอาจมีการนำแผ่นทองคำเปลวมาต่อกันมากกว่า ๑ แผ่น ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าทองคัด ภาพที่ ๙ ทองคำเปลว ๑๐๐%   ๕. เครื่องมือการทำพื้นปิดทอง ๕.๑ กระดาษทรายสำหรับขัดผิวชิ้นงานให้เรียบร้อยเป็นเนื้อเดียวกับผิวงานนั้น ๆ กระดาษทรายมีด้วยกันหลายเบอร์ เบอร์หยาบ เช่น ๓๐๐ ๖๐๐ ใช้ขัดผิวที่โป๊ว แต่งผิวแล้วให้เรียบพอสมควร ส่วนกระดาษทรายเบอร์ละเอียด เช่น ๙๐๐ ๑๐๐๐ ใช้ขัดผิวชิ้นงานก่อนทาสีรองพื้น ๕.๒ เกรียงสีน้ำมัน (เกรียงผสมสี) ใช้สำหรับคนหรือผสมกาววิทยาศาสตร์ (อีพ้อกซี่) ให้เข้ากันแล้วนำมาโป๊วอุดตามพื้นผิวที่ต้องการให้เรียบ ๕.๓ เกรียงโป๊วใช้คู่กับเกรียงผสมสีน้ำมัน สำหรับผสมกาววิทยาศาสตร์ (อีพ๊อคซี่) ให้เข้ากัน ๕.๔ เครื่องขัดต่าง ๆ เช่น เครื่องขัดที่ใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับขัดงานที่เป็นพื้นเรียบระนาบเดียวกัน เช่น พื้นโต๊ะ หรือ พระประธานที่มีขนาดใหญ่ จะสามารถเก็บผิวได้เรียบและเร็วกว่าการขัดด้วยมือ ๕.๕ พู่กันกลมและแบน มีหลายขนาด ๕.๕.๑ พู่กันกลม ใช้สำหรับเขียนลายทำสีงานที่มีลักษณะไม่ใหญ่มากมีด้วยกันหลายเบอร์หลายขนาด เลือกใช้ตามลักษณะของงาน ๕.๕.๒ พู่กันแบน ใช้ทำสีงานลักษณะต่าง ๆ และใช้ปิดทองคำเปลว ๑๐๐% ใช้ยีทองในส่วนที่นิ้วกวดไม่ถึง มีด้วยกันหลายเบอร์หลายขนาดเลือกใช้ตามลักษณะงานนั้น ๆ ๕.๖ แปรงใช้สำหรับทาสีงานขนาดใหญ่ ใช้ปัดฝุ่นก่อนทาสีหรือก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง ๕.๗ เครื่องพ่นสี กาพ่น เหมาะสำหรับงานขนาดค่อนข้างใหญ่ ต้องการความเรียบเนียนของพื้นผิวมาก สามารถปฏิบัติงานได้เร็ว ลักษณะการปิดทองแบบต่าง ๆ การปิดทองมีด้วยกันหลายวิธี เช่น ๑. การปิดทองบนพื้นเรียบ คือ การปิดทองบนชิ้นงานมีพื้นเรียบเสมอกันทั้งชิ้นงาน เช่น การปิดทองลายรดน้ำ การปิดทองลายฉลุ หรือการปิดทองทึบ โดยไม่มีลวดลายบนชิ้นงาน ๒. การปิดทองแบบนูนต่ำหรือนูนสูง คือ การปิดทองลงบนชิ้นงานที่มีความสูงจากพื้น โดยมองเห็นด้านหน้าและความหนาของชิ้นงาน เช่น งานแกะสลัก ลวดลายประกอบบนชิ้นงานต่าง ๆ กรสลักดุนโลหะการปั้นลายประดับลงบนชิ้นงานต่าง ๆ ๓. การปิดทองแบบลอยตัว คือการปิดทองบนชิ้นงานที่สามารถมองงานได้รอบตัวทั้งด้านหน้าด้านข้าง ความสูง ด้านหลัง มองได้รอบทุกทิศทาง เช่น การปิดทององค์พระพุทธรูป การปิดทองภาพจับเทพเทวดาต่างๆ การปิดทองสัตว์หิมพานต์ การดูแลรักษาเครื่องมือทำพื้นปิดทอง ๑.พู่กัน หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรนำมาเช็ดด้วยเศษผ้าก่อน ที่จะล้างด้วยน้ำมันสน เพราะจะทำให้น้ำมันสนขุ่นสิ้นเปลือง ล้างด้วยน้ำมันสน ๒ ครั้ง เพื่อให้สีที่ติดอยู่ในพู่กันหลุดออกมากที่สุดแล้วนำมาล้างด้วยน้ำยาล้างจานโดยใช้นิ้วมือขยี้ที่ขนพู่กันเบา ๆ สีที่ติดอยู่จะได้หลุดออกได้หมด ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ๒ รอบ ผึ่งลมให้แห้ง ไม่ควรล้างพู่กันด้วยทินเนอร์ เพราะจะทำให้ขนพู่กันเสียเร็วขึ้น ๒. แปรงขัดฝุ่น หลังจากใช้ควรเคาะฝุ่นที่เกาะอยู่บนแปรงออกให้หมด เพราะถ้าเคาะฝุ่นออกไม่หมด เวลาปัดฝุ่นครั้งต่อไปอาจเกิดปัญหาฝุ่นที่แปรงเกาะที่ชิ้นงานใหม่ อาจมีปัญหาทำให้สีไม่แห้งได้ ๓. เครื่องชัดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ หลังจากการใช้งานควรปัดฝุ่นทำความสะอาดทุกครั้งเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ยาวนานขึ้น บุคลากรที่เป็นช่างฝีมือทางด้านงานช่างปิดทอง          งานช่างปิดทองเป็นงานที่ทำให้คุณค่าของงานนั้นๆ เพิ่มและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะเป็นงานที่ต้องการใช้ช่างฝีมือที่มีความชำนาญตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน การคัดเลือกคุณภาพของทองคำเปลว ๑๐0% ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ เช่น ก่อนการทำพื้นปิดทองของงานแต่ละประเภทก็จะใช้ขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกัน ฉะนั้นบุคคลากรในกลุ่มงานช่างปิดทอง จึงจำเป็นต้องมีความสามารถเข้าใจการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของงานแต่ละประเภท เช่น เมื่อแกะสลักงานเรียบร้อยแล้วก็ต้องนำมาทำพื้นปิดทอง สมควรที่จะช่วยกันดำรงงานช่างปิดทองให้คงอยู่สืบต่อไป
โต๊ะหมู่บูชาลายยา หมู่ ๙
ความเป็นมาและความสำคัญ              การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชานั้น เป็นธรรมประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาลจัดเป็นสถานที่อย่างหนึ่งใน บรรดา ศาสน์พิธีต่างๆ  โต๊ะหมู่บูชานี้ สำหรับตั้งในงานต่างๆ ทั้งงานมงคล ทั้งงานหลวงและงานราษฎร์  เป็นแบบแผนอันดีงาม เป็นประเพณีที่ควรแก่การเทิดทูนรักษาไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไทย เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศเป็นที่สะดุดตาเตือนใจแก่ชาวต่างประเทศผู้พบเห็น เราชาว พุทธทุกคนควรสนใจศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้ เมื่อถึงคราวจะจัดตั้งก็จัดทำโดยเรียบร้อย การสนใจการศึกษาไม่เสียเปล่าได้ประโยชน์ต้องตามภาษิตที่ว่า “ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ” เครื่องตั้ง              เครื่องตั้ง จะมีจำนวนมากหรือน้อย ให้พิจารณาตามหมู่ของโต๊ะนั้นๆ  เป็นสำคัญการจัดถูกต้องและเหมาะสมถูกแบบแผนจึงจะสวยงามน่าดู เมื่อเรามีโต๊ะหมู่บูชา และเครื่องสำหรับตั้งโต๊ะครบบริบูรณ์ตามจำนวนแล้วสำคัญก็คือการจัดตั้งนั้นจะต้องจัดให้ถูกที่  มีระเบียบ ได้จังหวะช่องไฟดี จึงสง่างาม จัดตั้งโดย ขาดการพิจารณาแล้วความงามก็จะลดลง  และบางครั้งอาจไม่ถูกหลักก็ได้  ฉะนั้นจึงต้องสนใจในเรื่องการ จัดตั้งนั้นเป็นอย่างมาก อนึ่งเครื่องแก้ว ( หรืออื่นๆ ) ในการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชานั้น โดยปกติก็มีขนาดไม่เท่ากัน คือ ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ฉะนั้นการจัดตั้งจึงจำเป็นที่จะต้องตั้งให้ถูกที่และขนาดของเครื่องแก้ว โดยจัดเครื่องแก้วขนาดเล็กไว้ที่โต๊ะตัวบน แล้วรองลงมาเป็นขนาดกลาง ส่วนขนาดใหญ่ไว้ล่างสุด                   วิธีตั้งให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัวคือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป แจกัน เชิงเทียน ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่นในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ  ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูปส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียง วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นข้อมูลองค์ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปไว้ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ๒.เพื่อเป็นประโยชน์ พัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้านประณีตศิลป์ต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นคว้า เรียนรู้ จากเอกสารเล่มนี้ได้ ๒. ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องต่อช่างผู้ปฏิบัติงานด้านประดับกระจก โต๊ะหมู่ลายยา ( วัฒนธรรมในการจัดตั้งโต๊ะหมู่ ๒๕๕๒ : ๑๗ – ๑๙ )                      เป็นงานที่รวมลักษณะงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า ๒ ประเภท เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน คือ โต๊ะหมู่เป็นงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณใช้ประกอบในงานพิธีสำคัญๆ ของชาติ และ ยิ่งใช้ในพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมต่างๆ อีกมากมาย โต๊ะหมู่บูชาแบ่งตามลำดับความสำคัญเป็น ๓ หมวดใหญ่ๆ ดังนี้ หมวดที่ ๑ โต๊ะหมู่บูชาที่มีมาแต่เดิม มี ๕ หมู่ คือ                     ๑) หมู่ ๔     ๒)  หมู่ ๕    ๓)   หมู่  ๖   ๔)  หมู่  ๗   ๕)  หมู่  ๙                       หมายเหตุ  โต๊ะหมู่ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำทั่วไป  คือ  หมู่  ๕  หมู่  ๗  และ หมู่  ๙ หมวดที่ ๒ โต๊ะหมู่ประยุกต์ มี ๓ หมู่  คือ                ๑) หมู่ ๒     ๒)  หมู่ ๓    ๓)   หมู่  ๔ ที่ใช้เป็นโต๊ะเคียง หมวดที่ ๓ โต๊ะหมู่พิเศษ มี ๕ หมู่ คือ                 โต๊ะหมู่ที่จัดไว้เป็นพิเศษ  โดยพิจารณาตามอาคารสถานที่  ที่กว้างใหญ่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ เช่น   ๑) หมู่ ๑๑     ๒)  หมู่ ๑๒    ๓)   หมู่  ๑๓   ๔)  หมู่ ๑๔  ๕)  หมู่ ๑๕  วิธีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ๑. โต๊ะหมู่บูชา  ต้องตั้งอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์  ซึ่งเป็นประธานในพิธีเสมอ  และควรหันหน้าโต๊ะหมู่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ๒. วิธีตั้ง ให้วางเครื่องตั้งตามลำดับความสูงของโต๊ะแต่ละตัว คือตัวสูงสุดตั้งพระพุทธรูป,แจกัน ,เชิงเทียน  ถ้าหากเป็นการตั้งหน้าพระพุทธรูป  เช่น ในโบสถ์, วิหาร ฯลฯ ก็ตั้งพานดอกไม้แทนพระพุทธรูป ส่วนตัวต่ำสุดตั้งกระถางธูป กับเชิงเทียน ๓. ถ้าเป็นประชุมอบรม  โต๊ะหมู่บูชาต้องอยู่หน้าของผู้เข้าประชุมและธงชาติด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชานั้นด้วย ๔. เทียนชนวน  สำหรับใช้จุดเทียนและธูปที่ใช้บูชา  ควรดูไส้เทียนให้เรียบร้อย  เวลาใช้จะได้ไม่มีปัญหา  ด้ามเทียบชนวนควรให้ควรให้มีความยาวพอดีกับความสูงต่ำของโต๊ะหมู่บูชาด้วย ๕. ผ้ากราบตรงหน้าโต๊ะหมู่บูชาควรใช้ผ้าที่สะอาดเพื่อรองกราบ   จะได้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง ( ไม่ควรใช้แท่นทรงกราบอย่างงานพิธี ) โต๊ะบูชา  หมู่  ๔  สมัยรัตนโกสินทร์             โต๊ะหมู่ ๔ มี ๒ ประเภท คือ แบบธรรมดา  และแบบโต๊ะซัด ( โต๊ะปีกหรือโต๊ะเคียง ) โต๊ะซัดเป็นชื่อเรียกโต๊ะหมู่ ๔ ที่จัดตั้งโดยทแยงมุมโต๊ะออก  ตั้งเครื่องบูชาและพระพุทธรูป  รูปทแยงตามมุมโต๊ะ  หรือตั้งบริเวณมุมของห้อง  โดยทแยงกับมุมห้องด้านตรงข้าม  หากนำไปตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่ใหญ่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง  จะเรียกว่า  โต๊ะปีก หรือ โต๊ะเคียง ซึ่งหมายถึงโต๊ะปีกของโต๊ะหมู่ใหญ่  หรือโต๊ะที่ตั้งเคียงคู่กับโต๊ะหมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙ การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของราชการ           การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของทางราชการ  เช่น การประชุม  อบรม  สัมมนา  เป็นต้น  ที่มิใช่พิธีเกี่ยวกับนานาชาติและการประชุมปกติของคณะกรรมการ  นิยมตั้งธงชาติ  และพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รวมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบันคือชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์  มีหลักในการจัดคือ  ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลาง  ตั้งธงชาติไว้ทางด้านขวาของโต๊ะหมู่  และตั้งพระบรมฉายาลักษณ์  ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ ลายยา            คือการขุดไม้บนพื้นเรียบให้เป็นลวดลาย  แล้วนำมาทำพื้นปิดทองประดับกระจกลงในร่องลายที่ขุดเป็นฐาน  โบราณงานลายยาที่พบเห็นส่วนใหญ่จะพบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ  เช่น  ที่หัวเรือและท้ายเรืออเนกชาติภุชงค์ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีทางชลมารค  ลายที่ขุดส่วนใหญ่เป็นลายพญานาคขดไปมา  กระจกที่ใช้ประดับในร่องลายสาวใหญ่จะเป็นสีขาว  และ ยังพบลายยาที่ฐานพระแท่นเศวตฉัตรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  เป็นลายแนวตั้ง  ขุดลายเป็นเส้นตรง  สลับกับลายกลีบดอกไม้  ๓  แฉกประดับด้วยกระจกประมาณ  ๓  สี  ขึ้นไป  วอสีวิกา  เป็นวอคานหาม  พนักพิงด้านหลังขุดลายประดับกระจกลายยาเป็นรูปดอกไม้  ผูกลายเป็นเครือเถา  สวยงาม และละเอียดมาก  ใช้กระจกประมาณ ๓ สีขึ้นไป นิยมใช้ สีแดง สีเขียว สีทอง  
ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์
ลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์ ปี ๒๕๕๘         สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงฟื้นฟูกลุ่มอาคารอนุรักษ์บริเวณท่าเตียน และมีความประสงค์จะอัญเชิญ สัญลักษณ์ ครุฑเทิดพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขึ้นประดับบนผนังด้านหน้าอาคารอนุรักษ์ บริเวณทางเข้าตลาดท่าเตียน เมื่อบูรณะอาคารแล้วเสร็จ จึงได้ขอความอนุเคราะห์สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรจัดทำ ตราสัญลักษณ์ ครุฑเทิดพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยวัสดุโลหะบรอนซ์ ลงรักปิดทอง จำนวน ๔ องค์ และวัสดุอะคริลิคเขียนสี ลงรักปิดทอง จำนวน ๔ องค์ ซึ่งมีรูปแบบตามพิมพ์เดิมที่ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ได้พิจารณาความเหมาะสมในรูปแบบ และจัดทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว   - ผู้ได้รับการประเมินได้รับมอบหมายให้ดำเนินการลงรักปิดทองครุฑโลหะบรอนซ์ ตราสัญลักษณ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครุฑเทิดพระมหามงกุฎ จำนวน ๔ องค์   ลักษณะของงาน - เป็นงานลงรัก “ปิดทองทึบ” หมายถึง การปิดทองคำเปลวลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นด้วย ดินเผา ปูนปั้น ไม้แกะสลัก หรือโลหะหล่อ เพื่อให้ผิวภายนอกของศิลปวัตถุนั้นๆ เป็นผิวทองคำ และเรียบเกลี้ยงทั่วไป ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปิดทองเป็นพระปฏิมาประธาน เป็นต้น (การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐: ๑๐๑)   ลักษณะของครุฑ - วัสดุเป็นโลหะบรอนซ์ มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัว ปั้นหล่อขึ้นเป็นสามมิติ มองเห็นรอบด้าน ไม่ติดพื้นหลัง จำนวน ๔ องค์   ครุฑ อมนุษย์จำพวกกึ่งสัตว์กึ่งเทพ ตามคติโบราณสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ถือว่าครุฑเป็นใหญ่ที่สุดในบรรดานกทั้งหลาย มีรูปร่างลักษณะครึ่งนกครึ่งคน คือมีหัว ปีก เล็บ และปากเหมือนนกอินทรี ตัวและแขนเหมือนคน หน้าขาว ปีกแดง ตัวเป็นสีทอง หน้าตาท่าทางดุร้าย เครื่องประดับที่สวมมี มงกุฎยอดน้ำเต้า สร้อยคอ พาหุรัด ทองกร และกำไล นุ่งผ้าชายเฟือยมีห้อยหน้าลงมา ไม่สวมเสื้อ ครุฑอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ส่วนพญาครุฑอาศัยอยู่บนวิมานสวยงาม ชื่อว่า “วิมานฉิมพลี” ครุฑเป็นนกที่บินได้เร็วไม่มีสัตว์อื่นเทียบ คือบินได้กวักละโยชน์ ที่อยู่ของครุฑเป็นสถานที่ลี้ลับจึงยากที่ใครจะไปได้ถึง ถือกันว่าครุฑเป็นสัตว์สำคัญ มีฤทธานุภาพมาก เพราะตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อทรงปราบทุกข์เข็น ครุฑซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ จึงได้รับการยกย่องนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น แกะสลักตามจินตนาการของช่าง ดังจะพบภาพครุฑประดับตามวัดวาอาราม สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง ฯลฯ รวมทั้งธงที่สำคัญ เช่น ธงมหาไชยธวัช ธงมหาราช อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ หนังสือสำคัญของทางราชการ ดวงตราพระราชลัญจกร ล้วนแต่ทำเป็นตรารูปครุฑติดไว้ เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพนั่นเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๓๘-๑๓๙)   ครุฑพ่าห์ เครื่องหมายรูปครุฑมีลักษณะเป็นรูปครุฑตัวเดียว มือกางอยู่ในท่ารำแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร เป็นแบบที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นตราประทับกำกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือสำคัญทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังใช้กับสิ่งอื่น เช่น ธงพระครุฑพ่าห์ คือธงที่มีรูปครุฑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๔๐)  
ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)
ลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)        ด้วยกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) และเมื่อดำเนินการบูรณะเสร็จแล้ว สำนักโบราณคดีจะต้องเข้าไปดูแลโบราณสถานพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งกรมศิลปากรและหน่วยงานอื่นๆ จะใช้สถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาอยู่เนืองๆ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานองค์ยืนอยู่ ๑ องค์ แต่ยังขาดโต๊ะวางเครื่องสักการะ เพื่อให้องค์ประกอบภายในพระอุโบสถครบถ้วนและสวยงาม จึงได้ขอความอนุเคราะห์สำนักช่างสิบหมู่จัดทำโต๊ะวางเครื่องสักการะ   - ผู้ได้รับการประเมินได้รับมอบหมายให้ดำเนินการลงรักปิดทองประดับกระจกโต๊ะวางเครื่องสักการะบูชา ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) โดยยึดรูปแบบจากบุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)   - เริ่มจากการสำรวจ เก็บข้อมูล บันทึกภาพถ่าย บุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า)   เป็นงานลงรักปิดทอง ให้ผิวงานจากวัสดุต่างๆ ดูเป็นทองเหมือนทองคำบริสุทธิ์ แล้วตัดกระจกแซมแทรก ประดับติดลงในช่องไฟระหว่างลวดลายให้งดงาม พื้นลาย ไส้ลายประดับกระจก บุษบกและฐานพระประธานองค์ยืน ในพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) ลักษณะของงาน - เป็นงานลงรัก “ปิดทองร่องกระจก” หมายถึง การลงรักลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ประเภทที่ทำขึ้นด้วย ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ดินเผา แล้วปิดทองคำเปลวทับ ลักษณะคล้ายกันกับงานลงรักปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะเฉพาะของงานนี้อยู่ที่มีการ “ร่องกระจก” เพิ่มขึ้นมา “ร่องกระจก” คือการใช้กระจกสีต่างๆ แผ่นบาง รูปสี่เหลี่ยม นำมาตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กรูปร่างต่างๆ ตามประสงค์ให้เหมาะสมแก่งานและพื้นที่ นำมาติดลงในช่องไฟของสิ่งที่ได้ปิดทองขึ้นในที่นั้น ความประสงค์ “ร่องกระจก” ก็เป็นไปเช่นเดียวกับการปิดทองล่องชาด คืออาศัยกระจกที่เป็นวัตถุมีสีและความมันวาวถมปิดลงไปในร่อง เพื่อหนุนหรือขับลวดลายหรือสิ่งที่ปิดทองซึ่งนูนขึ้นจากพื้นหลังให้เป็นที่ดูเด่นชัด เห็นกระจะตานั่นเอง (การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐: ๑๐๒)   - งานประดับกระจกแวว เป็นการประดับกระจกตกแต่งในเกสร หรือไส้ลายรูปต่างๆ ถือเป็นการประดับกระจกที่ใช้สำหรับสอดประดับตกแต่งตัวลายแบบต่างๆ ด้วยวิธีการตัดกระจกให้เป็นรูปวงกลมหรือหยดน้ำตามสีหรือขนาดให้เหมาะสมกับลวดลาย เห็นได้ตามกระจังต่างๆ ของบุษบก ตามลวดลายปูนปั้น หรือการแกะสลักไม้  
ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ ๓ เล่ม
ปิดทองหนังสือรัฐธรรมนูญ  ๓ เล่ม   ครั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรให้ช่วยดำเนินการลงรักปิดทองสมุดไทยที่ปกด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของเล่มทั้ง ๔ ด้าน ตลอดจนการจัดทำปกติดตราพระครุฑพ่าห์ จำนวน ๓ เล่ม เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย     - หนังสือรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมด ๓ เล่ม ปกด้านหน้า - ด้านหลัง  - ตราพระครุฑพ่าห์ มีทั้งหมดจำนวน ๓ ตรา ชนิดทองคำจำนวน ๑ ตรา และชนิดเงินกะไหล่ทองจำนวน ๒ ตรา ทั้ง ๓ ตรา จัดทำโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์                   รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครอง และรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้                 ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๖๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม กุกกุฏสมพัตสร จิตรมาส ชุณหปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล เมษายนมาส ฉัฏฐสุรทิน ครุวาร โดยกาลบริเฉท            สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลว่า นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้ดำรงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือ ราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีผู้ไม่นำพาหรือไม่นับถือยำเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอำนาจ หรือขาดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจำต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้ความสำคัญแก่รูปแบบ และวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๑)          นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ                             จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๖๐: ๓)                   ครุฑ ถือกันว่าเป็นสัตว์สำคัญ มีฤทธานุภาพมาก เพราะตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อทรงปราบทุกข์เข็น ครุฑซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ จึงได้รับการยกย่องนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น แกะสลักตามจินตนาการของช่าง ดังจะพบภาพครุฑประดับตามวัดวาอาราม สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง ฯลฯ รวมทั้งธงที่สำคัญ เช่น ธงมหาไชยธวัช ธงมหาราช อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ หนังสือสำคัญของทางราชการ ดวงตราพระราชลัญจกร ล้วนแต่ทำเป็นตรารูปครุฑติดไว้ เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพนั่นเอง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๓๙)                ครุฑพ่าห์ เครื่องหมายรูปครุฑมีลักษณะเป็นรูปครุฑตัวเดียว มือกางอยู่ในท่ารำแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร เป็นแบบที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นตราประทับกำกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือสำคัญทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังใช้กับสิ่งอื่น เช่น ธงพระครุฑพ่าห์ คือธงที่มีรูปครุฑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐: ๑๔๐)  
การลงรักปิดทองใหม่ พระพุทธรูปสําคัญ ๒ องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจําหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร) โรงพยาบาลศิริราช พยาบาล
              ด้วยกรมศิลปากรได้รับหนังสือ ขอความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ให้ช่วยซ่อมบูรณะ พระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ ซึ่งมีสภาพชำรุด สมควรได้รับการซ่อมบูรณะโดยช่างผู้มีความชำนาญเฉพาะทางได้แก่               องค์ที่ ๑ คือพระพุทธเมตตาคุณากร (ปางลีลา)                องค์ที่ ๒ คือพระพุทธรูปประจำหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย (ปางห้ามสมุทร)                โดยแจ้งว่า จำเป็นต้องขอความกรุณาจากกรมศิลปากร ซึ่งมีหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญช่างสิบหมู่ที่มีความรู้ความชำนาญด้านงานลงรักปิดทอง มาช่วยซ่อมบูรณะ พระพุทธรูปสำคัญทั้ง ๒ องค์ ประวัติความเป็นมา                โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนวังหลังแขวงศิริราชแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)                                พระพุทธเมตตาคุณากร(ปางลีลา) สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ได้จัดสร้างขึ้นไว้ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ ๓ รอบ ทำจากวัสดุสำริด ลงรักปิดทอง สูงพร้อมฐาน ๒๖๐ ซม. ประดิษฐานอยู่ที่หัวถนนจักรพงษ์ใกล้ศาลาท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ตลอดจนผู้ป่วยญาติ รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป ได้สักการบูชาเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปพระพุทธเมตตาคุณากร                  เป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปปางลีลาหรือปางเสด็จจากดาวดึงส์ วัสดุสำริดขนาดสูง ๑๕.๘๗๕ เมตร ประดิษฐานเป็นประธานในอาณาบริเวณอันกว้างขวางของพุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปที่ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระสรีเดิมกำหนดขนาดความสูงไว้ ที่ ๒๕๐๐ นิ้วแต่เมื่อเห็นว่าจะใหญ่โตเกินไปจึงลดขนาดลงเป็น ๒๕๐๐ กระเบียด สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นวาระพิเศษของพุทธศาสนิกชน ทั่วโลกเพราะถือว่าเป็นช่วงระยะเวลา “กึ่งพุทธกาล”                   จากความเชื่อที่ว่าพุทธศาสนาจะสื่อไปถึง ๕๐๐๐ ปีในฐานะที่ประเทศไทยเป็นแผ่นดินพุทธศาสนา รัฐบาลจึงมีการจัดสร้างพุทธมณฑลขึ้นในวาระนั้นได้ดำเนินการหล่อแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นช่วงครบรอบ ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์  
มุทิตาจิตรเกษียณอายุราชการกลุ่มงานประณีตศิลป์ แด่ อาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อําไพพร
       เนื่องจากอาจารย์สมชาย  ศุภลักษณ์อําไพพร  รับราชการในสำนักช่างสิบหมู่มาเป็นเวลายาวนานในขณะที่รับราชการเป็นทั้งเพื่อนร่วมงาน เป็นทั้งพี่ และเป็นครูของน้องๆข้าราชการใหม่คอยสอนงานเส้นสายลายไทยในทุกๆวันพฤหัสบดีของทุกๆสัปดาห์  สำหรับข้าราชการใหม่และผู้ที่สนใจใฝ่รู้ ในกลุ่มประณีตศิลป์ ทางกลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกจึงจัดทำพานตะลุ่มประดับกระจก ลายดอกเข็มสีแดงขนาด12นิ้ว มอบให้ เพี่อเป็นเกรียติเป็นศรี ให้กับ อาจารย์สมชาย  ศุภลักษณ์ อําไพพร  สืบต่อไป
เผยแพร่สู่ท้องถิ่นทั้งใกล้และไกล
         พานแว่นฟ้า ย่อมุมไม้สิบหก ลายดอกเข็มแดงขนาด 16 นิ้ว จัดสร้างขึ้นเพื่อ นำไปถวายวัดไผ่ตันกรุงเทพฯ บุญนี้เกิดขึ้นจาก หัวหน้าแผนกช่างเขียนคือพี่กุ๊กของน้องๆอยากจะทำบุญถวาย จึงเกิดการร่วมบุญกัน โดยพี่กุ๊ก ออกค่าหุ่น ส่วนน้องน้องในแผนก ช่างกระจก ช่วยกันออก อุปกรณ์และลงมือทำนางสุภาพร สายประสิทธิ์ (พี่ไก่) นายยงยุท  วรรณโกวิทย์(พี่ติ๊ก)ร่วมอนุโมทนาบุญ โดยการสนับสนุน กระจกสีแดงทั้งหมด  นาง ยุนีย์  ธีระนันท์( พี่เจี๋ยม )หัวหน้าแผนกช่างกระจก ร่วมอนุโมทนาบุญ กระจกสีทอง คุณปาริฃาติร่วมอนุโมทนาบุญ Epoxy แผนกช่างโลหะ พี่ต้อม และ คุณผึ้ง อนุโมทนาบุญ ทำตราสัญลักษณ์ พระพิฆเนศดุนโลหะ ปิดใต้ฐานพานแว่นฟ้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ว่า พานนี้ทำที่สำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากรถวายเป็นพุทธบูชา น้องๆช่วยกันประกอบ ให้เป็นรูปร่าง ขึ้นมา จะเห็นได้ว่า งานบุญในครั้งนี้ เป็นการร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันทำ ช่วยกันออก แรงกายแรงใจ และแรงทรัพย์ คนละเล็กน้อย จึงเกิดเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องรอ งบหลวงเสมอไป และไม่ต้องใช้งบประมาณอะไรมากมาย ให้ยุ่งยาก สิ่งที่ต้องใช้มากที่สุด คือใจและสำนึก ในหน้าที่ ที่จะช่วยกัน สืบสานรักษา ต่อยอด และอนุรักษ์ มรดกของชาติ ให้มีลมหายใจ อีกยาวไกล ขอขอบคุณทุกๆแรงบุญ แรงศรัทธา แรงใจที่ทำร่วมกัน แล้วเราจะสร้างแบบนี้อีกต่อๆไป
พานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบหกลายดอกเข็มสีเขียว
         พานแว่นฟ้าลายดอกเข็มสีเขียวประดับด้วยกระจกแก้ว ขนาด 16 นิ้วสร้างขึ้นเพื่อนำไปถวาย วัดบ้านแคน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าภาพในการจัดสร้างครั้งนี้นางประภาพร  ตราชูชาติ และครอบครัวตราชูชาติ  นางสาวปิยนุช กุศล และครอบครัว ได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ ในการสร้างถวายครั้งนี้ ทางหัวหน้า (นางยุนี  ธีรนันท์ )กลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกสำนักช่างสิบหมู่ เห็นสมควรและเป็นโอกาสอันดี ในการสร้าง ถวาย เพื่อใช้ในพุทธศาสนา และเป็นการสืบสานงานประดับกระจกแก้วลงบนพานแว่นฟ้าให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักของคนรุ่นต่อไป จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ในการจัดสร้าง ครั้งนี้                                                    วัดที่เรานำไปถวายครั้งนี้เป็นวัดในชุมชนเล็กๆ บ้านเกิดของ นางประภาพร ตาชูชาติ มิได้เป็นวัดหลวงหรือวัดที่ใหญ่ ระดับอำเภอแต่อย่างใด จุดประสงค์ที่นำไป ถวายในครั้งนี้ นอกจากจะใช้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังให้คนในชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการดูแลรักษา งานอันมีค่าของชาติ จะได้เกิดความภาคภูมิใจ และช่วยกันดูแลรักษา และอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนในชุมชนได้คิดสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าเหมือนกับที่บรรพบุรุษเราก็ได้ทำทิ้งไว้ให้เราได้เห็น และเก็บรักษางานเหล่านี้          เราจะ ไม่นั่งรอ ให้ของอันมีค่า ที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์ แล้วทิ้งไว้ให้ ได้อยู่เฉพาะในพิพิธภัณฑ์ และในที่สุด ก็จับต้องไม่ได้ แล้วมันก็จะสูญหาย กลายเป็นเรื่องเล่า แต่เรา ชาวสิบหมู่ จะช่วยกันรังสรรค์งานพวกนี้ ให้มีชีวิต ที่ใช้ได้จริง และกระจายมันออกไป ตามวัดต่างๆ ไม่ว่าวัดนั้น จะเป็นวัดที่เล็กที่สุด ไกล ที่สุด ถ้าเรามีโอกาส ได้ทำถวาย
มุทิตาจิตรเกษียณอายุราชการกลุ่มงานประณีตศิลป์ แด่ นาย อำพล สัมมาวุฒธิ
          มุทิตาจิตรเกษียณอายุราชการ นายอำพล สัมมาวุฒิ 17 กันยายน 2563 เนื่องจากนายอำพล  สัมมาวุฒิดำรงตำแหน่งสุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญและยังเป็นผู้ครอบครูให้กับช่างของสำนักช่างสิบหมู่ทางกลุ่มงานช่างกระจกจึงจัดทำพานแว่นฟ้าชุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นเกียติให้กับครูช่าง  และท่านยังเอาไว้ใช้ในงานครอบครูและงานบุญในโอกาสต่างๆอีกด้วย   ครูจะได้มีพานเป็นของส่วนตัว เมื่อครูนำไปใช้ในที่ต่างๆมีบุคคลภายนอกถามที่ยังไม่รู้จักพานแว่นฟ้าแบบนี้ ครูก็จะได้อธิบายให้บุคคลที่สนใจใฝ่ รู้ได้  และเห็นของจริงใช้จริง พานแว่นฟ้าก็จะยังอยู่คู่กับบ้านเมืองไทยของเราตลอดไป                
พานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบหก ลายดอกเข็มสีน้ำเงิน
    เนื่องในโอกาสพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากรประจำปี ๒๕๖๓  ณ วัดพระงาม พระอารามหลวง ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ ทางกลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ ได้จัดสร้าง พานแว่นฟ้า ประดับกระจก ขนาด ๑๖ นิ้ว ลายดอกลอยสีน้ำเงิน เพื่อนำไปถวายพร้อมในพิธีนี้ด้วย   สำหรับพานแว่นฟ้าชุดนี้จัดสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของเจ้าหน้าที่ภายในกลุ่มประณีตศิลป์ช่วยกันสละทรัพย์ในการจัดสร้าง ประกอบด้วยครอบครัวสายประสิทธิ์ นายเกรียงศักดิ์เนียมสุดและนายยงยุทธวรรณโกวิทย์ เป็นเจ้าภาพสมทบทุนค่าหุ่นพานแว่นฟ้า นางยุนีย์ธีระนันท์ ร่วมกับครอบครัวสัมมาวุฒธิ เป็นเจ้าภาพค่าวัสดุกระจกเพื่อใช้ประดับนางปาริด์ชาติพัฒน์ทอง เป็นเจ้าภาพค่ากาวอีพ็อกซี่กลุ่มช่างโลหะ เป็นเจ้าภาพจัดทำตราสัญลักษณ์ติดใต้ฐานพาน น้อง ๆ กลุ่มช่างปิดทองประดับกระจก ร่วมแรงในการตัดกระจกและประดับพานแว่นฟ้าชุดนี้  ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านด้วย .  
  BACK TO TOP
jualtoto jualtoto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto ohtogel oh togel indosattoto indosat toto ohtogel oh togel ohtogel oh togel ohtogel oh togel jualtoto jual toto jualtoto jual toto cahayatoto cahaya toto cahayatoto cahaya toto indosattoto indosat toto indosattoto indosat toto jualtoto ohtogel sisi368 jualtoto jualtoto sisi368 sisi368 sisi368 situs toto situs toto situs toto ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel ohtogel sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 sisi368 ohtogel